(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
'Bless you Mr Obama' on Myanmar
By Stanley A Weiss
09/03/2010
ขณะที่ฝ่ายตะวันตกลงโทษคว่ำบาตรพม่า อิทธิพลของจีนก็สามารถแผ่ขยายไปทั่วทั้งประเทศนั้น แต่บัดนี้มีเหตุผลเชิงยุทธศาสตร์อันหนักแน่นที่ทำให้สหรัฐฯต้องเพิ่มการสนทนากับคณะทหารผู้ปกครองพม่า รวมทั้งทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายในประเด็นนี้ ทั้งนี้อดีตผู้ช่วยคนหนึ่งของออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้เรียกขานนโยบายของฝ่ายตะวันตกด้วยความเศร้าใจว่า กำลังถือประเด็นเรื่องพม่าเป็นเพียงเรื่อง “บูติก” อันน่าเอ็นดูแต่ฉาบฉวย แถมยังกำลังทำให้ประชาชนในแดนหม่องต้องอดตาย
มัณฑะเลย์, พม่า – เมื่อเดือนกันยายน 1952 โจเซฟ สตาลิน จอมเผด็จการของรัสเซีย และ โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้เปิดการหารือกันเป็นพิเศษ เพื่อพูดคุยถึงอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง “เหมา: เรื่องที่ยังไม่เคยถูกเล่าขาน” (Mao: The Unknown Story) โจวได้พูดถึงภูมิภาคดังกล่าวนี้ “ราวกับว่าชะตากรรมของภูมิภาคขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของปักกิ่งโดยสิ้นเชิง”
เขาอธิบายว่า ยุทธศาสตร์ขอจีนคือต้อง “ขยายอิทธิพลอย่างสันติโดยไม่มีการส่งกองกำลังอาวุธ” พร้อมกับยกตัวอย่างเรื่องของพม่า และทิเบต ทางฝ่ายสตาลินได้พูดตอบด้วยความขบขันแกมเหน็บแนมว่า “ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน ดังนั้นต้องส่งทหารจีนเข้าไปที่นั่น ส่วนสำหรับพม่านั้น พวกคุณควรต้องเดินหน้ากันอย่างระมัดระวัง”จากนั้น เขาก็กล่าวยืนยันเห็นพ้องว่า “จะเป็นเรื่องดีมากถ้าในพม่ามีรัฐบาลที่นิยมจีน”
เกือบ60 ปีให้หลัง เป็นเรื่องน่าประทับใจยิ่งที่ความหวังของโจวได้กลายเป็นความจริงในระดับยอดเยี่ยมถึงขนาดนี้ อิทธิพลของจีนสามารถพบเห็นได้ทุกหนทุกแห่งตลอดทั้งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ผู้คนในท้องถิ่นพูดล้อเลียนกันว่า มัณฑะเลย์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์พม่า เวลานี้ควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ให้เป็น “เมืองหลวงของหยุนหนาน(ยูนนาน)” อันเป็นมณฑลของจีนที่อยู่ติดกับพม่า ในนครมัณฑะเลย์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการแกะสลักหินอ่อนสีขาว มีเสียงเล่ากันว่าประมาณ 80% ของการสั่งแกะสลักงานใหม่ๆ ทั้งหมดในปัจจุบัน ไม่ใช่การสั่งให้แกะรูปปั้นในสไตล์พม่าแล้ว แต่เป็นพระพุทธรูปแบบจีน
สิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนน้อยกว่านี้ก็คือ การปรากฏตัวของจีนในพื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้ถูกสายตาของชาวตะวันตกพบเห็น บรรดาเหมืองหยกในรัฐคะฉิ่นที่ร่ำลือกันจนเป็นนิทาน และเป็นพื้นที่ซึ่งชาวต่างชาติส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้เข้าไป กลับต้อนรับคนงานเหมืองชาวจีนนับพันๆ คน ซึ่งส่งหยกที่ขุดมาได้ตรงไปยังประเทศจีน ไม่ไกลออกไปนัก โรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งที่กำลังทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย ก็ถูกสร้างขึ้นโดยจีน ดังที่เจ้าของธุรกิจคนสำคัญผู้หนึ่งบอกกับผู้เขียนคนนี้ว่า “เพื่อปกปิดการตัดไม้โค่นป่าจนเหี้ยนเตียนอย่างผิดกฎหมายโดยฝีมือของคนจีน” ไม้เหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปตามทางหลวง 2 สายที่แล่นตรงจากพม่าไปยังจีน โดยที่ทางหลวงดังกล่าวก่อสร้างขึ้นมาอย่างลับๆ ตั้งแต่ปี 2004
