(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลนส์www.atimes.com)
Japan on the brink of a new era
By Kosuke Takahashi
28/08/2009
การเลือกตั้งของญี่ปุ่นสุดสัปดาห์นี้เป็นการปะทะกันระหว่าง นายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ กับ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ อันเป็นการสู้รบกันของพวกเลือดสีน้ำเงิน ซ้ำรอยการต่อสู้ระหว่างคุณปู่ของพวกเขาทั้งสอง หากฮาโตยามะได้รับชัยชนะอย่างงดงามตามที่คาดหมายกันเอาไว้ ก็จะเป็นการสิ้นสุดการครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นมายาวนานหลายสิบปีของพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ ของอาโซะ ขณะเดียวกัน ฮาโตยามะก็จำเป็นจะต้องอาศัยคุณสมบัติที่มีผู้บอกว่าเขามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น “ความหัวแข็งดึงดัน, การตัดสินใจที่เด็ดขาด, และความห้าวหาญ” และอื่นๆ เพื่อทำให้ได้ตามคำมั่นสัญญาของเขา ที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านเวทย์มนตร์แห่งภราดรภาพ
โตเกียว – ประวัติศาสตร์บางครั้งก็สร้างเรื่องตลกร้ายได้อย่างน่ามหัศจรรย์ โดยที่ในญี่ปุ่นนั้น หลานชายที่กำลังก้าวผงาดโดดเด่นขึ้นมา ทำท่าว่าใกล้จะทุบทำลายมรดกที่คุณปู่ของเขาเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา
ผลการหยั่งเสียงสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) ของยูกิโอะ ฮาโตยามะ จะได้รับชัยชนะอย่างมโหฬารในการเลือกตั้งสภาล่างวันอาทิตย์(30)นี้ ซึ่งจะทำให้เขาได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แทนที่ ทาโร อาโซะ นี่จะเป็นหลักหมายแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในระดับพื้นฐานในประเทศนี้ทีเดียว โดยจะเป็นการยุติฐานะครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นแทบจะเพียงพรรคเดียวของพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party หรือ LDP) ตั้งแต่ที่ อิชิโร คุณปู่ของฮาโตยามะ ก่อตั้งพรรคนี้ขึ้นเมื่อปี 1955
ตัวเลข 320 คือกุญแจสำคัญของการเลือกตั้งคราวนี้ ถ้าหากพรรคดีพีเจประสบความสำเร็จในการกวาดที่นั่งถึงสองในสาม หรือ 320 ที่นั่งจากทั้งหมดในสภาล่างที่มี 480 ที่นั่ง ก็จะทำให้ดีพีเจสามารถผลักดันออกกฎหมายฉบับใดๆ ก็ได้ แม้กระทั่งที่ถูกคัดค้านในสภาสูง ซึ่งดีพีเจโดยลำพังพรรคเดียวยังไม่ได้ครองเสียงถึงกึ่งหนึ่ง ในวันอาทิตย์นี้(30) ผู้สมัครทั้งสิ้น 1,374 คนจะช่วงชิงที่นั่งในสภาล่างซึ่งมี 480 ที่นั่ง โดย 300 ที่นั่งจะเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตๆ ละ 1 ที่นั่ง และที่เหลืออีก 180 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามระบบสัดส่วนจากคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ
ในช่วงโค้งสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุงฉบับวันพฤหัสบดี(27) คาดหมายว่า พรรคดีพีเจน่าจะได้มากกว่า 320 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นลิบลิ่วจาก 115 ที่นั่งซึ่งพรรคได้อยู่ก่อนที่สภาล่างจะถูกยุบในวันที่ 21 กรกฎาคม ขณะเดียวกัน พรรคแอลดีพี แกนนำของคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ก็น่าจะปราชัยอย่างยับเยิน โดยที่จะได้ที่นั่งเพียงราว 100 ที่นั่ง จากที่มีอยู่ถึง 300 ที่นั่งก่อนการเลือกตั้งคราวนี้ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ระบุโดยอ้างอิงผลโพลล่าสุดของตน
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลเผยแพร่ออกมาในวันศุกร์(28) ก็ดูจะทำให้ทิศทางอนาคตอันมืดมัวอยู่แล้วของแอลดีพียิ่งเลวร้ายหนักขึ้นไปอีก นั่นก็คือ อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นในรอบเดือนกรกฎาคมพุ่งขึ้นสู่งระดับ 5.7% สูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะเดียวกัน ภาวะเงินฝืดก็ยังคงเลวร้ายลง และครัวเรือนต่างๆ พากันตัดลดการใช้จ่าย
“ดีพีเจมีโอกาสสูงมากที่จะได้ที่นั่งเกิน 320 ที่นั่ง” มิโนรุ โมริตะ นักวิเคราะห์การเมืองชื่อดังในโตเกียวบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “แต่ผมไม่คิดว่าดีพีเจจะเร่งรีบลุยดะผลักดันให้สภาล่างออกกฎหมายฉบับต่างๆ โดยอาศัยเสียงข้างมากสองในสามของพวกเขา (ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว สามารถทำให้เสียงคัดค้านใดๆ ในสภาสูงกลายเป็นโมฆะได้)”
