(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
US tweaks its rules of engagement
By Danielle Kutzleben
14/08/2009
ขณะที่ทหารอเมริกันเสียชีวิตจากการทำสงครามในอัฟกานิสถาน พุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่ในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯก็กำลังปรับขยายยุทธศาสตร์ของตนในประเทศนั้นกันอีกครั้ง ในคราวนี้พวกผู้เชี่ยวชาญพลเรือนทั้งทางด้านธรรมาภิบาล, สื่อมวลชน, การเงินของพวกผู้ก่อการร้าย, และการเกษตร จะได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินงานเพื่อหนุนเสริมเพิ่มเติมการสู้รบทางทหารที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
วอชิงตัน – สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยในอัฟกานิสถานเลวร้ายลงเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศนั้นกำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ท่ามกลางสภาพการณ์เช่นนี้ คณะรัฐบาลบารัค โอบามา ก็กำลังนำเอาวิธีการใหม่ๆ ที่มีเนื้อหากว้างขวางยิ่งกว่าเดิมมากออกมาใช้ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเอาชนะการต่อสู้กับพวกกลุ่มก่อความไม่สงบต่างๆ ทั้งในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
เอกอัครราชทูต ริชาร์ด โฮลบรูก ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน ไปพูดที่ศูนย์กลางเพื่อความก้าวหน้าของอเมริกัน (Center for American Progress) เมื่อวันพุธ(12) ในเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบฝ่ายพลเรือน ในวิธีการใหม่ๆ ที่สหรัฐฯกำลังนำเอาไปใช้ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
นอกเหนือจากโฮลบรูกแล้ว ยังมีคณะบุคคลอีก 10 คนจากทีมงานของเขา ซึ่งเป็นตัวแทนของ 9 หน่วยงาน ที่กำลังทำงานร่วมกันอยู่ในการดำเนินภารกิจฝ่ายพลเรือนสหรัฐฯ-อัฟกานิสถาน-ปากีสถานดังกล่าวนี้
สมาชิกเหล่านี้ในทีมงานของโฮลบรูก คือตัวแทนของความหลากหลายมากด้านมากมิติในยุทธศาสตร์ภารกิจฝ่ายพลเรือนของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน-ปากีสถานโดยแท้ กล่าวคือ มีทั้งทางด้าน การเกษตร, ธรรมาภิบาล, สื่อมวลชนและการสื่อสาร, และการสืบสวนเจาะเข้าไปในเรื่องการเงินของผู้ก่อการร้าย
โฮลบรูกพูดย้ำว่า การดำเนินภารกิจฝ่ายพลเรือนนั้นย่อมเป็นงานที่มีลักษณะค่อยทำค่อยไป และเมื่อพูดกันถึงเรื่องโครงการด้านภาคประชาชนแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเหมาะสมที่จะใช้คำว่าพ่ายแพ้หรือชัยชนะ “สิ่งที่จะได้ตอบแทนคืนมา ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แน่นอนที่เราจะต้องทำให้เกิดผลลัพธ์ เราเข้าใจในเรื่องเช่นนี้ แต่เราไม่ได้มาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกกับพวกคุณว่าเรากำลังชนะหรือเรากำลังพ่ายแพ้ เราไม่ได้มาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกว่าเรามองโลกในแง่ดีหรือมองโลกในแง่ร้าย”
“เรามาอยู่ที่นี่เพื่อบอกพวกคุณว่า เรากำลังอยู่ในการสู้รบคราวนี้ด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป โดยที่มีความมุ่งมั่นที่จะไปสู่ความสำเร็จ” เขากล่าวต่อ
ถึงแม้สมาชิกหลายคนในทีมงานของโฮลบรูกพูดเน้นย้ำว่า ชะตากรรมของอัฟกานิสถานและปากีสถานนั้นถูกถักทอเรียงร้อยเอาไว้ด้วยกันอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ แต่การพูดคุยส่วนใหญ่ในวันนั้นก็ยังคงมุ่งเน้นไปที่ความพยายามทั้งทางทหารและฝ่ายพลเรือนในอัฟกานิสถานเสียมากกว่า
โฮลบรูกอธิบายเรื่องที่ดูเหมือนจะต้องให้อัฟกานิสถานมีลำดับความสำคัญสูงกว่า โดยบอกว่าพวกตอลิบานและอัลกออิดะห์นั้น “โดยพื้นฐานแล้วกำลังสู้รบในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นพันธมิตรกัน” เขายังชี้ต่อไปว่า “ถ้าคุณละเลยการต่อสู้ในอัฟกานิสถาน คุณก็จะประสบความเสียหายในการต่อสู้กับพวกอัลกออิดะห์ไปด้วย”
การปรับขยายยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในคราวนี้ บังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กองทหารอเมริกันในอัฟกานิสถานกำลังประสบความยากลำบากเป็นพิเศษทีเดียว ในเดือนกรกฎาคมมีทหารสหรัฐฯบาดเจ็บล้มตาย 40 คน นับเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในอัฟกานิสถาน และในเดือนสิงหาคมจนถึงเวลานี้ ก็มีทหารสหรัฐฯถูกสังหารไปแล้ว 18 คน
ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันที่ 10 สิงหาคม พล.อ.สแตนลีย์ แมคไครสตัล (Stanley McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ยอมรับว่าสถานการณ์ที่นั่นกำลังเลวร้ายลง โดยเขาบอกว่าพวกตอลิบานกำลังคุกคามพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความมั่นคงปลอดภัย และ “จำนวนทหารสหรัฐฯบาดเจ็บล้มตายก็น่าที่จะอยู่ในระดับที่สูงต่อไปอีกในหลายๆ เดือนข้างหน้านี้”
คาดหมายกันว่าแมคไครสตัลจะส่งรายงานเรื่องสถานการณ์ในอัฟกานิสถานถึงโอบามาในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งถึงตอนนั้นก็จะต้องมีการตัดสินใจกันว่าจะส่งทหารเพิ่มเติมเข้าไปอีกหรือไม่
ความรุนแรงในอัฟกานิสถานที่เพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นในระยะหลังๆ มานี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นฝีมือของพวกตอลิบาน ในช่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งในประเทศนั้นที่กำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคมนี้
พวกตอลิบานประกาศที่จะล้มการเลือกตั้ง โดยเรียกร้องชาวอัฟกานิสถานว่าอย่าได้ไปใช้สิทธิออกเสียง และเรียกการเลือกตั้งนี้ว่าเป็น “กระบวนการแห่งการล่อลวงของสหรัฐฯ”
ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ เรียกการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นนี้ว่า เป็น “เหตุการณ์สำคัญที่สุดในปีนี้ในอัฟกานิสถาน” และทั้งสหรัฐฯตลอดจนประชาคมระหว่างประเทศต่างกำลังทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า การเลือกตั้งเหล่านี้จะดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แจน แมร์ริออตต์ (Jane Marriott) ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้แทนพิเศษสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน กล่าวยอมรับในวันพุธ(12)ว่า การเลือกตั้ง “จัดขึ้นมาในสภาพเงื่อนไขด้านความมั่นคงที่ลำบากมากๆ ทีเดียว และมันจะไม่มีความสมบูรณ์หรอก”
กระนั้นก็ตามที เธอบอกว่าสหรัฐฯก็กำลังทำงานเพื่อช่วยเหลือให้การเลือกตั้งและกระบวนการรณรงค์หาเสียงเดินหน้าไปได้ ตัวอย่างหนึ่งที่แมร์ริออตต์หยิบยกขึ้นมาก็คือ สหรัฐฯกำลังจัดหาสมรรถนะด้านสื่อมวลชนและการขนส่งให้แก่พวกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นการช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถ “รณรงค์หาเสียงได้อย่างเหมาะสม”
ตามปากคำของ รินา อามิริ (Rina Amiri) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านอัฟกานิสถาน ประจำสำนักงานผู้แทนพิเศษสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน ทั้งพวกผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิออกเสียงในอัฟกานิสถาน ต่างมีความคาดหวังอย่างเต็มที่ทีเดียวเกี่ยวกับการเลือกตั้งคราวนี้
“ครั้งนี้เป็นครั้งที่มีผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งกันมากที่สุด” อามิริกล่าว โดยชี้ว่ามีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 41 คน ในจำนวนนี้เป็นสตรี 2 คน แล้วยังมีผู้สมัครอีกราว 3,300 คนแข่งขันกันชิงเก้าอี้ 420 ที่นั่งในการเลือกตั้งสภาจังหวัดต่างๆ
