(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Iraq's oil auction hits the jackpot
By Pepe Escobar
15/12/2009
ในการประมูลสิทธิแหล่งน้ำมันของอิรักรอบล่าสุด ปรากฏว่าผู้ชนะรายสำคัญคือรัสเซียและจีน โดยที่คณะรัฐบาลอิรักของนายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกี ก็ควรจัดให้อยู่ในฝ่ายผู้มีชัยอย่างโดดเด่นเช่นกัน ขณะที่พวกบริษัทอเมริกันกลับหายหน้าหายตาไปอย่างมีเงื่อนงำ ถ้าหากน้ำมันดิบจากแหล่งที่จัดให้ประมูลกันเหล่านี้ เริ่มต้นสูบขึ้นมาได้สมดังที่วาดหวังกันอยู่ในขณะนี้แล้ว อีกไม่ปีกีข้างหน้าก็ควรที่จะได้เห็นอิรักก้าวผงาดขึ้นมาด้วยความมั่งคั่งร่ำรวยพอสมควรทีเดียว โดยจะเป็นประเทศซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของชาวชิอะต์ และเป็นมิตรกับอิหร่านตลอดจนกลุ่มฮซโบลเลาะห์ ในเลบานอน สภาพการณ์เช่นนี้จะทำให้ มาลิกี กลายเป็น ซัดดัม อุสเซน คนใหม่หรือไม่หนอ ?
ปักกิ่ง – อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดิ๊ก เชนีย์, อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ โดนัลด์ รัมสเฟลด์ ตลอดจนประดาพวกนีโอ-คอนส์ (Neo-Conservatives พวกอนุรักษนิยมใหม่) ในสหรัฐฯ คงต้องใช้เวลานานทีเดียวในการกินน้ำใบบัวบกให้ฟื้นจากอาการช้ำใน
ในบรรดาเหตุผลสำคัญประการต่างๆ ซึ่งผลักดันให้พวกเขาสู้วางแผนเตรียมการจนกระทั่งเกิดสงครามอิรักขึ้นมาได้ในปี 2003 นั้น ประการหนึ่งก็คือเพื่อเข้ายึดแหล่งน้ำมันอันล้ำค่าของประเทศนี้ ทั้งนี้หากควบคุมน้ำมันในอิรักไว้ได้อย่างมั่นคง ยังจะทำให้สหรัฐฯสามารถชิงความได้เปรียบอย่างมหาศาล ใน “เกมใหญ่”แห่งการแข่งขันชิงชัยทางยุทธศาสตร์ในอาณาบริเวณรอยต่อยุโรป-เอเชียของยุคสมัยปัจจุบัน –นั่นก็คือการต่อกรกันในแนวรบด้านพลังงาน เพราะสหรัฐฯจะจำกัดลิดรอนความสามารถของยุโรปและเอเชีย ในการเข้าถึงปริมาณน้ำมันสำรองที่อาจขุดขึ้นมาใช้ได้ของอิรัก ซึ่งประมาณการณ์กันว่ามีอยู่ราวๆ 115,000 ล้านบาร์เรล
หลังจากวอชิงตันใช้จ่ายเงินงบประมาณไปแล้วอย่างน้อย 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และชาวอิรักต้องล้มตายไปในจำนวนที่น่าจะสูงเกินกว่า 1 ล้านคน ผลลัพธ์กลับปรากฏออกมาว่า ฝันหวานของเชนีย์และรัมสเฟลด์ตลอดจนเหล่านีโอ-คอนส์ มีอันต้องมลายไปอย่างไม่เป็นท่าเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในกรุงแบกแดด จากการจัดประมูลรอบที่ 2 เพื่อหาผู้ที่จะได้รับสิทธิพัฒนาขุดเจาะน้ำมันดิบในแหล่งน้ำมันจำนวนหนึ่งของอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่และน่าจะทำกำไรได้อย่างงดงาม
การจัดประมูลคราวนี้ที่กำกับตรวจสอบโดยกระทรวงน้ำมันของอิรัก มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เสมือนกับเป็นรายการเกมโชว์ ทว่าแทนที่จะเป็น “อเมริกัน ไอดอล” (American Idol รายการทีวีแข่งขันหานักร้องซูเปอร์สตาร์ที่ได้รับความนิยมสูงลิ่วในสหรัฐฯ) ผู้ชมชาวอิรักกลับได้เห็นการค้นหา “ไอดอลน้ำมัน” (Oil Idol) ซึ่งเสนอผลประโยชน์สูงสุด ในบรรยายกาศอันเต็มไปด้วยเสียงเซ็งแซ่แบบตลาดขายพรม กระทรวงน้ำมันกำหนดให้พวกบริษัทน้ำมันใหญ่ของต่างชาติรวม 44 รายที่เข้าประมูล แข่งขันกันเสนอค่าธรรมเนียมสูงสุดที่พวกเขาจะเรียกเก็บจากการให้บริการสูบน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันของอิรัก นั่นคือต้องชิงกันสนอค่าธรรมเนียมที่จะเก็บจากน้ำมันที่ขุดเจาะขึ้นมาได้แต่ละบาร์เรลให้ต่ำกว่ารายอื่นๆ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาที่มีอายุ 20 ปี บริษัทที่ชนะการประมูลจะไม่ได้รับส่วนแบ่งในน้ำมันที่ผลิตให้อิรัก จะได้รับเพียงค่าธรรมเนียมในการให้บริการขุดเจาะสูบน้ำมันขึ้นมา บวกกับการได้เงินเพิ่มขึ้นอีก 2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับการสร้างผลผลิตได้สูงเกินกว่าระดับที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันเอาไว้