**นักการเมืองเลือดสีน้ำเงิน**–
ฮาโตยามะผู้อยู่ในวัย 62 ปีและตัวสูง 177 เซนติเมตร มีภาพลักษณ์ที่ทำให้สาธารณชนชาวญี่ปุ่นรู้สึกถึงความเป็นคนชั้นสูงอยู่ในตระกูลผู้ดี และเขาก็เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของตระกูลที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุดและทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดตระกูลหนึ่งของประเทศจริงๆ โดยที่สื่อท้องถิ่นถึงขั้นให้สมญาว่า เป็น “ตระกูลเคนเนดีของญี่ปุ่น”
ฮาโตยามะเป็นคนรุ่นที่ 4 ของตระกูลที่เข้าสู่วงการเมือง คุณปู่ทวดของเขาที่ชื่อ คาซุโอะ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งไดเอต(รัฐสภา)ของญี่ปุ่น ระหว่างปี 1896 – 1897 ในยุคเมจิ ต่อมาเขายังดำรงตำแหน่งเป็นรองรัฐมนตรีต่างประเทศ และอธิการบดีของมหาวิทยาลัยวาเซดะ หนึ่งในมหาวิทยาลัยระดับท็อปของญี่ปุ่น
คุณปู่ของยูกิโอะ ชื่อ อิชิโร เคยเป็นนายกรัฐมนตรี 3 ครั้งในระหว่างปี 1954 ถึง 1956 และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นหัวหน้าคนแรกของพรรคแอลดีพี ในปี 1951 เขาเป็นผู้ผลักดันให้ฟื้นฟูสายสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต และทำให้ญี่ปุ่นได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956 อันเป็นความมุ่งมาตรปรารถนาสำคัญที่สุดของเขาก่อนเกษียณอำลาวงการเมือง
บิดาของเขา ซึ่งชื่อ อิชิโร เหมือนคุณปู่ เป็นอดีตรองรัฐมนตรีคลัง และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะที่ คูนิโอะ น้องชายของยูกิโอะ เวลานี้เป็นสมาชิกสภาล่างสังกัดพรรคแอลดีพี และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการภายในและการสื่อสารในคณะรัฐบาล ทาโร อาโซะ ชุดปัจจุบัน จนกระทั่งลาออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2009
ยิ่งกว่านั้น โชจิโร อิชิบาชิ คุณตาของฮาโตยามะ คือผู้ก่อตั้งบริษัทบริดจ์สโตน คอร์ป ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อบริดจ์สโตน ก็เป็นนามที่มาจากชื่ออิชิบาชิ กล่าวคือ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น “อิชิ ishi” แปลว่า “สโตน stone”(หิน) และ “บาชิ bashi” (/ฮาชิ /hashi) แปลว่า “บริดจ์ bridge”(สะพาน)
มารดาของฮาโตยามะ ชื่อ ยาสุโกะ ซึ่งเวลานี้อายุ 86 ปีแล้ว ถูกเรียกขานว่าเป็น “เจ้าแม่” ในแวดวงการเมืองญี่ปุ่น เนื่องจากเธอทุ่มเทเงินทองจำนวนมากจากมรดกมหาศาลที่ได้รับจากคุณพ่อ โชจิโร อิชิบาชิ ของเธอ เพื่อช่วยให้บุตรชายทั้งสองของเธอเดินหน้ามุ่งสู่ความมุ่งมาตรปรารถนาทางการเมืองของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทั้งคู่ออกจากพรรคแอลดีพี แล้วต่อมาก็ก่อตั้งดีพีเจขึ้นในปี 1996 ซึ่งคุณแม่ยาสุโกะบริจาคเงินสนับสนุนเป็นจำนวนหลายพันล้านเยนทีเดียว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นคูนิโอะผู้น้องชายได้หวนกลับเข้าพรรคแอลดีพี เนื่องจากเขารู้สึกว่าดีพีเจซึ่งตอนก่อตั้งเป็นพวกสายกลางนั้นกำลังเอนเอียงไปทางซ้ายมากเกินไป ขณะที่ยูกิโอะยังคงปักหลักเป็นบุคคลสำคัญในพรรคดีพีเจ
“ตระกูลฮาโตยามะนั้นแต่ไรแต่ไรมาก็จะเลี้ยงดูอบรมบุตรหลานแบบค่อนข้างปล่อยตามใจ” โมริตะบอก “ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำไม ยูกิโอะ และ คูนิโอะ จึงมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง”
ตระกูลฮาโตยามะมีความเกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีในอดีตของญี่ปุ่นถึง 3 คน ได้แก่ อิชิโร ฮาโตยามะ, ฮายาโตะ อิเคดะ ผู้ประกาศ “แผนการเพิ่มรายได้ขึ้นเท่าตัว” ในทศวรรษ 1960, และ คิอิชิ มิยาซาวะ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจากปี 1991 ถึง 1993 ปัจจุบันยูกิโอะ ฮาโตยามะ มีทรัพย์สินส่วนตัวเป็นมูลค่าประมาณ 8,600 ล้านเยน (3,139 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามรายงานของนิตยสารวรรณกรรมรายเดือน บุงไก ชุนจู ซึ่งตีพิมพ์ไว้ในฉบับ 10 สิงหาคม และตามรายงานการแจ้งบัญชีทรัพย์สินที่สมาชิกรัฐสภาต้องเปิดเผยตามกฎหมายนั้น ในเดือนตุลาคม 2008 เขามีหุ้นบริดจ์สโตนอยู่ 3.5 ล้านหุ้น อันมีมูลค่าราวๆ 6,000 ล้านเยน (2,190 ล้านบาท)
**การสู้รบในรุ่นหลาน**
ความได้เปรียบทางการเมืองอย่างมหาศาลที่คนในรุ่นปัจจุบันได้รับจากชื่อเสียงเกียรติคุณของตระกูลฮาโตยามะ ก็ดูจะทัดเทียมพอฟัดพอเหวี่ยงกับคนในตระกูลอาโซะ โดยที่ตระกูลหลังนี้สามารถคุยได้ว่ามีความเกี่ยวพันกับอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 7 คน คนหนึ่งก็คือ ชิเกรุ โยชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นคุณตาของ ทาโร อาโซะ
ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองจำนวนมากชี้ว่า การปะทะกันระหว่างพรรคแอลดีพีของอาโซะ กับพรรคดีเจพีของฮาโตยามะ ในการเลือกตั้งสุดสัปดาห์นี้ ช่างเป็นการซ้ำรอยการต่อสู้ระหว่างคุณปู่และคุณตาของพวกเขาทั้งสอง นั่นคือ ระหว่าง ชิเกรุ โยชิดะ กับ อิชิโร ฮาโตยามะ ซึ่งต่างก็เป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมที่แข็งแกร่ง 2 กลุ่มในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงหมาดๆ ขณะที่รุ่นหลานชายนั้นเป็นการสู้รบกันจากคนละฝ่ายของระบบพรรคการเมือง กล่าวคือ อาโซะต่อสู้เพื่อพรรคแอลดีพีที่มีแนวทางอนุรักษนิยมและเป็นพรรคที่ครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นมามากกว่า 50 ปีแล้ว ส่วนฮาโตยามะรณรงค์เพื่อพรรคดีพีเจที่มีแนวทางปฏิรูป
ระยะที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงนั้น โยชิดะสามารถที่จะยึดกุมพื้นฐานทางการเมืองอันมั่นคงในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพขึ้นมา เนื่องจากในปี 1946 กองบัญชาการใหญ่ของกองทัพสัมพันธมิตร (General Headquarters of the Allied Forces หรือ GHQ) ที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ได้สยบ อิชิโร ฮาโตยามะ ผู้นำการเมืองที่ทรงอำนาจยิ่งในเวลานั้น อีกทั้งได้ก่อตั้งพรรคลิเบอรัล ปาร์ตี้ (Liberal Party) ขึ้นในเดือนสิงหาคม 1945 ทำให้เขาไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองได้ อย่างไรก็ดี อีก 5 ปีต่อมา ทางกองบัญชาการใหญ่กองทัพสัมพันธมิตรกลับยินดีต้อนรับฮาโตยามะอีกครั้ง และในปี 1954 เขาก็สามารถกลับมาควบคุมรัฐบาลด้วยการโค่นนายกรัฐมนตรีโยชิดะลงไป
โยชิดะนั้นได้รับความนิยมชมชื่นจากพวกข้าราชการที่ทรงอำนาจ ขณะที่อิชิโรมุ่งมั่นที่จะจัดวางนโยบายต่างๆ โดยอาศัยบทบาทการนำของพวกนักการเมือง ปรากฏว่าแบบแผนเช่นเดียวกันนี้กำลังบังเกิดขึ้นในปัจจุบันอีกคำรบหนึ่ง กล่าวคือ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ สัญญาที่จะกำจัดสถาบันที่เรียกว่า “อามาคุดาริ amakudari” (สืบสายจากสวรรค์) อันเป็นระบบที่ทำให้พวกเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบของรัฐบาล มีการโยกย้ายลาออกจากกระทรวงที่พวกตนสังกัดอยู่ แล้วไปทำงานกินตำแหน่งระดับท็อปในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ที่พวกเขาเคยกำกับตรวจสอบมาก่อน ทางด้านอาโซะนั้นดูจะไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะแตะต้องระบบนี้แต่อย่างใด
**การผงาดขึ้นทางการเมืองของฮาโตยามะ**
ยูกิโอะ ฮาโตยามะ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโตเกียวในปี 1969 และได้รับปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, สหรัฐฯ ในปี 1976 เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู้สภาล่างเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1986 ในฐานะสมาชิกพรรคแอลดีพี ภายหลังที่เขาเข้าเป็นรองศาสตราจารย์ในภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเซนชู อยู่ระยะหนึ่ง เขาออกจากแอลดีพีหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างปี 1993 ซึ่งพรรคประสบความพ่ายแพ้ได้เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 1955 ในสภาพเช่นนั้นทำให้สมาชิกหลากหลายจำนวนหนึ่งพากันแยกตัวออกจากแอลดีพี และก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ๆ ขึ้นมาหลายพรรค เป็นต้นว่า พรรคนิว ปาร์ตี้ ซากิงาเกะ (New Party Sakigake) ซึ่งฮาโตยามะเป็นสมาชิกก่อตั้งด้วยผู้หนึ่ง
เขาได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี โมริฮิโร โฮโซกาวะ (1993-1994) ซึ่งรัฐบาลผสมของเขาที่มีพรรคนิว ปาร์ตี้ ซากิงาเกะ รวมอยู่ด้วย สามารถโค่นล้มแอลดีพีตกจากอำนาจที่พรรคนี้ครองอยู่อย่างต่อเนื่องร่วมๆ 40 ปี ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งพรรคดีพีเจขึ้น ฮาโตยามะชนะได้เป็นหัวหน้าพรรคในเดือนกันยายน 1999 ทว่าลาออกในเดือนธันวาคม 2002 ท่ามกลางความสับสนเรื่องการควบรวมกับพรรคลิเบอรัล ปาร์ตี้ (Liberal Party) ที่นำโดย อิชิโร โอซาวะ