“ผู้คนที่มีการศึกษา (ของพม่า) ต่างทราบดีว่า จีนกำลังปล้นสะดมทรัพยากรอันมีค่าจากประเทศของพวกเขา โดยไม่ได้ให้อะไรตอบแทนกลับคืนมา” ผู้สังเกตการณ์ชาวตะวันตกที่เฝ้าติดตามประเทศนี้มาอย่างยาวนานผู้หนึ่งกล่าว “พวกเขาต้องการอย่างยิ่ง ที่จะมีคู่ค้าที่สามารถเป็นทางเลือก (นอกเหนือจากจีน)”
ทว่าจากการที่ฝ่ายตะวันตกดำเนินการคว่ำบาตรและลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า จึงทำให้ฝ่ายตะวันตก “โดยพื้นฐานแล้วได้กีดกันตัวเองออกไปจากเกมนี้” ถั่น มิ้นต์-อู (Thant Myint-U) หลานปู่ของ อู ถั่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าว ทั้งนี้จีนได้เร่งรีบเข้าเติมช่องว่างที่เกิดจากการผละจากไปของฝ่ายตะวันตก ด้วยการให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ตลอดจนขายอาวุธให้แก่คณะทหารผู้ปกครองประเทศพม่า ซึ่งกุมอำนาจผ่านทางนายพลชื่อต่างๆ มาตั้งแต่ปี 1962
แต่มีความรู้สึกกันมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในพม่าว่า ต้องยุติกันเสียทีสำหรับวันเวลาที่สหรัฐฯปฏิบัติต่อพม่าเสมือนเป็นประเด็นปัญหา “บูติก” (ดังที่ตัวแทนคนหนึ่งของบารัค โอบามา ได้เคยพูดเอาไว้ระหว่างการรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008 และเป็นที่จดจำกันได้ในพม่า) นั่นคือมุ่งเน้นสนใจแต่เรื่องสิทธิมนุษยชน และชะตากรรมของ ออง ซาน ซูจี
มีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้อยู่ 3 ประการ ที่เป็นการสาดแสงสปอตไลต์ให้มองเห็นถึงผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของสหรัฐฯในพม่า อันเป็นประเทศซึ่งมีที่ตั้งขวางคั่นอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย
**ความน่าวิตกในทางยุทธศาสตร์**
พัฒนาการประการแรกคือ เรื่องท่อส่งน้ำมัน ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จีนประกาศว่ากำลังก่อสร้างท่อส่งน้ำมันความยาว 675 กิโลเมตร จากจีนผ่านพม่าไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ในฐานะที่เป็นชาติผู้ใช้น้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก จีนต้องเผชิญกับ “สภาวะหนีเสื้อปะจระเข้ที่สืบเนื่องจากช่องแคบมะละกา” (Malacca Strait dilemma) มานานแล้ว กล่าวคือ 80% ของน้ำมันที่จีนนำมาใช้ต้องขนส่งผ่านช่องแคบที่ตั้งอยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซียแห่งนี้ ซึ่งมหาอำนาจที่เป็นปรปักษ์กับจีนสามารถที่จะตัดขาดได้ในเวลาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมา
ท่อส่งน้ำมันสายใหม่ที่กำลังสร้างกันอยู่ จะช่วยให้จีนหลีกเลี่ยงการใช้ช่องแคบมะละกาลงไปได้มาก อีกทั้งยังทำให้แดนมังกรสามารถเข้าถึงมหาสมุทรอินเดียด้วย ทว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งทำให้อินเดียที่เวลานี้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ เกิดความหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด ไม่กี่วันหลังจากปักกิ่งเปิดเผยแผนการนี้ นิวเดลีก็แถลงว่าจะเพิ่มเรือรบจำนวน 40 ลำ และเสริมเครื่องบินขับไล่ใหม่ๆ เข้าไปในคลังแสงอาวุธที่ประจำอยู่ทางมหาสมุทรอินเดียของตน มันจึงมีโอกาสที่จะกลายเป็นจุดที่เกิดความรุนแรง ซึ่งสหรัฐฯไม่ได้ปรารถนาเลย