กระนั้นก็ตาม เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอิรักซึ่งอยู่ในความควบคุมของชาวชิอะห์ (ชาวอิรักที่นับถือศาสนามุสลิมนิกายชิอะห์) อันเป็นที่ตั้งแหล่งน้ำมันขนาดยักษ์ใหญ่หลายๆ แหล่งที่นำมาประมูลกันในรอบนี้ ถือเป็นพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำมันยักษ์รวมศูนย์กันอยู่อย่างมากมายใหญ่โตที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ดังนั้นสำหรับพวกบริษัทน้ำมันใหญ่ทั้งหลายแล้ว การมีโอกาสเจาะเข้าสู่พื้นที่นี้ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเขาต่างมุ่งมาตรปรารถนา สำหรับการที่รัฐบาลอิรักใช้วิธีทำสัญญาในรูปแบบของการให้ “บริการ” สูบน้ำมันเช่นนี้ เหตุผลสำคัญก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องนำเรื่องเสนอผ่านรัฐสภา ซึ่งอาจประสบความยุ่งยากจนถึงขั้นเดินหน้าไปต่อกันไม่ได้ทีเดียว ทั้งนี้ มีการคาดหมายกันว่า เป็นไปได้ว่าลงท้ายแล้วบริษัทน้ำมันใหญ่อาจจะได้รับค่าธรรมเนียมจากรัฐบาลอิรักถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ก็เป็นได้ นอกจากนั้นบริษัทน้ำมันใหญ่ก็ยังหวังที่จะทำรายได้เพิ่ม จากการผลิตให้สูงกว่าเป้าหมายขั้นต่ำสุดที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้อีก 2 ดอลลาร์จากทุกบาร์เรลที่เกินมา
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อิรักได้จัดการประมูลน้ำมันรอบแรกไปแล้ว การประมูลคราวนั้นเป็นการเสนอโอกาสให้พวกบริษัทต่างชาติเข้ามาเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำมันที่กำลังมีการสูบน้ำมันขึ้นมาอยู่แล้ว ขณะที่การประมูลรอบล่าสุดถือเป็นครั้งแรกที่บรรดากิจการต่างชาติจะได้สิทธิเสนอประมูลแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้มีการขุดเจาะของอิรัก และปรากฏว่าจากบรรดาแหล่งน้ำมันที่เปิดให้ประมูลกันรวม 10 สัญญา มี 7 สัญญาทีเดียวที่ได้ตัวผู้ชนะ
**ชัยชนะของรัสเซียและจีน**
บทภาพยนตร์ที่เชนีย์กับรัมสเฟลด์เขียนเตรียมเอาไว้ ต้องไม่ตรงกับเรื่องจริงที่คลี่คลายออกมาในคราวนี้อย่างแน่นอน แทนที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯจะสามารถชิงส่วนแบ่งสำคัญแทบทั้งหมดไป ปรากฏว่าคู่แข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ของอเมริกันอย่างรัสเซียและจีน กลับกลายเป็นผู้ชนะรายสำคัญไปเสียฉิบ สำหรับดิ๊ก เชนีย์และสหายแล้ว สิ่งที่พอจะจัดได้ว่าเป็น “รางวัลปลอบใจ” ก็คือกลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเอ็กซอนโมบิล กับ เชลล์ ได้สิทธิให้บริการสูบน้ำมันในแหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 1 (West Qurna Phase 1) ที่ประมูลกันไปตั้งแต่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน เอ็กซอนโมบิลยังถือเป็นตัวเก็งที่จะชนะได้แหล่งน้ำมัน รุไมลา (Rumaila) ด้วย แต่ปรากฏว่ากลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้า บีพี – CNPC ((China National Petroleum Corporation บรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งประเทศจีน) กลับเป็นผู้คว้าสัญญาให้บริการขุดเจาะแหล่งน้ำมันที่มีปริมาณน้ำมันสำรองซึ่งสามารถสูบขึ้นมาได้แน่ๆ ถึงประมาณ 17,800 ล้านบาร์เรลแห่งนี้ไป เหตุผลก็คือ ไม่เหมือนเอ็กซอนโมบิล ทางบีพีกับ CNPC กล้าชักเนื้อโดยยินยอมที่จะลดค่าธรรมเนียมของตนลงต่ำกว่าระดับ 2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่กระทรวงน้ำมันตั้งเป็นเพดานไว้
CNBC (50%) ซึ่งจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ โททาล แห่งฝรั่งเศส (25%) และ เปโตรนาสแห่งมาเลเซีย (25%) ยังเป็นผู้ชนะได้สัญญาให้บริการสูบน้ำมันที่แหล่งน้ำมัน ฮัลฟาญะ (Halfaya) ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง อามาเราะ (Amara) แหล่งน้ำมันแห่งนี้มีปริมาณสำรองที่คาดว่าจะขุดขึ้นมาได้ 4,100 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่มผู้ชนะตกลงกับรับบาลอิรักว่าจะผลิตได้ในระดับ 535,000 บาร์เรลต่อวัน
เปโตรนาสก็เช่นกัน ยังมีการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ เจเปกซ์ (Japex ซึ่งก็คือ Japan Petroleum Exploration Co บริษัทสำรวจน้ำมันปิโตรเลียมญี่ปุ่น) ด้วยสัดส่วนฝ่ายละ 60% และ 40% ตามลำดับ และประสบความสำเร็จในการเสนอลงทุนเป็นเงินราว 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำมัน กอรอฟ (Gharaf) ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 860 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้านี้คาดการณ์ว่าจะทำผลผลิตได้ 230,000 บาร์เรลต่อวัน การแข่งขันกันชิงสัญญารายนี้นับว่าดุเดือดทีเดียว พวกที่พ่ายแพ้มีทั้ง กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าของบริษัทตุรกี-อินเดีย, กลุ่มของคาซัคสถาน/เกาหลีใต้/อิตาลี, และบริษัทเปอร์ตามินา จากอินโดนีเซีย
