(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Border war rattles China-Myanmar ties
By Larry Jagan
31/08/2009
กองทัพพม่าเปิดการรุกโจมตีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง และเป็นเหตุทำให้มีผู้อพยพประมาณ 50,000 คนหลบภัยเข้าไปในจีน เหตุการณ์นี้คือสัญญาณประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า พวกนายพลผู้ปกครองพม่ากำลังประกาศตัวแสดงความเป็นอิสระจากปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้หนุนหลังสำคัญที่สุดของระบอบปกครองนี้ ในอีกด้านหนึ่ง การที่คณะทหารผู้ปกครองพม่ากำลังเพิ่มความพยายามในการปลดอาวุธกลุ่มกบฏกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งพวกที่มีสายสัมพันธ์พิเศษกับจีนด้วย ก็อาจจะทำให้ชายแดนจีน-พม่ายิ่งถลำเข้าสู่ความขัดแย้งอันกว้างขวางใหญ่โต
กรุงเทพฯ – ปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เป็นชนชาติส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผู้อพยพหลายหมื่นคนทีเดียวหลบหนีข้ามพรมแดนทางตอนใต้ของจีนเพื่อเข้าไปหลบภัย และก็ทำให้จีนกับพม่าที่ปกติแล้วเป็นชาติเพื่อนบ้านซึ่งเป็นพันธมิตรกัน กลับบังเกิดความตึงเครียดระหว่างกัน
เวลานี้มีความหวั่นเกรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปฏิบัติการของกองทัพพม่าต่อกองกำลังอาวุธชนชาติโกก้าง (Kokang) ที่ใช้ชื่อว่า “กองทัพพันธมิตรชาติประชาธิปไตยพม่า” (Myanmar National Democratic Alliance Army หรือ MNDAA) คราวนี้ อาจจะระเบิดกลายเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่โตกว้างขวางขึ้นไปอีก เมื่อกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงไว้กับคณะทหารพม่ากลุ่มอื่นๆ เป็นต้นว่า กองทัพสหภาพรัฐว้า (United Wa State Army หรือ UWSA) ซึ่งมีอาวุธจำนวนมาก ถูกลากเข้าสู่การสู้รบด้วย
ข้อตกลงหยุดยิงอายุ 20 ปีระหว่างคณะทหารผู้ปกครองประเทศกับ MNDAA มีอันถูกฉีกทิ้งไป เนื่องจากรัฐบาลกำลังพยายามที่จะอ้างสิทธิ์สำแดงอำนาจเหนือพื้นที่ชายแดนต่างๆ ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้า นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า กองจรยุทธ์ของ MNDAA ประสบความเสียหายอย่างหนักจากการถูกโจมตีคราวนี้ โดยกำลังพลติดอาวุธของกลุ่มนี้ซึ่งประมาณการกันว่ามี 1,500 คน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งทีเดียวได้หลบหนีเข้าไปในดินแดนจีน
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ปักกิ่งก็ได้ระดมกำลังทหารและตำรวจติดอาวุธเพิ่มเติมเข้ามายังพื้นที่เหล่านี้ เป็นการระวังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงทะลักบานปลายข้ามเข้ามายังชายแดนของตน นอกจากนั้นจีนยังส่งผู้แทนระดับอาวุโสคนหนึ่งไปยังเมืองหลวงเนย์ปิดอว์ของพม่า เพื่อแจ้งให้ทราบถึง “ความวิตกอย่างแรงกล้า” ต่อสถานการณ์คราวนี้ของปักกิ่ง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลจีนผู้หนึ่ง ที่พูดโดยขอไม่ให้เปิดเผยนาม
เมื่อถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีผู้ลี้ภัยประมาณ 50,000 คนหลบหนีจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าเข้ามาในจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นของจีนในเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้เปิดเผยชื่อเช่นกัน เขาเล่าต่อไปว่า พวกผู้ลี้ภัยเหล่านี้ระลอกแรกข้ามพรมแดนเข้ามาเมื่อเกือบๆ 3 อาทิตย์ก่อน “ตอนแรก พวกเขาก็เข้ามานิดๆ หน่อยๆ จากนั้นจึงเป็นจำนวนใหญ่โตขึ้นมาก” ชาวบ้านที่พำนักอยู่บริเวณชายแดนทางฝั่งจีนผู้หนึ่งเล่าให้ฟังในทำนองเดียวกัน
ขณะที่ คิตตี้ แมคคินซีย์ (Kitty McKinsey) ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกระดับภูมิภาคให้แก่สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) ซึ่งประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บอกว่า ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้มีประชาชนจำนวนมากอาจจะถึง 30,000 คน อพยพจากพื้นที่ชนชาติโกก้าง ในรัฐฉาน ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามเข้าไปในเมืองนานซาน (Nansan) และหมู่บ้านอื่นๆ ใกล้เคียงในมณฑลยุนนานของจีน “เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของจีนกำลังจัดหาอาหาร, ที่พัก, และการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินให้แก่คนเหล่านี้” เธอกล่าว
