(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Turkmen workers in rare revolt
By Institute for War and Peace Reporting
14/10/2009
โครงการสร้างสายท่อส่งก๊าซมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อนำก๊าซจากเติร์กเมนิสถานไปยังประเทศจีน โดยที่มีกำหนดจะให้ใช้งานได้ในปีนี้ มีอันต้องหยุดชะงักลง เมื่อพวกคนงานชาวเติร์กเมนพากันหยุดทำงาน เพื่อเรียกร้องขอค่าจ้างเพิ่ม ต่อมาก็มีคนงานร่วมๆ 200 คนถูกจับกุมภายหลังเกิดการปะทะกับเพื่อนคนงานชาวจีนที่ได้รับค่าจ้างดีกว่า
พวกคนงานชาวเติร์กเมน ซึ่งทำงานอยู่ในโครงการสร้างสายท่อส่งก๊าซที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก พากันนัดหยุดงาน แล้วต่อมายังปะทะกับเพื่อนคนงานชาวจีน กลายเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบด้านสังคม ที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งในประเทศเอเชียกลางแห่งนี้
มีคนงานร่วมๆ 200 คนถูกจับกุม และต่อมาก็ได้รับการปล่อยตัว โดยดูเหมือนจะเนื่องจากการขอร้องของพวกเจ้าหน้าที่บริษัทพลังงานจีนที่เกี่ยวข้องกับงานวางท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะเชื่อมโยงแหล่งก๊าซในเติร์กเมนิสถานกับประเทศจีน โครงการวางท่อส่งก๊าซเส้นเอเชียกลาง-จีนเส้นนี้มีมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างในปี 2007 โดยที่จะลำเลียงก๊าซธรรมชาติจากเติร์กเมนิสถาน ผ่านอุซเบกิสถาน, คาซัคสถาน, แล้วเข้าสู่ประเทศจีน กำหนดการส่งก๊าซจะเริ่มต้นภายในสิ้นปีนี้ และจะส่งกันเต็มกำลังความสามารถในปี 2011 ทั้งนี้ตามรายงานของวิทยุยุโรปเสรี/วิทยุเสรีภาพ (Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
ความยุ่งยากเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน เมื่อพวกคนงานก่อสร้างที่กำลังทำงานอยู่ในภาคตะวันออกของเติร์กเมนิสถานพากันนัดหยุดงาน โดยเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างและเงื่อนไขในการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม จากนั้นการประท้วงก็ลุกลามกลายเป็นการทะเลาะวิวาทระหว่างคนงานชาวเติร์กเมนกับคนงานชาวจีน ทำให้มีคนงานจีนได้รับบาดเจ็บ 15 คน ตามรายงานของ RFE/RL
บรรดาพนักงานชาวเติร์กเมนร้องทุกข์ว่า พวกผู้จัดการที่เป็นคนจีนของโครงการร่วมแห่งนี้ กำหนดให้พวกเขาต้องทำงานถึงวันละ 10 ชั่วโมง แทนที่จะเป็น 8 ชั่วโมงตามที่ระบุเอาไว้ในกฎหมายท้องถิ่นหลายๆ ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม
ชาวเติร์กเมนยังไม่พอใจที่พวกเขาได้รับค่าจ้างน้อยกว่าพวกคนงานจีน
“เราได้เงินน้อยกว่ามากทั้งๆ ที่ทำงานอย่างเดียวกัน” คนขับรถขุดดินผู้หนึ่งบอก “คนจีนได้กันเดือนละ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่พวกเราชาวเติร์กเมนได้เค่มากกว่า 200 ดอลลาร์นิดหน่อยเท่านั้น”
พวกที่นัดหยุดงานบอกว่า พวกเขาต้องกระทำเช่นนี้เพราะรู้สึกสิ้นหวัง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเติร์กเมนิสถานไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องคุ้มครองพวกเขาเลย
รัฐธรรมนูญของเติร์กเมนิสถานมีบทบัญญัติรับประกันเรื่องสิทธิของแรงงาน และห้ามการกระทำที่เป็นการแบ่งแยกกีดกันกำลังแรงงาน ตลอดจนห้ามการยืดชั่วโมงทำงานโดยไม่จ่ายผลตอบแทน
“ประเทศนี้ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย คนที่ถูกจับก็ไม่สามารถยืนยันเรียกร้องสิทธิของพวกเขาในกรณีพิพาทแรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการพิพาทกับทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบชาวเติร์กเมน หรือกับพวกนายจ้างต่างชาติ” นักเคลื่อนไหวรายหนึ่งในเขต เลแบป (Lebap) ทางภาคตะวันออกของเติร์กเมนิสถาน กล่าว
เขาบอกต่อไปว่า ผลก็คือผู้คนต่างไม่มีความเชื่อมั่นในผู้นำของพวกเขาในเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน “พวกคนงานก่อสร้างต่างหันไปหาวิธีการที่รุนแรงกันแล้ว” เขาบอก
อันดาดุรดี คาจิเอฟ (Annadurdy Khajiev) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเติร์กเมนซึ่งพำนักอยู่ในบัลแกเรีย เล่าว่าพวกคนงานที่ถูกจับตัวไปนั้นมีรายงานได้รับการปล่อยตัวแล้ว ภายหลังบริษัทจีนได้เข้าไปช่วยเหลือ
“ทำไมรัฐบาลเติร์กเมนจึงไม่คุ้มครองพลเมืองของพวกเขาเองไม่ให้ถูกละเมิดในเรื่องแรงงาน” เขาตั้งข้อกังขา
นักวิจารณ์คนอื่นๆ ชี้ว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ลูกจ้างชาวเติร์กเมนก่อการประท้วงพวกบริษัทต่างชาติ
ในเดือนกรกฎาคม 2008 มีคนงานน้ำมัน 600 คนซึ่งทำงานด้านการขุดเจาะที่ดำเนินการโดยบริษัท เอนี (ENI) แห่งอิตาลี ในเมืองเนบิตดัก (Nebitdag) ทางภาคตะวันตกของประเทศ จัดการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกลายเป็นการตัดลดค่าจ้างของพวกเขาในทางเป็นจริง ทั้งนี้แม้สัญญาจ้างงานมีข้อกำหนดให้พวกบริษัทต่างชาติต้องจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานท้องถิ่นเป็นเงินสกุลมานัต (manat) ของเติร์กเมนิสถาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว กิจการจำนวนมากจ่ายกันเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ
ในเดือนพฤศจิกายน 2007 พวกคนงานที่ทำงานก่อสร้างโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า ใกล้ๆ กับเมืองหลวงอาชกาบัต ได้เริ่มการปฏิบัติการทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อกดดันนายจ้างของพวกเขา ซึ่งก็คือ บริษัทเซฮิล (Sehil) ของตุรกีให้จ่ายเงินค่าจ้างย้อนหลังแก่พวกเขา
(รายงานข่าวนี้แรกสุดเผยแพร่อยู่ใน สถาบันเพื่อการรายงานเรื่องสงครามและสันติภาพ)
Turkmen workers in rare revolt
By Institute for War and Peace Reporting
14/10/2009
โครงการสร้างสายท่อส่งก๊าซมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อนำก๊าซจากเติร์กเมนิสถานไปยังประเทศจีน โดยที่มีกำหนดจะให้ใช้งานได้ในปีนี้ มีอันต้องหยุดชะงักลง เมื่อพวกคนงานชาวเติร์กเมนพากันหยุดทำงาน เพื่อเรียกร้องขอค่าจ้างเพิ่ม ต่อมาก็มีคนงานร่วมๆ 200 คนถูกจับกุมภายหลังเกิดการปะทะกับเพื่อนคนงานชาวจีนที่ได้รับค่าจ้างดีกว่า
พวกคนงานชาวเติร์กเมน ซึ่งทำงานอยู่ในโครงการสร้างสายท่อส่งก๊าซที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างมาก พากันนัดหยุดงาน แล้วต่อมายังปะทะกับเพื่อนคนงานชาวจีน กลายเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบด้านสังคม ที่นานๆ จะเกิดขึ้นสักครั้งในประเทศเอเชียกลางแห่งนี้
มีคนงานร่วมๆ 200 คนถูกจับกุม และต่อมาก็ได้รับการปล่อยตัว โดยดูเหมือนจะเนื่องจากการขอร้องของพวกเจ้าหน้าที่บริษัทพลังงานจีนที่เกี่ยวข้องกับงานวางท่อส่งก๊าซ ซึ่งจะเชื่อมโยงแหล่งก๊าซในเติร์กเมนิสถานกับประเทศจีน โครงการวางท่อส่งก๊าซเส้นเอเชียกลาง-จีนเส้นนี้มีมูลค่า 7,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างในปี 2007 โดยที่จะลำเลียงก๊าซธรรมชาติจากเติร์กเมนิสถาน ผ่านอุซเบกิสถาน, คาซัคสถาน, แล้วเข้าสู่ประเทศจีน กำหนดการส่งก๊าซจะเริ่มต้นภายในสิ้นปีนี้ และจะส่งกันเต็มกำลังความสามารถในปี 2011 ทั้งนี้ตามรายงานของวิทยุยุโรปเสรี/วิทยุเสรีภาพ (Radio Free Europe/Radio Liberty หรือ RFE/RL)
