(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Post-crisis riches ahead for East Asia leaders
By R Taggart Murphy
18/06/2009
อำนาจซื้อซึ่งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้มีอยู่นั้น จะทวีคูณมากยิ่งขึ้นในวันเวลาที่เศรษฐกิจของโลกตะวันตกฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโดยที่ไม่อาจจะปลอดเสียซึ่งปัญหาเงินเฟ้อ มันไม่ใช่จะหมายถึงว่าพวกประเทศย่านเอเชียเหล่านี้จะดิ้นรนผละหนีจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแสนจะปวกเปียกอ่อนแอ – ทั้งนี้ การณ์ดูค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางตรงข้าม
รัสเซลล์ นาเปีย ใคร่ครวญไว้อย่างน่าสนใจในบทความจ่าหัวว่า “ทำไมความรู้ซึ่งน้อยนิดในเรื่องเงินเฟ้อ จึงอาจเป็นอันตรายได้” อันเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในไฟแนนเชียล ไทมส์ ฉบับที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน นาเปียตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการหวนกลับมาของสภาพแวดล้อมประการต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตของทศวรรษ 1970 ซึ่งถ้าจะระบุตรงๆ ก็คือสภาพแวดล้อมว่าด้วยปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง ทั้งนี้ ในบทความดังกล่าวนาเปียระดมหมัดฮุกชุดใหญ่เล่นงานนักวิชาการและความปักใจหมกมุ่นของนักวิชาการต่อสมมุติฐานเรื่องตลาดที่ทรงประสิทธิภาพที่จะพาสหรัฐฯ กลับสู่ความยิ่งใหญ่ แล้วนาเปียเตือนว่าผู้คนยังไม่สรุปบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นในยุคก่อนที่จะเข้าช่วงเศรษฐกิจคลี่คลายจากภาวะเงินเฟ้อรุนแรง พร้อมกันนั้น นาเปียชี้ว่านักลงทุนที่ปลดแอกตัวเองจากฝันหวานในเรื่องประสิทธิภาพเพ้อๆ นั้น ย่อมจะได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์และจะมีข้อได้เปรียบในการแสวงหาผลกำไรแท้จริงที่ดีกว่าใครๆ
บทเรียนดังกล่าวสามารถเป็นอะไรได้หลายอย่าง อาทิ บทเรียนว่าสิ่งที่รัฐบาลทั้งหลายทำในวันนี้เพื่อดึงเราออกจากภาวะถดถอยในปัจจุบัน (ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ที่วิกฤตเงินเฟ้อแบบทศวรรษ 1970 จะเข้าเล่นงานพวกเรา) ได้ตั้งเค้าให้เห็นอยู่ลิบๆ และบทเรียนว่านักลงทุนจำต้องมองหาเครื่องมือการลงทุนที่สามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งบทเรียนว่านักลงทุนควรถือสินทรัพย์ในต่างประเทศให้มากขึ้น เหมือนกับที่นักลงทุนเคยตระหนักมาแล้วเมื่อตอนทศวรรษ 1970 ว่า รัฐบาลที่อยู่ในภาวะจนตรอกสามารถบั่นทอนมูลค่าแท้จริงของผลกำไรที่ได้มาจากสินทรัพย์ในประเทศ
ต่อไปนี้คือส่วนที่น่าสนใจอย่างมากจากข้อเขียนของนาเปียที่ว่า “ในระหว่างทศวรรษ 1970 เงินเฟ้อในโลกตะวันตกได้ถ่ายเททรัพย์อันมหาศาลเกินจะคาดคิดได้ ให้เคลื่อนออกจากโลกตะวันตกไปอยู่ในกระเป๋าของใครไม่กี่คนในตะวันออกกลาง ในทำนองเดียวกัน คลื่นเงินเฟ้อใหม่ของสหรัฐฯ ก็จะถ่ายโอนความมั่งคั่งจากสินค้าอุปโภคบริโภคในโลกตะวันตก ไปสู่ผู้ผลิตสินค้าในภูมิภาคตะวันออกเช่นกัน”