นอกจากนั้น กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเปโตรนาสกับเชลล์ ยังได้ชัยในการแข่งขันชิงแหล่งน้ำมัน มัจนูน (Majnoon) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ ชายแดนอิหร่านและเป็นที่ปรารถนากันมาก ด้วยปริมาณน้ำมันสำรองที่มีมากกว่า 12,000 ล้านบาร์เรล โดยที่กลุ่มนี้เสนอว่าจะสามารถทำผลผลิตได้ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ลุคออยล์ (Lukoil) ของรัสเซีย กับ สเตตออยล์ (Statoil) ของนอร์เวย์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันในสัดส่วน 85% และ 15% ตามลำดับ (สัดส่วนก่อนที่บริษัทของรัฐบาลอิรักจะเข้ามาร่วมวงอีกรายหนึ่ง ดูเรื่อง Surprises aplenty in selloff, Asia Times Online, 15 December 2009 –ผู้แปล) เป็นผู้ชนะได้แหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 2 (West Qurna Phase 2) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองบาสเราะ (Basra) ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 65 กิโลเมตร โดยที่มีปริมาณน้ำมันสำรองที่สามารถสูบขึ้นมาได้แน่ๆ ราว 12,000 ล้านบาร์เรล และคาดหมายว่าจะผลิตได้ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน อันที่จริงในทางทฤษฎีแล้ว ลุคออยล์ได้สัมปทานแหล่งน้ำมันแห่งนี้ตั้งแต่ยุคซัดดัม ฮุสเซน เมื่อตอนที่ลุคออยล์ถูกซัดดัมเพิกถอนสัญญาสัมปทานไปนั้น บริษัทประณามว่าเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของยูเอ็นที่สหรัฐฯผลักดันให้ออกมาบังคับใช้ ขณะที่ตัวซัดดัมเองประณามว่าเป็นความผิดของลุคออยล์เอง
สำหรับ แหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 1 (West Qurna Phase 1) ซึ่งตามทฤษฎีก็เคยอยู่ในมือของลุคออยล์เช่นกันนั้น กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเอ็กซอน-เชลล์ที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นผู้ชนะในการประมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน แหล่งน้ำมันนี้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่ราว 8,700 ล้านบาร์เรล โดยคาดหมายว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตจากระดับ 300,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวันก่อนปี 2016
กาซปรอม (Gazprom) ของรัสเซีย (40%) กับหุ้นส่วนข้างน้อยอีกหลายราย ได้แก่ TPAO, โคกาซ (Kogas), และเปโตรนาส ประมูลได้แหล่งน้ำมัน บัดเราะห์ (Badrah) โดยคาดหมายว่าจะผลิตได้ในระดับ 170,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกแหล่งน้ำมันทางภาคใต้ของอิรัก มีบริษัทน้ำมันใหญ่ของต่างชาติเข้าร่วมแข่งขันแย่งชิงกันอย่างดุเดือดนั้น แหล่งน้ำมัน อีสต์ แบกแดด (East Baghdad) กลับไม่มีใครยื่นประมูลเลย ด้วยเหตุผลที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ มันตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในทางเป็นจริงยังเป็นพื้นที่สงครามนั่นเอง
**พวกชิอะห์กำลังมาแล้ว**
อิรักได้ดำเนินการโอนอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศให้กลายเป็นของชาติในปี 1972 ตอนนี้บริษัทน้ำมันยักษ์กำลังหวนคืนมาอีกคำรบหนึ่ง รัฐมนตรีน้ำมัน ฮุสเซน อัล ชาห์ริสตานี (Hussain al-Shahristani) พูดจาอย่างห้าวหาญไม่เกรงใจใครเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของอิรัก โดยบอกว่า “วัตถุประสงค์หลักของเราก็คือ เพิ่มผลผลิตน้ำมันของเราจากระดับ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปเป็นมากกว่า 4 ล้านในเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า” อิรักในปัจจุบันกำลังส่งออกน้ำมันลดน้อยลงกว่าในยุคซัดดัม แต่อิรักก็ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่าจะส่งออกให้ได้ 7 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2016 ชาห์ริสตานียังกล่าวยืนยันด้วยว่า “ประเทศของเราจะเป็นผู้ควบคุมในเรื่องการผลิตอย่างเต็มที่”
เรื่องหลังนี้ยังคงเป็นเรื่องที่สามารถโต้เถียงกันได้อย่างขนานใหญ่