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่าผู้คนจำนวนหนึ่งที่ดูเหมือนกับนักรบในกองกำลังอาวุธของโกก้างที่พ่ายแพ้แตกกระสานซ่านเซ็น ก็ได้พากันข้ามพรมแดนเช่นกัน มีนักรบโกก้างอย่างน้อยที่สุด 700 คนมอบอาวุธให้แก่ทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนตอนที่พวกเขาข้ามชายแดนเข้าไป รวมทั้งยอมถอดเครื่องแบบทหารสีเขียวของพวกเขา แล้วสวมใส่ชุดเสื้อกางเกงติดกันสีน้ำเงินที่เจ้าบ้านชาวจีนแจกให้ พวกเขาขณะนี้กำลังถูกควบคุมตัวตรงบริเวณใกล้ๆ ชายแดน ภายในค่ายพักแห่งหนึ่งที่แยกต่างหากจากพวกผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ โดยมีกองกำลังความมั่นคงติดอาวุธพรั่งพร้อมของจีนคอยดูแลอยู่ ผู้นำทางทหารชาวโกก้างผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
**ผู้ลี้ภัยชาวจีน**
พวกที่หลบหนีการสู้รบมาจากเขตพม่าเหล่านี้ มีบางคนที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นพลเมืองจีน โดยเป็นนักธุรกิจและคนงานซึ่งได้อพยพไปทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ชาวโกก้างทางพม่านับพันนับหมื่นคนตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา ธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่ชาวโกก้างเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรา, ร้านอาหาร, บ่อนพนัน, และสถานบันเทิงต่างๆ หากพลเมืองจีนไม่ใช่เจ้าของก็ต้องเป็นผู้ดำเนินการ ทุกๆ สัปดาห์มีพ่อค้าแม่ค้าเป็นร้อยๆ คนข้ามชายแดนเข้าไปทำธุรกิจและค้าขายในเมืองหลวงของโกก้าง เวลานี้คนเหล่านี้ได้รับคำแนะนำให้ยุติกิจกรรมของพวกเขาไว้ชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะกลับมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวชาวจีนหลายๆ ราย
เจ้าหน้าที่จีนผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ บอกว่าพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทางส่วนกลางของจีน “รู้สึกสับสนเป็นอย่างยิ่ง” เกี่ยวกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิบัติการของทหารพม่า และ “รู้สึกโกรธกริ้ว” ที่พวกเขาไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการรุกโจมตีคราวนี้ ส่วนเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศพม่าผู้หนึ่งก็เล่าว่า หลังจากมีการติดต่อทางการทูตกันอย่างสับสนวุ่นวายทั้งในกรุงปักกิ่งและกรุงเนย์ปิดอว์ พม่าก็ได้ “ขอโทษ” ที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพข้ามชายแดนเข้าไปในจีน
ปฏิบัติทางทหารครั้งนี้ทำให้ดูเหมือนกับว่า มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้ายึดโรงงานอาวุธแห่งหนึ่งของพวกโกก้าง และนี่ก็เป็นคำบอกเล่าที่พวกผู้นำพม่าแจ้งต่อผู้นำจีน ทว่านักวิเคราะห์เรื่องพม่าหลายๆ รายยังคงสงสัยข้องใจ และเชื่อว่าอย่างมากที่สุดเรื่องนี้ก็เพียงแค่ถูกใช้เป็นข้ออ้างบังหน้า “คณะทหารผู้ปกครองประเทศทราบดีว่า จะต้องลงมือปลดอาวุธกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ เหล่านี้ และพวกโกก้างก็เป็นกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในทางการทหาร” วิน มิน (Win Min) นักวิชาการชาวพม่าซึ่งเป็นผู้ชำนาญการเรื่องทหารของพม่า และเวลานี้ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “ก่อนที่ฝ่ายทหารจะเปิดการการโจมตีคราวนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบก็มีความพยายามที่จะวาดภาพพวกผู้นำโกก้างว่าเป็นพวกค้ายาเสพติด”
โกก้างนั้นในทางเชื้อชาติแล้วเป็นคนจีน และพูดจาด้วยภาษาจีนกลางสำเนียงท้องถิ่น แต่พวกเขาได้พำนักอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายสิบปี พวกเขามีกองกำลังอาวุธของตัวเอง และต่อสู้กับกองทัพพม่ามาหลายสิบปีแล้วเช่นกัน โดยมุ่งเรียกร้องต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง พวกเขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และยินยอมทำข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายทหารพม่าเมื่อปี 1989 ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการปฏิบัติตามเรื่อยมาจวบจนกระทั่งถึงตอนนี้
พวกโกก้างยังมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการค้ายาเสพติด และขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ ตามข้อมูลของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime) เขตพื้นที่ของพวกโกก้างไม่ได้มีการปลูกฝิ่นอีกนับตั้งแต่ปี 2003 ถึงแม้นักวิเคราะห์บางคนยังไม่เชื่อถือการประเมินเช่นนี้
**การโจมตีที่วางแผนเอาไว้เป็นอย่างดี**
ตามพื้นที่ต่างๆ ตามชายแดนของพม่า สถานการณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มานานหลายเดือนแล้ว สืบเนื่องจากคณะทหารผู้ปกครองประเทศพยายามกดดันกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ ที่ยอมทำข้อตกลงหยุดยิง เป็นต้นว่า พวกกะฉิ่น, โกก้าง, และว้า ให้ยอมส่งมอบอาวุธของพวกเขาแก่ทางการ ก่อนการเลือกตั้งที่วางแผนจัดขึ้นในปีหน้า รัฐบาลพม่านั้นต้องการรวมเอากลุ่มเหล่านี้เข้าไว้เป็นกองกำลังส่วนหนึ่งของรัฐบาลแห่งชาติ โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยตำรวจชายแดน และขึ้นต่อกองทัพ ทว่ากลุ่มชนชาติดังที่กล่าวมาข้างต้น ตลอดจนกลุ่มอื่นๆที่อยู่ตามแดนพรมแดนจีน ต่างพากันคัดค้านการบูรณาการในลักษณะเช่นนี้
ทหารพม่าจำนวนหลายหมื่นคนจึงถูกส่งเข้ามาประจำตามที่มั่นต่างๆ ในเขตชาวโกก้างตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะเปิดฉากการรุกครั้งใหญ่ในสัปดาห์ที่แล้ว ฝ่ายทหารของพม่าได้เข้ารักษาความปลอดภัยตามเส้นทางมุ่งสู่กองบัญชาการใหม่ของโกก้างในเมืองเหล่ากายอย่างเข้มงวด ขณะที่ห้ามนำเอาข้าวและอาหารเข้าสู่พื้นที่แถบนี้ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านคนหนึ่ง
ในวันที่ 8 สิงหาคม เจ้าหน้าที่พม่าในท้องถิ่นคนหนึ่งได้จัดส่งกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่แถบนี้ เพื่อตรวจสอบรายงานที่ระบุว่า กองกำลังอาวุธชาวโกก้างกำลังเปิดดำเนินการโรงงานอาวุธ รายงานข่าวบอกว่า กำลังทหารยังได้เข้าไปยังบ้านพักของ เผิงจาเซิง (Peng Jiasheng) ผู้นำทางทหารของโกก้าง เพื่อค้นหายาเสพติด มีรายงานว่าเผิงได้หลบหนีเข้าไปยังพื้นที่ใกล้ๆ กันซึ่งควบคุมโดย UWSA ทั้งนี้เชื่อกันว่า UWSA มีกำลังทหารติดอาวุธมากกว่า 15,000 คน
ตั้งแต่ที่การสู้รบเงียบสงบลง กองทัพพม่าก็สามารถควบคุมเหล่ากาย เมืองหลวงของพวกโกก้างเอาไว้ได้อย่างเด็ดขาด เมืองชายแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยคึกคักอลหม่าน เต็มไปด้วยบาร์เหล้า, สถานดิสโก้,สถานคาราโอเกะ, และบ่อนพนัน แต่ปัจจุบันพื้นที่ใจกลางเมืองเหมือนกับเมืองร้างไม่มีใครอื่นนอกจากทหารพม่า พวกผู้ลี้ภัยที่หนีข้ามเข้าไปในจีนนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเพียงเสื้อผ้าใส่เป้ใส่กระเป๋ามา โดยทิ้งทรัพย์สมบัติแทบทั้งหมดของพวกเขาเอาไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของพวกเจ้าหน้าที่สงเคราะห์
เวลานี้ผู้ลี้ภัยบางส่วนกำลังชั่งใจว่าจะกลับคืนบ้านพักของพวกเขาดีหรือไม่ เนื่องจากหวาดกลัวว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะถูกทหารปล้นชิง ทว่าพวกเขาก็รู้สึกวิตกกังวลกับการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้การปกครองของกองทัพพม่า “เราหวาดกลัวว่าทหารจะปฏิบัติต่อเราอย่างเลวร้าย” สตรีชาวโกก้างวัย 53 ปีผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “เราได้ยินคำบอกเล่าที่ว่าทหารข่มขืนผู้หญิงและเด็ก, บังคับชาวบ้านที่เป็นผู้ชายให้เป็นลูกหาบคอยขนข้าวของต่างๆ ให้ และประหารทุกคนที่ปฏิเสธไม่เชื่อพังพวกเขา” เธอกล่าวต่อ
แต่ในสภาพที่พวกโกก้างประกาศว่าทำการตอบโต้แก้แค้น และ UWSA ซึ่งทรงอำนาจยิ่งกว่าก็แสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือ จึงทำให้ลู่ทางโอกาสที่พวกผู้อพยพพลัดถิ่นเหล่านี้จะได้กลับบ้านอย่างเป็นระเบียบนั้น แลดูห่างไกลเหลือเกิน “คาดหมายกันว่าการประจันหน้าและการปะทะกันทางทหารจะต้องเพิ่มมากขึ้นในระยะหลายๆ วันต่อจากนี้ไป และชาวบ้านนับหมื่นๆ ก็กำลังหลบหนีไปยังชายแดนจีน-พม่าเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ตลอดจนการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดติดตามมา” นี่เป็นเนื้อความในคำแถลงฉบับหนึ่งจากกลุ่มโกก้าง
พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายถัดไปที่จะถูกรุกรบโจมตี “สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ย่อมไม่ใช่ลางดีเลยสำหรับกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น กะฉิ่น และว้า” นักวิชาการ วิน มิน บอก” นี่อาจจะเป็นการโหมโรงของสิ่งที่จะติดตามมา” เขากล่าวต่อ ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม พวกผู้นำชาวกะฉิ่น, โกก้าง, และว้า ได้ประกาศรวมตัวจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรซึ่งใช้ชื่อว่า แนวร่วมสันติภาพและประชาธิปไตยพม่า (Myanmar Peace and Democracy Front) โดยพวกเขาต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่ยอมวางอาวุธของพวกเขาก่อนการเลือกตั้งที่กำหนดจะจัดขึ้นในปีหน้า
เวลานี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่สถานการณ์จะหวนกลับไปสู่การต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างกว้างขวางตามแนวชายแดนจีน-พม่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนผู้หนึ่งที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิดบอก “ปัญหาอยู่ที่ว่าพวกว้าเป็นพวกที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนมากๆ และเป็นเรื่องยากมากๆ สำหรับรัฐบาลจีนที่จะทอดทิ้งพวกเขาในเวลาอันสำคัญยิ่งยวดนี้” เขากล่าวต่อ
ขณะเดียวกัน จีนก็ต้องการฟื้นฟูความสงบในพื้นที่ชายแดนก่อนที่มันจะทำให้พื้นที่ต่างๆ ภายในจีนเกิดภาวะไร้เสถียรภาพ ตามคำบอกเล่าของพวกแหล่งข่าวรัฐบาลจีน ปักกิ่งได้แนะนำพม่าให้ยุติการสู้รบและสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงหยุดยิงฉบับใหม่กับพวกโกก้าง โดยที่จีนเสนอตัวเป็นคนไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าใกล้ชิดผู้นั้นกล่าวย้ำด้วยว่า ปักกิ่งยังต้องการให้พวกผู้ลี้ภัยกลับคืนไปพม่าโดยเร็วที่สุด แต่ก็ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้พวกเขากลับ ในเวลาเดียวกัน พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนก็คอยระวังป้องกันไม่ให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เดินทางไปไหนมาไหน หรือพยายามที่จะลงหลักปักฐานในดินแดนส่วนในเข้าไปอีก
การโจมตีทางทหารคราวนี้ดูจะเป็นหลักฐานสนับสนุนการคาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า พม่ากำลังวางเดิมพันประกาศความเป็นตัวของตัวเองเพื่อต่อต้านจีน ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้หนุนหลังสำคัญที่สุดในระดับระหว่างประเทศของระบอบปกครองทหารที่แสนจะโดดเดี่ยวนี้ ในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ มีรายงานว่าคณะทหารผู้ปกครองพม่ามีความรู้สึกผิดหวังจากการที่ปักกิ่งไม่มีทีท่าสนับสนุนความพยายามของตนที่จะปลดอาวุธพวกกลุ่มกบฎ รวมทั้งกลุ่มที่มีความสัมพันธ์แบบพิเศษกับจีนด้วย
บางคนกล่าวว่า การที่เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทหารผู้ปกครองพม่าให้การต้อนรับอย่างกระตือรือร้นต่อวุฒิสมาชิก จิม เว็บบ์ ของสหรัฐฯ ในระดับที่ปกติแล้วสงวนไว้ให้แก่ประมุขแห่งรัฐเท่านั้น คือสัญญาณอันชัดเจนในเรื่องที่คณะทหารพม่ากำลังพยายามที่จะถอยห่างจากการต้องพึ่งพาอาศัยจีนในด้านการทูต อีกตัวอย่างหนึ่งที่เสมือนทางการพม่าปล่อยหมัดแย็บเข้าใส่ปักกิ่ง ได้แก่การที่หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ฉบับสัปดาห์นี้ ตีพิมพ์ข่าวสั้นๆ จากสำนักข่าวต่างประเทศในเรื่องที่ ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต กำลังเยือนไต้หวัน แน่นอนที่ข่าวชิ้นนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวของรัฐบาลพม่า จึงจะสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้
พวกนักการทูตที่พำนักอยู่ในนครย่างกุ้งบอกว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลากว่า 20 ปี ที่สื่อมวลชนซึ่งถูกควบคุมอย่างแน่นหนาของพม่า มีการเอ่ยอ้างถึงทะไลลามะ
ลาร์รี จาแกน เคยทำข่าวด้านการเมืองพม่าให้แก่บีบีซี เวลานี้เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ
Border war rattles China-Myanmar ties
By Larry Jagan
31/08/2009
กองทัพพม่าเปิดการรุกโจมตีกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหนึ่ง และเป็นเหตุทำให้มีผู้อพยพประมาณ 50,000 คนหลบภัยเข้าไปในจีน เหตุการณ์นี้คือสัญญาณประการหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า พวกนายพลผู้ปกครองพม่ากำลังประกาศตัวแสดงความเป็นอิสระจากปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้หนุนหลังสำคัญที่สุดของระบอบปกครองนี้ ในอีกด้านหนึ่ง การที่คณะทหารผู้ปกครองพม่ากำลังเพิ่มความพยายามในการปลดอาวุธกลุ่มกบฏกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งพวกที่มีสายสัมพันธ์พิเศษกับจีนด้วย ก็อาจจะทำให้ชายแดนจีน-พม่ายิ่งถลำเข้าสู่ความขัดแย้งอันกว้างขวางใหญ่โต
กรุงเทพฯ – ปฏิบัติการทางทหารของพม่าต่อกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เป็นชนชาติส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผู้อพยพหลายหมื่นคนทีเดียวหลบหนีข้ามพรมแดนทางตอนใต้ของจีนเพื่อเข้าไปหลบภัย และก็ทำให้จีนกับพม่าที่ปกติแล้วเป็นชาติเพื่อนบ้านซึ่งเป็นพันธมิตรกัน กลับบังเกิดความตึงเครียดระหว่างกัน
เวลานี้มีความหวั่นเกรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปฏิบัติการของกองทัพพม่าต่อกองกำลังอาวุธชนชาติโกก้าง (Kokang) ที่ใช้ชื่อว่า “กองทัพพันธมิตรชาติประชาธิปไตยพม่า” (Myanmar National Democratic Alliance Army หรือ MNDAA) คราวนี้ อาจจะระเบิดกลายเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่โตกว้างขวางขึ้นไปอีก เมื่อกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงไว้กับคณะทหารพม่ากลุ่มอื่นๆ เป็นต้นว่า กองทัพสหภาพรัฐว้า (United Wa State Army หรือ UWSA) ซึ่งมีอาวุธจำนวนมาก ถูกลากเข้าสู่การสู้รบด้วย
ข้อตกลงหยุดยิงอายุ 20 ปีระหว่างคณะทหารผู้ปกครองประเทศกับ MNDAA มีอันถูกฉีกทิ้งไป เนื่องจากรัฐบาลกำลังพยายามที่จะอ้างสิทธิ์สำแดงอำนาจเหนือพื้นที่ชายแดนต่างๆ ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้า นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า กองจรยุทธ์ของ MNDAA ประสบความเสียหายอย่างหนักจากการถูกโจมตีคราวนี้ โดยกำลังพลติดอาวุธของกลุ่มนี้ซึ่งประมาณการกันว่ามี 1,500 คน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งทีเดียวได้หลบหนีเข้าไปในดินแดนจีน
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ ปักกิ่งก็ได้ระดมกำลังทหารและตำรวจติดอาวุธเพิ่มเติมเข้ามายังพื้นที่เหล่านี้ เป็นการระวังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงทะลักบานปลายข้ามเข้ามายังชายแดนของตน นอกจากนั้นจีนยังส่งผู้แทนระดับอาวุโสคนหนึ่งไปยังเมืองหลวงเนย์ปิดอว์ของพม่า เพื่อแจ้งให้ทราบถึง “ความวิตกอย่างแรงกล้า” ต่อสถานการณ์คราวนี้ของปักกิ่ง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลจีนผู้หนึ่ง ที่พูดโดยขอไม่ให้เปิดเผยนาม
เมื่อถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็มีผู้ลี้ภัยประมาณ 50,000 คนหลบหนีจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าเข้ามาในจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นของจีนในเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้เปิดเผยชื่อเช่นกัน เขาเล่าต่อไปว่า พวกผู้ลี้ภัยเหล่านี้ระลอกแรกข้ามพรมแดนเข้ามาเมื่อเกือบๆ 3 อาทิตย์ก่อน “ตอนแรก พวกเขาก็เข้ามานิดๆ หน่อยๆ จากนั้นจึงเป็นจำนวนใหญ่โตขึ้นมาก” ชาวบ้านที่พำนักอยู่บริเวณชายแดนทางฝั่งจีนผู้หนึ่งเล่าให้ฟังในทำนองเดียวกัน
ขณะที่ คิตตี้ แมคคินซีย์ (Kitty McKinsey) ผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษกระดับภูมิภาคให้แก่สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees หรือ UNHCR) ซึ่งประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บอกว่า ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้มีประชาชนจำนวนมากอาจจะถึง 30,000 คน อพยพจากพื้นที่ชนชาติโกก้าง ในรัฐฉาน ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามเข้าไปในเมืองนานซาน (Nansan) และหมู่บ้านอื่นๆ ใกล้เคียงในมณฑลยุนนานของจีน “เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของจีนกำลังจัดหาอาหาร, ที่พัก, และการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินให้แก่คนเหล่านี้” เธอกล่าว