การควบรวมเกิดขึ้นจริงๆ ในปี 2003 โดยในช่วงแรกๆ ได้ทำให้ฮาโตยามะหมดบทบาทลงชั่วคราว แต่แล้วในเดือนกันยายน 2004 ภายหลัง 8 เดือนที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีเงาของกระทรวงกิจการภายใน เขาก็ได้เป็นรัฐมนตรีเงาของกระทรวงการต่างประเทศ อีกทั้งได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคดีพีเจด้วย ในการชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรคดีพีเจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ตอนแรกๆ ฮาโตยามะไม่ได้มีทีท่าจะกลายเป็นผู้ชนะ โดยที่คู่แข่งของเขา คือ รองประธานพรรค คัตสึยา โอคาดะ ที่อยู่ในวัย 55 ปี มีภาพลักษณ์ที่หนุ่มแน่นกว่า อีกทั้งไม่ได้แปดเปื้อนมลทินจากการพัวพันเกี่ยวข้องกับโอซาวะ ผู้ต้องยอมเปิดหมวกอำลาตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพราะเรื่องอื้อฉาวรับเงินบริจาคทางการเมืองแบบมีปัญหา
อย่างไรก็ดี ฮาโตยามะกลับกลายเป็นผู้ชนะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคนใหม่ของดีพีเจ เพียงไม่กี่เดือนก่อนจะถึงการเลือกตั้งสภาล่างอันสำคัญยิ่งคราวนี้
ในหนังสือว่าด้วยตระกูลฮาโตยามะ ที่ใช้ชื่อว่า “The ambition of splendid Hatoyama family” และตีพิมพ์ในปี 2000 ผู้เขียน เออิจิ โอชิตะ ได้พูดถึงฮาโตยามะว่า สามารถที่จะมีทั้ง ความหัวแข็งดึงดัน, การตัดสินใจที่เด็ดขาด, และความห้าวหาญ
ขณะที่ เทตสึโร ฟุคุยามะ สมาชิกสภาสูงคนหนึ่งในสังกัดพรรคดีพีเจ และปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าด้านนโยบายของพรรค บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า “เขา (ฮาโตยามะ) ผ่านประสบการณ์อันสาหัสสากรรจ์ด้วยการดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ของพรรค เป็นต้นว่า เลขาธิการ มาแล้ว” ดังนั้น “เขาจึงกลายเป็นคนที่ทรหดมากๆ”
เป็นที่ทราบกันดีว่าฮาโตยามะมีชีวิตแต่งงานซึ่งมีความสุข ภรรยาของเขาคือ มิยูกิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี เขาพบกับเธอระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มันเป็นความรักแบบขโมยเอาจากคนอื่น เขาเคยบอกกับนิตยสารสตรีฉบับหนึ่งว่า “ในกรณีของผม ผมบังเอิญตกหลุมรักภรรยาของคนอื่น และลงท้ายได้แต่งงานกับเธอ” มิยูกิเป็นอดีตนักแสดงระดับดาราของคณะระบำหญิงล้วนในญี่ปุ่นซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์นิตยสารสตรีคราวนั้นว่า จากสภาพการณ์ที่เขาได้พบและแต่งงานกับมิยูกิ ทำให้เขาเลิกราวิถีชีวิตแบบเก่าและตัดสินใจที่จะเป็นนักการเมือง ฮาโตยามะมีบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อ คิอิชิโร เวลานี้อายุ 33 ปี และทำงานเป็นนักวิจัยรับเชิญอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโก (Moscow State University)
**คนของประชาชน**
ถึงแม้เขาจะเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยและจัดอยู่ในหมู่ชนอภิสิทธิ์ของสังคม แต่ฮาโตยามะก็กำลังพยายามวางจุดยืนทางการเมืองของตนเองให้เป็นคนของประชาชน ตัวอย่างเช่น เขามักพูดอยู่เสมอว่า วัฒนธรรมแห่งการเป็นนักการเมืองแบบสืบสายเลือดในญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่สร้างความอ่อนแอในทางการเมือง และประเด็นนี้ยังปรากฏอยู่ในเอกสารหาเสียงเลือกตั้งของพรรคของเขาด้วย กระนั้นก็ตามที เมื่อฮาโตยามะพูดภาษาญี่ปุ่น เขามักหยิบยกใช้ถ้อยคำที่เลิศหรูอลังการ์ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันของพวกตน จึงกลายเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นผู้ดีมีตระกูลของเขา
ฮาโตยามะบอกว่า เขามีความมุ่งหมายที่จะปฏิบัติตามปรัชญาทางการเมืองของ เคาต์ คูเดนโฮฟ-คาเลอร์กี (Count Coudenhove-Kalergi) ซึ่งเป็นผู้เรียกร้องสนับสนุนให้ยุโรปรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบทความที่ตีพิมพ์โดยนิตยสารรายเดือน “วอยซ์” ฉบับเดือนกันยายนแต่เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม ฮาโตยามะกล่าวว่า ปรัชญาแห่ง “ยูอาอิ yuai” หรือ “ภราดรภาพ” ซึ่งคุณปู่อิชิโรของเขา เป็นผู้แปลจากงานเขียนของคูเดนโฮฟ-คาเลอร์กี คือหลักนโยบายทางการเมืองของเขา ปรัชญานี้มุ่งที่จะทำให้ระบบราชการของญี่ปุ่นอ่อนแอลง อีกทั้งปฏิเสธทุนนิยมโลกที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งเป็นตัวการสร้างวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา
ด้วยการใช้คำขวัญว่าด้วย “ภราดรภาพ” ฮาโตยามะบอกว่าเขาหวังที่จะทำให้เกิดการละทิ้งลัทธิชาตินิยมคับแคบ และลัทธิชาตินิยมแบบก้าวร้าวรุกราน แล้วหันมาพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออกให้คืบหน้าต่อไปอีก จนกระทั่งมันเสมือนกับเป็นประชาคมยุโรปในเวอร์ชั่นของเอเชีย เขายังเรียกร้องสนับสนุนให้มีสกุลเงินตราร่วมของเอเชียขึ้นมา โดยบอกว่ามันเป็นส่วนขยายที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแถบนี้