กระนั้นก็ตาม สำหรับในขณะนี้ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกี ในกรุงแบกแดด ก็เป็นผู้ชนะด้วยผู้หนึ่ง อิรักในปัจจุบันมีรายรับจากน้ำมันเพียงแค่ 60,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ไม่เพียงพอที่จะบูรณะประเทศขึ้นมาใหม่จากความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสงครามอิหร่าน-อิรักในทศวรรษ 1980, การถูกยูเอ็นคว่ำบาตรลงโทษ, จนมาถึงการถูกอเมริกันเข้ายึดครอง ทั้งนี้มีเหตุผลมากพอสมควรทีเดียวที่จะเชื่อว่า อุตสาหกรรมน้ำมันของอิรักโดยลำพังตนเองจะไม่มีเงินทุน, เครื่องมืออุปกรณ์, และผู้คนที่มีความสามารถทางเทคนิค เพียงพอที่จะกลับผงาดขึ้นมาใหม่
แต่เมื่อแบกแดดมีรายรับจากน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายและสร้างความสงบเรียบร้อย (เริ่มต้นตั้งแต่ในพื้นที่เมืองหลวงแบกแดด) ตลอดจนติดอาวุธเพิ่มเขี้ยวเล็บอย่างเต็มที่ให้แก่กำลังทหารบวกกับกำลังตำรวจจำนวน 275,000 คนได้หรือไม่ นั่นยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ไม่มีใครสามารถระบุด้วยความมั่นอกมั่นใจว่าใครจะเป็นผู้ควบคุมเหนืออิรักในอนาคตอันใกล้นี้ ในเมื่อการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภากำลังจะถึงกำหนดจัดขึ้นตอนต้นปีหน้าแล้ว รัฐบาลชุดใหม่ของอิรักอาจจะถูกชักจูงให้เปิดการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงสิทธิน้ำมันเหล่านี้กันใหม่ หรือกระทั่งยกเลิกข้อตกลงเหล่านี้ไปเลยก็ได้
ในช่วงเวลาสองสามปีข้างหน้า ถึงแม้อิรักสามารถที่จะทำได้ตามเป้าหมายในการผลิตน้ำมันให้ได้อย่างน้อย 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเรื่องนี้ยังจะไม่ได้มีอิทธิพลมากมายอะไรต่อราคาน้ำมันของโลก นอกเหนือจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ราคาพุ่งทะยานโลดลิ่วอย่างเกินเลยเหตุผลสมควรเท่านั้น ประเทศจีนเวลานี้กำลังนำเข้าน้ำมันมากกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยังคงเพิ่มมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เฉพาะจีนเท่านั้นก็จะสวาปามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาใดๆ ในตลาดน้ำมันโลกไปได้จนหมดสิ้น
สิ่งที่จะได้เห็นกันอย่างแน่นอนในช่วงต้นทศวรรษ 2010 ก็คือ การผงาดขึ้นมาของอิรักที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยพอสมควรทีเดียว โดยเป็นประเทศซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของชาวชิอะต์ และเป็นมิตรกับอิหร่านตลอดจนกลุ่มฮซโบลเลาะห์ ในเลบานอน โดยเนื้อหาสาระแล้ว นี่เท่ากับว่า ศาสนาอิสลามนิกายชิอะห์กำลังก้าวผงาดขึ้นมา พวกระบอบอัตตาธิปไตยและระบอบเผด็จการในแถบอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นเพื่อนมิตรกับสหรัฐฯจะต้องร้องผวากันอีกคำรบหนึ่ง “จันทร์เสี้ยวชิอะห์กลับคืนมาแล้ว” บรรดาคลังสมองของสหรัฐฯอาจจะมีความโน้มเอียงที่จะให้คำนิยามเกี่ยวกับตัวมาลิกีว่า เขากำลังกลายเป็นซัดดัมคนใหม่
เมื่อถึงตอนนั้น ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวกับช่วงก่อนที่สหรัฐฯจะเข้ายึดครองอิรัก ก็คือ เชนีย์และสหายได้ถูกซุกซ่อนเอาไว้ไม่ให้ออกมาอาละวาดได้อีก ในถังขยะแห่งประวัติศาสตร์เสียแล้ว
เปเป เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007) และเรื่อง Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge. หนังสือเล่มใหม่ของเขาที่เพิ่งออกมา คือเรื่อง Obama does Globalistan (Nimble Books, 2009) ผู้สนใจสามารถติดต่อสื่อสารกับเขาได้ที่ pepeasia@yahoo.com
Iraq's oil auction hits the jackpot
By Pepe Escobar
15/12/2009
ในการประมูลสิทธิแหล่งน้ำมันของอิรักรอบล่าสุด ปรากฏว่าผู้ชนะรายสำคัญคือรัสเซียและจีน โดยที่คณะรัฐบาลอิรักของนายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกี ก็ควรจัดให้อยู่ในฝ่ายผู้มีชัยอย่างโดดเด่นเช่นกัน ขณะที่พวกบริษัทอเมริกันกลับหายหน้าหายตาไปอย่างมีเงื่อนงำ ถ้าหากน้ำมันดิบจากแหล่งที่จัดให้ประมูลกันเหล่านี้ เริ่มต้นสูบขึ้นมาได้สมดังที่วาดหวังกันอยู่ในขณะนี้แล้ว อีกไม่ปีกีข้างหน้าก็ควรที่จะได้เห็นอิรักก้าวผงาดขึ้นมาด้วยความมั่งคั่งร่ำรวยพอสมควรทีเดียว โดยจะเป็นประเทศซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของชาวชิอะต์ และเป็นมิตรกับอิหร่านตลอดจนกลุ่มฮซโบลเลาะห์ ในเลบานอน สภาพการณ์เช่นนี้จะทำให้ มาลิกี กลายเป็น ซัดดัม อุสเซน คนใหม่หรือไม่หนอ ?