ประการที่สอง พม่ามีความทะเยอทะยานทางด้านนิวเคลียร์ ในปี 2002 คณะรัฐบาลทหารพม่ายืนยันว่า มีแผนการที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการวิจัยขึ้นมาแห่งหนึ่งโดยที่ได้รับความสนับสนุนจากรัสเซีย นับแต่นั้นก็มีการส่งนายทหารบกจำนวนหนึ่งไปฝึกอบรมในมอสโก มีรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า พม่ากับเกาหลีเหนือได้ทำข้อตกลงลับๆ เพื่อก่อสร้างศูนย์นิวเคลียร์ใต้ดินในพม่า จนทำให้บางคนตั้งฉายาแก่พม่าว่า “เกาหลีเหนือรายต่อไป” มอร์เทน เพเดอร์เสน (Morten Pedersen) ผู้รอบรู้เรื่องพม่าให้ความเห็นว่า “สำหรับผู้คนที่เกี่ยวข้องในวอชิงตันแล้ว ประเด็นปัญหาเรื่องนิวเคลียร์นี้จะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ และก็จะต้องรับมือให้ดีด้วย”
ประการที่สาม มีการแพร่กระจายความคิดอิสลามแบบรุนแรงในบังกลาเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของพม่า โดยที่ผู้รู้อย่าง ซาจีบ วาเจด จอย (Sajeeb Wajed Joy) ได้เขียนเอาไว้ว่า “พวกอิสลามิสต์กำลังเติบโตขยายตัวอย่างใหญ่โตยิ่งในฝ่ายทหาร” ของบังกลาเทศ โดยกระโจนพรวดจากระดับ 5% ในปี 2001 กลายมาเป็น 35% ในทุกวันนี้ ขณะที่กำลังมีการปราบปรามพวกนักหนังสือพิมพ์และพวกปรปักษ์ทางการเมืองในกรุงธากา (เมืองหลวงของบังกลาเทศ) มากขึ้นทุกที สิ่งสุดท้ายที่โลกต้องการเห็นก็คือ การที่พม่าจะกลายเป็นปากีสถานแห่งลุ่มแม่น้ำอิรวดี ด้วยการปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายทั้งหลายเข้าไปพักพิงในเขตภาคเหนืออันห่างไกลของตน
คณะรัฐบาลโอบมาได้ได้หาทางเริ่มการสนทนาครั้งใหม่กับพม่า ด้วยการจัดการสนทนาในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในระยะเวลากว่าสิบปี กับคณะนายพลของแดนหม่อง ทว่านอกเหนือจากวุฒิสมาชิก เจมส์ เว็บบ์ (James Webb) ผู้ซึ่งมาเยือนพม่าในปี 2009 แล้ว รัฐสภาสหรัฐฯก็ดูไม่ได้สนอกสนใจอะไร “มันเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่รัฐสภาสหรัฐฯจะเต็มไปด้วยพวกงี่เง่า, พวกเย่อหยิ่งโอหัง, และคนโง่ที่อ้างเอาเองว่าตัวเองถูกต้อง” มา ธาเนกี (Ma Thanegi) ผู้ถูกจับติดคุกอยู่ 3 ปีหลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยของซูจี ให้ความเห็น “ยุทธวิธีของพวกเขากำลังช่วยทำให้ประชาชนของเราอดตาย ขอเอาใจช่วยคุณด้วยคนนึง มิสเตอร์โอบามา”
เพเดอร์เสนบอกว่า การเลือกตั้งรัฐสภาของพม่าซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในปีนี้ (โดยนับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990) คือโอกาส “ที่จะเปลี่ยนแปลงแรงขับดันโดยองค์รวมของนโยบายของสหรัฐฯ โดยที่จะต้องขยายวาระของสหรัฐฯในพม่าให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการสร้างสันติภาพและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ” ขณะที่ รอเบิร์ต เทย์เลอร์ (Robert Taylor) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าก็กล่าวเสริมว่า นี่คือ “โอกาสที่สหรัฐฯจะทำการถ่วงดุลอำนาจที่เพิ่มขึ้นทุกทีของจีนทั้งในเอเชียและในโลก”
สแตนลีย์ เอ ไวส์ เป็นประธานผู้ก่อตั้งกลุ่ม “ผู้บริหารภาคธุรกิจเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ” (Business Executives for National Security) องค์กรไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ข้อเขียนชิ้นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของเขา
'Bless you Mr Obama' on Myanmar
By Stanley A Weiss
09/03/2010
ขณะที่ฝ่ายตะวันตกลงโทษคว่ำบาตรพม่า อิทธิพลของจีนก็สามารถแผ่ขยายไปทั่วทั้งประเทศนั้น แต่บัดนี้มีเหตุผลเชิงยุทธศาสตร์อันหนักแน่นที่ทำให้สหรัฐฯต้องเพิ่มการสนทนากับคณะทหารผู้ปกครองพม่า รวมทั้งทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายในประเด็นนี้ ทั้งนี้อดีตผู้ช่วยคนหนึ่งของออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้เรียกขานนโยบายของฝ่ายตะวันตกด้วยความเศร้าใจว่า กำลังถือประเด็นเรื่องพม่าเป็นเพียงเรื่อง “บูติก” อันน่าเอ็นดูแต่ฉาบฉวย แถมยังกำลังทำให้ประชาชนในแดนหม่องต้องอดตาย
มัณฑะเลย์, พม่า – เมื่อเดือนกันยายน 1952 โจเซฟ สตาลิน จอมเผด็จการของรัสเซีย และ โจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้เปิดการหารือกันเป็นพิเศษ เพื่อพูดคุยถึงอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง “เหมา: เรื่องที่ยังไม่เคยถูกเล่าขาน” (Mao: The Unknown Story) โจวได้พูดถึงภูมิภาคดังกล่าวนี้ “ราวกับว่าชะตากรรมของภูมิภาคขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของปักกิ่งโดยสิ้นเชิง”
เขาอธิบายว่า ยุทธศาสตร์ขอจีนคือต้อง “ขยายอิทธิพลอย่างสันติโดยไม่มีการส่งกองกำลังอาวุธ” พร้อมกับยกตัวอย่างเรื่องของพม่า และทิเบต ทางฝ่ายสตาลินได้พูดตอบด้วยความขบขันแกมเหน็บแนมว่า “ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน ดังนั้นต้องส่งทหารจีนเข้าไปที่นั่น ส่วนสำหรับพม่านั้น พวกคุณควรต้องเดินหน้ากันอย่างระมัดระวัง”จากนั้น เขาก็กล่าวยืนยันเห็นพ้องว่า “จะเป็นเรื่องดีมากถ้าในพม่ามีรัฐบาลที่นิยมจีน”
เกือบ60 ปีให้หลัง เป็นเรื่องน่าประทับใจยิ่งที่ความหวังของโจวได้กลายเป็นความจริงในระดับยอดเยี่ยมถึงขนาดนี้ อิทธิพลของจีนสามารถพบเห็นได้ทุกหนทุกแห่งตลอดทั้งประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้ ผู้คนในท้องถิ่นพูดล้อเลียนกันว่า มัณฑะเลย์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์พม่า เวลานี้ควรเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ให้เป็น “เมืองหลวงของหยุนหนาน(ยูนนาน)” อันเป็นมณฑลของจีนที่อยู่ติดกับพม่า ในนครมัณฑะเลย์ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการแกะสลักหินอ่อนสีขาว มีเสียงเล่ากันว่าประมาณ 80% ของการสั่งแกะสลักงานใหม่ๆ ทั้งหมดในปัจจุบัน ไม่ใช่การสั่งให้แกะรูปปั้นในสไตล์พม่าแล้ว แต่เป็นพระพุทธรูปแบบจีน
สิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนน้อยกว่านี้ก็คือ การปรากฏตัวของจีนในพื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้ถูกสายตาของชาวตะวันตกพบเห็น บรรดาเหมืองหยกในรัฐคะฉิ่นที่ร่ำลือกันจนเป็นนิทาน และเป็นพื้นที่ซึ่งชาวต่างชาติส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้เข้าไป กลับต้อนรับคนงานเหมืองชาวจีนนับพันๆ คน ซึ่งส่งหยกที่ขุดมาได้ตรงไปยังประเทศจีน ไม่ไกลออกไปนัก โรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งที่กำลังทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย ก็ถูกสร้างขึ้นโดยจีน ดังที่เจ้าของธุรกิจคนสำคัญผู้หนึ่งบอกกับผู้เขียนคนนี้ว่า “เพื่อปกปิดการตัดไม้โค่นป่าจนเหี้ยนเตียนอย่างผิดกฎหมายโดยฝีมือของคนจีน” ไม้เหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปตามทางหลวง 2 สายที่แล่นตรงจากพม่าไปยังจีน โดยที่ทางหลวงดังกล่าวก่อสร้างขึ้นมาอย่างลับๆ ตั้งแต่ปี 2004
