(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Obama embraces realist-liberal tradition
By Jim Lobe
11/12/2009
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ อาศัยสุนทรพจน์ที่เขากล่าวในตอนที่รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ มาประกาศให้ทราบกันอย่างชัดเจนถึงทัศนะของเขาที่มีต่อโลก เนื้อหาของสิ่งที่เขาพูดออกมาทำให้สมควรจัดเขาเข้าอยู่ในพวกที่มีแนวคิดแบบสัจนิยม-สากลนิยม ซึ่งเป็นสกุลความคิดที่มีอิทธิพลครอบงำนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเรื่อยมา นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่าสภาพการณ์แสนอิหลักอิเหลื่อที่เขาขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติทางด้านสันติภาพนี้ เพียงไม่กี่วันหลังเพิ่งออกคำสั่งเพิ่มระดับการทำสงครามครั้งใหญ่ ดูจะกลายเป็นแรงขับดันทำให้เขาสามารถกล่าวสุนทรพจน์ที่จัดว่าดีเด่นที่สุดครั้งหนึ่งของเขาทีเดียว
วอชิงตัน – ในการกล่าวสุนทรพจน์รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2009 อย่างเป็นทางการที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เมื่อวันพฤหัสบดี(10) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯได้ประกาศให้ทราบกันอย่างชัดเจนถึงทัศนะของเขาที่มีต่อโลก เนื้อหาของสิ่งที่เขาพูดออกมาทำให้สมควรจัดเขาเข้าอยู่ในพวกที่มีแนวคิดแบบนักสัจนิยม(realist) และนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม (liberal internationalist ) ซึ่งเป็นสกุลความคิดที่มีอิทธิพลครอบงำนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา –อย่างน้อยก็จวบจนกระทั่งถึง “สงครามระดับโลกเพื่อต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย” ของประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้าเขา
จากการกล่าวยืนยันในพิธีอันทรงเกียรติดังกล่าว ว่า “ปีศาจร้ายมีตัวตนอยู่ในโลกเราจริงๆ” และ “ย่อมจะมีหลายๆ ครั้งที่ชาติต่างๆ พบว่าการใช้กำลังไม่เพียงเป็นสิ่งจำเป็นเท่านั้นหากยังมีความชอบธรรมในเชิงศีลธรรมอีกด้วย” โอบามาก็กำลังสะท้อนเสียงเพรียกแบบสัจนิยม ซึ่งเป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษมานานแล้วของพวกผู้วางนโยบายชาวพรรครีพับลิกัน
ขณะเดียวกัน การที่เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างบรรดาสถาบันระหว่างประเทศ ซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ป้องกันสงคราม (โดยที่เขาชี้ว่า ความคิดเช่นนี้เองที่ทำให้ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐฯได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเช่นกัน) ตลอดจนเพื่อใช้ “พิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชน, ป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, จำกัดอาวุธที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด” ก็เป็นการก้องกังวานหลักความเชื่อแบบนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม ซึ่งบรรดาประธานาธิบดีอเมริกันที่เป็นชาวพรรคเดโมเครตนับตั้งแต่วูดโรว์ วิลสันเป็นต้นมาทีเดียว ต้องแสดงความเชื่อถือศรัทธา อย่างน้อยก็ในทางวาจา
การที่เขาอ้างอิงคำพูดของ จอห์น เอฟ เคนเนดี ซึ่งเห็นกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ที่นำเอา 2 สำนักคิดนี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นต้นว่า ในช่วงที่สุนทรพจน์ของโอบามาพูดถึง การทำงาน “เพื่อไปสู่สันติภาพ ชนิดที่มุ่งผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และไปให้ถึงได้จริงๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยมิใช่อาศัยการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์อย่างฉับพลันทันควัน หากแต่อิงอยู่กับการวิวัฒนาการในสถาบันต่างๆ ของมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป” การกล่าวเช่นนี้สร้างความกระจ่างชัดเจนขึ้นมาว่า ในบรรดากิจการทั้งหลายของโลกนั้นโอบามาคิดว่าอะไรเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของเขา ซึ่งก็คือ การทำให้เกิด “การวิวัฒนาการในสถาบันต่างๆ ของมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป” นั่นเอง ทั้งนี้ในสุนทรพจน์คราวนี้ เขายังกล่าวซ้ำถึงสิ่งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำอีกด้วย
“ในแง่หนึ่ง นี่คือคำแถลงว่าด้วยหลักการด้านนโยบายการต่างประเทศที่ชัดเจนมากที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่โอบามาได้เคยกล่าวแจกแจงออกมาจนถึงเวลานี้ มันเป็นการกล่าวปกป้องแบบขยายรายละเอียด สำหรับการ(ที่เขาจะ)ใช้เครื่องมือทั้งหลายของนักสัจนิยม เพื่อไปบรรลุเป้าหมายต่างๆ ของนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม” รอส เดาแทต (Ross Douthat) คอลัมนิสต์หัวอนุรักษนิยมของนิวยอร์กไทมส์ เขียนเอาไว้เช่นนี้
คอลัมนิสต์ผู้นี้ยังเขียนต่อไปว่า แท้จริงแล้วสุนทรพจน์นี้เท่ากับเป็นการเก็บรวบรวมเอาส่วนประกอบบางประการในนโยบายการต่างประเทศของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช มาใช้ เพียงแต่ตอนที่อยู่ในนโยบายของบุชนั้นจะมีลักษณะของความเชื่อมั่นตนเองจนเกินงามเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประมาณครึ่งหนึ่งของสุนทรพจน์นี้ จะถูกอุทิศเพื่อการปกป้องแก้ต่างให้แก่การใช้กำลัง อันเป็นสิ่งที่ทำเนียบขาวดูเหมือนจะเห็นว่ามีความจำเป็น เมื่อคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าเพียงเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้เอง โอบามาเพิ่งประกาศว่าเขากำลังจะส่งทหารสหรัฐฯอีก 30,000 คนเพิ่มเข้าไปทำสงครามในอัฟกานิสถาน ซึ่งไม่ได้เป็นความเคลื่อนไหวที่สามารถเรียกความนิยมชมชื่นได้เลย โดยเฉพาะจากพวกเจ้าภาพชาวสแกนดิเนเวียของเขา แต่กระนั้น โอบามาก็ได้อาศัยสุนทรพจน์นี้เพื่อทำให้เป็นที่แจ่มแจ้งเช่นกันว่า เขาปฏิเสธไม่ยอมรับส่วนประกอบหลักๆ ของสิ่งที่เรียกกันว่า “ลัทธิบุช” (Bush Doctrine) ซึ่งเป็นชุดหลักการแนวคิดด้านการต่างประเทศที่มีอิทธิพลครอบงำทำเนียบขาว ในช่วงแห่งการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีชาวเทกซัสผู้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยแรกของเขา
ตัวอย่างเช่น นอกจากโอบามากล่าวออกมาอย่างชัดเจนถึงความซับซ้อนทางศีลธรรมซึ่งจะต้องบังเกิดขึ้นจากการหันไปใช้สงครามเป็นหนทางแก้ปัญหาแล้ว เขายังเน้นย้ำถึง “โศกนาฏกรรมของมนุษย์” ที่เป็นผลอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของสงครามอีกด้วย “สงครามในตัวมันเองนั้นไม่เคยเลยที่จะเป็นสิ่งที่รุ่งโรจน์สวยงาม” เขากล่าว “และเราจักต้องไม่ป่าวร้องสรรเสริญสงครามว่าเป็นเช่นนั้นด้วย”
เขายังปฏิเสธหลายต่อหลายครั้งไม่ยอมรับ “ลัทธิข้อยกเว้น” (exceptionalism) ชนิดที่คณะรัฐบาลบุชเคยหยิบยกขึ้นมาแก้ต่างให้แก่การกระทำของตน เป็นต้นว่า ข้ออ้างที่ว่าสหรัฐฯควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกจำกัดบีบรัดจากกฎหมาย, สนธิสัญญา, และอนุสัญญาระหว่างประเทศอื่นๆ ซึ่งมีผลผูกมัดชาติอื่นๆ เนื่องจากสหรัฐฯนั้นมีความเหนือกว่าชาติอื่นๆ ในทางศีลธรรม และมีบทบาทอันโดดเด่นไม่เหมือนใครในการเป็นผู้ค้ำประกันสูงสุดของสันติภาพและความมั่นคงแห่งโลก
“อเมริกานั้นไม่อาจยืนกราน หรืออันที่จริงแล้วก็คือไม่มีชาติใดเลย ที่จักสามารถยืนกรานให้ชาติอื่นๆ ต้องกระทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของท้องถนน ทว่าตัวเรากลับปฏิเสธไม่ยอมกระทำตามเสียเอง” เขาระบุไว้ในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ “เมื่อใดก็ตามที่การใช้กำลังเป็นเรื่องจำเป็น ในเวลานั้นเราก็มีผลประโยชน์ทางศีลธรรมและทางยุทธศาสตร์ที่จะต้องผูกมัดตัวเราเองเข้ากับกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ชัดเจนจำนวนหนึ่ง” เขากล่าวในช่วงถัดมาที่เป็นการย้ำยืนยันว่า วอชิงตันจะเคารพยึดมั่นในอนุสัญญาเจนีวา
ทำนองเดียวกัน ขณะที่ยอมรับว่า วอชิงตันมีฐานะเป็น “อภิมหาอำนาจทางทหารแต่ผู้เดียวของโลก” เขาก็ย้ำเอาไว้ในตอนหนึ่งซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างอ้อมๆ ต่อยุโรป ที่มีท่าทีลังเลไม่ยอมเข้าร่วมแบกรับภาระการปกป้องโลกให้มากยิ่งขึ้น โดยระบุว่าถ้าหากโลกเราเคยมีช่วงเวลาที่มีประเทศซึ่งเป็นแกนหลักอยู่เพียงขั้วเดียว เวลานี้มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว
“พันธะข้อผูกพันที่อเมริกามีต่อความมั่นคงระดับโลก จักไม่มีการโอนเอนโลเล” เขากล่าว “แต่ในโลกที่ภัยคุกคามมีลักษณะกระจัดกระจายมากขึ้นกว่าเดิม และภารกิจก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน อเมริกาไม่สามารถที่จะลงมือเพียงลำพังคนเดียวได้ อเมริกาชาติเดียวไม่สามารถที่จะรักษาสันติภาพให้มั่นคงได้ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในอัฟกานิสถาน” เขากล่าวในตอนที่ขอร้องบรรดาสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ให้การสนับสนุนแก่สมรภูมิแห่งนั้นเพิ่มมากขึ้น
อีกตอนหนึ่งซึ่งแสดงถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนจาก “ลัทธิบุช” ก็คือ โอบามาปกป้องแก้ต่างอย่างแข็งขันให้แก่ยุทธศาสตร์ของเขา ที่จะคบค้ามีปฏิสัมพันธ์ทางการทูตกับเหล่าศัตรูและประดารัฐบาลที่มีพฤติการณ์เลวทราม อันเป็นแนวทางนโยบายที่นักสัจนิยมทั้งที่เป็นพวกเดโมแครตและพวกรีพับลิกันต่างเรียกร้องกันมานานแล้ว
“ผมทราบดีว่าการเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับระบอบปกครองที่กดขี่ ย่อมทำให้การแสดงความโกรธกริ้วอย่างสะอาดหมดจดและอย่างถึงอกถึงใจ ต้องเกิดการบกพร่องขาดเขินไป” เขาบอก “แต่ผมก็ทราบด้วยว่าการใช้มาตรการคว่ำบาตรลงโทษโดยไม่มีการพยายามเข้าให้ถึง(ตัวผู้ก่อปัญหา) การประณามกล่าวโทษโดยไม่มีการถกเถียงหารือนั้น เพียงสามารถเป็นการดำรงสถานะเดิมแบบอัมพาตหยุดนิ่งเอาไว้เท่านั้นเอง (โดยที่ไม่อาจทำให้เกิดการเดินหน้าอะไรได้จริงๆ)”
ในเวลาเดียวกัน เขาก็แสดงความเห็นด้วยเป็นอย่างสูง (อาจจะสูงกว่าในสุนทรพจน์ใดๆ ก่อนหน้านี้ที่เขาเคยกล่าวด้วยซ้ำ) ถึงความสำคัญของการส่งเสริมสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยชี้เอาไว้ว่า “มีเพียงสันติภาพที่เป็นธรรมซึ่งตั้งอยู่บนสิทธิ์และศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของปัจเจกชนทุกๆ คนเท่านั้น จึงจะสามารถยืนยงสถาพรได้อย่างแท้จริง”
“ภายในอเมริกา มีความไม่ลงรอยกันมานมนานแล้วระหว่างพวกที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักสัจนิยมกับพวกที่เรียกตัวเองเป็นนักอุดมคติ (idealist) เป็นความไม่ลงรอยที่เสมือนกับเสนอแนะว่า จะต้องเลือกเอาให้ชัดเจนลงไปเลย ระหว่างการมุ่งเสาะแสวงหาผลประโยชน์อันคับแคบ กับการรณรงค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อประกาศค่านิยมของเราไปทั่วโลก” เขากล่าว “ผมขอปฏิเสธไม่ยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเลือกในลักษณะเช่นนี้”
ในการประจันหน้ากับพวกรัฐบาลที่กดขี่ทั้งหลาย “มันไม่ได้มีสูตรสำเร็จอย่างง่ายๆ เลย แต่เราจักต้องพยายามอย่างดีที่สุดที่เราจะทำได้ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการโดดเดี่ยวและการมีปฏิสัมพันธ์, แรงกดดันกับแรงจูงใจ, เพื่อทำให้สิทธิ์และศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชนสามารถก้าวคืบหน้าไปตามลำดับ” เขากล่าว พร้อมกับยกตัวอย่างผลลัพธ์อันใหญ่หลวงของการมีปฏิสัมพันธ์อย่างชนิดปลดเปลื้องแนวคิดเดิมๆ สิ้นเชิง ด้วยฝีมือของประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน 2 คน ซึ่งได้แก่การที่ ริชาร์ด นิกสัน คบค้ากับจีน และโรนัลด์ เรแกน มีปฏิสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต
เวลาเดียวกัน โอบามาบอกว่า สมรภูมิการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็ไม่ควรจำกัดอยู่แต่เพียงเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเท่านั้น การพูดเช่นนี้ย่อมเท่ากับแสดงความเห็นด้วยมากยิ่งขึ้นอีกกับลัทธิสากลนิยมชนิดเสรีนิยม อันมีประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนเป็นคนแรก นอกจากนั้น การพูดแบบนี้ของโอบามา ยังเท่ากับเป็นการตบหน้าอีกฉาดหนึ่งใส่บทสวดว่าด้วย “ประชาธิปไตย” ของประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้าเขาด้วย
“สันติภาพที่เป็นธรรมจักต้องรวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสทางเศรษฐกิจ” เขากล่าว “เนื่องจากสันติภาพที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงการมีเสรีภาพที่ปลอดพ้นจากความกลัวเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นเสรีภาพที่ปลอดพ้นจากความยากไร้ขาดแคลนอีกด้วย”
ถึงแม้เขาแสดงการปฏิเสธอย่างอ้อมๆ ต่อหลักการใจกลางจำนวนมากของ “ลัทธิบุช” แต่สุนทรพจน์ครั้งนี้ของโอบามากลับได้รับเสียงตอบรับทั่วไปในทางชื่นชมจากพวกนักวิจารณ์ที่เป็นชาวรีพับลิกัน โดยที่บางคนในกลุ่มนี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะนิยมเขามากขึ้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ที่โอบามาประกาศในสัปดาห์ก่อนว่า เขาจะเพิ่มระดับการทำสงครามของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน
ปีเตอร์ ฟีเวอร์ (Peter Feaver) อดีตผู้ช่วยของบุช เขียนเอาไว้ว่า โอบามา “ถ่ายทอดความเป็นผู้มุ่งหวังผลในเชิงปฏิบัติ ( pragmatist) ที่อยู่ภายในตัวเขาออกมา”
“ผู้คนย่อมต้องสงสัยว่ามันจะมีผลอย่างไรหนอ จากสภาพการณ์อันน่าเย้ยหยันที่เขาต้องมารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เพียงไม่กี่วันหลังออกคำสั่งเพิ่มระดับอย่างสำคัญในการทำสงคราม” ฟีเวอร์เขียนเอาไว้ในบล็อก foreignpolicy.com ของเขา “ผลที่ปรากฏออกมา ดูเหมือนว่ามันจะกลายเป็นแรงขับดันทำให้เขาแสดงสุนทรพจน์ที่จัดว่าดีกว่าครั้งอื่นๆ ออกมา”
ทว่าความเป็นผู้มุ่งหวังผลเชิงปฏิบัติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เขาแสดงการปกป้องอย่างยืดยาวต่อการใช้กำลัง ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบอารมณ์ให้แก่คนอื่นๆ อีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาร่วมไปกับการที่เขาตัดสินใจเพิ่มระดับการทำสงคราม
“สุนทรพจน์ที่มีลักษณะนิยมการทหารอย่างสูงของเขาคราวนี้ ส่วนใหญ่ทีเดียว จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็สามารถกล่าวออกมาได้อย่างชนิดไม่ต้องขยิบตาเลย” เป็นความเห็นของ ทอม เองเกลฮาร์ดต์ (Tom Engelhardt) ซึ่งเว็บไซต์ tomdispatch.com ของเขาถือเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ยอดนิยมของพวกนักวิจารณ์หัวก้าวหน้าทางด้านนโยบายการต่างประเทศ “ถึงแม้ (สุนทรพจน์คราวนี้ของโอบามา) มีการเอ่ยยกย่อง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่า มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้ซึ่งเคยคัดค้านสงครามเวียดนามมาแล้ว จักต้องปฏิเสธไม่ยอมรับสุนทรพจน์นี้ด้วยความรู้สึกชนิดสุดจะทนทานแบกรับไหวทีเดียว”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Obama embraces realist-liberal tradition
By Jim Lobe
11/12/2009
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ อาศัยสุนทรพจน์ที่เขากล่าวในตอนที่รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ มาประกาศให้ทราบกันอย่างชัดเจนถึงทัศนะของเขาที่มีต่อโลก เนื้อหาของสิ่งที่เขาพูดออกมาทำให้สมควรจัดเขาเข้าอยู่ในพวกที่มีแนวคิดแบบสัจนิยม-สากลนิยม ซึ่งเป็นสกุลความคิดที่มีอิทธิพลครอบงำนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเรื่อยมา นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่าสภาพการณ์แสนอิหลักอิเหลื่อที่เขาขึ้นรับรางวัลอันทรงเกียรติทางด้านสันติภาพนี้ เพียงไม่กี่วันหลังเพิ่งออกคำสั่งเพิ่มระดับการทำสงครามครั้งใหญ่ ดูจะกลายเป็นแรงขับดันทำให้เขาสามารถกล่าวสุนทรพจน์ที่จัดว่าดีเด่นที่สุดครั้งหนึ่งของเขาทีเดียว
วอชิงตัน – ในการกล่าวสุนทรพจน์รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2009 อย่างเป็นทางการที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เมื่อวันพฤหัสบดี(10) ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯได้ประกาศให้ทราบกันอย่างชัดเจนถึงทัศนะของเขาที่มีต่อโลก เนื้อหาของสิ่งที่เขาพูดออกมาทำให้สมควรจัดเขาเข้าอยู่ในพวกที่มีแนวคิดแบบนักสัจนิยม(realist) และนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม (liberal internationalist ) ซึ่งเป็นสกุลความคิดที่มีอิทธิพลครอบงำนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา –อย่างน้อยก็จวบจนกระทั่งถึง “สงครามระดับโลกเพื่อต่อสู้เอาชนะการก่อการร้าย” ของประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้าเขา
จากการกล่าวยืนยันในพิธีอันทรงเกียรติดังกล่าว ว่า “ปีศาจร้ายมีตัวตนอยู่ในโลกเราจริงๆ” และ “ย่อมจะมีหลายๆ ครั้งที่ชาติต่างๆ พบว่าการใช้กำลังไม่เพียงเป็นสิ่งจำเป็นเท่านั้นหากยังมีความชอบธรรมในเชิงศีลธรรมอีกด้วย” โอบามาก็กำลังสะท้อนเสียงเพรียกแบบสัจนิยม ซึ่งเป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษมานานแล้วของพวกผู้วางนโยบายชาวพรรครีพับลิกัน
ขณะเดียวกัน การที่เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างบรรดาสถาบันระหว่างประเทศ ซึ่งออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ป้องกันสงคราม (โดยที่เขาชี้ว่า ความคิดเช่นนี้เองที่ทำให้ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ของสหรัฐฯได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเช่นกัน) ตลอดจนเพื่อใช้ “พิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชน, ป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, จำกัดอาวุธที่มีอันตรายร้ายแรงที่สุด” ก็เป็นการก้องกังวานหลักความเชื่อแบบนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม ซึ่งบรรดาประธานาธิบดีอเมริกันที่เป็นชาวพรรคเดโมเครตนับตั้งแต่วูดโรว์ วิลสันเป็นต้นมาทีเดียว ต้องแสดงความเชื่อถือศรัทธา อย่างน้อยก็ในทางวาจา
การที่เขาอ้างอิงคำพูดของ จอห์น เอฟ เคนเนดี ซึ่งเห็นกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ที่นำเอา 2 สำนักคิดนี้มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นต้นว่า ในช่วงที่สุนทรพจน์ของโอบามาพูดถึง การทำงาน “เพื่อไปสู่สันติภาพ ชนิดที่มุ่งผลในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และไปให้ถึงได้จริงๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยมิใช่อาศัยการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมนุษย์อย่างฉับพลันทันควัน หากแต่อิงอยู่กับการวิวัฒนาการในสถาบันต่างๆ ของมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป” การกล่าวเช่นนี้สร้างความกระจ่างชัดเจนขึ้นมาว่า ในบรรดากิจการทั้งหลายของโลกนั้นโอบามาคิดว่าอะไรเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของเขา ซึ่งก็คือ การทำให้เกิด “การวิวัฒนาการในสถาบันต่างๆ ของมนุษย์อย่างค่อยเป็นค่อยไป” นั่นเอง ทั้งนี้ในสุนทรพจน์คราวนี้ เขายังกล่าวซ้ำถึงสิ่งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำอีกด้วย
“ในแง่หนึ่ง นี่คือคำแถลงว่าด้วยหลักการด้านนโยบายการต่างประเทศที่ชัดเจนมากที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่โอบามาได้เคยกล่าวแจกแจงออกมาจนถึงเวลานี้ มันเป็นการกล่าวปกป้องแบบขยายรายละเอียด สำหรับการ(ที่เขาจะ)ใช้เครื่องมือทั้งหลายของนักสัจนิยม เพื่อไปบรรลุเป้าหมายต่างๆ ของนักสากลนิยมชนิดเสรีนิยม” รอส เดาแทต (Ross Douthat) คอลัมนิสต์หัวอนุรักษนิยมของนิวยอร์กไทมส์ เขียนเอาไว้เช่นนี้
คอลัมนิสต์ผู้นี้ยังเขียนต่อไปว่า แท้จริงแล้วสุนทรพจน์นี้เท่ากับเป็นการเก็บรวบรวมเอาส่วนประกอบบางประการในนโยบายการต่างประเทศของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช มาใช้ เพียงแต่ตอนที่อยู่ในนโยบายของบุชนั้นจะมีลักษณะของความเชื่อมั่นตนเองจนเกินงามเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ประมาณครึ่งหนึ่งของสุนทรพจน์นี้ จะถูกอุทิศเพื่อการปกป้องแก้ต่างให้แก่การใช้กำลัง อันเป็นสิ่งที่ทำเนียบขาวดูเหมือนจะเห็นว่ามีความจำเป็น เมื่อคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่าเพียงเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้เอง โอบามาเพิ่งประกาศว่าเขากำลังจะส่งทหารสหรัฐฯอีก 30,000 คนเพิ่มเข้าไปทำสงครามในอัฟกานิสถาน ซึ่งไม่ได้เป็นความเคลื่อนไหวที่สามารถเรียกความนิยมชมชื่นได้เลย โดยเฉพาะจากพวกเจ้าภาพชาวสแกนดิเนเวียของเขา แต่กระนั้น โอบามาก็ได้อาศัยสุนทรพจน์นี้เพื่อทำให้เป็นที่แจ่มแจ้งเช่นกันว่า เขาปฏิเสธไม่ยอมรับส่วนประกอบหลักๆ ของสิ่งที่เรียกกันว่า “ลัทธิบุช” (Bush Doctrine) ซึ่งเป็นชุดหลักการแนวคิดด้านการต่างประเทศที่มีอิทธิพลครอบงำทำเนียบขาว ในช่วงแห่งการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีชาวเทกซัสผู้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยแรกของเขา
ตัวอย่างเช่น นอกจากโอบามากล่าวออกมาอย่างชัดเจนถึงความซับซ้อนทางศีลธรรมซึ่งจะต้องบังเกิดขึ้นจากการหันไปใช้สงครามเป็นหนทางแก้ปัญหาแล้ว เขายังเน้นย้ำถึง “โศกนาฏกรรมของมนุษย์” ที่เป็นผลอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของสงครามอีกด้วย “สงครามในตัวมันเองนั้นไม่เคยเลยที่จะเป็นสิ่งที่รุ่งโรจน์สวยงาม” เขากล่าว “และเราจักต้องไม่ป่าวร้องสรรเสริญสงครามว่าเป็นเช่นนั้นด้วย”
เขายังปฏิเสธหลายต่อหลายครั้งไม่ยอมรับ “ลัทธิข้อยกเว้น” (exceptionalism) ชนิดที่คณะรัฐบาลบุชเคยหยิบยกขึ้นมาแก้ต่างให้แก่การกระทำของตน เป็นต้นว่า ข้ออ้างที่ว่าสหรัฐฯควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกจำกัดบีบรัดจากกฎหมาย, สนธิสัญญา, และอนุสัญญาระหว่างประเทศอื่นๆ ซึ่งมีผลผูกมัดชาติอื่นๆ เนื่องจากสหรัฐฯนั้นมีความเหนือกว่าชาติอื่นๆ ในทางศีลธรรม และมีบทบาทอันโดดเด่นไม่เหมือนใครในการเป็นผู้ค้ำประกันสูงสุดของสันติภาพและความมั่นคงแห่งโลก
“อเมริกานั้นไม่อาจยืนกราน หรืออันที่จริงแล้วก็คือไม่มีชาติใดเลย ที่จักสามารถยืนกรานให้ชาติอื่นๆ ต้องกระทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ของท้องถนน ทว่าตัวเรากลับปฏิเสธไม่ยอมกระทำตามเสียเอง” เขาระบุไว้ในตอนหนึ่งของสุนทรพจน์ “เมื่อใดก็ตามที่การใช้กำลังเป็นเรื่องจำเป็น ในเวลานั้นเราก็มีผลประโยชน์ทางศีลธรรมและทางยุทธศาสตร์ที่จะต้องผูกมัดตัวเราเองเข้ากับกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ชัดเจนจำนวนหนึ่ง” เขากล่าวในช่วงถัดมาที่เป็นการย้ำยืนยันว่า วอชิงตันจะเคารพยึดมั่นในอนุสัญญาเจนีวา
ทำนองเดียวกัน ขณะที่ยอมรับว่า วอชิงตันมีฐานะเป็น “อภิมหาอำนาจทางทหารแต่ผู้เดียวของโลก” เขาก็ย้ำเอาไว้ในตอนหนึ่งซึ่งเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างอ้อมๆ ต่อยุโรป ที่มีท่าทีลังเลไม่ยอมเข้าร่วมแบกรับภาระการปกป้องโลกให้มากยิ่งขึ้น โดยระบุว่าถ้าหากโลกเราเคยมีช่วงเวลาที่มีประเทศซึ่งเป็นแกนหลักอยู่เพียงขั้วเดียว เวลานี้มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว
“พันธะข้อผูกพันที่อเมริกามีต่อความมั่นคงระดับโลก จักไม่มีการโอนเอนโลเล” เขากล่าว “แต่ในโลกที่ภัยคุกคามมีลักษณะกระจัดกระจายมากขึ้นกว่าเดิม และภารกิจก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน อเมริกาไม่สามารถที่จะลงมือเพียงลำพังคนเดียวได้ อเมริกาชาติเดียวไม่สามารถที่จะรักษาสันติภาพให้มั่นคงได้ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นอยู่ในอัฟกานิสถาน” เขากล่าวในตอนที่ขอร้องบรรดาสมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ให้การสนับสนุนแก่สมรภูมิแห่งนั้นเพิ่มมากขึ้น
อีกตอนหนึ่งซึ่งแสดงถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนจาก “ลัทธิบุช” ก็คือ โอบามาปกป้องแก้ต่างอย่างแข็งขันให้แก่ยุทธศาสตร์ของเขา ที่จะคบค้ามีปฏิสัมพันธ์ทางการทูตกับเหล่าศัตรูและประดารัฐบาลที่มีพฤติการณ์เลวทราม อันเป็นแนวทางนโยบายที่นักสัจนิยมทั้งที่เป็นพวกเดโมแครตและพวกรีพับลิกันต่างเรียกร้องกันมานานแล้ว
“ผมทราบดีว่าการเข้ามีปฏิสัมพันธ์กับระบอบปกครองที่กดขี่ ย่อมทำให้การแสดงความโกรธกริ้วอย่างสะอาดหมดจดและอย่างถึงอกถึงใจ ต้องเกิดการบกพร่องขาดเขินไป” เขาบอก “แต่ผมก็ทราบด้วยว่าการใช้มาตรการคว่ำบาตรลงโทษโดยไม่มีการพยายามเข้าให้ถึง(ตัวผู้ก่อปัญหา) การประณามกล่าวโทษโดยไม่มีการถกเถียงหารือนั้น เพียงสามารถเป็นการดำรงสถานะเดิมแบบอัมพาตหยุดนิ่งเอาไว้เท่านั้นเอง (โดยที่ไม่อาจทำให้เกิดการเดินหน้าอะไรได้จริงๆ)”
ในเวลาเดียวกัน เขาก็แสดงความเห็นด้วยเป็นอย่างสูง (อาจจะสูงกว่าในสุนทรพจน์ใดๆ ก่อนหน้านี้ที่เขาเคยกล่าวด้วยซ้ำ) ถึงความสำคัญของการส่งเสริมสนับสนุนสิทธิมนุษยชน โดยชี้เอาไว้ว่า “มีเพียงสันติภาพที่เป็นธรรมซึ่งตั้งอยู่บนสิทธิ์และศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของปัจเจกชนทุกๆ คนเท่านั้น จึงจะสามารถยืนยงสถาพรได้อย่างแท้จริง”
“ภายในอเมริกา มีความไม่ลงรอยกันมานมนานแล้วระหว่างพวกที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักสัจนิยมกับพวกที่เรียกตัวเองเป็นนักอุดมคติ (idealist) เป็นความไม่ลงรอยที่เสมือนกับเสนอแนะว่า จะต้องเลือกเอาให้ชัดเจนลงไปเลย ระหว่างการมุ่งเสาะแสวงหาผลประโยชน์อันคับแคบ กับการรณรงค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อประกาศค่านิยมของเราไปทั่วโลก” เขากล่าว “ผมขอปฏิเสธไม่ยอมรับว่าจำเป็นต้องมีการตัดสินใจเลือกในลักษณะเช่นนี้”
ในการประจันหน้ากับพวกรัฐบาลที่กดขี่ทั้งหลาย “มันไม่ได้มีสูตรสำเร็จอย่างง่ายๆ เลย แต่เราจักต้องพยายามอย่างดีที่สุดที่เราจะทำได้ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการโดดเดี่ยวและการมีปฏิสัมพันธ์, แรงกดดันกับแรงจูงใจ, เพื่อทำให้สิทธิ์และศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชนสามารถก้าวคืบหน้าไปตามลำดับ” เขากล่าว พร้อมกับยกตัวอย่างผลลัพธ์อันใหญ่หลวงของการมีปฏิสัมพันธ์อย่างชนิดปลดเปลื้องแนวคิดเดิมๆ สิ้นเชิง ด้วยฝีมือของประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน 2 คน ซึ่งได้แก่การที่ ริชาร์ด นิกสัน คบค้ากับจีน และโรนัลด์ เรแกน มีปฏิสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต
เวลาเดียวกัน โอบามาบอกว่า สมรภูมิการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนก็ไม่ควรจำกัดอยู่แต่เพียงเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเท่านั้น การพูดเช่นนี้ย่อมเท่ากับแสดงความเห็นด้วยมากยิ่งขึ้นอีกกับลัทธิสากลนิยมชนิดเสรีนิยม อันมีประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนเป็นคนแรก นอกจากนั้น การพูดแบบนี้ของโอบามา ยังเท่ากับเป็นการตบหน้าอีกฉาดหนึ่งใส่บทสวดว่าด้วย “ประชาธิปไตย” ของประธานาธิบดีอเมริกันคนก่อนหน้าเขาด้วย
“สันติภาพที่เป็นธรรมจักต้องรวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสทางเศรษฐกิจ” เขากล่าว “เนื่องจากสันติภาพที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงการมีเสรีภาพที่ปลอดพ้นจากความกลัวเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นเสรีภาพที่ปลอดพ้นจากความยากไร้ขาดแคลนอีกด้วย”
ถึงแม้เขาแสดงการปฏิเสธอย่างอ้อมๆ ต่อหลักการใจกลางจำนวนมากของ “ลัทธิบุช” แต่สุนทรพจน์ครั้งนี้ของโอบามากลับได้รับเสียงตอบรับทั่วไปในทางชื่นชมจากพวกนักวิจารณ์ที่เป็นชาวรีพับลิกัน โดยที่บางคนในกลุ่มนี้ก็มีความโน้มเอียงที่จะนิยมเขามากขึ้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ที่โอบามาประกาศในสัปดาห์ก่อนว่า เขาจะเพิ่มระดับการทำสงครามของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน
ปีเตอร์ ฟีเวอร์ (Peter Feaver) อดีตผู้ช่วยของบุช เขียนเอาไว้ว่า โอบามา “ถ่ายทอดความเป็นผู้มุ่งหวังผลในเชิงปฏิบัติ ( pragmatist) ที่อยู่ภายในตัวเขาออกมา”
“ผู้คนย่อมต้องสงสัยว่ามันจะมีผลอย่างไรหนอ จากสภาพการณ์อันน่าเย้ยหยันที่เขาต้องมารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เพียงไม่กี่วันหลังออกคำสั่งเพิ่มระดับอย่างสำคัญในการทำสงคราม” ฟีเวอร์เขียนเอาไว้ในบล็อก foreignpolicy.com ของเขา “ผลที่ปรากฏออกมา ดูเหมือนว่ามันจะกลายเป็นแรงขับดันทำให้เขาแสดงสุนทรพจน์ที่จัดว่าดีกว่าครั้งอื่นๆ ออกมา”
ทว่าความเป็นผู้มุ่งหวังผลเชิงปฏิบัติ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เขาแสดงการปกป้องอย่างยืดยาวต่อการใช้กำลัง ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบอารมณ์ให้แก่คนอื่นๆ อีกหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาร่วมไปกับการที่เขาตัดสินใจเพิ่มระดับการทำสงคราม
“สุนทรพจน์ที่มีลักษณะนิยมการทหารอย่างสูงของเขาคราวนี้ ส่วนใหญ่ทีเดียว จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็สามารถกล่าวออกมาได้อย่างชนิดไม่ต้องขยิบตาเลย” เป็นความเห็นของ ทอม เองเกลฮาร์ดต์ (Tom Engelhardt) ซึ่งเว็บไซต์ tomdispatch.com ของเขาถือเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ยอดนิยมของพวกนักวิจารณ์หัวก้าวหน้าทางด้านนโยบายการต่างประเทศ “ถึงแม้ (สุนทรพจน์คราวนี้ของโอบามา) มีการเอ่ยยกย่อง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ครั้งแล้วครั้งเล่า ทว่า มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ผู้ซึ่งเคยคัดค้านสงครามเวียดนามมาแล้ว จักต้องปฏิเสธไม่ยอมรับสุนทรพจน์นี้ด้วยความรู้สึกชนิดสุดจะทนทานแบกรับไหวทีเดียว”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)