ความยุ่งยากเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน เมื่อพวกคนงานก่อสร้างที่กำลังทำงานอยู่ในภาคตะวันออกของเติร์กเมนิสถานพากันนัดหยุดงาน โดยเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างและเงื่อนไขในการทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม จากนั้นการประท้วงก็ลุกลามกลายเป็นการทะเลาะวิวาทระหว่างคนงานชาวเติร์กเมนกับคนงานชาวจีน ทำให้มีคนงานจีนได้รับบาดเจ็บ 15 คน ตามรายงานของ RFE/RL
บรรดาพนักงานชาวเติร์กเมนร้องทุกข์ว่า พวกผู้จัดการที่เป็นคนจีนของโครงการร่วมแห่งนี้ กำหนดให้พวกเขาต้องทำงานถึงวันละ 10 ชั่วโมง แทนที่จะเป็น 8 ชั่วโมงตามที่ระบุเอาไว้ในกฎหมายท้องถิ่นหลายๆ ฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายแรงงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม
ชาวเติร์กเมนยังไม่พอใจที่พวกเขาได้รับค่าจ้างน้อยกว่าพวกคนงานจีน
“เราได้เงินน้อยกว่ามากทั้งๆ ที่ทำงานอย่างเดียวกัน” คนขับรถขุดดินผู้หนึ่งบอก “คนจีนได้กันเดือนละ 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่พวกเราชาวเติร์กเมนได้เค่มากกว่า 200 ดอลลาร์นิดหน่อยเท่านั้น”
พวกที่นัดหยุดงานบอกว่า พวกเขาต้องกระทำเช่นนี้เพราะรู้สึกสิ้นหวัง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของเติร์กเมนิสถานไม่ได้ทำอะไรเพื่อปกป้องคุ้มครองพวกเขาเลย
รัฐธรรมนูญของเติร์กเมนิสถานมีบทบัญญัติรับประกันเรื่องสิทธิของแรงงาน และห้ามการกระทำที่เป็นการแบ่งแยกกีดกันกำลังแรงงาน ตลอดจนห้ามการยืดชั่วโมงทำงานโดยไม่จ่ายผลตอบแทน
“ประเทศนี้ไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย คนที่ถูกจับก็ไม่สามารถยืนยันเรียกร้องสิทธิของพวกเขาในกรณีพิพาทแรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการพิพาทกับทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบชาวเติร์กเมน หรือกับพวกนายจ้างต่างชาติ” นักเคลื่อนไหวรายหนึ่งในเขต เลแบป (Lebap) ทางภาคตะวันออกของเติร์กเมนิสถาน กล่าว
เขาบอกต่อไปว่า ผลก็คือผู้คนต่างไม่มีความเชื่อมั่นในผู้นำของพวกเขาในเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน “พวกคนงานก่อสร้างต่างหันไปหาวิธีการที่รุนแรงกันแล้ว” เขาบอก
อันดาดุรดี คาจิเอฟ (Annadurdy Khajiev) นักเศรษฐศาสตร์ชาวเติร์กเมนซึ่งพำนักอยู่ในบัลแกเรีย เล่าว่าพวกคนงานที่ถูกจับตัวไปนั้นมีรายงานได้รับการปล่อยตัวแล้ว ภายหลังบริษัทจีนได้เข้าไปช่วยเหลือ
“ทำไมรัฐบาลเติร์กเมนจึงไม่คุ้มครองพลเมืองของพวกเขาเองไม่ให้ถูกละเมิดในเรื่องแรงงาน” เขาตั้งข้อกังขา
นักวิจารณ์คนอื่นๆ ชี้ว่าครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ลูกจ้างชาวเติร์กเมนก่อการประท้วงพวกบริษัทต่างชาติ
ในเดือนกรกฎาคม 2008 มีคนงานน้ำมัน 600 คนซึ่งทำงานด้านการขุดเจาะที่ดำเนินการโดยบริษัท เอนี (ENI) แห่งอิตาลี ในเมืองเนบิตดัก (Nebitdag) ทางภาคตะวันตกของประเทศ จัดการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในด้านอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกลายเป็นการตัดลดค่าจ้างของพวกเขาในทางเป็นจริง ทั้งนี้แม้สัญญาจ้างงานมีข้อกำหนดให้พวกบริษัทต่างชาติต้องจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานท้องถิ่นเป็นเงินสกุลมานัต (manat) ของเติร์กเมนิสถาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว กิจการจำนวนมากจ่ายกันเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ
ในเดือนพฤศจิกายน 2007 พวกคนงานที่ทำงานก่อสร้างโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า ใกล้ๆ กับเมืองหลวงอาชกาบัต ได้เริ่มการปฏิบัติการทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อกดดันนายจ้างของพวกเขา ซึ่งก็คือ บริษัทเซฮิล (Sehil) ของตุรกีให้จ่ายเงินค่าจ้างย้อนหลังแก่พวกเขา
(รายงานข่าวนี้แรกสุดเผยแพร่อยู่ใน สถาบันเพื่อการรายงานเรื่องสงครามและสันติภาพ)