ปักกิ่ง – อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดิ๊ก เชนีย์, อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ โดนัลด์ รัมสเฟลด์ ตลอดจนประดาพวกนีโอ-คอนส์ (Neo-Conservatives พวกอนุรักษนิยมใหม่) ในสหรัฐฯ คงต้องใช้เวลานานทีเดียวในการกินน้ำใบบัวบกให้ฟื้นจากอาการช้ำใน
ในบรรดาเหตุผลสำคัญประการต่างๆ ซึ่งผลักดันให้พวกเขาสู้วางแผนเตรียมการจนกระทั่งเกิดสงครามอิรักขึ้นมาได้ในปี 2003 นั้น ประการหนึ่งก็คือเพื่อเข้ายึดแหล่งน้ำมันอันล้ำค่าของประเทศนี้ ทั้งนี้หากควบคุมน้ำมันในอิรักไว้ได้อย่างมั่นคง ยังจะทำให้สหรัฐฯสามารถชิงความได้เปรียบอย่างมหาศาล ใน “เกมใหญ่”แห่งการแข่งขันชิงชัยทางยุทธศาสตร์ในอาณาบริเวณรอยต่อยุโรป-เอเชียของยุคสมัยปัจจุบัน –นั่นก็คือการต่อกรกันในแนวรบด้านพลังงาน เพราะสหรัฐฯจะจำกัดลิดรอนความสามารถของยุโรปและเอเชีย ในการเข้าถึงปริมาณน้ำมันสำรองที่อาจขุดขึ้นมาใช้ได้ของอิรัก ซึ่งประมาณการณ์กันว่ามีอยู่ราวๆ 115,000 ล้านบาร์เรล
หลังจากวอชิงตันใช้จ่ายเงินงบประมาณไปแล้วอย่างน้อย 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และชาวอิรักต้องล้มตายไปในจำนวนที่น่าจะสูงเกินกว่า 1 ล้านคน ผลลัพธ์กลับปรากฏออกมาว่า ฝันหวานของเชนีย์และรัมสเฟลด์ตลอดจนเหล่านีโอ-คอนส์ มีอันต้องมลายไปอย่างไม่เป็นท่าเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาในกรุงแบกแดด จากการจัดประมูลรอบที่ 2 เพื่อหาผู้ที่จะได้รับสิทธิพัฒนาขุดเจาะน้ำมันดิบในแหล่งน้ำมันจำนวนหนึ่งของอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่และน่าจะทำกำไรได้อย่างงดงาม
การจัดประมูลคราวนี้ที่กำกับตรวจสอบโดยกระทรวงน้ำมันของอิรัก มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เสมือนกับเป็นรายการเกมโชว์ ทว่าแทนที่จะเป็น “อเมริกัน ไอดอล” (American Idol รายการทีวีแข่งขันหานักร้องซูเปอร์สตาร์ที่ได้รับความนิยมสูงลิ่วในสหรัฐฯ) ผู้ชมชาวอิรักกลับได้เห็นการค้นหา “ไอดอลน้ำมัน” (Oil Idol) ซึ่งเสนอผลประโยชน์สูงสุด ในบรรยายกาศอันเต็มไปด้วยเสียงเซ็งแซ่แบบตลาดขายพรม กระทรวงน้ำมันกำหนดให้พวกบริษัทน้ำมันใหญ่ของต่างชาติรวม 44 รายที่เข้าประมูล แข่งขันกันเสนอค่าธรรมเนียมสูงสุดที่พวกเขาจะเรียกเก็บจากการให้บริการสูบน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมันของอิรัก นั่นคือต้องชิงกันสนอค่าธรรมเนียมที่จะเก็บจากน้ำมันที่ขุดเจาะขึ้นมาได้แต่ละบาร์เรลให้ต่ำกว่ารายอื่นๆ ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาสัญญาที่มีอายุ 20 ปี บริษัทที่ชนะการประมูลจะไม่ได้รับส่วนแบ่งในน้ำมันที่ผลิตให้อิรัก จะได้รับเพียงค่าธรรมเนียมในการให้บริการขุดเจาะสูบน้ำมันขึ้นมา บวกกับการได้เงินเพิ่มขึ้นอีก 2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สำหรับการสร้างผลผลิตได้สูงเกินกว่าระดับที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันเอาไว้
กระนั้นก็ตาม เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอิรักซึ่งอยู่ในความควบคุมของชาวชิอะห์ (ชาวอิรักที่นับถือศาสนามุสลิมนิกายชิอะห์) อันเป็นที่ตั้งแหล่งน้ำมันขนาดยักษ์ใหญ่หลายๆ แหล่งที่นำมาประมูลกันในรอบนี้ ถือเป็นพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำมันยักษ์รวมศูนย์กันอยู่อย่างมากมายใหญ่โตที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ดังนั้นสำหรับพวกบริษัทน้ำมันใหญ่ทั้งหลายแล้ว การมีโอกาสเจาะเข้าสู่พื้นที่นี้ย่อมเป็นสิ่งที่พวกเขาต่างมุ่งมาตรปรารถนา สำหรับการที่รัฐบาลอิรักใช้วิธีทำสัญญาในรูปแบบของการให้ “บริการ” สูบน้ำมันเช่นนี้ เหตุผลสำคัญก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องนำเรื่องเสนอผ่านรัฐสภา ซึ่งอาจประสบความยุ่งยากจนถึงขั้นเดินหน้าไปต่อกันไม่ได้ทีเดียว ทั้งนี้ มีการคาดหมายกันว่า เป็นไปได้ว่าลงท้ายแล้วบริษัทน้ำมันใหญ่อาจจะได้รับค่าธรรมเนียมจากรัฐบาลอิรักถึง 50,000 ล้านดอลลาร์ก็เป็นได้ นอกจากนั้นบริษัทน้ำมันใหญ่ก็ยังหวังที่จะทำรายได้เพิ่ม จากการผลิตให้สูงกว่าเป้าหมายขั้นต่ำสุดที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะทำให้พวกเขาได้อีก 2 ดอลลาร์จากทุกบาร์เรลที่เกินมา
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อิรักได้จัดการประมูลน้ำมันรอบแรกไปแล้ว การประมูลคราวนั้นเป็นการเสนอโอกาสให้พวกบริษัทต่างชาติเข้ามาเพิ่มผลผลิตในแหล่งน้ำมันที่กำลังมีการสูบน้ำมันขึ้นมาอยู่แล้ว ขณะที่การประมูลรอบล่าสุดถือเป็นครั้งแรกที่บรรดากิจการต่างชาติจะได้สิทธิเสนอประมูลแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้มีการขุดเจาะของอิรัก และปรากฏว่าจากบรรดาแหล่งน้ำมันที่เปิดให้ประมูลกันรวม 10 สัญญา มี 7 สัญญาทีเดียวที่ได้ตัวผู้ชนะ
**ชัยชนะของรัสเซียและจีน**
บทภาพยนตร์ที่เชนีย์กับรัมสเฟลด์เขียนเตรียมเอาไว้ ต้องไม่ตรงกับเรื่องจริงที่คลี่คลายออกมาในคราวนี้อย่างแน่นอน แทนที่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯจะสามารถชิงส่วนแบ่งสำคัญแทบทั้งหมดไป ปรากฏว่าคู่แข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ของอเมริกันอย่างรัสเซียและจีน กลับกลายเป็นผู้ชนะรายสำคัญไปเสียฉิบ สำหรับดิ๊ก เชนีย์และสหายแล้ว สิ่งที่พอจะจัดได้ว่าเป็น “รางวัลปลอบใจ” ก็คือกลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเอ็กซอนโมบิล กับ เชลล์ ได้สิทธิให้บริการสูบน้ำมันในแหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 1 (West Qurna Phase 1) ที่ประมูลกันไปตั้งแต่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน เอ็กซอนโมบิลยังถือเป็นตัวเก็งที่จะชนะได้แหล่งน้ำมัน รุไมลา (Rumaila) ด้วย แต่ปรากฏว่ากลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้า บีพี – CNPC ((China National Petroleum Corporation บรรษัทน้ำมันปิโตรเลียมแห่งประเทศจีน) กลับเป็นผู้คว้าสัญญาให้บริการขุดเจาะแหล่งน้ำมันที่มีปริมาณน้ำมันสำรองซึ่งสามารถสูบขึ้นมาได้แน่ๆ ถึงประมาณ 17,800 ล้านบาร์เรลแห่งนี้ไป เหตุผลก็คือ ไม่เหมือนเอ็กซอนโมบิล ทางบีพีกับ CNPC กล้าชักเนื้อโดยยินยอมที่จะลดค่าธรรมเนียมของตนลงต่ำกว่าระดับ 2 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลที่กระทรวงน้ำมันตั้งเป็นเพดานไว้
CNBC (50%) ซึ่งจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ โททาล แห่งฝรั่งเศส (25%) และ เปโตรนาสแห่งมาเลเซีย (25%) ยังเป็นผู้ชนะได้สัญญาให้บริการสูบน้ำมันที่แหล่งน้ำมัน ฮัลฟาญะ (Halfaya) ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง อามาเราะ (Amara) แหล่งน้ำมันแห่งนี้มีปริมาณสำรองที่คาดว่าจะขุดขึ้นมาได้ 4,100 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่มผู้ชนะตกลงกับรับบาลอิรักว่าจะผลิตได้ในระดับ 535,000 บาร์เรลต่อวัน
เปโตรนาสก็เช่นกัน ยังมีการจับมือเป็นหุ้นส่วนกับ เจเปกซ์ (Japex ซึ่งก็คือ Japan Petroleum Exploration Co บริษัทสำรวจน้ำมันปิโตรเลียมญี่ปุ่น) ด้วยสัดส่วนฝ่ายละ 60% และ 40% ตามลำดับ และประสบความสำเร็จในการเสนอลงทุนเป็นเงินราว 7,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำมัน กอรอฟ (Gharaf) ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 860 ล้านบาร์เรล โดยกลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้านี้คาดการณ์ว่าจะทำผลผลิตได้ 230,000 บาร์เรลต่อวัน การแข่งขันกันชิงสัญญารายนี้นับว่าดุเดือดทีเดียว พวกที่พ่ายแพ้มีทั้ง กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าของบริษัทตุรกี-อินเดีย, กลุ่มของคาซัคสถาน/เกาหลีใต้/อิตาลี, และบริษัทเปอร์ตามินา จากอินโดนีเซีย
นอกจากนั้น กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเปโตรนาสกับเชลล์ ยังได้ชัยในการแข่งขันชิงแหล่งน้ำมัน มัจนูน (Majnoon) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ ชายแดนอิหร่านและเป็นที่ปรารถนากันมาก ด้วยปริมาณน้ำมันสำรองที่มีมากกว่า 12,000 ล้านบาร์เรล โดยที่กลุ่มนี้เสนอว่าจะสามารถทำผลผลิตได้ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ลุคออยล์ (Lukoil) ของรัสเซีย กับ สเตตออยล์ (Statoil) ของนอร์เวย์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันในสัดส่วน 85% และ 15% ตามลำดับ (สัดส่วนก่อนที่บริษัทของรัฐบาลอิรักจะเข้ามาร่วมวงอีกรายหนึ่ง ดูเรื่อง Surprises aplenty in selloff, Asia Times Online, 15 December 2009 –ผู้แปล) เป็นผู้ชนะได้แหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 2 (West Qurna Phase 2) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองบาสเราะ (Basra) ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 65 กิโลเมตร โดยที่มีปริมาณน้ำมันสำรองที่สามารถสูบขึ้นมาได้แน่ๆ ราว 12,000 ล้านบาร์เรล และคาดหมายว่าจะผลิตได้ 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน อันที่จริงในทางทฤษฎีแล้ว ลุคออยล์ได้สัมปทานแหล่งน้ำมันแห่งนี้ตั้งแต่ยุคซัดดัม ฮุสเซน เมื่อตอนที่ลุคออยล์ถูกซัดดัมเพิกถอนสัญญาสัมปทานไปนั้น บริษัทประณามว่าเนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของยูเอ็นที่สหรัฐฯผลักดันให้ออกมาบังคับใช้ ขณะที่ตัวซัดดัมเองประณามว่าเป็นความผิดของลุคออยล์เอง
สำหรับ แหล่งน้ำมัน เวสต์ กูรนา เฟส 1 (West Qurna Phase 1) ซึ่งตามทฤษฎีก็เคยอยู่ในมือของลุคออยล์เช่นกันนั้น กลุ่มหุ้นส่วนร่วมค้าระหว่างเอ็กซอน-เชลล์ที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นผู้ชนะในการประมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน แหล่งน้ำมันนี้มีปริมาณน้ำมันสำรองอยู่ราว 8,700 ล้านบาร์เรล โดยคาดหมายว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตจากระดับ 300,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวันก่อนปี 2016
กาซปรอม (Gazprom) ของรัสเซีย (40%) กับหุ้นส่วนข้างน้อยอีกหลายราย ได้แก่ TPAO, โคกาซ (Kogas), และเปโตรนาส ประมูลได้แหล่งน้ำมัน บัดเราะห์ (Badrah) โดยคาดหมายว่าจะผลิตได้ในระดับ 170,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกแหล่งน้ำมันทางภาคใต้ของอิรัก มีบริษัทน้ำมันใหญ่ของต่างชาติเข้าร่วมแข่งขันแย่งชิงกันอย่างดุเดือดนั้น แหล่งน้ำมัน อีสต์ แบกแดด (East Baghdad) กลับไม่มีใครยื่นประมูลเลย ด้วยเหตุผลที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว นั่นคือ มันตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในทางเป็นจริงยังเป็นพื้นที่สงครามนั่นเอง
**พวกชิอะห์กำลังมาแล้ว**
อิรักได้ดำเนินการโอนอุตสาหกรรมน้ำมันของประเทศให้กลายเป็นของชาติในปี 1972 ตอนนี้บริษัทน้ำมันยักษ์กำลังหวนคืนมาอีกคำรบหนึ่ง รัฐมนตรีน้ำมัน ฮุสเซน อัล ชาห์ริสตานี (Hussain al-Shahristani) พูดจาอย่างห้าวหาญไม่เกรงใจใครเกี่ยวกับความทะเยอทะยานของอิรัก โดยบอกว่า “วัตถุประสงค์หลักของเราก็คือ เพิ่มผลผลิตน้ำมันของเราจากระดับ 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปเป็นมากกว่า 4 ล้านในเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า” อิรักในปัจจุบันกำลังส่งออกน้ำมันลดน้อยลงกว่าในยุคซัดดัม แต่อิรักก็ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ว่าจะส่งออกให้ได้ 7 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปี 2016 ชาห์ริสตานียังกล่าวยืนยันด้วยว่า “ประเทศของเราจะเป็นผู้ควบคุมในเรื่องการผลิตอย่างเต็มที่”
เรื่องหลังนี้ยังคงเป็นเรื่องที่สามารถโต้เถียงกันได้อย่างขนานใหญ่
กระนั้นก็ตาม สำหรับในขณะนี้ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า คณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกี ในกรุงแบกแดด ก็เป็นผู้ชนะด้วยผู้หนึ่ง อิรักในปัจจุบันมีรายรับจากน้ำมันเพียงแค่ 60,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ไม่เพียงพอที่จะบูรณะประเทศขึ้นมาใหม่จากความเสียหายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสงครามอิหร่าน-อิรักในทศวรรษ 1980, การถูกยูเอ็นคว่ำบาตรลงโทษ, จนมาถึงการถูกอเมริกันเข้ายึดครอง ทั้งนี้มีเหตุผลมากพอสมควรทีเดียวที่จะเชื่อว่า อุตสาหกรรมน้ำมันของอิรักโดยลำพังตนเองจะไม่มีเงินทุน, เครื่องมืออุปกรณ์, และผู้คนที่มีความสามารถทางเทคนิค เพียงพอที่จะกลับผงาดขึ้นมาใหม่
แต่เมื่อแบกแดดมีรายรับจากน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายและสร้างความสงบเรียบร้อย (เริ่มต้นตั้งแต่ในพื้นที่เมืองหลวงแบกแดด) ตลอดจนติดอาวุธเพิ่มเขี้ยวเล็บอย่างเต็มที่ให้แก่กำลังทหารบวกกับกำลังตำรวจจำนวน 275,000 คนได้หรือไม่ นั่นยังคงเป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ไม่มีใครสามารถระบุด้วยความมั่นอกมั่นใจว่าใครจะเป็นผู้ควบคุมเหนืออิรักในอนาคตอันใกล้นี้ ในเมื่อการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภากำลังจะถึงกำหนดจัดขึ้นตอนต้นปีหน้าแล้ว รัฐบาลชุดใหม่ของอิรักอาจจะถูกชักจูงให้เปิดการเจรจาเพื่อทำข้อตกลงสิทธิน้ำมันเหล่านี้กันใหม่ หรือกระทั่งยกเลิกข้อตกลงเหล่านี้ไปเลยก็ได้
ในช่วงเวลาสองสามปีข้างหน้า ถึงแม้อิรักสามารถที่จะทำได้ตามเป้าหมายในการผลิตน้ำมันให้ได้อย่างน้อย 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก็มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเรื่องนี้ยังจะไม่ได้มีอิทธิพลมากมายอะไรต่อราคาน้ำมันของโลก นอกเหนือจากจะช่วยป้องกันไม่ให้ราคาพุ่งทะยานโลดลิ่วอย่างเกินเลยเหตุผลสมควรเท่านั้น ประเทศจีนเวลานี้กำลังนำเข้าน้ำมันมากกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และยังคงเพิ่มมากขึ้นไปอีกเรื่อยๆ เฉพาะจีนเท่านั้นก็จะสวาปามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาใดๆ ในตลาดน้ำมันโลกไปได้จนหมดสิ้น
สิ่งที่จะได้เห็นกันอย่างแน่นอนในช่วงต้นทศวรรษ 2010 ก็คือ การผงาดขึ้นมาของอิรักที่มีความมั่งคั่งร่ำรวยพอสมควรทีเดียว โดยเป็นประเทศซึ่งอยู่ใต้การควบคุมของชาวชิอะต์ และเป็นมิตรกับอิหร่านตลอดจนกลุ่มฮซโบลเลาะห์ ในเลบานอน โดยเนื้อหาสาระแล้ว นี่เท่ากับว่า ศาสนาอิสลามนิกายชิอะห์กำลังก้าวผงาดขึ้นมา พวกระบอบอัตตาธิปไตยและระบอบเผด็จการในแถบอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นเพื่อนมิตรกับสหรัฐฯจะต้องร้องผวากันอีกคำรบหนึ่ง “จันทร์เสี้ยวชิอะห์กลับคืนมาแล้ว” บรรดาคลังสมองของสหรัฐฯอาจจะมีความโน้มเอียงที่จะให้คำนิยามเกี่ยวกับตัวมาลิกีว่า เขากำลังกลายเป็นซัดดัมคนใหม่
เมื่อถึงตอนนั้น ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวกับช่วงก่อนที่สหรัฐฯจะเข้ายึดครองอิรัก ก็คือ เชนีย์และสหายได้ถูกซุกซ่อนเอาไว้ไม่ให้ออกมาอาละวาดได้อีก ในถังขยะแห่งประวัติศาสตร์เสียแล้ว
เปเป เอสโคบาร์ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Globalistan: How the Globalized World is Dissolving into Liquid War (Nimble Books, 2007) และเรื่อง Red Zone Blues: a snapshot of Baghdad during the surge. หนังสือเล่มใหม่ของเขาที่เพิ่งออกมา คือเรื่อง Obama does Globalistan (Nimble Books, 2009) ผู้สนใจสามารถติดต่อสื่อสารกับเขาได้ที่ pepeasia@yahoo.com