โคซุเกะ ทาคาฮาชิ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงโตเกียว
Japan on the brink of a new era
By Kosuke Takahashi
28/08/2009
การเลือกตั้งของญี่ปุ่นสุดสัปดาห์นี้เป็นการปะทะกันระหว่าง นายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ กับ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ อันเป็นการสู้รบกันของพวกเลือดสีน้ำเงิน ซ้ำรอยการต่อสู้ระหว่างคุณปู่ของพวกเขาทั้งสอง หากฮาโตยามะได้รับชัยชนะอย่างงดงามตามที่คาดหมายกันเอาไว้ ก็จะเป็นการสิ้นสุดการครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นมายาวนานหลายสิบปีของพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ ของอาโซะ ขณะเดียวกัน ฮาโตยามะก็จำเป็นจะต้องอาศัยคุณสมบัติที่มีผู้บอกว่าเขามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น “ความหัวแข็งดึงดัน, การตัดสินใจที่เด็ดขาด, และความห้าวหาญ” และอื่นๆ เพื่อทำให้ได้ตามคำมั่นสัญญาของเขา ที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านเวทย์มนตร์แห่งภราดรภาพ
โตเกียว – ประวัติศาสตร์บางครั้งก็สร้างเรื่องตลกร้ายได้อย่างน่ามหัศจรรย์ โดยที่ในญี่ปุ่นนั้น หลานชายที่กำลังก้าวผงาดโดดเด่นขึ้นมา ทำท่าว่าใกล้จะทุบทำลายมรดกที่คุณปู่ของเขาเองเป็นผู้สร้างขึ้นมา
ผลการหยั่งเสียงสำนักต่างๆ บ่งชี้ว่า พรรคเดโมเครติก ปาร์ตี้ ออฟ แจแปน (Democratic Party of Japan หรือ DPJ) ของยูกิโอะ ฮาโตยามะ จะได้รับชัยชนะอย่างมโหฬารในการเลือกตั้งสภาล่างวันอาทิตย์(30)นี้ ซึ่งจะทำให้เขาได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป แทนที่ ทาโร อาโซะ นี่จะเป็นหลักหมายแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางอำนาจในระดับพื้นฐานในประเทศนี้ทีเดียว โดยจะเป็นการยุติฐานะครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นแทบจะเพียงพรรคเดียวของพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ (Liberal Democratic Party หรือ LDP) ตั้งแต่ที่ อิชิโร คุณปู่ของฮาโตยามะ ก่อตั้งพรรคนี้ขึ้นเมื่อปี 1955
ตัวเลข 320 คือกุญแจสำคัญของการเลือกตั้งคราวนี้ ถ้าหากพรรคดีพีเจประสบความสำเร็จในการกวาดที่นั่งถึงสองในสาม หรือ 320 ที่นั่งจากทั้งหมดในสภาล่างที่มี 480 ที่นั่ง ก็จะทำให้ดีพีเจสามารถผลักดันออกกฎหมายฉบับใดๆ ก็ได้ แม้กระทั่งที่ถูกคัดค้านในสภาสูง ซึ่งดีพีเจโดยลำพังพรรคเดียวยังไม่ได้ครองเสียงถึงกึ่งหนึ่ง ในวันอาทิตย์นี้(30) ผู้สมัครทั้งสิ้น 1,374 คนจะช่วงชิงที่นั่งในสภาล่างซึ่งมี 480 ที่นั่ง โดย 300 ที่นั่งจะเป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตๆ ละ 1 ที่นั่ง และที่เหลืออีก 180 ที่นั่งจะเป็นการจัดสรรตามระบบสัดส่วนจากคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ
ในช่วงโค้งสุดท้ายของการรณรงค์หาเสียง หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุงฉบับวันพฤหัสบดี(27) คาดหมายว่า พรรคดีพีเจน่าจะได้มากกว่า 320 ที่นั่ง เพิ่มขึ้นลิบลิ่วจาก 115 ที่นั่งซึ่งพรรคได้อยู่ก่อนที่สภาล่างจะถูกยุบในวันที่ 21 กรกฎาคม ขณะเดียวกัน พรรคแอลดีพี แกนนำของคณะรัฐบาลผสมชุดปัจจุบัน ก็น่าจะปราชัยอย่างยับเยิน โดยที่จะได้ที่นั่งเพียงราว 100 ที่นั่ง จากที่มีอยู่ถึง 300 ที่นั่งก่อนการเลือกตั้งคราวนี้ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ระบุโดยอ้างอิงผลโพลล่าสุดของตน
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลเผยแพร่ออกมาในวันศุกร์(28) ก็ดูจะทำให้ทิศทางอนาคตอันมืดมัวอยู่แล้วของแอลดีพียิ่งเลวร้ายหนักขึ้นไปอีก นั่นก็คือ อัตราการว่างงานในญี่ปุ่นในรอบเดือนกรกฎาคมพุ่งขึ้นสู่งระดับ 5.7% สูงที่สุดเท่าที่เคยปรากฏขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะเดียวกัน ภาวะเงินฝืดก็ยังคงเลวร้ายลง และครัวเรือนต่างๆ พากันตัดลดการใช้จ่าย
“ดีพีเจมีโอกาสสูงมากที่จะได้ที่นั่งเกิน 320 ที่นั่ง” มิโนรุ โมริตะ นักวิเคราะห์การเมืองชื่อดังในโตเกียวบอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ “แต่ผมไม่คิดว่าดีพีเจจะเร่งรีบลุยดะผลักดันให้สภาล่างออกกฎหมายฉบับต่างๆ โดยอาศัยเสียงข้างมากสองในสามของพวกเขา (ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้ว สามารถทำให้เสียงคัดค้านใดๆ ในสภาสูงกลายเป็นโมฆะได้)”