นาเปียไม่ได้ระบุชัดๆ ว่าเขาหมายถึงประเทศใดบ้างในความหมายของคำว่า “ตะวันออก” แต่เราก็คาดได้อยู่ว่าเขาพูดถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพียงใช้ภูมิปัญญาระดับพื้นๆ เราต่างทราบว่าประเทศทั้งสามนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ล้วนอยู่ในช่วงลำบาก อันที่จริงแล้ว ริชาร์ด แคทซ์ เขียนขึ้นไว้ในฟอรั่มเอสเอสเจเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า “ตัวเลขจีดีพีล่าสุดแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดที่น่าตกใจ ... และบอกด้วยว่า เท่าที่ผ่านมา ญี่ปุ่นกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยร้ายแรงที่สุดกว่าชาติเศรษฐีทั้งหลาย”ที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) และแม้แต่เจมส์ ฟาลโลวส์ ยังเขียนไว้ในบทความอันเป็นที่ลือเลื่องที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร ดิ แอตแลนติก ฉบับเดือนเมษายน ในประเด็นที่ว่าความสามารถของจีนที่จะฝ่าฟันสรรพปัญหาในปัจจุบัน อยู่ในภาวะถดถอย ทั้งนี้ ฟาลโลวส์เขียนไว้ว่า “สัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำปรากฏอยู่ทุกหนแห่ง”ในประเทศจีน ดังนั้น ในการเขียนด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกนั้น ถ้านาเปียจะหมายเฉพาะจีน เขาก็คงจะระบุคำว่า “จีน” ออกไปชัดๆ มากกว่าจะใช้คำว่า “ตะวันออก”
หากว่าสิ่งที่นาเปียเขียนไว้ข้างต้นนั้นถูกต้อง เราย่อมจะมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลายประการทีเดียว ทั้งนี้ ขอให้เราพิจารณาเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1970 กล่าวคือ ในช่วงก่อนปี 1973 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันล้วนแต่ยอมรับระดับราคาที่กำหนดโดยกลไกตลาด แต่พอถึงปีดังกล่าว ประเทศเหล่านี้ต่อสู้อย่างสุดความสามารถที่จะชิงเอาพลังการควบคุมตลาดออกมาจากฝ่ายลูกค้า (ส่วนใหญ่คือพวกอเมริกัน) เข้าสู่มือของพวกตน และนับจากนั้นมา ชาติเหล่านี้สามารถเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในคราวสงครามโยมคิปปูร์ ปี 1973 (Yom Kippur War - สงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล) ซึ่งติดตามมาด้วยการที่ผู้ผลิตน้ำมันในโลกอาหรับงดส่งออกน้ำมัน สามารถแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีถึงพลังของชาติอาหรับเหล่านี้ในการควบคุมตลาดน้ำมันโลก แต่ก็แน่ล่ะว่า ผลสืบเนื่องจากฝีมือการผูกขาดราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค ได้บั่นทอนรายได้แท้จริงที่ประเทศเหล่านี้ได้รับจากการขายน้ำมันให้แก่ตลาดโลก เพราะในช่วงก่อนหน้าจรดจนช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในยุคของประธานาธิบดีนิกสัน เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงอีกทั้งวิกฤตความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ และจึงถอนตัวออกจากระบบแลกเปลี่ยนค่าเงินโดยอิงกับมาตรฐานทองคำ แล้วตามมาซึ่งการยุติระบบเบรตตัน วู้ดส์ ในปี 1971
การล่มสลายของระบบแลกเปลี่ยนเงินตราทำให้สหรัฐฯ สามารถถ่ายเทภาวะเงินเฟ้อของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์ก็พลอยร่วงดิ่งสู่ความตกต่ำมหาศาล ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ตลอดจนผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ส่งขายสหรัฐฯ และได้รับเงินดอลลาร์ตอบแทนกลับมานั้น ต้องพบว่ารายได้แท้จริงจากการค้ากับสหรัฐฯ มีอันต้องลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตน้ำมันค้นพบว่าตนมีอำนาจที่จะกอบกู้ความเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และประเทศเหล่านี้ก็ใช้อำนาจดังกล่าวไปเพื่อการกอบกู้มูลค่ารายได้ของตน พร้อมกับสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองได้อย่างทบทวี
