(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Weapon seizure hits North Korea hard
By Brian McCartan
21/12/2009
ประเทศไทยยึดอาวุธเกาหลีเหนือที่ซุกซ่อนอยู่บนเครื่องบินบรรทุกสินค้าซึ่งจดทะเบียนเอาไว้กับสาธารณรัฐจอร์เจีย โดยมีความเป็นไปได้ว่าอาวุธเหล่านี้กำลังจะถูกส่งไปยังตะวันออกกลาง กรณีนี้ถือเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงต่อแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของเกาหลีเหนือทีเดียว ขณะเดียวกัน มันก็ยังเป็นเสมือนการสาดส่องลำแสงเข้าไปให้เห็นถึงภายในโลกแห่งการลักลอบค้าอาวุธนานาชาติ ซึ่งปกติแล้วจะปกคลุมด้วยความมัวมนสลัวราง
กรุงเทพฯ– กรณีประเทศไทยเข้ายึดเครื่องบินบรรทุกสินค้าที่กำลังขนส่งอาวุธจำนวนมาก พร้อมทั้งจับกุมพวกลูกเรือเอาไว้ ยังคงเต็มไปปริศนาข้อกังขาที่คลี่คลายไม่ได้อยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่า จุดหมายปลายทางของอาวุธเหล่านี้คือที่ใด และผู้ซื้ออาวุธเหล่านี้คือใคร ล้วนเป็นคำถามที่ยังคงไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันและนักวิเคราะห์จำนวนมากต่างเชื่อว่า การถูกขัดขวางการขนส่งสินค้าคราวนี้ ถือเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงเข้าใส่กิจการค้าอาวุธของเกาหลีเหนือ
เที่ยวบินเดินทางของเครื่องบินที่จดทะเบียนว่าเป็นของบริษัทแอร์เวสต์ (Air West) ลำนี้ ดูเผินๆ ก็เหมือนเป็นเที่ยวบินปกติซึ่งไม่ชวนให้เกิดความสงสัยอะไร กล่าวคือ ภายหลังออกจากยูเครน เครื่องบินได้แวะลงจอดเติมน้ำมันในอาเซอร์ไบจาน, นครดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี), และกรุงเทพฯ ก่อนร่อนลงที่กรุงเปียงยาง พวกลูกเรือให้การกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบว่า หลังจากรับสินค้าที่เกาหลีเหนือแล้ว ในขากลับเที่ยวบินนี้มีกำหนดแวะลงจอดที่กรุงเทพฯ, ศรีลังกา, ยูเออี, และถึงยูเครนในท้ายที่สุด แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ได้บอกกับเจ้าหน้าที่สอบสวนก็คือว่า พวกเขาวางแผนจะขนอาวุธเหล่านี้ลงที่ไหน
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทยต่างรู้สึกงุนงงสงสัยว่า ทำไมเครื่องบินต้องมาแวะจอดที่กรุงเทพฯในเที่ยวขากลับด้วย ทั้งๆ ที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ เส้นทางที่ดูจะตรงมากกว่าเสียอีก น่าจะเป็นการบินจากเกาหลีเหนือเข้าไปในจีน โดยอาจแวะจอดที่เมืองลาเฉียว (Lashio) หรือเมืองมัณฑะเลย์ ในพม่า เพื่อเติมน้ำมัน อันที่จริงก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 มีเที่ยวบินจากเกาหลีเหนืออีกเที่ยวบินหนึ่ง ได้ใช้เส้นทางที่กล่าวถึงทีหลังนี้ เพื่อพยายามขนสินค้าไปยังอิหร่าน โดยที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของอเมริกาหวาดผวาว่าสินค้าดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับพวกอาวุธอานุภาพทำลายร้ายแรง (weapons of mass destruction) ปรากฏว่าเที่ยวบินในเดือนพฤศจิกายน 2009 ที่กล่าวถึงนี้ เกิดติดขัดเมื่ออินเดียปฏิเสธไม่อนุญาตให้เครื่องบินลำนั้นบินผ่านน่านฟ้าของตน การที่เที่ยวบินของเครื่องบินแอร์เวสต์ซึ่งถูกจับในกรุงเทพฯ มีกำหนดจะแวะจอดในกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา จึงอาจจะเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำรอยประสบปัญหาเดิมอีก
ตามการแถลงของทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทย ภายหลังได้รับแจ้งเบาะแสจากพวกแหล่งข่าวกรองสหรัฐฯ ประเทศไทยก็ได้เข้าตรวจค้นสินค้าของเครื่องบินลำนี้ และพบอาวุธที่บรรจุเอาไว้ลังอย่างมั่นคงอยู่ภายในลำตัวเครื่องบิน รวมแล้วเป็นน้ำหนักประมาณ 35 ตัน สินค้าลักลอบขนส่งเหล่านี้มีทั้ง เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (rocket-propelled grenade), จรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า (man-portable surface-to-air missile), และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องแบบเคลื่อนที่ (mobile multiple rocket launcher) จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งอาจจะเป็นรุ่น เอ็ม-1985 หรือไม่ก็ เอ็ม-1991 ที่มีสมรรถนะสามารถยิงจรวดขนาด 240 ม.ม. ทั้งนี้ กองทัพไทยได้เคลื่อนย้ายอาวุธเหล่านี้ไปไว้ที่ฐานบินตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทยประมาณการมูลค่าของสินค้าเหล่านี้ว่าน่าจะอยู่ราวๆ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่พวกลูกเรือให้ปากคำซึ่งน่าจะเป็นการพูดความจริงว่า พวกเขาไม่ทราบเลยว่ากำลังขนอาวุธ แต่คิดว่ากำลังขนส่งอุปกรณ์ขนาดหนักสำหรับการดำเนินงานด้านน้ำมัน
ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดำเนินการกันก็คือ การจัดทำบัญชีรายการอาวุธเหล่านี้ แล้วรายงานต่อคณะกรรมาธิการการลงโทษเกาหลีเหนือของสหประชาชาติ (UN’s North Korea Sanctions Committee) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดมาตรการลงโทษเกาหลีเหนือทั้งหลายทั้งปวง ตามญัตติของยูเอ็นนั้น หลังผ่านขั้นตอนเหล่านี้แล้ว อาวุธเหล่านี้ควรที่จะถูกทำลาย แต่ก็มีการถกเถียงกันอยู่บ้างในประเทศไทยว่า ควรเก็บอาวุธเหล่านี้ให้กองทัพไทยได้ใช้หรือไม่
สำหรับพวกลูกเรือ มี 4 คนมาจากคาซัคสถาน และอีกคนหนึ่งจากเบลารุส ทั้งหมดต่างเป็นชายในวัย 50 เศษๆ และล้วนเคยเป็นทหารสังกัดกองทัพอากาศสหภาพโซเวียตในอดีต มิคาอิล เปตูคอฟ (Mikhail Petukhov) นักบินมาจากเบลารุส เคยรับราชการอยู่ในกองทัพอากาศโซเวียตเกือบ 20 ปี ขณะที่ ประธานคณะกรรมาธิการการบินพลเรือน แห่งกระทรวงคมนาคมคาซัคสถาน ราดิลเบค อาดิโมลดา (Radilbek Adimolda) แถลงว่า พวกนักบินชาวคาซัคที่ถูกไทยควบคุมตัวไว้ กำลังอยู่ระหว่างการลาพัก โดยพวกเขาทำงานอยู่กับ อีสต์วินด์ (East Wind) สายการบินของเอกชนในคาซัคสถาน
พวกนักวิจัยระบุว่า เครือข่ายลักลอบขนสินค้าเถื่อนระหว่างประเทศ นิยมใช้นักบินและเครื่องบินของอดีตสหภาพโซเวียตกันอย่างกว้างขวาง เครื่องบินเหล่านี้เลื่องลือฉาวโฉ่ในเรื่องไม่ค่อยได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร และละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยอยู่เป็นประจำ ทว่าพวกนักบินซึ่งมักตกงานกันเป็นเดือนๆ อยู่บ่อยครั้ง ต่างมีความยินดีที่จะนำเครื่องบินที่ไม่มีความปลอดภัย ขึ้นบินไปสู่จุดหมายปลายทางที่ออกจะไม่ชอบมาพากล รวมทั้งพร้อมที่จะมองเมินไม่สนใจว่ากำลังขนส่งสินค้าอะไรอยู่ ทั้งนี้พวกที่บงการอยู่เบื้องหลังเครือข่ายเหล่านี้ น้อยนักที่จะถูกเปิดโปงถูกระบุตัว
ทางการไทยกำลังกักขังพวกลูกเรือเหล่านี้เอาไว้ในเรือนจำคลองเปรม ด้วยข้อหาว่าแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรายการสินค้า และขนอาวุธ หากถูกศาลไทยตัดสินว่ากระทำความผิดจริง ผู้ต้องหาเหล่านี้อาจต้องโทษจำคุกในเรือนจำไทยถึง 10 ปี
คนเหล่านี้ทั้งหมดต่างกำลังทำงานตามสัญญาว่าจ้างที่นายจ้างคือ แอร์เวสต์ บริษัทที่จดทะเบียนในสาธารณรัฐจอร์เจีย และเป็นผู้ถือครองหนังสือจดทะเบียนเครื่องบิน ของเครื่องบินบรรทุกสินค้ารุ่น อิลยูชิน ไอแอล-76 (Ilyushin IL-76) ลำที่ถูกจับในกรุงเทพฯนี้ ไอแอล-76 เป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกเครื่องจักรกลหนักไปยังพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ของรัสเซีย ด้วยความสามารถที่จะร่อนลงจอดบนลานบินหยาบๆ ในภูมิภาคอันห่างไกลนี่เอง ที่ทำให้มันกลายเป็นเครื่องบินอุดมคติสำหรับการขนส่งสินค้าผิดกฎหมายต่างๆ
ไอแอล-76 ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการขนส่งสินค้าลี้ลับต่างๆ มานานแล้ว แหล่งข่าวในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศหลายรายเล่าว่า เครื่องบินรุ่นนี้มักมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของบ่อยๆ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงเลขหมายจดทะเบียนเครื่องบิน ไอแอล-76 ลำที่ถูกยึดเอาไว้ในกรุงเทพฯก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้ผู้เป็นเจ้าของคือบริษัทเอกชนของคาซัคสถาน ชื่อ อีสต์วิง (East Wing) จากนั้นก็ถูกซื้อโดยสายการบินของคาซัคสถานที่ชื่อ เบเบอส์ (Beibers) ซึ่งได้ขายต่อไปให้แก่ แอร์เวสต์ แห่งจอร์เจียในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง ทั้งนี้ตามข้อมูลของกระทรวงการขนส่งและคมนาคมคาซัคสถาน สำหรับแอร์เวสต์นั้นจดทะเบียนในเมืองบาตูมิ (Batumi) ประเทศจอร์เจียในปี 2008 และตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศยูเครน
ในเที่ยวบินที่มาถูกจับที่กรุงเทพฯนั้น เครื่องบินลำนี้ได้ถูกเช่าโดยบริษัทยูเครนแห่งหนึ่งชื่อ เอสพี ทรานสเปอร์ต ลิมิเต็ด (SP Transport Limited) เวลานี้ทางการนิวซีแลนด์กำลังสอบสวนบริษัทแห่งหนึ่งที่จดทะเบียนบริษัทในแดนกีวีด้วยชื่ออย่างเดียวกันนี้ ปรากฏว่าบริษัททั้งสองต่างมีบุคคลที่ชื่อ หลูจาง (Lu Zhang) ถูกระบุว่าเป็นกรรมการบริษัท บริษัทเอสพี ทรานสปอร์ต ลิมิเต็ด ในนิวซีแลนด์นั้นถือหุ้นโดยบริษัท วิแคม (โอกแลนด์) ลิมิเต็ด (VICAM (Auckland) Ltd) โดยที่บริษัทหลังนี้เป็นของบริษัท จีที กรุ๊ป (GT Group) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศวานูอาตู อีกทอดหนึ่ง
พวกนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงและผู้ดำเนินการด้านขนส่งสินค้าบอกว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเอกสารหลายต่อหลายทอดเช่นนี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติสำหรับการทำงานของแวดวงอันไม่ชอบมาพากลแบบนี้ บริษัทต่างๆ พร้อมที่จะปิดตัวเองลงหลังถูกระบุตัวว่ากำลังลักลอบขนอาวุธเถื่อนหรือสินค้าผิดกฎหมายอื่นๆ หรือกระทำการละเมิดกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางอากาศ จากนั้นก็ไปเปิดใหม่ในชื่ออื่นๆ เครื่องบินก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจดทะเบียนใหม่อยู่เรื่อยๆ ในทำนองเดียวกัน หรือไม่ก็มีการขายหรือการปล่อยเช่าให้แก่บริษัทบริการบรรทุกสินค้ารายอื่นๆ เพื่อปิดบังอำพรางธุรกิจที่แท้จริงของพวกตน
อย่างไรก็ดี การยึดเครื่องบินและลูกเรือในกรุงเทพฯ น่าจะมีผลในทางสร้างความหวั่นเกรงให้แก่พวกที่ทำท่าจะเข้าเป็นลูกค้าซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้วที่การขนส่งอาวุธล็อตใหม่ๆ ของเกาหลีเหนือถูกขัดขวางถูกจับกุม นับตั้งแต่ที่มติเลขที่ 1874 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ โดยที่มติดังกล่าวผ่านออกมาเพื่อตอบโต้การที่เปียงยางปฏิเสธไม่ยอมยุติโครงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียม ตลอดจนการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถีของตน ดังที่ได้เคยทดสอบไปครั้งล่าสุดเมื่อช่วงกลางปี 2009 มติดังกล่าวมีเนื้อหาห้ามการเคลื่อนย้ายอาวุธหนัก ตลอดจนขีปนาวุธและชิ้นส่วนอะไหล่จากเกาหลีเหนือ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ “ติดตามตรวจสอบและทำลาย” อาวุธเหล่านี้ด้วย
มติ 1874 ไม่ได้มีผลผูกพันบังคับให้ต้องกระทำตาม แต่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดำเนินการของแต่ละประเทศสมาชิกยูเอ็น อย่างไรก็ดี ในขณะที่ช่วงเวลาหลายๆ ปีก่อนหน้ามติฉบับนี้จะออกมา (แต่มีมติฉบับอื่นๆ ที่เรียกร้องให้เข้าแทรกแซงการขนส่งอาวุธโสมแดงเช่นกัน) การยึดอาวุธของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ทว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กลับมีการปฏิบัติการหลายต่อหลายครั้งที่มุ่งขัดขวางหยุดยั้งการขนส่งอาวุธของโสมแดง เป็นต้นว่า ในเดือนกรกฎาคม เรือสินค้าจดทะเบียนในเกาหลีเหนือลำหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่ากำลังลำเลียงอาวุธมุ่งไปส่งที่พม่า ได้ถูกบังคับให้ต้องหันหัวเรือแล่นกลับไป ภายหลังประเทศนั้นประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้เรือดังกล่าวเข้าเทียบท่า ต่อมาในเดือนสิงหาคม ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ยึดเรือสินค้าชักธงบาฮามาส ที่ใช้ชื่อว่า เรือ “เอเอ็นแอล-ออสเตรเลีย” (ANL-Australia) โดยตรวจค้นพบว่ากำลังบรรทุกยุทโธปกรณ์ของเกาหลีเหนือเพื่อไปส่งที่อิหร่าน แต่ทำบัญชีสำแดงรายการสินค้าที่บรรทุกมาว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน อินเดียก็ได้หยุดเรือสินค้าเกาหลีเหนือที่เข้าไปในน่านน้ำของตนอย่างน้อย 2 ครั้ง ถึงแม้ในแต่ละครั้งไม่พบว่ามีการลำเลียงอาวุธ
การค้าอาวุธที่ถูกขัดขวางทำให้ต้องหยุดชะงักลงเช่นนี้ น่าจะเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงเข้าใส่เกาหลีเหนือที่อยู่ในสภาพขาดแคลนเงินสดอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผสมกับการที่เกาหลีใต้ก็กำลังตัดความช่วยเหลือที่เป็นตัวประคับประคองให้เศรษฐกิจของโสมแดงยังคงเดินหน้าต่อไปได้ อาวุธคือสินค้าที่สร้างรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศให้แก่เกาหลีเหนือมากที่สุดสินค้าหนึ่ง นักวิเคราะห์ลหลายรายประมาณการว่า ระบอบปกครองนี้สามารถทำรายรับได้ปีละกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์จากการจำหน่ายอาวุธ ซึ่งบ่อยครั้งมักเป็นการขายให้แก่ระบอบปกครองอันธพาลอื่นๆ หรือไม่ก็พวกกลุ่มกบฏต่างๆ ซึ่งจำนวนมากถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง การขายอาวุธรายการใหญ่ที่สุดของโสมแดงก็คือพวกขีปนาวุธนำวิถี ที่ส่งให้แก่อิหร่านและประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ ตลอดจนเป็นไปได้ว่าอาจมีการขายให้พม่าด้วย นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางรายอ้างว่า การถูกยึดอาวุธที่กรุงเทพฯคราวนี้ อาจส่งผลถึงขั้นทำให้ระบอบปกครองซึ่งโดดเดี่ยวยิ่งรายนี้ ต้องยอมหวนกลับเข้าสู่การเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่ตนเองต้องการเป็นอย่างยิ่ง
ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯ สตีเฟน บอสเวิร์ธ (Stephen Bosworth) ได้ไปเยือนกรุงเปียงยาง ไม่กี่วันก่อนหน้าการยึดเครื่องบินในกรุงเทพฯ ภารกิจของเขาคือการเกลี้ยกล่อมให้เกาหลีเหนือยอมกลับเข้าร่วมการเจรจา 6 ฝ่ายเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง เกาหลีเหนือถอนตัวออกจากการหารือดังกล่าวนี้เมื่อ 1 ปีก่อน โดยยังไม่ทันบรรลุข้อตกลงกับผู้ร่วมเจรจาอีก 5 ฝ่าย อันได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เกาหลีใต้, และสหรัฐฯ เพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ของตน ตลอดจนยุติฐานะความเป็นผู้ร้ายที่ถูกสังคมนานาชาติรังเกียจ แล้วจะได้ความช่วยเหลือจากนานาประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน เปียงยางประกาศในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า การเจรจา 6 ฝ่ายนี้ “ตายแล้ว” หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติเรื่องการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของโสมแดง
บอสเวิร์ธกล่าวภายหลังการหารือในกรุงเปียงยางคราวนี้ว่า เกาหลีเหนือและสหรัฐฯสามารถบรรลุ “ความเข้าใจร่วมกัน” ทำให้เกิดความหวังขึ้นมาว่าการเจรจา 6 ฝ่ายจะเริ่มต้นขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2010 เขากล่าวว่าเขาได้ย้ำให้เกาหลีเหนือเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับ โดยที่ความพยายามที่จะติดต่อพูดจากับเปียงยางเช่นนี้ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งนโยบายมุ่งเข้าพัวพันมีปฏิสัมพันธ์ ของคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบัน
การไปเยือนเปียงยางของบอสเวิร์ธ ถือเป็นการติดต่อในระดับสูงครั้งแรกระหว่างคณะรัฐบาลบารัค โอบามา กับระบอบปกครองโสมแดง ในความพยายามที่จะนำเอาโสมแดงกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาคราวนี้ โอบามายังได้เขียนจดหมายส่วนตัวถึงประธานคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ถึงแม้เนื้อหาของจดหมายดังกล่าวจะมิได้มีการเปิดเผย แต่ก็มีรายงานว่าได้มีการส่งจดหมายดังกล่าวแล้วเมื่อตอนต้นเดือนธันวาคม
สหรัฐฯนั้นได้แถลงยกย่องชมเชยประเทศไทย สำหรับการที่ไทยเข้าช่วยเหลือขัดขวางการขนส่งอาวุธเกาหลีเหนือ รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงวอชิงตันภายหลังการจับกุมคราวนี้ผ่านไปได้ 2 วันว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นการปฏิบัติการอันแข็งขันของฝ่ายไทย และสิ่งนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากปราศจากการปฏิบัติการอย่างแข็งขันของสหประชาชาติ” สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯปฏิเสธไม่ขอแถลงยืนยันหรือปฏิเสธเกี่ยวกับบทบาทของอเมริกันในเหตุการณ์คราวนี้ ถึงแม้มีรายงานข่าวหลายกระแสที่อ้างพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยระบุว่า ได้รับข่าวกรองของอเมริกันจึงทำให้รู้เบาะแสของการขนส่งอาวุธรายนี้
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 ปี ที่ทางการไทยให้การสนับสนุนความพยายามของฝ่ายอเมริกันในการต่อต้านขัดขวางการลักลอบขนส่งอาวุธระหว่างประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม 2008 หน่วยงานด้านข่าวกรองและด้านการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ ได้ดำเนินการปล่อยหมัดเด็ดในกรุงเทพฯ จนส่งผลทำให้มีการจับกุม วิกตอร์ บุต (Viktor Bout) พ่อค้าอาวุธระดับระหว่างประเทศผู้เลื่องชื่อ บุตถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดำเนินการลำเลียงอาวุธมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ให้แก่พวกกลุ่มกบฏและกลุ่กก่อการร้ายตลอดจนรัฐบาลต่างๆ ในทั่วโลก โดยที่เขาถูกออกหมายจับเพื่อส่งตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาลที่นิวยอร์ก ด้วยข้อหาอันเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายรวม 4 ข้อหาด้วยกัน ตัวบุตเองยืนยันเรื่อยมาว่าข้อกล่าวหาต่อตัวเขานั้นไม่เป็นความจริงเลย และในที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นของไทยก็ได้ตัดสินเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่อนุมัติให้มีการส่งตัวเขาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อไปดำเนินคดีในอเมริกา ตามที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯขอตัวมา
ถึงแม้ไม่ได้เชื่อกันว่า บุตมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการขนส่งอาวุธที่ถูกจับกุมในกรุงเทพฯครั้งล่าสุด กระนั้นมันก็มีการโยงใยกับเครือข่ายลักลอบค้าอาวุธของเขาอย่างน่าประหลาดอยู่เหมือนกัน เครื่องบินขนอาวุธลำนี้เคยจดทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของโดยบริษัท 3 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control) แห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าของตัวจริงคือบุต ขณะที่ เบเบอส์ บริษัทสัญชาติคาซัคสถานที่เป็นผู้ขายเครื่องบินลำนี้ให้แก่แอร์เวสต์ ก็เกี่ยวข้องโยงใยกับ โตมิสลาฟ ดัมน์จาโนวิก (Tomislav Damnjanovic) ชาวเซอร์เบียผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนักลักลอบค้าอาวุธเถื่อน
จวบจนถึงเวลานี้ ยังคงเป็นปริศนาว่าพวกที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งเที่ยวนี้ ตลอดจนผู้ซื้ออาวุธเหล่านี้เป็นใครกันแน่ เส้นทางของหลักฐานด้านเอกสารที่เลี้ยวลดคดเคี้ยว และพวกบริษัทที่เกี่ยวข้องซึ่งดูลี้ลับ ทำให้การตรวจสอบติดตามร่องรอยการขนส่งดังเช่นรายนี้ประสบความยากลำบากอย่างยิ่ง มีการคาดเดากันในขั้นต้นว่า อาวุธพวกนี้อาจมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ศรีลังกา, ปากีสถาน, หรือไม่ก็ตะวันออกกลาง แต่ในบทวิจารณ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ฉบับวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม เดนนิส แบลร์ (Dennis Blair) ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ให้เบาะแสที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อเขาเขียนเอาไว้ว่า “ด้วยการทำงานกันเป็นทีมของพวกหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐฯ และของบรรดาหุ้นส่วนในต่างประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ได้นำไปสู่การขัดขวางสินค้าอาวุธเกาหลีเหนือที่กำลังมุ่งไปยังตะวันออกกลาง”
ไม่ว่าอาวุธเหล่านี้จะมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน แต่การยึดเครื่องบินและลูกเรือเอาไว้ได้เช่นนี้ ก็กลายเป็นการตอกย้ำความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของฝ่ายอเมริกัน ในการโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือ และบังคับให้โสมแดงหวนกลับคืนสู่โต๊ะเจรจา นอกจากนั้น มันยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถของวอชิงตันในการขอความร่วมมือสนับสนุนจากบรรดาเพื่อนมิตรเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนี้อีกด้วย
สำหรับพวกพ่อค้าอาวุธระหว่างประเทศตลอดจนพวกลูกค้าของคนเหล่านี้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องมองหาแหล่งอื่นๆ สำหรับการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาต้องประสงค์
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ
Weapon seizure hits North Korea hard
By Brian McCartan
21/12/2009
ประเทศไทยยึดอาวุธเกาหลีเหนือที่ซุกซ่อนอยู่บนเครื่องบินบรรทุกสินค้าซึ่งจดทะเบียนเอาไว้กับสาธารณรัฐจอร์เจีย โดยมีความเป็นไปได้ว่าอาวุธเหล่านี้กำลังจะถูกส่งไปยังตะวันออกกลาง กรณีนี้ถือเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงต่อแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของเกาหลีเหนือทีเดียว ขณะเดียวกัน มันก็ยังเป็นเสมือนการสาดส่องลำแสงเข้าไปให้เห็นถึงภายในโลกแห่งการลักลอบค้าอาวุธนานาชาติ ซึ่งปกติแล้วจะปกคลุมด้วยความมัวมนสลัวราง
กรุงเทพฯ– กรณีประเทศไทยเข้ายึดเครื่องบินบรรทุกสินค้าที่กำลังขนส่งอาวุธจำนวนมาก พร้อมทั้งจับกุมพวกลูกเรือเอาไว้ ยังคงเต็มไปปริศนาข้อกังขาที่คลี่คลายไม่ได้อยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่า จุดหมายปลายทางของอาวุธเหล่านี้คือที่ใด และผู้ซื้ออาวุธเหล่านี้คือใคร ล้วนเป็นคำถามที่ยังคงไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม พวกเจ้าหน้าที่อเมริกันและนักวิเคราะห์จำนวนมากต่างเชื่อว่า การถูกขัดขวางการขนส่งสินค้าคราวนี้ ถือเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงเข้าใส่กิจการค้าอาวุธของเกาหลีเหนือ
เที่ยวบินเดินทางของเครื่องบินที่จดทะเบียนว่าเป็นของบริษัทแอร์เวสต์ (Air West) ลำนี้ ดูเผินๆ ก็เหมือนเป็นเที่ยวบินปกติซึ่งไม่ชวนให้เกิดความสงสัยอะไร กล่าวคือ ภายหลังออกจากยูเครน เครื่องบินได้แวะลงจอดเติมน้ำมันในอาเซอร์ไบจาน, นครดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี), และกรุงเทพฯ ก่อนร่อนลงที่กรุงเปียงยาง พวกลูกเรือให้การกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบว่า หลังจากรับสินค้าที่เกาหลีเหนือแล้ว ในขากลับเที่ยวบินนี้มีกำหนดแวะลงจอดที่กรุงเทพฯ, ศรีลังกา, ยูเออี, และถึงยูเครนในท้ายที่สุด แต่สิ่งที่พวกเขาไม่ได้บอกกับเจ้าหน้าที่สอบสวนก็คือว่า พวกเขาวางแผนจะขนอาวุธเหล่านี้ลงที่ไหน
พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทยต่างรู้สึกงุนงงสงสัยว่า ทำไมเครื่องบินต้องมาแวะจอดที่กรุงเทพฯในเที่ยวขากลับด้วย ทั้งๆ ที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับสหรัฐฯ เส้นทางที่ดูจะตรงมากกว่าเสียอีก น่าจะเป็นการบินจากเกาหลีเหนือเข้าไปในจีน โดยอาจแวะจอดที่เมืองลาเฉียว (Lashio) หรือเมืองมัณฑะเลย์ ในพม่า เพื่อเติมน้ำมัน อันที่จริงก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 มีเที่ยวบินจากเกาหลีเหนืออีกเที่ยวบินหนึ่ง ได้ใช้เส้นทางที่กล่าวถึงทีหลังนี้ เพื่อพยายามขนสินค้าไปยังอิหร่าน โดยที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของอเมริกาหวาดผวาว่าสินค้าดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับพวกอาวุธอานุภาพทำลายร้ายแรง (weapons of mass destruction) ปรากฏว่าเที่ยวบินในเดือนพฤศจิกายน 2009 ที่กล่าวถึงนี้ เกิดติดขัดเมื่ออินเดียปฏิเสธไม่อนุญาตให้เครื่องบินลำนั้นบินผ่านน่านฟ้าของตน การที่เที่ยวบินของเครื่องบินแอร์เวสต์ซึ่งถูกจับในกรุงเทพฯ มีกำหนดจะแวะจอดในกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา จึงอาจจะเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำรอยประสบปัญหาเดิมอีก
ตามการแถลงของทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทย ภายหลังได้รับแจ้งเบาะแสจากพวกแหล่งข่าวกรองสหรัฐฯ ประเทศไทยก็ได้เข้าตรวจค้นสินค้าของเครื่องบินลำนี้ และพบอาวุธที่บรรจุเอาไว้ลังอย่างมั่นคงอยู่ภายในลำตัวเครื่องบิน รวมแล้วเป็นน้ำหนักประมาณ 35 ตัน สินค้าลักลอบขนส่งเหล่านี้มีทั้ง เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (rocket-propelled grenade), จรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า (man-portable surface-to-air missile), และเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องแบบเคลื่อนที่ (mobile multiple rocket launcher) จำนวน 2 เครื่อง ซึ่งอาจจะเป็นรุ่น เอ็ม-1985 หรือไม่ก็ เอ็ม-1991 ที่มีสมรรถนะสามารถยิงจรวดขนาด 240 ม.ม. ทั้งนี้ กองทัพไทยได้เคลื่อนย้ายอาวุธเหล่านี้ไปไว้ที่ฐานบินตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของไทยประมาณการมูลค่าของสินค้าเหล่านี้ว่าน่าจะอยู่ราวๆ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่พวกลูกเรือให้ปากคำซึ่งน่าจะเป็นการพูดความจริงว่า พวกเขาไม่ทราบเลยว่ากำลังขนอาวุธ แต่คิดว่ากำลังขนส่งอุปกรณ์ขนาดหนักสำหรับการดำเนินงานด้านน้ำมัน
ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องดำเนินการกันก็คือ การจัดทำบัญชีรายการอาวุธเหล่านี้ แล้วรายงานต่อคณะกรรมาธิการการลงโทษเกาหลีเหนือของสหประชาชาติ (UN’s North Korea Sanctions Committee) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบการละเมิดมาตรการลงโทษเกาหลีเหนือทั้งหลายทั้งปวง ตามญัตติของยูเอ็นนั้น หลังผ่านขั้นตอนเหล่านี้แล้ว อาวุธเหล่านี้ควรที่จะถูกทำลาย แต่ก็มีการถกเถียงกันอยู่บ้างในประเทศไทยว่า ควรเก็บอาวุธเหล่านี้ให้กองทัพไทยได้ใช้หรือไม่
สำหรับพวกลูกเรือ มี 4 คนมาจากคาซัคสถาน และอีกคนหนึ่งจากเบลารุส ทั้งหมดต่างเป็นชายในวัย 50 เศษๆ และล้วนเคยเป็นทหารสังกัดกองทัพอากาศสหภาพโซเวียตในอดีต มิคาอิล เปตูคอฟ (Mikhail Petukhov) นักบินมาจากเบลารุส เคยรับราชการอยู่ในกองทัพอากาศโซเวียตเกือบ 20 ปี ขณะที่ ประธานคณะกรรมาธิการการบินพลเรือน แห่งกระทรวงคมนาคมคาซัคสถาน ราดิลเบค อาดิโมลดา (Radilbek Adimolda) แถลงว่า พวกนักบินชาวคาซัคที่ถูกไทยควบคุมตัวไว้ กำลังอยู่ระหว่างการลาพัก โดยพวกเขาทำงานอยู่กับ อีสต์วินด์ (East Wind) สายการบินของเอกชนในคาซัคสถาน
พวกนักวิจัยระบุว่า เครือข่ายลักลอบขนสินค้าเถื่อนระหว่างประเทศ นิยมใช้นักบินและเครื่องบินของอดีตสหภาพโซเวียตกันอย่างกว้างขวาง เครื่องบินเหล่านี้เลื่องลือฉาวโฉ่ในเรื่องไม่ค่อยได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร และละเมิดมาตรฐานความปลอดภัยอยู่เป็นประจำ ทว่าพวกนักบินซึ่งมักตกงานกันเป็นเดือนๆ อยู่บ่อยครั้ง ต่างมีความยินดีที่จะนำเครื่องบินที่ไม่มีความปลอดภัย ขึ้นบินไปสู่จุดหมายปลายทางที่ออกจะไม่ชอบมาพากล รวมทั้งพร้อมที่จะมองเมินไม่สนใจว่ากำลังขนส่งสินค้าอะไรอยู่ ทั้งนี้พวกที่บงการอยู่เบื้องหลังเครือข่ายเหล่านี้ น้อยนักที่จะถูกเปิดโปงถูกระบุตัว
ทางการไทยกำลังกักขังพวกลูกเรือเหล่านี้เอาไว้ในเรือนจำคลองเปรม ด้วยข้อหาว่าแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับรายการสินค้า และขนอาวุธ หากถูกศาลไทยตัดสินว่ากระทำความผิดจริง ผู้ต้องหาเหล่านี้อาจต้องโทษจำคุกในเรือนจำไทยถึง 10 ปี
คนเหล่านี้ทั้งหมดต่างกำลังทำงานตามสัญญาว่าจ้างที่นายจ้างคือ แอร์เวสต์ บริษัทที่จดทะเบียนในสาธารณรัฐจอร์เจีย และเป็นผู้ถือครองหนังสือจดทะเบียนเครื่องบิน ของเครื่องบินบรรทุกสินค้ารุ่น อิลยูชิน ไอแอล-76 (Ilyushin IL-76) ลำที่ถูกจับในกรุงเทพฯนี้ ไอแอล-76 เป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกเครื่องจักรกลหนักไปยังพื้นที่ห่างไกลต่างๆ ของรัสเซีย ด้วยความสามารถที่จะร่อนลงจอดบนลานบินหยาบๆ ในภูมิภาคอันห่างไกลนี่เอง ที่ทำให้มันกลายเป็นเครื่องบินอุดมคติสำหรับการขนส่งสินค้าผิดกฎหมายต่างๆ
ไอแอล-76 ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการขนส่งสินค้าลี้ลับต่างๆ มานานแล้ว แหล่งข่าวในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศหลายรายเล่าว่า เครื่องบินรุ่นนี้มักมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของบ่อยๆ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงเลขหมายจดทะเบียนเครื่องบิน ไอแอล-76 ลำที่ถูกยึดเอาไว้ในกรุงเทพฯก็เช่นกัน ก่อนหน้านี้ผู้เป็นเจ้าของคือบริษัทเอกชนของคาซัคสถาน ชื่อ อีสต์วิง (East Wing) จากนั้นก็ถูกซื้อโดยสายการบินของคาซัคสถานที่ชื่อ เบเบอส์ (Beibers) ซึ่งได้ขายต่อไปให้แก่ แอร์เวสต์ แห่งจอร์เจียในเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้เอง ทั้งนี้ตามข้อมูลของกระทรวงการขนส่งและคมนาคมคาซัคสถาน สำหรับแอร์เวสต์นั้นจดทะเบียนในเมืองบาตูมิ (Batumi) ประเทศจอร์เจียในปี 2008 และตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศยูเครน
ในเที่ยวบินที่มาถูกจับที่กรุงเทพฯนั้น เครื่องบินลำนี้ได้ถูกเช่าโดยบริษัทยูเครนแห่งหนึ่งชื่อ เอสพี ทรานสเปอร์ต ลิมิเต็ด (SP Transport Limited) เวลานี้ทางการนิวซีแลนด์กำลังสอบสวนบริษัทแห่งหนึ่งที่จดทะเบียนบริษัทในแดนกีวีด้วยชื่ออย่างเดียวกันนี้ ปรากฏว่าบริษัททั้งสองต่างมีบุคคลที่ชื่อ หลูจาง (Lu Zhang) ถูกระบุว่าเป็นกรรมการบริษัท บริษัทเอสพี ทรานสปอร์ต ลิมิเต็ด ในนิวซีแลนด์นั้นถือหุ้นโดยบริษัท วิแคม (โอกแลนด์) ลิมิเต็ด (VICAM (Auckland) Ltd) โดยที่บริษัทหลังนี้เป็นของบริษัท จีที กรุ๊ป (GT Group) ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศวานูอาตู อีกทอดหนึ่ง
พวกนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงและผู้ดำเนินการด้านขนส่งสินค้าบอกว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเอกสารหลายต่อหลายทอดเช่นนี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติสำหรับการทำงานของแวดวงอันไม่ชอบมาพากลแบบนี้ บริษัทต่างๆ พร้อมที่จะปิดตัวเองลงหลังถูกระบุตัวว่ากำลังลักลอบขนอาวุธเถื่อนหรือสินค้าผิดกฎหมายอื่นๆ หรือกระทำการละเมิดกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางอากาศ จากนั้นก็ไปเปิดใหม่ในชื่ออื่นๆ เครื่องบินก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจดทะเบียนใหม่อยู่เรื่อยๆ ในทำนองเดียวกัน หรือไม่ก็มีการขายหรือการปล่อยเช่าให้แก่บริษัทบริการบรรทุกสินค้ารายอื่นๆ เพื่อปิดบังอำพรางธุรกิจที่แท้จริงของพวกตน
อย่างไรก็ดี การยึดเครื่องบินและลูกเรือในกรุงเทพฯ น่าจะมีผลในทางสร้างความหวั่นเกรงให้แก่พวกที่ทำท่าจะเข้าเป็นลูกค้าซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือ เนื่องจากครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้วที่การขนส่งอาวุธล็อตใหม่ๆ ของเกาหลีเหนือถูกขัดขวางถูกจับกุม นับตั้งแต่ที่มติเลขที่ 1874 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีผลบังคับใช้ โดยที่มติดังกล่าวผ่านออกมาเพื่อตอบโต้การที่เปียงยางปฏิเสธไม่ยอมยุติโครงการเพิ่มสมรรถนะยูเรเนียม ตลอดจนการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถีของตน ดังที่ได้เคยทดสอบไปครั้งล่าสุดเมื่อช่วงกลางปี 2009 มติดังกล่าวมีเนื้อหาห้ามการเคลื่อนย้ายอาวุธหนัก ตลอดจนขีปนาวุธและชิ้นส่วนอะไหล่จากเกาหลีเหนือ รวมทั้งเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ “ติดตามตรวจสอบและทำลาย” อาวุธเหล่านี้ด้วย
มติ 1874 ไม่ได้มีผลผูกพันบังคับให้ต้องกระทำตาม แต่ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะดำเนินการของแต่ละประเทศสมาชิกยูเอ็น อย่างไรก็ดี ในขณะที่ช่วงเวลาหลายๆ ปีก่อนหน้ามติฉบับนี้จะออกมา (แต่มีมติฉบับอื่นๆ ที่เรียกร้องให้เข้าแทรกแซงการขนส่งอาวุธโสมแดงเช่นกัน) การยึดอาวุธของเกาหลีเหนือเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก ทว่าตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา กลับมีการปฏิบัติการหลายต่อหลายครั้งที่มุ่งขัดขวางหยุดยั้งการขนส่งอาวุธของโสมแดง เป็นต้นว่า ในเดือนกรกฎาคม เรือสินค้าจดทะเบียนในเกาหลีเหนือลำหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่ากำลังลำเลียงอาวุธมุ่งไปส่งที่พม่า ได้ถูกบังคับให้ต้องหันหัวเรือแล่นกลับไป ภายหลังประเทศนั้นประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้เรือดังกล่าวเข้าเทียบท่า ต่อมาในเดือนสิงหาคม ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ยึดเรือสินค้าชักธงบาฮามาส ที่ใช้ชื่อว่า เรือ “เอเอ็นแอล-ออสเตรเลีย” (ANL-Australia) โดยตรวจค้นพบว่ากำลังบรรทุกยุทโธปกรณ์ของเกาหลีเหนือเพื่อไปส่งที่อิหร่าน แต่ทำบัญชีสำแดงรายการสินค้าที่บรรทุกมาว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน อินเดียก็ได้หยุดเรือสินค้าเกาหลีเหนือที่เข้าไปในน่านน้ำของตนอย่างน้อย 2 ครั้ง ถึงแม้ในแต่ละครั้งไม่พบว่ามีการลำเลียงอาวุธ
การค้าอาวุธที่ถูกขัดขวางทำให้ต้องหยุดชะงักลงเช่นนี้ น่าจะเป็นการตีกระหน่ำอย่างแรงเข้าใส่เกาหลีเหนือที่อยู่ในสภาพขาดแคลนเงินสดอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผสมกับการที่เกาหลีใต้ก็กำลังตัดความช่วยเหลือที่เป็นตัวประคับประคองให้เศรษฐกิจของโสมแดงยังคงเดินหน้าต่อไปได้ อาวุธคือสินค้าที่สร้างรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศให้แก่เกาหลีเหนือมากที่สุดสินค้าหนึ่ง นักวิเคราะห์ลหลายรายประมาณการว่า ระบอบปกครองนี้สามารถทำรายรับได้ปีละกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์จากการจำหน่ายอาวุธ ซึ่งบ่อยครั้งมักเป็นการขายให้แก่ระบอบปกครองอันธพาลอื่นๆ หรือไม่ก็พวกกลุ่มกบฏต่างๆ ซึ่งจำนวนมากถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง การขายอาวุธรายการใหญ่ที่สุดของโสมแดงก็คือพวกขีปนาวุธนำวิถี ที่ส่งให้แก่อิหร่านและประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ ตลอดจนเป็นไปได้ว่าอาจมีการขายให้พม่าด้วย นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบางรายอ้างว่า การถูกยึดอาวุธที่กรุงเทพฯคราวนี้ อาจส่งผลถึงขั้นทำให้ระบอบปกครองซึ่งโดดเดี่ยวยิ่งรายนี้ ต้องยอมหวนกลับเข้าสู่การเจรจาปลดอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่ตนเองต้องการเป็นอย่างยิ่ง
ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯ สตีเฟน บอสเวิร์ธ (Stephen Bosworth) ได้ไปเยือนกรุงเปียงยาง ไม่กี่วันก่อนหน้าการยึดเครื่องบินในกรุงเทพฯ ภารกิจของเขาคือการเกลี้ยกล่อมให้เกาหลีเหนือยอมกลับเข้าร่วมการเจรจา 6 ฝ่ายเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ของโสมแดง เกาหลีเหนือถอนตัวออกจากการหารือดังกล่าวนี้เมื่อ 1 ปีก่อน โดยยังไม่ทันบรรลุข้อตกลงกับผู้ร่วมเจรจาอีก 5 ฝ่าย อันได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เกาหลีใต้, และสหรัฐฯ เพื่อยุติโครงการนิวเคลียร์ของตน ตลอดจนยุติฐานะความเป็นผู้ร้ายที่ถูกสังคมนานาชาติรังเกียจ แล้วจะได้ความช่วยเหลือจากนานาประเทศเป็นการแลกเปลี่ยน เปียงยางประกาศในเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่า การเจรจา 6 ฝ่ายนี้ “ตายแล้ว” หลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติเรื่องการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของโสมแดง
บอสเวิร์ธกล่าวภายหลังการหารือในกรุงเปียงยางคราวนี้ว่า เกาหลีเหนือและสหรัฐฯสามารถบรรลุ “ความเข้าใจร่วมกัน” ทำให้เกิดความหวังขึ้นมาว่าการเจรจา 6 ฝ่ายจะเริ่มต้นขึ้นมาได้อีกครั้งในปี 2010 เขากล่าวว่าเขาได้ย้ำให้เกาหลีเหนือเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับ โดยที่ความพยายามที่จะติดต่อพูดจากับเปียงยางเช่นนี้ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งนโยบายมุ่งเข้าพัวพันมีปฏิสัมพันธ์ ของคณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบัน
การไปเยือนเปียงยางของบอสเวิร์ธ ถือเป็นการติดต่อในระดับสูงครั้งแรกระหว่างคณะรัฐบาลบารัค โอบามา กับระบอบปกครองโสมแดง ในความพยายามที่จะนำเอาโสมแดงกลับเข้าสู่โต๊ะเจรจาคราวนี้ โอบามายังได้เขียนจดหมายส่วนตัวถึงประธานคิมจองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ถึงแม้เนื้อหาของจดหมายดังกล่าวจะมิได้มีการเปิดเผย แต่ก็มีรายงานว่าได้มีการส่งจดหมายดังกล่าวแล้วเมื่อตอนต้นเดือนธันวาคม
สหรัฐฯนั้นได้แถลงยกย่องชมเชยประเทศไทย สำหรับการที่ไทยเข้าช่วยเหลือขัดขวางการขนส่งอาวุธเกาหลีเหนือ รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงวอชิงตันภายหลังการจับกุมคราวนี้ผ่านไปได้ 2 วันว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นการปฏิบัติการอันแข็งขันของฝ่ายไทย และสิ่งนี้จะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากปราศจากการปฏิบัติการอย่างแข็งขันของสหประชาชาติ” สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯในกรุงเทพฯปฏิเสธไม่ขอแถลงยืนยันหรือปฏิเสธเกี่ยวกับบทบาทของอเมริกันในเหตุการณ์คราวนี้ ถึงแม้มีรายงานข่าวหลายกระแสที่อ้างพวกเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยระบุว่า ได้รับข่าวกรองของอเมริกันจึงทำให้รู้เบาะแสของการขนส่งอาวุธรายนี้
ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่สองในรอบ 2 ปี ที่ทางการไทยให้การสนับสนุนความพยายามของฝ่ายอเมริกันในการต่อต้านขัดขวางการลักลอบขนส่งอาวุธระหว่างประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม 2008 หน่วยงานด้านข่าวกรองและด้านการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ ได้ดำเนินการปล่อยหมัดเด็ดในกรุงเทพฯ จนส่งผลทำให้มีการจับกุม วิกตอร์ บุต (Viktor Bout) พ่อค้าอาวุธระดับระหว่างประเทศผู้เลื่องชื่อ บุตถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดำเนินการลำเลียงอาวุธมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ให้แก่พวกกลุ่มกบฏและกลุ่กก่อการร้ายตลอดจนรัฐบาลต่างๆ ในทั่วโลก โดยที่เขาถูกออกหมายจับเพื่อส่งตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาลที่นิวยอร์ก ด้วยข้อหาอันเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายรวม 4 ข้อหาด้วยกัน ตัวบุตเองยืนยันเรื่อยมาว่าข้อกล่าวหาต่อตัวเขานั้นไม่เป็นความจริงเลย และในที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นของไทยก็ได้ตัดสินเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่อนุมัติให้มีการส่งตัวเขาในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อไปดำเนินคดีในอเมริกา ตามที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯขอตัวมา
ถึงแม้ไม่ได้เชื่อกันว่า บุตมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการขนส่งอาวุธที่ถูกจับกุมในกรุงเทพฯครั้งล่าสุด กระนั้นมันก็มีการโยงใยกับเครือข่ายลักลอบค้าอาวุธของเขาอย่างน่าประหลาดอยู่เหมือนกัน เครื่องบินขนอาวุธลำนี้เคยจดทะเบียนแสดงความเป็นเจ้าของโดยบริษัท 3 แห่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกสำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control) แห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่าเจ้าของตัวจริงคือบุต ขณะที่ เบเบอส์ บริษัทสัญชาติคาซัคสถานที่เป็นผู้ขายเครื่องบินลำนี้ให้แก่แอร์เวสต์ ก็เกี่ยวข้องโยงใยกับ โตมิสลาฟ ดัมน์จาโนวิก (Tomislav Damnjanovic) ชาวเซอร์เบียผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนักลักลอบค้าอาวุธเถื่อน
จวบจนถึงเวลานี้ ยังคงเป็นปริศนาว่าพวกที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งเที่ยวนี้ ตลอดจนผู้ซื้ออาวุธเหล่านี้เป็นใครกันแน่ เส้นทางของหลักฐานด้านเอกสารที่เลี้ยวลดคดเคี้ยว และพวกบริษัทที่เกี่ยวข้องซึ่งดูลี้ลับ ทำให้การตรวจสอบติดตามร่องรอยการขนส่งดังเช่นรายนี้ประสบความยากลำบากอย่างยิ่ง มีการคาดเดากันในขั้นต้นว่า อาวุธพวกนี้อาจมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ศรีลังกา, ปากีสถาน, หรือไม่ก็ตะวันออกกลาง แต่ในบทวิจารณ์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ฉบับวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม เดนนิส แบลร์ (Dennis Blair) ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ ให้เบาะแสที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อเขาเขียนเอาไว้ว่า “ด้วยการทำงานกันเป็นทีมของพวกหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐฯ และของบรรดาหุ้นส่วนในต่างประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ได้นำไปสู่การขัดขวางสินค้าอาวุธเกาหลีเหนือที่กำลังมุ่งไปยังตะวันออกกลาง”
ไม่ว่าอาวุธเหล่านี้จะมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ไหน แต่การยึดเครื่องบินและลูกเรือเอาไว้ได้เช่นนี้ ก็กลายเป็นการตอกย้ำความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ของฝ่ายอเมริกัน ในการโดดเดี่ยวเกาหลีเหนือ และบังคับให้โสมแดงหวนกลับคืนสู่โต๊ะเจรจา นอกจากนั้น มันยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสามารถของวอชิงตันในการขอความร่วมมือสนับสนุนจากบรรดาเพื่อนมิตรเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนี้อีกด้วย
สำหรับพวกพ่อค้าอาวุธระหว่างประเทศตลอดจนพวกลูกค้าของคนเหล่านี้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่จะต้องมองหาแหล่งอื่นๆ สำหรับการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาต้องประสงค์
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระที่พำนักอยู่ในกรุงเทพฯ