**นักการเมืองเลือดสีน้ำเงิน**–
ฮาโตยามะผู้อยู่ในวัย 62 ปีและตัวสูง 177 เซนติเมตร มีภาพลักษณ์ที่ทำให้สาธารณชนชาวญี่ปุ่นรู้สึกถึงความเป็นคนชั้นสูงอยู่ในตระกูลผู้ดี และเขาก็เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของตระกูลที่มั่งคั่งร่ำรวยที่สุดและทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดตระกูลหนึ่งของประเทศจริงๆ โดยที่สื่อท้องถิ่นถึงขั้นให้สมญาว่า เป็น “ตระกูลเคนเนดีของญี่ปุ่น”
ฮาโตยามะเป็นคนรุ่นที่ 4 ของตระกูลที่เข้าสู่วงการเมือง คุณปู่ทวดของเขาที่ชื่อ คาซุโอะ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งไดเอต(รัฐสภา)ของญี่ปุ่น ระหว่างปี 1896 – 1897 ในยุคเมจิ ต่อมาเขายังดำรงตำแหน่งเป็นรองรัฐมนตรีต่างประเทศ และอธิการบดีของมหาวิทยาลัยวาเซดะ หนึ่งในมหาวิทยาลัยระดับท็อปของญี่ปุ่น
คุณปู่ของยูกิโอะ ชื่อ อิชิโร เคยเป็นนายกรัฐมนตรี 3 ครั้งในระหว่างปี 1954 ถึง 1956 และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งตลอดจนเป็นหัวหน้าคนแรกของพรรคแอลดีพี ในปี 1951 เขาเป็นผู้ผลักดันให้ฟื้นฟูสายสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต และทำให้ญี่ปุ่นได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 1956 อันเป็นความมุ่งมาตรปรารถนาสำคัญที่สุดของเขาก่อนเกษียณอำลาวงการเมือง
บิดาของเขา ซึ่งชื่อ อิชิโร เหมือนคุณปู่ เป็นอดีตรองรัฐมนตรีคลัง และอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ขณะที่ คูนิโอะ น้องชายของยูกิโอะ เวลานี้เป็นสมาชิกสภาล่างสังกัดพรรคแอลดีพี และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการภายในและการสื่อสารในคณะรัฐบาล ทาโร อาโซะ ชุดปัจจุบัน จนกระทั่งลาออกมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2009
ยิ่งกว่านั้น โชจิโร อิชิบาชิ คุณตาของฮาโตยามะ คือผู้ก่อตั้งบริษัทบริดจ์สโตน คอร์ป ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อบริดจ์สโตน ก็เป็นนามที่มาจากชื่ออิชิบาชิ กล่าวคือ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น “อิชิ ishi” แปลว่า “สโตน stone”(หิน) และ “บาชิ bashi” (/ฮาชิ /hashi) แปลว่า “บริดจ์ bridge”(สะพาน)
มารดาของฮาโตยามะ ชื่อ ยาสุโกะ ซึ่งเวลานี้อายุ 86 ปีแล้ว ถูกเรียกขานว่าเป็น “เจ้าแม่” ในแวดวงการเมืองญี่ปุ่น เนื่องจากเธอทุ่มเทเงินทองจำนวนมากจากมรดกมหาศาลที่ได้รับจากคุณพ่อ โชจิโร อิชิบาชิ ของเธอ เพื่อช่วยให้บุตรชายทั้งสองของเธอเดินหน้ามุ่งสู่ความมุ่งมาตรปรารถนาทางการเมืองของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อทั้งคู่ออกจากพรรคแอลดีพี แล้วต่อมาก็ก่อตั้งดีพีเจขึ้นในปี 1996 ซึ่งคุณแม่ยาสุโกะบริจาคเงินสนับสนุนเป็นจำนวนหลายพันล้านเยนทีเดียว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นคูนิโอะผู้น้องชายได้หวนกลับเข้าพรรคแอลดีพี เนื่องจากเขารู้สึกว่าดีพีเจซึ่งตอนก่อตั้งเป็นพวกสายกลางนั้นกำลังเอนเอียงไปทางซ้ายมากเกินไป ขณะที่ยูกิโอะยังคงปักหลักเป็นบุคคลสำคัญในพรรคดีพีเจ
“ตระกูลฮาโตยามะนั้นแต่ไรแต่ไรมาก็จะเลี้ยงดูอบรมบุตรหลานแบบค่อนข้างปล่อยตามใจ” โมริตะบอก “ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นเหตุผลที่ทำไม ยูกิโอะ และ คูนิโอะ จึงมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง”
ตระกูลฮาโตยามะมีความเกี่ยวข้องกับนายกรัฐมนตรีในอดีตของญี่ปุ่นถึง 3 คน ได้แก่ อิชิโร ฮาโตยามะ, ฮายาโตะ อิเคดะ ผู้ประกาศ “แผนการเพิ่มรายได้ขึ้นเท่าตัว” ในทศวรรษ 1960, และ คิอิชิ มิยาซาวะ ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจากปี 1991 ถึง 1993 ปัจจุบันยูกิโอะ ฮาโตยามะ มีทรัพย์สินส่วนตัวเป็นมูลค่าประมาณ 8,600 ล้านเยน (3,139 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามรายงานของนิตยสารวรรณกรรมรายเดือน บุงไก ชุนจู ซึ่งตีพิมพ์ไว้ในฉบับ 10 สิงหาคม และตามรายงานการแจ้งบัญชีทรัพย์สินที่สมาชิกรัฐสภาต้องเปิดเผยตามกฎหมายนั้น ในเดือนตุลาคม 2008 เขามีหุ้นบริดจ์สโตนอยู่ 3.5 ล้านหุ้น อันมีมูลค่าราวๆ 6,000 ล้านเยน (2,190 ล้านบาท)
**การสู้รบในรุ่นหลาน**
ความได้เปรียบทางการเมืองอย่างมหาศาลที่คนในรุ่นปัจจุบันได้รับจากชื่อเสียงเกียรติคุณของตระกูลฮาโตยามะ ก็ดูจะทัดเทียมพอฟัดพอเหวี่ยงกับคนในตระกูลอาโซะ โดยที่ตระกูลหลังนี้สามารถคุยได้ว่ามีความเกี่ยวพันกับอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 7 คน คนหนึ่งก็คือ ชิเกรุ โยชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นคุณตาของ ทาโร อาโซะ
ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองจำนวนมากชี้ว่า การปะทะกันระหว่างพรรคแอลดีพีของอาโซะ กับพรรคดีเจพีของฮาโตยามะ ในการเลือกตั้งสุดสัปดาห์นี้ ช่างเป็นการซ้ำรอยการต่อสู้ระหว่างคุณปู่และคุณตาของพวกเขาทั้งสอง นั่นคือ ระหว่าง ชิเกรุ โยชิดะ กับ อิชิโร ฮาโตยามะ ซึ่งต่างก็เป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมที่แข็งแกร่ง 2 กลุ่มในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงหมาดๆ ขณะที่รุ่นหลานชายนั้นเป็นการสู้รบกันจากคนละฝ่ายของระบบพรรคการเมือง กล่าวคือ อาโซะต่อสู้เพื่อพรรคแอลดีพีที่มีแนวทางอนุรักษนิยมและเป็นพรรคที่ครอบงำวงการเมืองญี่ปุ่นมามากกว่า 50 ปีแล้ว ส่วนฮาโตยามะรณรงค์เพื่อพรรคดีพีเจที่มีแนวทางปฏิรูป
ระยะที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงนั้น โยชิดะสามารถที่จะยึดกุมพื้นฐานทางการเมืองอันมั่นคงในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพขึ้นมา เนื่องจากในปี 1946 กองบัญชาการใหญ่ของกองทัพสัมพันธมิตร (General Headquarters of the Allied Forces หรือ GHQ) ที่มีสหรัฐฯเป็นผู้นำ ได้สยบ อิชิโร ฮาโตยามะ ผู้นำการเมืองที่ทรงอำนาจยิ่งในเวลานั้น อีกทั้งได้ก่อตั้งพรรคลิเบอรัล ปาร์ตี้ (Liberal Party) ขึ้นในเดือนสิงหาคม 1945 ทำให้เขาไม่สามารถมีบทบาททางการเมืองได้ อย่างไรก็ดี อีก 5 ปีต่อมา ทางกองบัญชาการใหญ่กองทัพสัมพันธมิตรกลับยินดีต้อนรับฮาโตยามะอีกครั้ง และในปี 1954 เขาก็สามารถกลับมาควบคุมรัฐบาลด้วยการโค่นนายกรัฐมนตรีโยชิดะลงไป
โยชิดะนั้นได้รับความนิยมชมชื่นจากพวกข้าราชการที่ทรงอำนาจ ขณะที่อิชิโรมุ่งมั่นที่จะจัดวางนโยบายต่างๆ โดยอาศัยบทบาทการนำของพวกนักการเมือง ปรากฏว่าแบบแผนเช่นเดียวกันนี้กำลังบังเกิดขึ้นในปัจจุบันอีกคำรบหนึ่ง กล่าวคือ ยูกิโอะ ฮาโตยามะ สัญญาที่จะกำจัดสถาบันที่เรียกว่า “อามาคุดาริ amakudari” (สืบสายจากสวรรค์) อันเป็นระบบที่ทำให้พวกเจ้าหน้าที่กำกับตรวจสอบของรัฐบาล มีการโยกย้ายลาออกจากกระทรวงที่พวกตนสังกัดอยู่ แล้วไปทำงานกินตำแหน่งระดับท็อปในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ที่พวกเขาเคยกำกับตรวจสอบมาก่อน ทางด้านอาโซะนั้นดูจะไม่ได้มีเจตนารมณ์ที่จะแตะต้องระบบนี้แต่อย่างใด
**การผงาดขึ้นทางการเมืองของฮาโตยามะ**
ยูกิโอะ ฮาโตยามะ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยโตเกียวในปี 1969 และได้รับปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, สหรัฐฯ ในปี 1976 เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู้สภาล่างเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1986 ในฐานะสมาชิกพรรคแอลดีพี ภายหลังที่เขาเข้าเป็นรองศาสตราจารย์ในภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเซนชู อยู่ระยะหนึ่ง เขาออกจากแอลดีพีหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างปี 1993 ซึ่งพรรคประสบความพ่ายแพ้ได้เสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 1955 ในสภาพเช่นนั้นทำให้สมาชิกหลากหลายจำนวนหนึ่งพากันแยกตัวออกจากแอลดีพี และก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ๆ ขึ้นมาหลายพรรค เป็นต้นว่า พรรคนิว ปาร์ตี้ ซากิงาเกะ (New Party Sakigake) ซึ่งฮาโตยามะเป็นสมาชิกก่อตั้งด้วยผู้หนึ่ง
เขาได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี โมริฮิโร โฮโซกาวะ (1993-1994) ซึ่งรัฐบาลผสมของเขาที่มีพรรคนิว ปาร์ตี้ ซากิงาเกะ รวมอยู่ด้วย สามารถโค่นล้มแอลดีพีตกจากอำนาจที่พรรคนี้ครองอยู่อย่างต่อเนื่องร่วมๆ 40 ปี ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้งพรรคดีพีเจขึ้น ฮาโตยามะชนะได้เป็นหัวหน้าพรรคในเดือนกันยายน 1999 ทว่าลาออกในเดือนธันวาคม 2002 ท่ามกลางความสับสนเรื่องการควบรวมกับพรรคลิเบอรัล ปาร์ตี้ (Liberal Party) ที่นำโดย อิชิโร โอซาวะ