เธอกล่าวต่อไปว่า มีชาวอัฟกานิสถาน 17 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศ ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิออกเสียง ตัวเลขนี้นับว่าสูงขึ้นมากจากจำนวนราวๆ 12 ล้านคนที่มาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้งเมื่อปี 2004
ประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นตัวเก็งในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ถึงแม้จากผลโพลในช่วงหลังๆ นี้ส่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่น่าจะได้เสียงโหวตถึง 50% ซึ่งจำเป็นต้องได้หากจะชนะขาดลอยตั้งแต่การเลือกตั้งรอบแรก ถ้าไม่มีผู้สมัครคนใดได้ 50% การเลือกตั้งรอบสองก็จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม
คณะรัฐบาลโอบามาและรัฐบาลคาร์ไซมีความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกันอยู่เป็นระยะๆ คาร์ไซนั้นวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯที่ใช้วิธีว่าจ้างพวกผู้รับเหมาภาคเอกชนมาทำงานด้านต่างๆ ขณะที่สหรัฐฯก็วิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างคาร์ไซกับพวกขุนศึกอัฟกานิสถานที่มีปัญหาหลายๆ คน
อย่างไรก็ตาม จุดยืนของคณะรัฐบาลโอบามาดูเหมือนจะอ่อนลงมาในระยะหลังๆ นี้ สำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ดเพรส(เอพี)รายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน แสดงท่าทีในสัปดาห์นี้ว่า สหรัฐฯจะทำงานกับใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน
พวกสมาชิกในทีมของโฮลบรูกก็แสดงท่าทีเช่นนี้ด้วยเช่นกันในวันพุธ แมร์ริออตต์บอกว่า ทั้งสหรัฐฯและประชาคมระหว่างประเทศต่าง “วางตัวเป็นกลางอย่างแข็งขันในการเลือกตั้งคราวนี้” ขณะที่อามิริกล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service) ว่า “สถานเอกอัครราชทูต [สหรัฐฯ] มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้สมัครทุกๆ คน”
อามิริยังพูดถึงรายงานข่าวเรื่องเกิดการขัดแย้งปีนเกลียวกันระหว่างสหรัฐฯกับคาร์ไซ ว่าเป็นเพียงการคาดเดาสร้างเรื่องขึ้นมาเองของสื่อมวลชน “ในระดับของสื่อมวลชนแล้ว มันเหมือนกับเกิดมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งหมดเลย” เธอบอกและกล่าวต่อไปว่า “ดิฉันคิดว่าพวกผู้สมัครคนสำคัญๆ ต่างกำลังแสดงให้เห็นว่า พวกเขาจะยังคงเดินหน้าคบค้า(กับสหรัฐฯ)ในระดับที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์” ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร
เมื่อการเลือกตั้งไปผ่านพ้นไปแล้ว นั่นแหละคือช่วงเวลาที่ทีมงานของโฮลบรูกหวังที่จะได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลอัฟกัน เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ อันหลากหลายของตน “หลังจากการเลือกตั้งคราวนี้เสร็จสิ้นลงตัวกันแล้ว โฮลบรูกบอก “เรา [ประชาคมระหว่างประเทศ] ก็จะขอให้รัฐบาลอัฟกันเข้ามาประคับประคองคณะผู้นำในกิจการต่างๆ ที่เรามาแถลงกันในวันนี้”
โฮลบรูกยังชี้ด้วยว่า เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับการลงมือดำเนินพยายามทั้งหลายทั้งปวงของทีมของเขาก็คือ ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องปรากฏขึ้นมาก่อน จึงจะมีโอกาสได้เห็นความสำเร็จอันแท้จริงในกิจการฝ่ายพลเรือน เขายกตัวอย่างว่า การสร้างโรงเรียนสักโรงหนึ่งหรือสร้างสะพานขึ้นมาสักสะพานหนึ่งย่อมเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ถ้าหากไม่มีความมั่นคงปลอดภัยที่จะไปใช้สิ่งเหล่านี้
“แน่นอนทีเดียว พวกคุณไม่สามารถทำให้กิจการฝ่ายพลเรือนเติบโตขยายตัวไปได้ ถ้าหากคุณไม่มีความมั่นคงปลอดภัย” เขากล่าวย้ำ “มันเป็นเรื่องที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
US tweaks its rules of engagement
By Danielle Kutzleben
14/08/2009
ขณะที่ทหารอเมริกันเสียชีวิตจากการทำสงครามในอัฟกานิสถาน พุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่ในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯก็กำลังปรับขยายยุทธศาสตร์ของตนในประเทศนั้นกันอีกครั้ง ในคราวนี้พวกผู้เชี่ยวชาญพลเรือนทั้งทางด้านธรรมาภิบาล, สื่อมวลชน, การเงินของพวกผู้ก่อการร้าย, และการเกษตร จะได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินงานเพื่อหนุนเสริมเพิ่มเติมการสู้รบทางทหารที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
วอชิงตัน – สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยในอัฟกานิสถานเลวร้ายลงเรื่อยๆ ขณะที่ประเทศนั้นกำลังจะจัดให้มีการเลือกตั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ ท่ามกลางสภาพการณ์เช่นนี้ คณะรัฐบาลบารัค โอบามา ก็กำลังนำเอาวิธีการใหม่ๆ ที่มีเนื้อหากว้างขวางยิ่งกว่าเดิมมากออกมาใช้ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเอาชนะการต่อสู้กับพวกกลุ่มก่อความไม่สงบต่างๆ ทั้งในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
เอกอัครราชทูต ริชาร์ด โฮลบรูก ผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน ไปพูดที่ศูนย์กลางเพื่อความก้าวหน้าของอเมริกัน (Center for American Progress) เมื่อวันพุธ(12) ในเรื่องเกี่ยวกับส่วนประกอบฝ่ายพลเรือน ในวิธีการใหม่ๆ ที่สหรัฐฯกำลังนำเอาไปใช้ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน
นอกเหนือจากโฮลบรูกแล้ว ยังมีคณะบุคคลอีก 10 คนจากทีมงานของเขา ซึ่งเป็นตัวแทนของ 9 หน่วยงาน ที่กำลังทำงานร่วมกันอยู่ในการดำเนินภารกิจฝ่ายพลเรือนสหรัฐฯ-อัฟกานิสถาน-ปากีสถานดังกล่าวนี้
สมาชิกเหล่านี้ในทีมงานของโฮลบรูก คือตัวแทนของความหลากหลายมากด้านมากมิติในยุทธศาสตร์ภารกิจฝ่ายพลเรือนของสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน-ปากีสถานโดยแท้ กล่าวคือ มีทั้งทางด้าน การเกษตร, ธรรมาภิบาล, สื่อมวลชนและการสื่อสาร, และการสืบสวนเจาะเข้าไปในเรื่องการเงินของผู้ก่อการร้าย
โฮลบรูกพูดย้ำว่า การดำเนินภารกิจฝ่ายพลเรือนนั้นย่อมเป็นงานที่มีลักษณะค่อยทำค่อยไป และเมื่อพูดกันถึงเรื่องโครงการด้านภาคประชาชนแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเหมาะสมที่จะใช้คำว่าพ่ายแพ้หรือชัยชนะ “สิ่งที่จะได้ตอบแทนคืนมา ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แน่นอนที่เราจะต้องทำให้เกิดผลลัพธ์ เราเข้าใจในเรื่องเช่นนี้ แต่เราไม่ได้มาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกกับพวกคุณว่าเรากำลังชนะหรือเรากำลังพ่ายแพ้ เราไม่ได้มาที่นี่ในวันนี้เพื่อบอกว่าเรามองโลกในแง่ดีหรือมองโลกในแง่ร้าย”
“เรามาอยู่ที่นี่เพื่อบอกพวกคุณว่า เรากำลังอยู่ในการสู้รบคราวนี้ด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป โดยที่มีความมุ่งมั่นที่จะไปสู่ความสำเร็จ” เขากล่าวต่อ
ถึงแม้สมาชิกหลายคนในทีมงานของโฮลบรูกพูดเน้นย้ำว่า ชะตากรรมของอัฟกานิสถานและปากีสถานนั้นถูกถักทอเรียงร้อยเอาไว้ด้วยกันอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ แต่การพูดคุยส่วนใหญ่ในวันนั้นก็ยังคงมุ่งเน้นไปที่ความพยายามทั้งทางทหารและฝ่ายพลเรือนในอัฟกานิสถานเสียมากกว่า
โฮลบรูกอธิบายเรื่องที่ดูเหมือนจะต้องให้อัฟกานิสถานมีลำดับความสำคัญสูงกว่า โดยบอกว่าพวกตอลิบานและอัลกออิดะห์นั้น “โดยพื้นฐานแล้วกำลังสู้รบในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นพวกเขาจึงเป็นพันธมิตรกัน” เขายังชี้ต่อไปว่า “ถ้าคุณละเลยการต่อสู้ในอัฟกานิสถาน คุณก็จะประสบความเสียหายในการต่อสู้กับพวกอัลกออิดะห์ไปด้วย”
การปรับขยายยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในคราวนี้ บังเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่กองทหารอเมริกันในอัฟกานิสถานกำลังประสบความยากลำบากเป็นพิเศษทีเดียว ในเดือนกรกฎาคมมีทหารสหรัฐฯบาดเจ็บล้มตาย 40 คน นับเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในอัฟกานิสถาน และในเดือนสิงหาคมจนถึงเวลานี้ ก็มีทหารสหรัฐฯถูกสังหารไปแล้ว 18 คน
ในรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับวันที่ 10 สิงหาคม พล.อ.สแตนลีย์ แมคไครสตัล (Stanley McChrystal) ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯในอัฟกานิสถาน ยอมรับว่าสถานการณ์ที่นั่นกำลังเลวร้ายลง โดยเขาบอกว่าพวกตอลิบานกำลังคุกคามพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกซึ่งเมื่อก่อนเคยมีความมั่นคงปลอดภัย และ “จำนวนทหารสหรัฐฯบาดเจ็บล้มตายก็น่าที่จะอยู่ในระดับที่สูงต่อไปอีกในหลายๆ เดือนข้างหน้านี้”
คาดหมายกันว่าแมคไครสตัลจะส่งรายงานเรื่องสถานการณ์ในอัฟกานิสถานถึงโอบามาในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งถึงตอนนั้นก็จะต้องมีการตัดสินใจกันว่าจะส่งทหารเพิ่มเติมเข้าไปอีกหรือไม่
ความรุนแรงในอัฟกานิสถานที่เพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นในระยะหลังๆ มานี้ ส่วนใหญ่แล้วเป็นฝีมือของพวกตอลิบาน ในช่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งในประเทศนั้นที่กำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 20 สิงหาคมนี้
พวกตอลิบานประกาศที่จะล้มการเลือกตั้ง โดยเรียกร้องชาวอัฟกานิสถานว่าอย่าได้ไปใช้สิทธิออกเสียง และเรียกการเลือกตั้งนี้ว่าเป็น “กระบวนการแห่งการล่อลวงของสหรัฐฯ”
ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ เรียกการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นนี้ว่า เป็น “เหตุการณ์สำคัญที่สุดในปีนี้ในอัฟกานิสถาน” และทั้งสหรัฐฯตลอดจนประชาคมระหว่างประเทศต่างกำลังทำงานเพื่อให้มั่นใจได้ว่า การเลือกตั้งเหล่านี้จะดำเนินไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แจน แมร์ริออตต์ (Jane Marriott) ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้แทนพิเศษสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน กล่าวยอมรับในวันพุธ(12)ว่า การเลือกตั้ง “จัดขึ้นมาในสภาพเงื่อนไขด้านความมั่นคงที่ลำบากมากๆ ทีเดียว และมันจะไม่มีความสมบูรณ์หรอก”
กระนั้นก็ตามที เธอบอกว่าสหรัฐฯก็กำลังทำงานเพื่อช่วยเหลือให้การเลือกตั้งและกระบวนการรณรงค์หาเสียงเดินหน้าไปได้ ตัวอย่างหนึ่งที่แมร์ริออตต์หยิบยกขึ้นมาก็คือ สหรัฐฯกำลังจัดหาสมรรถนะด้านสื่อมวลชนและการขนส่งให้แก่พวกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นการช่วยเหลือพวกเขาให้สามารถ “รณรงค์หาเสียงได้อย่างเหมาะสม”
ตามปากคำของ รินา อามิริ (Rina Amiri) ที่ปรึกษาอาวุโสด้านอัฟกานิสถาน ประจำสำนักงานผู้แทนพิเศษสหรัฐฯดูแลอัฟกานิสถานและปากีสถาน ทั้งพวกผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิออกเสียงในอัฟกานิสถาน ต่างมีความคาดหวังอย่างเต็มที่ทีเดียวเกี่ยวกับการเลือกตั้งคราวนี้
“ครั้งนี้เป็นครั้งที่มีผู้ลงสมัครแข่งขันรับเลือกตั้งกันมากที่สุด” อามิริกล่าว โดยชี้ว่ามีผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีถึง 41 คน ในจำนวนนี้เป็นสตรี 2 คน แล้วยังมีผู้สมัครอีกราว 3,300 คนแข่งขันกันชิงเก้าอี้ 420 ที่นั่งในการเลือกตั้งสภาจังหวัดต่างๆ
เธอกล่าวต่อไปว่า มีชาวอัฟกานิสถาน 17 ล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศ ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิออกเสียง ตัวเลขนี้นับว่าสูงขึ้นมากจากจำนวนราวๆ 12 ล้านคนที่มาลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธิในการเลือกตั้งเมื่อปี 2004
ประธานาธิบดี ฮามิด คาร์ไซ ได้รับการพิจารณาว่าเป็นตัวเก็งในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ถึงแม้จากผลโพลในช่วงหลังๆ นี้ส่อแสดงให้เห็นว่าเขาไม่น่าจะได้เสียงโหวตถึง 50% ซึ่งจำเป็นต้องได้หากจะชนะขาดลอยตั้งแต่การเลือกตั้งรอบแรก ถ้าไม่มีผู้สมัครคนใดได้ 50% การเลือกตั้งรอบสองก็จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม
คณะรัฐบาลโอบามาและรัฐบาลคาร์ไซมีความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกันอยู่เป็นระยะๆ คาร์ไซนั้นวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯที่ใช้วิธีว่าจ้างพวกผู้รับเหมาภาคเอกชนมาทำงานด้านต่างๆ ขณะที่สหรัฐฯก็วิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างคาร์ไซกับพวกขุนศึกอัฟกานิสถานที่มีปัญหาหลายๆ คน
อย่างไรก็ตาม จุดยืนของคณะรัฐบาลโอบามาดูเหมือนจะอ่อนลงมาในระยะหลังๆ นี้ สำนักข่าวแอสโซซิเอเต็ดเพรส(เอพี)รายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน แสดงท่าทีในสัปดาห์นี้ว่า สหรัฐฯจะทำงานกับใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน
พวกสมาชิกในทีมของโฮลบรูกก็แสดงท่าทีเช่นนี้ด้วยเช่นกันในวันพุธ แมร์ริออตต์บอกว่า ทั้งสหรัฐฯและประชาคมระหว่างประเทศต่าง “วางตัวเป็นกลางอย่างแข็งขันในการเลือกตั้งคราวนี้” ขณะที่อามิริกล่าวกับสำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส (Inter Press Service) ว่า “สถานเอกอัครราชทูต [สหรัฐฯ] มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้สมัครทุกๆ คน”
อามิริยังพูดถึงรายงานข่าวเรื่องเกิดการขัดแย้งปีนเกลียวกันระหว่างสหรัฐฯกับคาร์ไซ ว่าเป็นเพียงการคาดเดาสร้างเรื่องขึ้นมาเองของสื่อมวลชน “ในระดับของสื่อมวลชนแล้ว มันเหมือนกับเกิดมีความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งหมดเลย” เธอบอกและกล่าวต่อไปว่า “ดิฉันคิดว่าพวกผู้สมัครคนสำคัญๆ ต่างกำลังแสดงให้เห็นว่า พวกเขาจะยังคงเดินหน้าคบค้า(กับสหรัฐฯ)ในระดับที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์” ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร
เมื่อการเลือกตั้งไปผ่านพ้นไปแล้ว นั่นแหละคือช่วงเวลาที่ทีมงานของโฮลบรูกหวังที่จะได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลอัฟกัน เพื่อผลักดันโครงการต่างๆ อันหลากหลายของตน “หลังจากการเลือกตั้งคราวนี้เสร็จสิ้นลงตัวกันแล้ว โฮลบรูกบอก “เรา [ประชาคมระหว่างประเทศ] ก็จะขอให้รัฐบาลอัฟกันเข้ามาประคับประคองคณะผู้นำในกิจการต่างๆ ที่เรามาแถลงกันในวันนี้”
โฮลบรูกยังชี้ด้วยว่า เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับการลงมือดำเนินพยายามทั้งหลายทั้งปวงของทีมของเขาก็คือ ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งนี้คือสิ่งที่ต้องปรากฏขึ้นมาก่อน จึงจะมีโอกาสได้เห็นความสำเร็จอันแท้จริงในกิจการฝ่ายพลเรือน เขายกตัวอย่างว่า การสร้างโรงเรียนสักโรงหนึ่งหรือสร้างสะพานขึ้นมาสักสะพานหนึ่งย่อมเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ ถ้าหากไม่มีความมั่นคงปลอดภัยที่จะไปใช้สิ่งเหล่านี้
“แน่นอนทีเดียว พวกคุณไม่สามารถทำให้กิจการฝ่ายพลเรือนเติบโตขยายตัวไปได้ ถ้าหากคุณไม่มีความมั่นคงปลอดภัย” เขากล่าวย้ำ “มันเป็นเรื่องที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)