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรายงานว่าผู้คนจำนวนหนึ่งที่ดูเหมือนกับนักรบในกองกำลังอาวุธของโกก้างที่พ่ายแพ้แตกกระสานซ่านเซ็น ก็ได้พากันข้ามพรมแดนเช่นกัน มีนักรบโกก้างอย่างน้อยที่สุด 700 คนมอบอาวุธให้แก่ทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนตอนที่พวกเขาข้ามชายแดนเข้าไป รวมทั้งยอมถอดเครื่องแบบทหารสีเขียวของพวกเขา แล้วสวมใส่ชุดเสื้อกางเกงติดกันสีน้ำเงินที่เจ้าบ้านชาวจีนแจกให้ พวกเขาขณะนี้กำลังถูกควบคุมตัวตรงบริเวณใกล้ๆ ชายแดน ภายในค่ายพักแห่งหนึ่งที่แยกต่างหากจากพวกผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ โดยมีกองกำลังความมั่นคงติดอาวุธพรั่งพร้อมของจีนคอยดูแลอยู่ ผู้นำทางทหารชาวโกก้างผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์
**ผู้ลี้ภัยชาวจีน**
พวกที่หลบหนีการสู้รบมาจากเขตพม่าเหล่านี้ มีบางคนที่น่าเชื่อได้ว่าเป็นพลเมืองจีน โดยเป็นนักธุรกิจและคนงานซึ่งได้อพยพไปทำมาหากินอยู่ในพื้นที่ชาวโกก้างทางพม่านับพันนับหมื่นคนตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา ธุรกิจส่วนใหญ่ในพื้นที่ชาวโกก้างเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตรา, ร้านอาหาร, บ่อนพนัน, และสถานบันเทิงต่างๆ หากพลเมืองจีนไม่ใช่เจ้าของก็ต้องเป็นผู้ดำเนินการ ทุกๆ สัปดาห์มีพ่อค้าแม่ค้าเป็นร้อยๆ คนข้ามชายแดนเข้าไปทำธุรกิจและค้าขายในเมืองหลวงของโกก้าง เวลานี้คนเหล่านี้ได้รับคำแนะนำให้ยุติกิจกรรมของพวกเขาไว้ชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะกลับมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของแหล่งข่าวชาวจีนหลายๆ ราย
เจ้าหน้าที่จีนผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ บอกว่าพวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบทางส่วนกลางของจีน “รู้สึกสับสนเป็นอย่างยิ่ง” เกี่ยวกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิบัติการของทหารพม่า และ “รู้สึกโกรธกริ้ว” ที่พวกเขาไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการรุกโจมตีคราวนี้ ส่วนเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศพม่าผู้หนึ่งก็เล่าว่า หลังจากมีการติดต่อทางการทูตกันอย่างสับสนวุ่นวายทั้งในกรุงปักกิ่งและกรุงเนย์ปิดอว์ พม่าก็ได้ “ขอโทษ” ที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพข้ามชายแดนเข้าไปในจีน
ปฏิบัติทางทหารครั้งนี้ทำให้ดูเหมือนกับว่า มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้ายึดโรงงานอาวุธแห่งหนึ่งของพวกโกก้าง และนี่ก็เป็นคำบอกเล่าที่พวกผู้นำพม่าแจ้งต่อผู้นำจีน ทว่านักวิเคราะห์เรื่องพม่าหลายๆ รายยังคงสงสัยข้องใจ และเชื่อว่าอย่างมากที่สุดเรื่องนี้ก็เพียงแค่ถูกใช้เป็นข้ออ้างบังหน้า “คณะทหารผู้ปกครองประเทศทราบดีว่า จะต้องลงมือปลดอาวุธกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ เหล่านี้ และพวกโกก้างก็เป็นกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในทางการทหาร” วิน มิน (Win Min) นักวิชาการชาวพม่าซึ่งเป็นผู้ชำนาญการเรื่องทหารของพม่า และเวลานี้ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “ก่อนที่ฝ่ายทหารจะเปิดการการโจมตีคราวนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบก็มีความพยายามที่จะวาดภาพพวกผู้นำโกก้างว่าเป็นพวกค้ายาเสพติด”
โกก้างนั้นในทางเชื้อชาติแล้วเป็นคนจีน และพูดจาด้วยภาษาจีนกลางสำเนียงท้องถิ่น แต่พวกเขาได้พำนักอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายสิบปี พวกเขามีกองกำลังอาวุธของตัวเอง และต่อสู้กับกองทัพพม่ามาหลายสิบปีแล้วเช่นกัน โดยมุ่งเรียกร้องต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง พวกเขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และยินยอมทำข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายทหารพม่าเมื่อปี 1989 ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการปฏิบัติตามเรื่อยมาจวบจนกระทั่งถึงตอนนี้
พวกโกก้างยังมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการค้ายาเสพติด และขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ ตามข้อมูลของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime) เขตพื้นที่ของพวกโกก้างไม่ได้มีการปลูกฝิ่นอีกนับตั้งแต่ปี 2003 ถึงแม้นักวิเคราะห์บางคนยังไม่เชื่อถือการประเมินเช่นนี้
**การโจมตีที่วางแผนเอาไว้เป็นอย่างดี**
ตามพื้นที่ต่างๆ ตามชายแดนของพม่า สถานการณ์อยู่ในสภาพตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มานานหลายเดือนแล้ว สืบเนื่องจากคณะทหารผู้ปกครองประเทศพยายามกดดันกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ ที่ยอมทำข้อตกลงหยุดยิง เป็นต้นว่า พวกกะฉิ่น, โกก้าง, และว้า ให้ยอมส่งมอบอาวุธของพวกเขาแก่ทางการ ก่อนการเลือกตั้งที่วางแผนจัดขึ้นในปีหน้า รัฐบาลพม่านั้นต้องการรวมเอากลุ่มเหล่านี้เข้าไว้เป็นกองกำลังส่วนหนึ่งของรัฐบาลแห่งชาติ โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยตำรวจชายแดน และขึ้นต่อกองทัพ ทว่ากลุ่มชนชาติดังที่กล่าวมาข้างต้น ตลอดจนกลุ่มอื่นๆที่อยู่ตามแดนพรมแดนจีน ต่างพากันคัดค้านการบูรณาการในลักษณะเช่นนี้
ทหารพม่าจำนวนหลายหมื่นคนจึงถูกส่งเข้ามาประจำตามที่มั่นต่างๆ ในเขตชาวโกก้างตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม ก่อนที่จะเปิดฉากการรุกครั้งใหญ่ในสัปดาห์ที่แล้ว ฝ่ายทหารของพม่าได้เข้ารักษาความปลอดภัยตามเส้นทางมุ่งสู่กองบัญชาการใหม่ของโกก้างในเมืองเหล่ากายอย่างเข้มงวด ขณะที่ห้ามนำเอาข้าวและอาหารเข้าสู่พื้นที่แถบนี้ ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านคนหนึ่ง
ในวันที่ 8 สิงหาคม เจ้าหน้าที่พม่าในท้องถิ่นคนหนึ่งได้จัดส่งกำลังทหารเข้าสู่พื้นที่แถบนี้ เพื่อตรวจสอบรายงานที่ระบุว่า กองกำลังอาวุธชาวโกก้างกำลังเปิดดำเนินการโรงงานอาวุธ รายงานข่าวบอกว่า กำลังทหารยังได้เข้าไปยังบ้านพักของ เผิงจาเซิง (Peng Jiasheng) ผู้นำทางทหารของโกก้าง เพื่อค้นหายาเสพติด มีรายงานว่าเผิงได้หลบหนีเข้าไปยังพื้นที่ใกล้ๆ กันซึ่งควบคุมโดย UWSA ทั้งนี้เชื่อกันว่า UWSA มีกำลังทหารติดอาวุธมากกว่า 15,000 คน
ตั้งแต่ที่การสู้รบเงียบสงบลง กองทัพพม่าก็สามารถควบคุมเหล่ากาย เมืองหลวงของพวกโกก้างเอาไว้ได้อย่างเด็ดขาด เมืองชายแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยคึกคักอลหม่าน เต็มไปด้วยบาร์เหล้า, สถานดิสโก้,สถานคาราโอเกะ, และบ่อนพนัน แต่ปัจจุบันพื้นที่ใจกลางเมืองเหมือนกับเมืองร้างไม่มีใครอื่นนอกจากทหารพม่า พวกผู้ลี้ภัยที่หนีข้ามเข้าไปในจีนนั้น ส่วนใหญ่แล้วมีเพียงเสื้อผ้าใส่เป้ใส่กระเป๋ามา โดยทิ้งทรัพย์สมบัติแทบทั้งหมดของพวกเขาเอาไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของพวกเจ้าหน้าที่สงเคราะห์
เวลานี้ผู้ลี้ภัยบางส่วนกำลังชั่งใจว่าจะกลับคืนบ้านพักของพวกเขาดีหรือไม่ เนื่องจากหวาดกลัวว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะถูกทหารปล้นชิง ทว่าพวกเขาก็รู้สึกวิตกกังวลกับการที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้การปกครองของกองทัพพม่า “เราหวาดกลัวว่าทหารจะปฏิบัติต่อเราอย่างเลวร้าย” สตรีชาวโกก้างวัย 53 ปีผู้หนึ่งบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “เราได้ยินคำบอกเล่าที่ว่าทหารข่มขืนผู้หญิงและเด็ก, บังคับชาวบ้านที่เป็นผู้ชายให้เป็นลูกหาบคอยขนข้าวของต่างๆ ให้ และประหารทุกคนที่ปฏิเสธไม่เชื่อพังพวกเขา” เธอกล่าวต่อ
แต่ในสภาพที่พวกโกก้างประกาศว่าทำการตอบโต้แก้แค้น และ UWSA ซึ่งทรงอำนาจยิ่งกว่าก็แสดงความพร้อมที่จะช่วยเหลือ จึงทำให้ลู่ทางโอกาสที่พวกผู้อพยพพลัดถิ่นเหล่านี้จะได้กลับบ้านอย่างเป็นระเบียบนั้น แลดูห่างไกลเหลือเกิน “คาดหมายกันว่าการประจันหน้าและการปะทะกันทางทหารจะต้องเพิ่มมากขึ้นในระยะหลายๆ วันต่อจากนี้ไป และชาวบ้านนับหมื่นๆ ก็กำลังหลบหนีไปยังชายแดนจีน-พม่าเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม ตลอดจนการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดติดตามมา” นี่เป็นเนื้อความในคำแถลงฉบับหนึ่งจากกลุ่มโกก้าง
พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายถัดไปที่จะถูกรุกรบโจมตี “สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้ย่อมไม่ใช่ลางดีเลยสำหรับกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอื่นๆ อย่างเช่น กะฉิ่น และว้า” นักวิชาการ วิน มิน บอก” นี่อาจจะเป็นการโหมโรงของสิ่งที่จะติดตามมา” เขากล่าวต่อ ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคม พวกผู้นำชาวกะฉิ่น, โกก้าง, และว้า ได้ประกาศรวมตัวจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรซึ่งใช้ชื่อว่า แนวร่วมสันติภาพและประชาธิปไตยพม่า (Myanmar Peace and Democracy Front) โดยพวกเขาต่างเห็นพ้องต้องกันว่าจะไม่ยอมวางอาวุธของพวกเขาก่อนการเลือกตั้งที่กำหนดจะจัดขึ้นในปีหน้า
เวลานี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่สถานการณ์จะหวนกลับไปสู่การต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างกว้างขวางตามแนวชายแดนจีน-พม่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนผู้หนึ่งที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิดบอก “ปัญหาอยู่ที่ว่าพวกว้าเป็นพวกที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนมากๆ และเป็นเรื่องยากมากๆ สำหรับรัฐบาลจีนที่จะทอดทิ้งพวกเขาในเวลาอันสำคัญยิ่งยวดนี้” เขากล่าวต่อ
ขณะเดียวกัน จีนก็ต้องการฟื้นฟูความสงบในพื้นที่ชายแดนก่อนที่มันจะทำให้พื้นที่ต่างๆ ภายในจีนเกิดภาวะไร้เสถียรภาพ ตามคำบอกเล่าของพวกแหล่งข่าวรัฐบาลจีน ปักกิ่งได้แนะนำพม่าให้ยุติการสู้รบและสนับสนุนให้จัดทำข้อตกลงหยุดยิงฉบับใหม่กับพวกโกก้าง โดยที่จีนเสนอตัวเป็นคนไกล่เกลี่ย เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าใกล้ชิดผู้นั้นกล่าวย้ำด้วยว่า ปักกิ่งยังต้องการให้พวกผู้ลี้ภัยกลับคืนไปพม่าโดยเร็วที่สุด แต่ก็ไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้พวกเขากลับ ในเวลาเดียวกัน พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของจีนก็คอยระวังป้องกันไม่ให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้เดินทางไปไหนมาไหน หรือพยายามที่จะลงหลักปักฐานในดินแดนส่วนในเข้าไปอีก
การโจมตีทางทหารคราวนี้ดูจะเป็นหลักฐานสนับสนุนการคาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า พม่ากำลังวางเดิมพันประกาศความเป็นตัวของตัวเองเพื่อต่อต้านจีน ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้หนุนหลังสำคัญที่สุดในระดับระหว่างประเทศของระบอบปกครองทหารที่แสนจะโดดเดี่ยวนี้ ในระยะไม่กี่เดือนหลังมานี้ มีรายงานว่าคณะทหารผู้ปกครองพม่ามีความรู้สึกผิดหวังจากการที่ปักกิ่งไม่มีทีท่าสนับสนุนความพยายามของตนที่จะปลดอาวุธพวกกลุ่มกบฎ รวมทั้งกลุ่มที่มีความสัมพันธ์แบบพิเศษกับจีนด้วย
บางคนกล่าวว่า การที่เมื่อเร็วๆ นี้ คณะทหารผู้ปกครองพม่าให้การต้อนรับอย่างกระตือรือร้นต่อวุฒิสมาชิก จิม เว็บบ์ ของสหรัฐฯ ในระดับที่ปกติแล้วสงวนไว้ให้แก่ประมุขแห่งรัฐเท่านั้น คือสัญญาณอันชัดเจนในเรื่องที่คณะทหารพม่ากำลังพยายามที่จะถอยห่างจากการต้องพึ่งพาอาศัยจีนในด้านการทูต อีกตัวอย่างหนึ่งที่เสมือนทางการพม่าปล่อยหมัดแย็บเข้าใส่ปักกิ่ง ได้แก่การที่หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทมส์ฉบับสัปดาห์นี้ ตีพิมพ์ข่าวสั้นๆ จากสำนักข่าวต่างประเทศในเรื่องที่ ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต กำลังเยือนไต้หวัน แน่นอนที่ข่าวชิ้นนี้จะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ตรวจข่าวของรัฐบาลพม่า จึงจะสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ได้
พวกนักการทูตที่พำนักอยู่ในนครย่างกุ้งบอกว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบระยะเวลากว่า 20 ปี ที่สื่อมวลชนซึ่งถูกควบคุมอย่างแน่นหนาของพม่า มีการเอ่ยอ้างถึงทะไลลามะ
ลาร์รี จาแกน เคยทำข่าวด้านการเมืองพม่าให้แก่บีบีซี เวลานี้เขาเป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