การควบรวมเกิดขึ้นจริงๆ ในปี 2003 โดยในช่วงแรกๆ ได้ทำให้ฮาโตยามะหมดบทบาทลงชั่วคราว แต่แล้วในเดือนกันยายน 2004 ภายหลัง 8 เดือนที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีเงาของกระทรวงกิจการภายใน เขาก็ได้เป็นรัฐมนตรีเงาของกระทรวงการต่างประเทศ อีกทั้งได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคดีพีเจด้วย ในการชิงชัยตำแหน่งหัวหน้าพรรคดีพีเจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ตอนแรกๆ ฮาโตยามะไม่ได้มีทีท่าจะกลายเป็นผู้ชนะ โดยที่คู่แข่งของเขา คือ รองประธานพรรค คัตสึยา โอคาดะ ที่อยู่ในวัย 55 ปี มีภาพลักษณ์ที่หนุ่มแน่นกว่า อีกทั้งไม่ได้แปดเปื้อนมลทินจากการพัวพันเกี่ยวข้องกับโอซาวะ ผู้ต้องยอมเปิดหมวกอำลาตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพราะเรื่องอื้อฉาวรับเงินบริจาคทางการเมืองแบบมีปัญหา
อย่างไรก็ดี ฮาโตยามะกลับกลายเป็นผู้ชนะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าคนใหม่ของดีพีเจ เพียงไม่กี่เดือนก่อนจะถึงการเลือกตั้งสภาล่างอันสำคัญยิ่งคราวนี้
ในหนังสือว่าด้วยตระกูลฮาโตยามะ ที่ใช้ชื่อว่า “The ambition of splendid Hatoyama family” และตีพิมพ์ในปี 2000 ผู้เขียน เออิจิ โอชิตะ ได้พูดถึงฮาโตยามะว่า สามารถที่จะมีทั้ง ความหัวแข็งดึงดัน, การตัดสินใจที่เด็ดขาด, และความห้าวหาญ
ขณะที่ เทตสึโร ฟุคุยามะ สมาชิกสภาสูงคนหนึ่งในสังกัดพรรคดีพีเจ และปัจจุบันเป็นรองหัวหน้าด้านนโยบายของพรรค บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ว่า “เขา (ฮาโตยามะ) ผ่านประสบการณ์อันสาหัสสากรรจ์ด้วยการดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ของพรรค เป็นต้นว่า เลขาธิการ มาแล้ว” ดังนั้น “เขาจึงกลายเป็นคนที่ทรหดมากๆ”
เป็นที่ทราบกันดีว่าฮาโตยามะมีชีวิตแต่งงานซึ่งมีความสุข ภรรยาของเขาคือ มิยูกิ ซึ่งปัจจุบันอายุ 65 ปี เขาพบกับเธอระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มันเป็นความรักแบบขโมยเอาจากคนอื่น เขาเคยบอกกับนิตยสารสตรีฉบับหนึ่งว่า “ในกรณีของผม ผมบังเอิญตกหลุมรักภรรยาของคนอื่น และลงท้ายได้แต่งงานกับเธอ” มิยูกิเป็นอดีตนักแสดงระดับดาราของคณะระบำหญิงล้วนในญี่ปุ่นซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก เขากล่าวในการให้สัมภาษณ์นิตยสารสตรีคราวนั้นว่า จากสภาพการณ์ที่เขาได้พบและแต่งงานกับมิยูกิ ทำให้เขาเลิกราวิถีชีวิตแบบเก่าและตัดสินใจที่จะเป็นนักการเมือง ฮาโตยามะมีบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อ คิอิชิโร เวลานี้อายุ 33 ปี และทำงานเป็นนักวิจัยรับเชิญอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมอสโก (Moscow State University)
**คนของประชาชน**
ถึงแม้เขาจะเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยและจัดอยู่ในหมู่ชนอภิสิทธิ์ของสังคม แต่ฮาโตยามะก็กำลังพยายามวางจุดยืนทางการเมืองของตนเองให้เป็นคนของประชาชน ตัวอย่างเช่น เขามักพูดอยู่เสมอว่า วัฒนธรรมแห่งการเป็นนักการเมืองแบบสืบสายเลือดในญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่สร้างความอ่อนแอในทางการเมือง และประเด็นนี้ยังปรากฏอยู่ในเอกสารหาเสียงเลือกตั้งของพรรคของเขาด้วย กระนั้นก็ตามที เมื่อฮาโตยามะพูดภาษาญี่ปุ่น เขามักหยิบยกใช้ถ้อยคำที่เลิศหรูอลังการ์ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตประจำวันของพวกตน จึงกลายเป็นการตอกย้ำถึงความเป็นผู้ดีมีตระกูลของเขา
ฮาโตยามะบอกว่า เขามีความมุ่งหมายที่จะปฏิบัติตามปรัชญาทางการเมืองของ เคาต์ คูเดนโฮฟ-คาเลอร์กี (Count Coudenhove-Kalergi) ซึ่งเป็นผู้เรียกร้องสนับสนุนให้ยุโรปรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบทความที่ตีพิมพ์โดยนิตยสารรายเดือน “วอยซ์” ฉบับเดือนกันยายนแต่เผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม ฮาโตยามะกล่าวว่า ปรัชญาแห่ง “ยูอาอิ yuai” หรือ “ภราดรภาพ” ซึ่งคุณปู่อิชิโรของเขา เป็นผู้แปลจากงานเขียนของคูเดนโฮฟ-คาเลอร์กี คือหลักนโยบายทางการเมืองของเขา ปรัชญานี้มุ่งที่จะทำให้ระบบราชการของญี่ปุ่นอ่อนแอลง อีกทั้งปฏิเสธทุนนิยมโลกที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งเป็นตัวการสร้างวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา
ด้วยการใช้คำขวัญว่าด้วย “ภราดรภาพ” ฮาโตยามะบอกว่าเขาหวังที่จะทำให้เกิดการละทิ้งลัทธิชาตินิยมคับแคบ และลัทธิชาตินิยมแบบก้าวร้าวรุกราน แล้วหันมาพัฒนาประชาคมเอเชียตะวันออกให้คืบหน้าต่อไปอีก จนกระทั่งมันเสมือนกับเป็นประชาคมยุโรปในเวอร์ชั่นของเอเชีย เขายังเรียกร้องสนับสนุนให้มีสกุลเงินตราร่วมของเอเชียขึ้นมา โดยบอกว่ามันเป็นส่วนขยายที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคแถบนี้
โคซุเกะ ทาคาฮาชิ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกรุงโตเกียว