(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Wen plugs concerns over stimulus exit
By Olivia Chung
05/03/2010
จีนเผชิญอยู่กับ“สถานการณ์ที่มีความยอกย้อนซับซ้อนสูง” ซึ่งจีนจะต้องนำระบบเศรษฐกิจที่เพิ่งโผล่พ้นออกจากผลพวงแห่งภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ให้สามารถฝ่าสถานการณ์ดังกล่าวให้ได้อย่างมั่นคง ภารกิจนี้ไม่ง่ายเลยแม้สภาพแวดล้อมต่างๆ ถือได้ว่าดีขึ้นมากนับจากวันวารอันมืดมนอนธการในปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า บอกกับสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม ขณะเดียวกัน นายกฯ เวิน ก็ให้คำมั่นที่จะประคับประคองอัตราการเติบโตระดับ 8% เอาไว้ นี่ย่อมหมายความว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่รีบยกเลิกการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกเว้นแต่ภาวะเงินเฟ้อจะกลับกลายเป็นเรื่องน่าห่วงใยอย่างยิ่งขึ้นมาเท่านั้น
ฮ่องกง – นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีน ใช้โอกาสการประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People's Congress หรือ NPC) เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของผู้คน ที่ว่ารัฐบาลกลางแห่งแดนมังกรเตรียมจะลดจะเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายกันในเร็ววันหรืออย่างไร พร้อมกันนั้น นายกฯ เวิน ยังให้สัญญาที่จะประคับประคองอัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับยั่งยืนเอาไว้ต่อไป
เวินเจียเป่าได้สรุปถึงการวางมาตรการเร่งขยายการจับจ่ายภายในประเทศ และลดช่องว่างรายได้ระหว่างตัวเมืองกับภาคชนบท โดยมีตั้งแต่การเพิ่มมาตรการสนับสนุนภาคเกษตร ไปจนถึงการผ่อนคลายการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่มหานครทั้งหลาย
จีน “จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความยอกย้อนซับซ้อนสูง” ในอันที่จะประคองเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ ณ ระดับ 8% ได้อย่างมั่นคง แม้จะเป็นอัตราขยายตัวที่นับได้ว่าค่อนข้างร้อนแรง ในยามที่ประเทศจะต้องต่อสู้กับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งดำเนินอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นนับจากเมื่อปีที่แล้ว” คำกล่าวนี้เป็นตอนหนึ่งในคำแถลงของนายกฯ เวิน ในพิธีเปิดการประชุมเต็มคณะสมัยที่ 3 ของ NPC ชุดที่ 11 คราวนี้
จีนตั้งเป้า “ที่จะสร้างความแน่นอนให้แก่คุณภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยพุ่งโฟกัสไปที่การปรับกระบวนในด้านรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ และการปรับโฉมโครงสร้างทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ” เวินกล่าว พร้อมเสริมว่าค่าเงินหยวนจะถูกรักษาให้ “มั่นคงโดยพื้นฐาน” ณ ระดับที่ “เหมาะสมและมีสมดุล” กลไกเพื่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนจะมีการปรับปรุงกันต่อไป นายกฯ จีนบอกโดยไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ
เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่อัตรา 8.7% สูงกว่าเป้าหมายของทางการจีนซึ่งวางไว้ ณ 8% โดยได้ตัวช่วยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนคือ 4 ล้านล้านหยวน หรือราว 585,000 ล้านดอลลาร์ อันเป็นไปเพื่อป้องกันผลกระทบจากภาวะชะลอตัวในเศรษฐกิจโลก
ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศชั้นนำต่างๆ ทยอยพ้นออกมาจากภาวะถดถอย และภาคส่งออกสามารถกระเตื้องขึ้นได้นั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนก็ได้หวนคืนสู่ความตึงเครียด โดยที่สหรัฐอเมริกาและหลายต่อหลายชาติพากันกล่าวอ้างว่า เงินหยวนถูกกำหนดมูลค่าไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ส่งออกของจีนให้มีความมได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนช่วยให้ประเทศจีนมีการเกินดุลชำระเงินเพิ่มขึ้น
นักการเมืองสหรัฐฯ บางรายอ้างไปถึงขนาดที่ว่า ค่าเงินหยวนที่เป็นอยู่นี้คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ พุ่งไปสูงถึงระดับ 10% ในปัจจุบัน โดยที่อัตราว่างงานจะแตะระดับ 17% ทีเดียวหากคำนวณรวมเอาพวกที่เลิกความพยายามที่จะหางานทำแล้ว
สำหรับความกังวลของวอชิงตันในอีกด้านหนึ่ง ได้แก่งบประมาณด้านกลาโหมของจีน เรื่องนี้โฆษกสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หลี่เจ้าชิง ซึ่งเคยเป็นรมว.ต่างประเทศมาก่อน ออกมากล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อต้นเดือนมีนาคมว่า ในปี 2010 งบค่าใช้จ่ายด้านการทหารของจีนจะขยายตัวในอัตรา 7.5% จากที่เคยเพิ่มงบในด้านนี้ขึ้นไปด้วยอัตราสูงถึง 14.9% เมื่อปี 2009 สำหรับจีนแล้ว อัตราขยายตัวดังกล่าวนี้ นับเป็นการเพิ่มงบด้านการทหารที่น้อยที่สุดในทศวรรษนี้ ในทางรูปธรรม งบกลาโหมของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 532,100 ล้านหยวน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา จีนเพิ่มงบด้านนี้ขึ้นไปอย่างน้อย 10% ทุกปีตลอดระยะ 10 ปี สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานไว้อย่างนั้น โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับปี 2010 สหรัฐฯ ตั้งเป้าค่าใช้จ่ายด้านการทหารไว้ถึง 636,300 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านการทหารของจีนในทางเป็นจริงสามารถพุ่งเกินกว่างบทางการไปได้มาถึง 2.5 เท่าตัว บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจาก ฟิลลิป ซี เซาน์เดอร์ส (Phillip C Saunders) นักวิจัยแห่งสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์แห่งชาติ (Institute for National Strategic Studies) ในสังกัดของมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense University) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ทั้งนี้เนื่องจาก ตัวเลขที่ทางการจีนนำออกเผยแพร่ จะไม่รวมการซื้อระบบอาวุธจากต่างประเทศ ตลอดจนไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านเงินบำนาญ เซาน์เดอร์ส กล่าว
ในการแถลงของ NPC คราวนี้ นายกฯเวินระบุว่า จีนจะสืบสานนโยบายการเงินผ่อนปรนแบบพอประมาณในปี 2010 พร้อมกับพูดว่า “เราจำเป็นที่จะต้องรักษาความต่อเนื่องและเสถียรภาพของนโยบายต่างๆ ของเรา พร้อมกับทำให้มันมีเป้าหมายที่ดีขึ้นกับมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเสมอๆ ในขณะที่สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆ ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา”
รัฐบาลจะบูรณาการปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดพลวัตในการพลิกผันให้เศรษฐกิจดีขึ้น นอกจากนั้น รัฐบาลยังจำเป็นที่จะต้องเร่งการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสร้างความก้าวหน้าอย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่การปรับกระบวนในด้านรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ นายกฯเวินกล่าว ในการนี้ จีนใช้แรงกระตุ้นด้านภาษี ตลอดจนมาตรการอื่นๆ อีกหลากหลายในการเร่งพลังการบริโภคภายในประเทศ เพื่อลดบรรเทาการพึ่งพิงภาคส่งออกในอันที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เสิ่นหมิงเกา (Shen Minggao) นักเศรษฐศาสตร์จีนในสังกัดซิตี้กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า เอกสารของทางการที่ใช้ในการประชุม NPC ยังไม่ได้เอ่ยถ้อยคำอันระบุถึงการผละจากนโยบายกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะฝ่ายผู้กำหนดนโยบายเชื่อว่าจะไปสร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นของตลาด
“ก่อนที่เงินเฟ้อกลายมาเป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจน นโยบายผละจากการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะจำกัดขอบเขตอยู่ในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปัญหากำลังการผลิตล้นเกิน และประเด็นการควบคุมสินเชื่อ” เสิ่น บอก
นายกฯ เวิน กล่าวว่าจีนต้องรักษาระดับราคาในภาพรวมให้คงเสถียรภาพด้วย โดยจะประคองให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ให้ขยายตัวที่ระดับประมาณ 3%
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา อัตราขยายตัวของดัชนีซีพีไอแผ่วสู่ระดับ 1.5% จากเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการผ่อนลงมาจากอัตราโต 1.9% เมื่อเดือนธันวาคม ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับนั้น พบว่าในเดือนมกราคม ดัชนี้หมวดนี้พุ่งขึ้น 4.3% จากช่วงเดียวกันของเมื่อปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับเมื่อเดือนธันวาคม ดัชนีปรับสูงขึ้น 1.7% หลังจากที่ถดถอยตลอด 12 เดือน
พอลลีน หลุง (Pauline Loong) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยความเสี่ยงและนโยบายจีนแห่งค่ายซีไอเอ็มบี-จีเค ซีเคียวริตีส์ (ฮ่องกง) ให้ความเห็นว่า คำแถลงนโยบายจำนวนนับไม่ถ้วนในปีนี้ ได้แสดงให้เห็นแจ่มชัดว่า รัฐบาลจีนกำลังทำการบริหารสภาพคล่อง มิใช่ถึงขั้นเป็นการปิดก๊อกอัดฉีด และการประกาศของเวินครั้งนี้ยิ่งย้ำความมุ่งมั่นของรัฐบาลจีนในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“เรามองเห็นรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคในระดับท้องถิ่น ตลอดทั้งยังมีการนำเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนด้านสินเชื่อและการกระตุ้นการบริโภคภายในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” หลุงบอก
มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนแสดงความกังวลว่า เม็ดเงินเพื่อกระตุ้นระบบจะไม่ไปยังตลาดเอกชน อาทิ พวกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทมากกว่าใครในด้านการสร้างงาน โดยเม็ดเงินเหล่านั้นมีแต่จะไหลบ่าไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์และไปยังพวกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ในระดับราคาสินทรัพย์ พร้อมกับยิ่งขยายช่องว่างรายได้
ธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะพวกเอสเอ็มอี ถูกกันออกจากแหล่งสินเชื่อที่ภาครัฐอัดฉีดเข้าไปอย่างมหาศาล จนทำให้วงเงินสินเชื่อใหม่ในเมื่อปีที่แล้วพุ่งขึ้นไปสองเท่าตัว แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านล้านหยวน ข้อมูลจากพอลลีน หลุง ระบุไว้อย่างนั้น พร้อมกับชี้ว่า สินเชื่อส่วนใหญ่เทไปยังรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ พร้อมกับไปสนับสนุนเชิงการเงินให้แก่บรรดากิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย
นายกฯเวิน ลั่นวาจาในคราวนี้ไว้ว่ารัฐบาลกลางจะจัดสรรงบประมาณ 10,600 ล้านหยวน ให้แก่การสนับสนุนเอสเอ็มอี ทั้งนี้ ธุรกิจในภาคเอกชนมีส่วนในการสร้างงานมากกว่า 11 ล้านตำแหน่งในปี 2009 หรือมากกว่า 90% ของตำแหน่งงานใหม่ ตามข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมและพาณิชย์ทั่วจีนแผ่นดินใหญ่
โฟกัสในปีนี้จะแตกต่างจากในปีที่แล้ว โดยในปี 2009 นั้นประเด็นเศรษฐกิจมหภาคสามารถยึดกุมความโดดเด่นในวาระของ NPC สืบเนื่องจากอิทธิพลจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลกนั่นเอง แต่ในปีนี้ ความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศ อาทิ ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ และระดับราคาบ้านที่อยู่อาศัยที่พุ่งทะยาน จะได้รับความสนใจอย่างสูง
รายงานยาว 36 หน้าที่แถลงโดยนายกฯ เวิน แตะไปในเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ไม่ถึง 1 หน้า ซึ่งนั่นคงจะสร้างความผิดหวังแก่สาธารณชนที่มีความวิตกต่อประเด็นต้นทุนที่อยู่อาศัยกันอย่างมาก ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยที่มีการทำนิติกรรมสัญญากัน ทะยานขึ้นไป 24% ในปีที่แล้ว แตะระดับ 4,695 หยวนต่อตารางเมตร โดยมีราคาที่มหานครเซี่ยงไฮ้นำโด่งด้วยอัตราขยายตัว 27.6% ตามด้วยราคาที่ปักกิ่ง ขยายตัว 16.4% ตามรายงานเดือนมกราคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นายกฯ เวิน ปวารณาว่าจะขยายการกระจายรายได้ เพื่อให้เป็นช่องทางหลักในการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ และลดช่องว่างด้านรายได้
“เราจะไม่แค่เพียงทำให้ส่วนแบ่งของ‘ขนมพาย’แห่งความมั่งคั่งในสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ แต่เราจะทำการกระจายส่วนแบ่งเป็นได้ด้วยดีมากขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของระบบการกระจายรายได้ที่สมด้วยเหตุผล” นายกฯ จีนกล่าวไว้อย่างนั้น พร้อมบอกด้วยว่ารัฐบาลจะกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของรายได้ของผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน เวินลั่นวาจาว่าจะทลายปัญหารายได้ผิดกฎหมาย ออกกฎควบคุมรายได้นอกบัญชี ทยอยสร้างรูปแบบการกระจายรายได้ที่โปร่งใส เป็นธรรม และสมเหตุสมผล อีกทั้งจะแก้ปัญหาช่องว่างรายได้ที่คอยแต่จะขยายกว้าง
ภายในประเทศจีนนั้น นับวันเสียงโวยจะดังขึ้นเรื่อยในเรื่องว่า การเติบโตของรายได้ที่เป็นอยู่ ส่งผลไปฉุดการเพิ่มในรายได้ทางการคลังของรัฐ นอกจากนั้น รายได้ที่อยู่ในระดับต่ำยังถูกมองเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามของรัฐบาล ที่จะดึงพลังการเติบโตออกจากภาคส่งออก ไปสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคของเอกชนเป็นสำคัญ
รายได้เฉลี่ยต่อหัวสุทธิเต็มปีของคนเมือง มีอัตราขยายตัวที่ 9.8% อยู่ที่ระดับ 17,175 หยวนในปีที่แล้ว เกือบจะเป็นสามเท่าของรายได้เฉลี่ยในภาคชนทซึ่งอยู่ที่ระดับ 5,153 หยวน หรือเท่ากับอัตราขยายตัว 8.5% ในปี 2009 ตามข้อมูลตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปัจจุบันนี้ ช่องว่างรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทดำเนินอยู่ระดับที่กว้างที่สุดนับจากที่จีนเริ่มนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในปี 1978 นี้เป็นการวิเคราะห์ของ หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่
รัฐบาลกลางจะเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคการเกษตร และพื้นที่ชนบท ตลอดจนกลุ่มเกษตรกร โดยจะขยายค่าใช้จ่ายขึ้น 21.8% หรือ 725,300 ล้านหยวน แล้วจะจัดสรรให้อีก 133,500 ล้านหยวน เพื่ออุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตร นายกฯ เวินแถลงต่อ NPC
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว มักดำเนินอยู่บนต้นทุนราคาแพงในด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ มลพิษทางน้ำและอากาศ ตลอดจนการทำลายป่า การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอันตรายอื่นๆ ที่ถูกชุมชนวิทยาศาสตร์หลายหลากค่าย เชื่อมโยงกับปัญหาความผันผวนในสภาพภูมิอากาศโลก นับวันแต่จะทวีความรุนแรงภายในจีน ตามการสร้างโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงจากการเผาผลาญถ่านหิน
นายกฯเวินกล่าวว่า จีนจะทุ่มเทมากขึ้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้คาร์บอนในระดับต่ำ รวมทั้งจะพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อรับมือกับปัญหาความผันผวนในสภาพภูมิอากาศโลก และบอกว่าจีนวางแผนจะขยายพื้นที่ป่าให้ได้อย่างน้อย 5.92 ล้านเฮกตาร์ในปีนี้ด้วย
ใช่แต่เท่านั้น นายกฯ เวินบอกด้วยว่า NPC จะปฏิรูประบบฐานข้อมูลทะเบียนครัวเรือนแห่งชาติ (national household registration system) และจะผ่อนคลายข้อบังคับเกี่ยวกับการจดทะเบียนถิ่นฐานที่อยู่อาศัยถาวร (ระบบ hukou) ในตัวเมือง ตลอดจนเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม
ระบบ hukou นำมาใช้ในปี 1958 เมื่อรัฐบาลเริ่มจำกัดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโยกย้ายจากพื้นที่ชนบทเข้าสู่ตัวเมือง ภายใต้ระบบปัจจุบัน แรงงานย้ายถิ่นต้องจดทะเบียนว่ามีแหล่งที่อยู่อาศัยถาวรในพื้นที่ชนบท ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้ยากที่จะได้รับสวัสดิการ อาทิ การรักษาพยาบาล การศึกษา อีกทั้งสิทธิประโยชน์อื่นๆ จำนวนมากขณะที่เข้าไปใช้ชีวิตในตัวเมือง
ในการนี้ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์บนจีนแผ่นดินใหญ่จำนวน 13 ฉบับที่ครอบคลุมพื้นที่ 11 มณฑล ได้ร่วมกันอุทธรณ์ด้วยการออกบทบรรณาธิการที่ลงนามร่วมกัน เพื่อเรียกร้องให้ทางการยุติระบบ hukou นี้เสีย
บทบรรณาธิการร่วมนี้กล่าวว่า ภายในพื้นที่ชนบทมีศักยภาพอันมหาศาลด้านอุปสงค์เพื่อการบริโภคจากผู้คนกว่า 900 ล้านชีวิต ที่จะช่วยเร่งขยายอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจหดตัวจากความซบเซาของภาคส่งออก พร้อมกับช่วยเร่งเครื่องให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ
โอลิเวีย ชุง เป็นผู้สื่อข่าวของเอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ ซึ่งประจำอยู่ในฮ่องกง
Wen plugs concerns over stimulus exit
By Olivia Chung
05/03/2010
จีนเผชิญอยู่กับ“สถานการณ์ที่มีความยอกย้อนซับซ้อนสูง” ซึ่งจีนจะต้องนำระบบเศรษฐกิจที่เพิ่งโผล่พ้นออกจากผลพวงแห่งภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ให้สามารถฝ่าสถานการณ์ดังกล่าวให้ได้อย่างมั่นคง ภารกิจนี้ไม่ง่ายเลยแม้สภาพแวดล้อมต่างๆ ถือได้ว่าดีขึ้นมากนับจากวันวารอันมืดมนอนธการในปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่า บอกกับสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติเมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม ขณะเดียวกัน นายกฯ เวิน ก็ให้คำมั่นที่จะประคับประคองอัตราการเติบโตระดับ 8% เอาไว้ นี่ย่อมหมายความว่ารัฐบาลจีนจะยังไม่รีบยกเลิกการใช้มาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ยกเว้นแต่ภาวะเงินเฟ้อจะกลับกลายเป็นเรื่องน่าห่วงใยอย่างยิ่งขึ้นมาเท่านั้น
ฮ่องกง – นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีน ใช้โอกาสการประชุมประจำปีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ (National People's Congress หรือ NPC) เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของผู้คน ที่ว่ารัฐบาลกลางแห่งแดนมังกรเตรียมจะลดจะเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหลายกันในเร็ววันหรืออย่างไร พร้อมกันนั้น นายกฯ เวิน ยังให้สัญญาที่จะประคับประคองอัตราการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับยั่งยืนเอาไว้ต่อไป
เวินเจียเป่าได้สรุปถึงการวางมาตรการเร่งขยายการจับจ่ายภายในประเทศ และลดช่องว่างรายได้ระหว่างตัวเมืองกับภาคชนบท โดยมีตั้งแต่การเพิ่มมาตรการสนับสนุนภาคเกษตร ไปจนถึงการผ่อนคลายการควบคุมการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่มหานครทั้งหลาย
จีน “จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความยอกย้อนซับซ้อนสูง” ในอันที่จะประคองเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ ณ ระดับ 8% ได้อย่างมั่นคง แม้จะเป็นอัตราขยายตัวที่นับได้ว่าค่อนข้างร้อนแรง ในยามที่ประเทศจะต้องต่อสู้กับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งดำเนินอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นนับจากเมื่อปีที่แล้ว” คำกล่าวนี้เป็นตอนหนึ่งในคำแถลงของนายกฯ เวิน ในพิธีเปิดการประชุมเต็มคณะสมัยที่ 3 ของ NPC ชุดที่ 11 คราวนี้
จีนตั้งเป้า “ที่จะสร้างความแน่นอนให้แก่คุณภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยพุ่งโฟกัสไปที่การปรับกระบวนในด้านรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ และการปรับโฉมโครงสร้างทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ” เวินกล่าว พร้อมเสริมว่าค่าเงินหยวนจะถูกรักษาให้ “มั่นคงโดยพื้นฐาน” ณ ระดับที่ “เหมาะสมและมีสมดุล” กลไกเพื่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนจะมีการปรับปรุงกันต่อไป นายกฯ จีนบอกโดยไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ
เมื่อปีที่แล้ว เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่อัตรา 8.7% สูงกว่าเป้าหมายของทางการจีนซึ่งวางไว้ ณ 8% โดยได้ตัวช่วยจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนคือ 4 ล้านล้านหยวน หรือราว 585,000 ล้านดอลลาร์ อันเป็นไปเพื่อป้องกันผลกระทบจากภาวะชะลอตัวในเศรษฐกิจโลก
ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศชั้นนำต่างๆ ทยอยพ้นออกมาจากภาวะถดถอย และภาคส่งออกสามารถกระเตื้องขึ้นได้นั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนก็ได้หวนคืนสู่ความตึงเครียด โดยที่สหรัฐอเมริกาและหลายต่อหลายชาติพากันกล่าวอ้างว่า เงินหยวนถูกกำหนดมูลค่าไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้ส่งออกของจีนให้มีความมได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนช่วยให้ประเทศจีนมีการเกินดุลชำระเงินเพิ่มขึ้น
นักการเมืองสหรัฐฯ บางรายอ้างไปถึงขนาดที่ว่า ค่าเงินหยวนที่เป็นอยู่นี้คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ พุ่งไปสูงถึงระดับ 10% ในปัจจุบัน โดยที่อัตราว่างงานจะแตะระดับ 17% ทีเดียวหากคำนวณรวมเอาพวกที่เลิกความพยายามที่จะหางานทำแล้ว
สำหรับความกังวลของวอชิงตันในอีกด้านหนึ่ง ได้แก่งบประมาณด้านกลาโหมของจีน เรื่องนี้โฆษกสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติ หลี่เจ้าชิง ซึ่งเคยเป็นรมว.ต่างประเทศมาก่อน ออกมากล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อต้นเดือนมีนาคมว่า ในปี 2010 งบค่าใช้จ่ายด้านการทหารของจีนจะขยายตัวในอัตรา 7.5% จากที่เคยเพิ่มงบในด้านนี้ขึ้นไปด้วยอัตราสูงถึง 14.9% เมื่อปี 2009 สำหรับจีนแล้ว อัตราขยายตัวดังกล่าวนี้ นับเป็นการเพิ่มงบด้านการทหารที่น้อยที่สุดในทศวรรษนี้ ในทางรูปธรรม งบกลาโหมของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 532,100 ล้านหยวน ทั้งนี้ ที่ผ่านมา จีนเพิ่มงบด้านนี้ขึ้นไปอย่างน้อย 10% ทุกปีตลอดระยะ 10 ปี สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานไว้อย่างนั้น โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำหรับปี 2010 สหรัฐฯ ตั้งเป้าค่าใช้จ่ายด้านการทหารไว้ถึง 636,300 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านการทหารของจีนในทางเป็นจริงสามารถพุ่งเกินกว่างบทางการไปได้มาถึง 2.5 เท่าตัว บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจาก ฟิลลิป ซี เซาน์เดอร์ส (Phillip C Saunders) นักวิจัยแห่งสถาบันเพื่อการศึกษายุทธศาสตร์แห่งชาติ (Institute for National Strategic Studies) ในสังกัดของมหาวิทยาลัยป้องกันประเทศ (National Defense University) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ทั้งนี้เนื่องจาก ตัวเลขที่ทางการจีนนำออกเผยแพร่ จะไม่รวมการซื้อระบบอาวุธจากต่างประเทศ ตลอดจนไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านเงินบำนาญ เซาน์เดอร์ส กล่าว
ในการแถลงของ NPC คราวนี้ นายกฯเวินระบุว่า จีนจะสืบสานนโยบายการเงินผ่อนปรนแบบพอประมาณในปี 2010 พร้อมกับพูดว่า “เราจำเป็นที่จะต้องรักษาความต่อเนื่องและเสถียรภาพของนโยบายต่างๆ ของเรา พร้อมกับทำให้มันมีเป้าหมายที่ดีขึ้นกับมีความยืดหยุ่นมากขึ้นเสมอๆ ในขณะที่สภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆ ปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา”
รัฐบาลจะบูรณาการปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดพลวัตในการพลิกผันให้เศรษฐกิจดีขึ้น นอกจากนั้น รัฐบาลยังจำเป็นที่จะต้องเร่งการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสร้างความก้าวหน้าอย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่การปรับกระบวนในด้านรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ นายกฯเวินกล่าว ในการนี้ จีนใช้แรงกระตุ้นด้านภาษี ตลอดจนมาตรการอื่นๆ อีกหลากหลายในการเร่งพลังการบริโภคภายในประเทศ เพื่อลดบรรเทาการพึ่งพิงภาคส่งออกในอันที่จะขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เสิ่นหมิงเกา (Shen Minggao) นักเศรษฐศาสตร์จีนในสังกัดซิตี้กรุ๊ป ให้ความเห็นว่า เอกสารของทางการที่ใช้ในการประชุม NPC ยังไม่ได้เอ่ยถ้อยคำอันระบุถึงการผละจากนโยบายกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะฝ่ายผู้กำหนดนโยบายเชื่อว่าจะไปสร้างความเสียหายต่อความเชื่อมั่นของตลาด
“ก่อนที่เงินเฟ้อกลายมาเป็นภัยคุกคามอย่างชัดเจน นโยบายผละจากการกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะจำกัดขอบเขตอยู่ในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ปัญหากำลังการผลิตล้นเกิน และประเด็นการควบคุมสินเชื่อ” เสิ่น บอก
นายกฯ เวิน กล่าวว่าจีนต้องรักษาระดับราคาในภาพรวมให้คงเสถียรภาพด้วย โดยจะประคองให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ให้ขยายตัวที่ระดับประมาณ 3%
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา อัตราขยายตัวของดัชนีซีพีไอแผ่วสู่ระดับ 1.5% จากเมื่อช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการผ่อนลงมาจากอัตราโต 1.9% เมื่อเดือนธันวาคม ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับนั้น พบว่าในเดือนมกราคม ดัชนี้หมวดนี้พุ่งขึ้น 4.3% จากช่วงเดียวกันของเมื่อปีที่แล้ว และเมื่อเทียบกับเมื่อเดือนธันวาคม ดัชนีปรับสูงขึ้น 1.7% หลังจากที่ถดถอยตลอด 12 เดือน
พอลลีน หลุง (Pauline Loong) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยความเสี่ยงและนโยบายจีนแห่งค่ายซีไอเอ็มบี-จีเค ซีเคียวริตีส์ (ฮ่องกง) ให้ความเห็นว่า คำแถลงนโยบายจำนวนนับไม่ถ้วนในปีนี้ ได้แสดงให้เห็นแจ่มชัดว่า รัฐบาลจีนกำลังทำการบริหารสภาพคล่อง มิใช่ถึงขั้นเป็นการปิดก๊อกอัดฉีด และการประกาศของเวินครั้งนี้ยิ่งย้ำความมุ่งมั่นของรัฐบาลจีนในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
“เรามองเห็นรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคในระดับท้องถิ่น ตลอดทั้งยังมีการนำเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนด้านสินเชื่อและการกระตุ้นการบริโภคภายในภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” หลุงบอก
มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนแสดงความกังวลว่า เม็ดเงินเพื่อกระตุ้นระบบจะไม่ไปยังตลาดเอกชน อาทิ พวกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทมากกว่าใครในด้านการสร้างงาน โดยเม็ดเงินเหล่านั้นมีแต่จะไหลบ่าไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์และไปยังพวกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ปัญหาฟองสบู่ในระดับราคาสินทรัพย์ พร้อมกับยิ่งขยายช่องว่างรายได้
ธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะพวกเอสเอ็มอี ถูกกันออกจากแหล่งสินเชื่อที่ภาครัฐอัดฉีดเข้าไปอย่างมหาศาล จนทำให้วงเงินสินเชื่อใหม่ในเมื่อปีที่แล้วพุ่งขึ้นไปสองเท่าตัว แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 9.6 ล้านล้านหยวน ข้อมูลจากพอลลีน หลุง ระบุไว้อย่างนั้น พร้อมกับชี้ว่า สินเชื่อส่วนใหญ่เทไปยังรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ พร้อมกับไปสนับสนุนเชิงการเงินให้แก่บรรดากิจกรรมเก็งกำไรทั้งหลาย
นายกฯเวิน ลั่นวาจาในคราวนี้ไว้ว่ารัฐบาลกลางจะจัดสรรงบประมาณ 10,600 ล้านหยวน ให้แก่การสนับสนุนเอสเอ็มอี ทั้งนี้ ธุรกิจในภาคเอกชนมีส่วนในการสร้างงานมากกว่า 11 ล้านตำแหน่งในปี 2009 หรือมากกว่า 90% ของตำแหน่งงานใหม่ ตามข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมและพาณิชย์ทั่วจีนแผ่นดินใหญ่
โฟกัสในปีนี้จะแตกต่างจากในปีที่แล้ว โดยในปี 2009 นั้นประเด็นเศรษฐกิจมหภาคสามารถยึดกุมความโดดเด่นในวาระของ NPC สืบเนื่องจากอิทธิพลจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลกนั่นเอง แต่ในปีนี้ ความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศ อาทิ ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ และระดับราคาบ้านที่อยู่อาศัยที่พุ่งทะยาน จะได้รับความสนใจอย่างสูง
รายงานยาว 36 หน้าที่แถลงโดยนายกฯ เวิน แตะไปในเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ไม่ถึง 1 หน้า ซึ่งนั่นคงจะสร้างความผิดหวังแก่สาธารณชนที่มีความวิตกต่อประเด็นต้นทุนที่อยู่อาศัยกันอย่างมาก ทั้งนี้ ราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยที่มีการทำนิติกรรมสัญญากัน ทะยานขึ้นไป 24% ในปีที่แล้ว แตะระดับ 4,695 หยวนต่อตารางเมตร โดยมีราคาที่มหานครเซี่ยงไฮ้นำโด่งด้วยอัตราขยายตัว 27.6% ตามด้วยราคาที่ปักกิ่ง ขยายตัว 16.4% ตามรายงานเดือนมกราคมของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
นายกฯ เวิน ปวารณาว่าจะขยายการกระจายรายได้ เพื่อให้เป็นช่องทางหลักในการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ และลดช่องว่างด้านรายได้
“เราจะไม่แค่เพียงทำให้ส่วนแบ่งของ‘ขนมพาย’แห่งความมั่งคั่งในสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ แต่เราจะทำการกระจายส่วนแบ่งเป็นได้ด้วยดีมากขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของระบบการกระจายรายได้ที่สมด้วยเหตุผล” นายกฯ จีนกล่าวไว้อย่างนั้น พร้อมบอกด้วยว่ารัฐบาลจะกำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของรายได้ของผู้บริหารในรัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน เวินลั่นวาจาว่าจะทลายปัญหารายได้ผิดกฎหมาย ออกกฎควบคุมรายได้นอกบัญชี ทยอยสร้างรูปแบบการกระจายรายได้ที่โปร่งใส เป็นธรรม และสมเหตุสมผล อีกทั้งจะแก้ปัญหาช่องว่างรายได้ที่คอยแต่จะขยายกว้าง
ภายในประเทศจีนนั้น นับวันเสียงโวยจะดังขึ้นเรื่อยในเรื่องว่า การเติบโตของรายได้ที่เป็นอยู่ ส่งผลไปฉุดการเพิ่มในรายได้ทางการคลังของรัฐ นอกจากนั้น รายได้ที่อยู่ในระดับต่ำยังถูกมองเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามของรัฐบาล ที่จะดึงพลังการเติบโตออกจากภาคส่งออก ไปสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคของเอกชนเป็นสำคัญ
รายได้เฉลี่ยต่อหัวสุทธิเต็มปีของคนเมือง มีอัตราขยายตัวที่ 9.8% อยู่ที่ระดับ 17,175 หยวนในปีที่แล้ว เกือบจะเป็นสามเท่าของรายได้เฉลี่ยในภาคชนทซึ่งอยู่ที่ระดับ 5,153 หยวน หรือเท่ากับอัตราขยายตัว 8.5% ในปี 2009 ตามข้อมูลตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปัจจุบันนี้ ช่องว่างรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทดำเนินอยู่ระดับที่กว้างที่สุดนับจากที่จีนเริ่มนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศในปี 1978 นี้เป็นการวิเคราะห์ของ หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลี่
รัฐบาลกลางจะเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อส่งเสริมสนับสนุนภาคการเกษตร และพื้นที่ชนบท ตลอดจนกลุ่มเกษตรกร โดยจะขยายค่าใช้จ่ายขึ้น 21.8% หรือ 725,300 ล้านหยวน แล้วจะจัดสรรให้อีก 133,500 ล้านหยวน เพื่ออุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตร นายกฯ เวินแถลงต่อ NPC
การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว มักดำเนินอยู่บนต้นทุนราคาแพงในด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ มลพิษทางน้ำและอากาศ ตลอดจนการทำลายป่า การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอันตรายอื่นๆ ที่ถูกชุมชนวิทยาศาสตร์หลายหลากค่าย เชื่อมโยงกับปัญหาความผันผวนในสภาพภูมิอากาศโลก นับวันแต่จะทวีความรุนแรงภายในจีน ตามการสร้างโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงจากการเผาผลาญถ่านหิน
นายกฯเวินกล่าวว่า จีนจะทุ่มเทมากขึ้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้คาร์บอนในระดับต่ำ รวมทั้งจะพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกเพื่อรับมือกับปัญหาความผันผวนในสภาพภูมิอากาศโลก และบอกว่าจีนวางแผนจะขยายพื้นที่ป่าให้ได้อย่างน้อย 5.92 ล้านเฮกตาร์ในปีนี้ด้วย
ใช่แต่เท่านั้น นายกฯ เวินบอกด้วยว่า NPC จะปฏิรูประบบฐานข้อมูลทะเบียนครัวเรือนแห่งชาติ (national household registration system) และจะผ่อนคลายข้อบังคับเกี่ยวกับการจดทะเบียนถิ่นฐานที่อยู่อาศัยถาวร (ระบบ hukou) ในตัวเมือง ตลอดจนเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม
ระบบ hukou นำมาใช้ในปี 1958 เมื่อรัฐบาลเริ่มจำกัดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเสรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโยกย้ายจากพื้นที่ชนบทเข้าสู่ตัวเมือง ภายใต้ระบบปัจจุบัน แรงงานย้ายถิ่นต้องจดทะเบียนว่ามีแหล่งที่อยู่อาศัยถาวรในพื้นที่ชนบท ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้ยากที่จะได้รับสวัสดิการ อาทิ การรักษาพยาบาล การศึกษา อีกทั้งสิทธิประโยชน์อื่นๆ จำนวนมากขณะที่เข้าไปใช้ชีวิตในตัวเมือง
ในการนี้ เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์บนจีนแผ่นดินใหญ่จำนวน 13 ฉบับที่ครอบคลุมพื้นที่ 11 มณฑล ได้ร่วมกันอุทธรณ์ด้วยการออกบทบรรณาธิการที่ลงนามร่วมกัน เพื่อเรียกร้องให้ทางการยุติระบบ hukou นี้เสีย
บทบรรณาธิการร่วมนี้กล่าวว่า ภายในพื้นที่ชนบทมีศักยภาพอันมหาศาลด้านอุปสงค์เพื่อการบริโภคจากผู้คนกว่า 900 ล้านชีวิต ที่จะช่วยเร่งขยายอุปสงค์ภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจหดตัวจากความซบเซาของภาคส่งออก พร้อมกับช่วยเร่งเครื่องให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ
โอลิเวีย ชุง เป็นผู้สื่อข่าวของเอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ ซึ่งประจำอยู่ในฮ่องกง