“ผู้คนที่มีการศึกษา (ของพม่า) ต่างทราบดีว่า จีนกำลังปล้นสะดมทรัพยากรอันมีค่าจากประเทศของพวกเขา โดยไม่ได้ให้อะไรตอบแทนกลับคืนมา” ผู้สังเกตการณ์ชาวตะวันตกที่เฝ้าติดตามประเทศนี้มาอย่างยาวนานผู้หนึ่งกล่าว “พวกเขาต้องการอย่างยิ่ง ที่จะมีคู่ค้าที่สามารถเป็นทางเลือก (นอกเหนือจากจีน)”
ทว่าจากการที่ฝ่ายตะวันตกดำเนินการคว่ำบาตรและลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า จึงทำให้ฝ่ายตะวันตก “โดยพื้นฐานแล้วได้กีดกันตัวเองออกไปจากเกมนี้” ถั่น มิ้นต์-อู (Thant Myint-U) หลานปู่ของ อู ถั่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าว ทั้งนี้จีนได้เร่งรีบเข้าเติมช่องว่างที่เกิดจากการผละจากไปของฝ่ายตะวันตก ด้วยการให้ความช่วยเหลือเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ตลอดจนขายอาวุธให้แก่คณะทหารผู้ปกครองประเทศพม่า ซึ่งกุมอำนาจผ่านทางนายพลชื่อต่างๆ มาตั้งแต่ปี 1962
แต่มีความรู้สึกกันมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในพม่าว่า ต้องยุติกันเสียทีสำหรับวันเวลาที่สหรัฐฯปฏิบัติต่อพม่าเสมือนเป็นประเด็นปัญหา “บูติก” (ดังที่ตัวแทนคนหนึ่งของบารัค โอบามา ได้เคยพูดเอาไว้ระหว่างการรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008 และเป็นที่จดจำกันได้ในพม่า) นั่นคือมุ่งเน้นสนใจแต่เรื่องสิทธิมนุษยชน และชะตากรรมของ ออง ซาน ซูจี
มีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ นี้อยู่ 3 ประการ ที่เป็นการสาดแสงสปอตไลต์ให้มองเห็นถึงผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของสหรัฐฯในพม่า อันเป็นประเทศซึ่งมีที่ตั้งขวางคั่นอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย
**ความน่าวิตกในทางยุทธศาสตร์**
พัฒนาการประการแรกคือ เรื่องท่อส่งน้ำมัน ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จีนประกาศว่ากำลังก่อสร้างท่อส่งน้ำมันความยาว 675 กิโลเมตร จากจีนผ่านพม่าไปสู่มหาสมุทรอินเดีย ในฐานะที่เป็นชาติผู้ใช้น้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก จีนต้องเผชิญกับ “สภาวะหนีเสื้อปะจระเข้ที่สืบเนื่องจากช่องแคบมะละกา” (Malacca Strait dilemma) มานานแล้ว กล่าวคือ 80% ของน้ำมันที่จีนนำมาใช้ต้องขนส่งผ่านช่องแคบที่ตั้งอยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซียแห่งนี้ ซึ่งมหาอำนาจที่เป็นปรปักษ์กับจีนสามารถที่จะตัดขาดได้ในเวลาที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมา
ท่อส่งน้ำมันสายใหม่ที่กำลังสร้างกันอยู่ จะช่วยให้จีนหลีกเลี่ยงการใช้ช่องแคบมะละกาลงไปได้มาก อีกทั้งยังทำให้แดนมังกรสามารถเข้าถึงมหาสมุทรอินเดียด้วย ทว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวซึ่งทำให้อินเดียที่เวลานี้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ เกิดความหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัด ไม่กี่วันหลังจากปักกิ่งเปิดเผยแผนการนี้ นิวเดลีก็แถลงว่าจะเพิ่มเรือรบจำนวน 40 ลำ และเสริมเครื่องบินขับไล่ใหม่ๆ เข้าไปในคลังแสงอาวุธที่ประจำอยู่ทางมหาสมุทรอินเดียของตน มันจึงมีโอกาสที่จะกลายเป็นจุดที่เกิดความรุนแรง ซึ่งสหรัฐฯไม่ได้ปรารถนาเลย
ประการที่สอง พม่ามีความทะเยอทะยานทางด้านนิวเคลียร์ ในปี 2002 คณะรัฐบาลทหารพม่ายืนยันว่า มีแผนการที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการวิจัยขึ้นมาแห่งหนึ่งโดยที่ได้รับความสนับสนุนจากรัสเซีย นับแต่นั้นก็มีการส่งนายทหารบกจำนวนหนึ่งไปฝึกอบรมในมอสโก มีรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า พม่ากับเกาหลีเหนือได้ทำข้อตกลงลับๆ เพื่อก่อสร้างศูนย์นิวเคลียร์ใต้ดินในพม่า จนทำให้บางคนตั้งฉายาแก่พม่าว่า “เกาหลีเหนือรายต่อไป” มอร์เทน เพเดอร์เสน (Morten Pedersen) ผู้รอบรู้เรื่องพม่าให้ความเห็นว่า “สำหรับผู้คนที่เกี่ยวข้องในวอชิงตันแล้ว ประเด็นปัญหาเรื่องนิวเคลียร์นี้จะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ และก็จะต้องรับมือให้ดีด้วย”
ประการที่สาม มีการแพร่กระจายความคิดอิสลามแบบรุนแรงในบังกลาเทศที่เป็นเพื่อนบ้านของพม่า โดยที่ผู้รู้อย่าง ซาจีบ วาเจด จอย (Sajeeb Wajed Joy) ได้เขียนเอาไว้ว่า “พวกอิสลามิสต์กำลังเติบโตขยายตัวอย่างใหญ่โตยิ่งในฝ่ายทหาร” ของบังกลาเทศ โดยกระโจนพรวดจากระดับ 5% ในปี 2001 กลายมาเป็น 35% ในทุกวันนี้ ขณะที่กำลังมีการปราบปรามพวกนักหนังสือพิมพ์และพวกปรปักษ์ทางการเมืองในกรุงธากา (เมืองหลวงของบังกลาเทศ) มากขึ้นทุกที สิ่งสุดท้ายที่โลกต้องการเห็นก็คือ การที่พม่าจะกลายเป็นปากีสถานแห่งลุ่มแม่น้ำอิรวดี ด้วยการปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายทั้งหลายเข้าไปพักพิงในเขตภาคเหนืออันห่างไกลของตน
คณะรัฐบาลโอบมาได้ได้หาทางเริ่มการสนทนาครั้งใหม่กับพม่า ด้วยการจัดการสนทนาในระดับสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในระยะเวลากว่าสิบปี กับคณะนายพลของแดนหม่อง ทว่านอกเหนือจากวุฒิสมาชิก เจมส์ เว็บบ์ (James Webb) ผู้ซึ่งมาเยือนพม่าในปี 2009 แล้ว รัฐสภาสหรัฐฯก็ดูไม่ได้สนอกสนใจอะไร “มันเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่รัฐสภาสหรัฐฯจะเต็มไปด้วยพวกงี่เง่า, พวกเย่อหยิ่งโอหัง, และคนโง่ที่อ้างเอาเองว่าตัวเองถูกต้อง” มา ธาเนกี (Ma Thanegi) ผู้ถูกจับติดคุกอยู่ 3 ปีหลังจากทำงานเป็นผู้ช่วยของซูจี ให้ความเห็น “ยุทธวิธีของพวกเขากำลังช่วยทำให้ประชาชนของเราอดตาย ขอเอาใจช่วยคุณด้วยคนนึง มิสเตอร์โอบามา”
เพเดอร์เสนบอกว่า การเลือกตั้งรัฐสภาของพม่าซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในปีนี้ (โดยนับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1990) คือโอกาส “ที่จะเปลี่ยนแปลงแรงขับดันโดยองค์รวมของนโยบายของสหรัฐฯ โดยที่จะต้องขยายวาระของสหรัฐฯในพม่าให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการสร้างสันติภาพและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ” ขณะที่ รอเบิร์ต เทย์เลอร์ (Robert Taylor) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่าก็กล่าวเสริมว่า นี่คือ “โอกาสที่สหรัฐฯจะทำการถ่วงดุลอำนาจที่เพิ่มขึ้นทุกทีของจีนทั้งในเอเชียและในโลก”
สแตนลีย์ เอ ไวส์ เป็นประธานผู้ก่อตั้งกลุ่ม “ผู้บริหารภาคธุรกิจเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ” (Business Executives for National Security) องค์กรไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดซึ่งมีสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตัน ข้อเขียนชิ้นนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของเขา