xs
xsm
sm
md
lg

"มาร์ค" เข้าประชุมสุดยอด"เอเปก"-เตือนภัยลัทธิกีดกันทางการค้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง ของสิงคโปร์ ต้อนรับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เข้าร่วมการประชุุมสุดยอดเอเปกในวันนี้(14)
เอเอฟพี - บรรดาผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก(เอเปก) ซึ่มีปริมาณการค้ากว่าครึ่งหนึ่งของโลก เปิดการประชุมสุดยอดประจำปีร่วมกันแล้วในวันนี้(14) ที่สิงคโปร์ เตือน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งจะเริ่มขึ้นอาจชะงักเพราะลัทธิกีดกันทางการค้า

การประชุมสุดยอดเอเปกของบรรดาผู้นำจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ซึ่งรวมทั้งผู้นำจีน ญี่ปุ่น รัสเซีย และนายกรัฐมนตรีของไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เริ่มขึ้นในวันนี้ โดยบรรดาผู้นำต่างๆ รวมถึงประธานาธิบดีหู จิ่น เทา แห่งจีน ได้กล่าวเตือนว่า การกลับมาของลัทธิกีดกันทางการค้าอาจจะขัดขวางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่งเริ่มขึ้น หลังจากเกิดวิกฤตการเงินที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี

รอเบิร์ต เซลลิค ประธานธนาคารโลก เตือนในทำนองเดียวกันว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับหลุมพรางต่างๆ การว่างงานขนานใหญ่่ในกลุ่มประเทศร่ำรวย ภาวะสินทรัพย์ฟองสบู่ และการหันเหไปสู่ลัทธิกีดกันทางการค้า

ด้านผู้นำรัสเซีย ประธานาธิบดีดมิทรี เมดเวเดฟ ออกมาให้คำมั่นว่า รัสเซียจะยุติมาตรการกีดกันทางการค้า และเรียกร้องให้บรรดาผู้นำเอเปกยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าเช่นกัน ซึ่งถือเป็นท่าทีปฏิรูปจากผู้นำแดนหมีขาว

เอเปก มีประชากรราวกันราว 2,600 ล้านคน ครอบคลุมอาณาเขตไล่จากสหรัฐฯ ไปจนถึงประเทศยากจนอย่างปาปัวนิวกีนี ทั้งนี้ คาดว่า ในการสรุปการประชุมพรุ่งนี้(15) บรรดาผู้นำเอเปกจะออกแถลงการณ์ร่วม โดยเรียกร้องให้มีการผลักดันการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก และเห็นพ้องกันว่า ยังเร็วเกินไปที่จะยกเลิกการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโลกให้เดินหน้าต่อไป

ทั้งนี้ ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น นายกรัฐมนตรีเควิน รัดด์ ของออสเตรเลีย เรียกร้องให้ชาติสมาชิกเอเปก สนับสนุนข้อเสนอของเขาที่ให้จัดตั้งกลุ่มระดับภูมิภาคซึ่งจะครอบคลุมทั้งเรื่องการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจภายในปี 2020 ด้วย

รัดด์ ชี้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีสถาบันใดที่สามารถจัดการปัญหาได้ครอบคลุมทุกเรื่องที่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกกำลังเผชิญ โดยประเด็นการเมืองและความมั่นคงไม่ได้รวมอยู่ในภารกิจของเอเปก ที่มีจุดประสงค์ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก

นอกจากนี้ รัดด์ระบุว่า ที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่มีอยู่ในขณะนี้ ก็ไม่ได้รวมสหรัฐฯเข้าไว้ด้วย และประชาคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เขาเสนอนั้น จะครอบคลุมทุกเรื่องที่เป็นที่วิตกกังวล เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ทั้งนี้ แนวคิดของรัดด์คล้ายคลึงกับแนวคิดการตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก ที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยูกิโอะ ฮาโตยามะ กำลังพยายามผลักดันให้มีขึ้น ภายในปี 2015

ประชากรของเอเปกถือเป็นร้อยละ 40.5 จากประชากรโลก มีจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) ร้อยละ 54.2 และปริมาณการค้าร้อยละ 43.7 ของโลก สมาชิกทั้งหมด ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย สหรัฐฯ และ เวียดนาม
อลัน การ์เซีย ประธานาธิบดีเปรู
มิเชลล์ บาเชอเลต ประธานาธิบดีชิลี
ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา
รอเบิร์ต เซลลิค ประธานธนาคารโลก กล่าวปาฐกถาในที่ประชุมซีอีโอ ซัมมิต ส่วนหนึ่งของการประชุมเอเปก
นายกฯไทยกล่าวปาฐกถา ในที่ประชุมซีอีโอซัมมิต
นายกฯไทยกล่าวปาฐกถา ในที่ประชุมซีอีโซัมมิต
ระหว่างรับประทานอาหารกลางวันกับ(จากซ้ายสุด)ประธานาธิบดีรัสเซีย, รองประธานาธิบดีเหลียนจ้าน แห่งไต้หวัน และฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ


กำลังโหลดความคิดเห็น