การณ์ ณ ปัจจุบันก็ละม้ายกัน 3 ชาติเอเชียตะวันออกจอมพลังทางเศรษฐกิจสามารถทวีการครอบครองศักยภาพการผลิตส่วนใหญ่ของโลกไว้ในอุ้งมือ ในทำนองเดียวกับที่กลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคสามารถครอบครองศักยภาพการผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ของโลก หลังจากที่แนวการบริหารแบบเอาท์ซอร์ส (การบริหารจัดการธุรกิจแบบจ้างบริษัทภายนอกรับงานพื้นๆ ไปทำเพื่อกลับมาป้อนแก่ระบบการผลิตหลักเพื่อลดค่าโสหุ้ยและหั่นต้นทุนการดำเนินงาน) เป็นที่แพร่หลายมานานกว่าหนึ่งเจนเนอเรชั่นในสหรัฐฯ ตลอดจนหลายๆ ภูมิภาค และหลังจากที่โลกตะวันตกเดินนโยบายผูกติดอยู่กับอุดมการการค้าเสรี การถ่ายเทศักยภาพการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดของโลกครั้งหนึ่ง จึงได้บังเกิดขึ้นมา ซึ่งได้แก่ การถ่ายเทจากโลกตะวันตกสู่ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี แม้ว่าศักยภาพการผลิตดังกล่าวของประเทศทั้งสามนี้ อาจถูกครอบครองอยู่โดยคนภายนอกไม่ใช่น้อยๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของจีน) แต่ในทางปฏิบัติ เจ้าของประเทศ เช่น จีน จะใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางเศรษฐกิจนี้ ชิงการควบคุมไว้ในมือของพวกตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“ถ้า”และ“เมื่อ”เศรษฐกิจของสหรัฐฯกับอังกฤษฟื้นตัว ประเทศพวกนี้จะพบว่าตนถูกบีบให้ต้องสั่งซื้อทุกอย่างจากสามคู่หูเอเชีย นับจากอุปกรณ์เครื่องมือทุนไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคทีเดียว หลังจากนั้น มันอาจเป็นไปได้ว่าโลกจะกลับสู่สถานะดั้งเดิม โดยที่พวกคู่แข่งในสหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมนีก็จะต่อสู้ตอบโต้ แล้วสามชาติเอเชียนี้ก็ต้องกล้ำกลืนฝืนทนรับระดับราคาใหม่ไปตามสภาพการณ์จริง ซึ่งถ้านาเปียวิเคราะห์ถูก พวกผู้ผลิตในเอเชียอาจตื่นตัวขึ้นตระหนักในอำนาจที่พวกตนมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนโยบายของสหรัฐฯ กับอังกฤษ พากันกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้เร่งการบริโภคเพื่อเอื้อแก่การฟื้นฟู เมื่อถึงตอนนั้น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี อาจเดินเกมยอกย้อนเพื่อให้รายได้ที่ตนรับมาจากประเทศโลกตะวันตก ได้รับการชดเชยจากการที่ค่าเงินของประเทศลูกค้าอ่อนตัวลงจนทำให้รายได้ในสกุลเงินของตนลดน้อยอย่างเห็นได้ชัด
แนวทางหนึ่งในเรื่องนี้อาจเป็นการที่ญี่ปุ่น จีน และเกาหลียืนกรานให้ลูกค้าจากซีกโลกตะวันตกชำระค่าสินค้าด้วยเงินสกุลที่ประเทศทั้งสามมั่นใจว่าจะสามารถคุมเสถียรภาพค่าเงินได้จริง ในการนี้ แบรด เซตเซอร์ มีงานเขียนที่น่าคิดชิ้นยาวๆ ชิ้นหนึ่งว่าจีนอาจหาทางปรับโฉมการจัดระเบียบทางการเงินโลกยุคหลังเศรษฐกิจถดถอย โดยระบุว่า “จีนไม่สบายใจอย่างเห็นได้ชัดกับการที่ต้องเสี่ยงอยู่กับการถือสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์”
แต่ถ้าโลกดำเนินไปตามรูปแบบที่ถูกตั้งไว้ในทศวรรษ 1970 กล่าวคือ หลังจากที่ลองเล่นๆ กับตัวเลือกต่างๆ ที่อาจนำมาใช้แทนเงินดอลลาร์ในการชำระหนี้สินระหว่างประเทศกับเป็นเงินทุนสำรองของประเทศ บรรดาชาติผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ก็จะกลับมาใช้บริการของเงินดอลลาร์ตามเดิม แต่แน่นอนว่า ณ ระดับราคาสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นมากๆ ละม้ายกับที่ชาติโอเปคประสบความสำเร็จไปแล้ว
เมื่อศึกษาจากประสบการณ์ของหลายชาติผู้ส่งออกปิโตรเลียมในปี 1974 จะพบว่าชาติเหล่านี้เคยดำริจะขอเก็บเงินค่าสินค้าเป็นสกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์ แต่แล้วด้วยนานาเหตุผล ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ทั้งหลายก็ต้องหวนกลับไปใช้เงินสกุลดอลลาร์ ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญมีอยู่สองประการคือ การขาดเงินสกุลตัวอื่นที่จะเป็นทางเลือกได้ดีกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า และการที่สหรัฐฯ ทำหน้าที่เป็นกำบังอันเปี่ยมด้วยเสถียรภาพให้แก่ซาอุดิ อาระเบีย และชาห์แห่งอิหร่าน ตลอดจนบรรดาประเทศต่างๆ แห่งอ่าวเปอร์เซีย ในการนี้ ชาติโอเปคไม่แต่เพียงเลือกใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่เรียกเก็บค่าสินค้า หากยังไปให้การสนับสนุนอย่างใหญ๋หลวงแก่การสร้างระเบียบทางการเงินโลกขึ้นใหม่ โดยนำเม็ดเงินดอลลาร์ที่ได้รับชำระค่าน้ำมันไปฝากเข้าบัญชีในกรุงลอนดอน เงินอันมหาศาลจากตรงนั้นถูกแบงก์พาณิชย์ใหญ่ยักษ์ของโลกนำไปปล่อยกู้แก่ประเทศที่ต้องหาเงินไปนำเข้าน้ำมันไว้ใช้นั่นเอง
สิ่งสำคัญที่จะต้องระบุไว้ตรงนี้มีอยู่ว่า พวกชาติผู้ส่งออกน้ำมันมิได้พึงใจเพียงแค่จะตั้งราคาน้ำมันให้สูงลิ่ว แต่พวกนี้ยังปรับโฉมการเงินโลกขึ้นใหม่ในแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่พวกตน กล่าวคือการได้รับผลตอบแทนเงินฝากสกุลดอลลาร์ในลอนดอนไปอย่างอิ่มเอมยิ่ง เพราะในช่วงกลางทศวรรษ 1970 นั้น ดอกเบี้ยพุ่งทะยานหลายเท่าทวีคูณกว่าอัตราเงินเฟ้อ ครั้นเมื่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นลูกค้าของชาวโอเปคตกที่นั่งล่มจมไม่สามารถจ่ายคืนเงินกู้ได้ แบงก์พาณิชย์ทั้งหลายในสหรัฐฯ และยุโรปคือผู้ที่ได้รับความเสียหายไปเต็มๆ (ส่วนแบงก์ญี่ปุ่นก็เข้าไปมีเอี่ยวในแนวทางแก้ปัญหาหนี้ แต่กระทรวงการคลังได้“แนะนำ”ให้แบงก์พาณิชย์เหล่านี้หั่นความเสี่ยงที่ถืออยู่ในหนี้ที่ปล่อยแก่ประเทศในโลกที่สาม ลงไปได้อย่างมหาศาลในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเมื่อต้นทศวรรษ 1980) ยิ่งกว่านั้น การที่ชาติผู้ผลิตน้ำมันเอาเงินฝากไว้ในลอนดอน นโยบายนั้นทำให้เงินของพวกเขาปลอดภัยจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ ในเวลาเดียวกัน เม็ดเงินมหาศาลที่ลงไปในยุโรป ได้สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่แก่ตลาดยูโรดอลลาร์ อ้นเป็นตลาดค้าเงินดอลลาร์ที่ไม่อยู่ใต้การกำกับของสหรัฐฯ
ในกระบวนการทั้งหลายทั้งปวง ปัจจัยด้านการทหารของสหรัฐฯ นับเป็นตัวแปรสำคัญภายในสมการอำนาจต่างๆ ที่ระอุอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย และภูมิภาคตะวันตกของเอเชีย การยุติเสียซึ่งบทบาทของเงินดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลกลางของโลก จะสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอเมริกันผู้เสียภาษีให้รัฐบาลนำไปใช้จ่ายในเรื่องการกระจายกำลังทางการทหารไว้ในส่วนนี้ของโลก ตลอดจนการสนับสนุนโครงสร้างการกระจายฐานทัพของสหรัฐฯ ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ของโลก นอกจากนั้น แม้ในปัจจุบันนี้ สกุลเงินที่พอจะเป็นทางเลือกเพื่อใช้แทนที่เงินดอลลาร์ก็พอจะมีอยู่ นั่นคือเงินยูโร กระนั้นก็ตาม มันไม่มีแนวโน้มใดๆ ที่สามเกลอยักษ์เอเชียจะเอาอำนาจควบคุมเงินโลกใส่พานไปให้ยุโรปง่ายๆ ในเมื่อสามชาตินี้มีอำนาจต่อรองในยุโรปน้อยกว่าที่มีอยู่กับสหรัฐฯ อย่างมากมายทีเดียว
ตัวเลือกอื่นที่น่าใช้ก็คือ การทำให้เงินเยน หรือมิเช่นนั้นก็ เงินหยวน กลายเป็นสกุลเงินกลางระหว่างประเทศ แต่ทางเลือกนี้จะบีบให้จีนและญี่ปุ่นต้องมาต่อรองกันหนักทีเดียว ความน่าจะเป็นเชิงการเมืองระหว่างประเทศจึงมีอยู่ว่า สองชาตินี้คงยอมให้ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ (เฟด) บริหารเม็ดเงินดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลกลางของโลกต่อไป แทนที่จะยกของดีให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง(ระหว่างโตเกียวกับปักกิ่ง)ไปง่ายๆ
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าสองเกลอยักษ์ใหญ่เอเชีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน) จะไม่เสาะหาทางแปลงโฉมระบบการเงินโลกขึ้นใหม่ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองในทำนองละม้ายกับที่กลุ่มชาติโอเปคเคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อหนึ่งเจนเนอเรชั่นที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดสำคัญสกัดกั้นการทำนายไม่ให้ไปไกลนัก กล่าวคือ (ถ้าไม่นับอิหร่าน) ชาติผู้ส่งออกน้ำมันยังเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์สูงเด่นกว่าใคร ในเมื่อประเทศพวกนี้มีประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีเงินจากการขายน้ำมันอยู่ในกำปั่นยักษ์อีกมหาศาลนักนับจากที่การปรับขึ้นราคาน้ำมันประสบความสำเร็จเรื่อยมา ขณะที่ญี่ปุ่นยังไปไม่พ้นจากปัญหาติดขัดด้านปริมาณประชากรและด้านการคลัง ส่วนจีนมีประชากรจำนวนมโหฬารนักซึ่งล้วนต่อนำเงินรายได้ไปหาซื้อสิ่งของเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรอีกมากมายนับไม่ถ้วน กระนั้นก็ตาม ชาติผู้ส่งออกน้ำมันมีแหล่งที่มาของความมั่งคั่งจากความบังเอิญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจมลายหายสูญไปได้ในชั่วข้ามคืน ถ้าโลกเกิดจะมีแหล่งพลังงานทางอื่นใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนามาได้ในเชิงพาณิชย์ในปริมาณที่เพียงพอ ณ ระดับราคาที่เหมาะสม
พวกญี่ปุ่น จีน และเกาหลีออกแรงทำงานไว้หนักหนามากกว่าจะได้มาซึ่งสิ่งที่พวกเขามีอยู่ในปัจจุบัน และต่างจะโอ้อวดถึงระบบเศรษฐกิจของพวกตนที่สร้างบูรณาการได้อย่างสูง มีความซับซ้อนอย่างเหลือเกิน ทำให้สามารถทำการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าแค่การไปดูดไปสกัดสิ่งของใต้ดินขึ้นมาขายแพงหลายเท่าตัวของต้นทุนที่ลงมือทำไปจริง ในเวลาเดียวกัน พวกชาติทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ละม้ายชาติในตะวันออกกลาง คือเป็นภูมิภาคอันตรายและเต็มไปด้วยความผันผวน เพียงแต่จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างออกไปมาก
กระนั้นก็ตาม นาเปียชี้ให้ตระหนักสิ่งสำคัญทีเดียวเมื่อเขาตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า ขณะที่บาดแผลของทศวรรษ 1970 ทำให้ได้เห็นการถ่ายโอนทรัพย์ไปสู่ตะวันออกกลางอย่างถาวร กลียุคทางเศรษฐกิจในทุกวันนี้อาจส่งผลให้เกิดการปรับโฉมของโครงสร้างทางการเงินโลกและโครงสร้างความมั่งคั่งของโลก โดยจะได้เห็นว่า“พวกเอเชียตะวันออก”เริ่มเปี่ยมไปด้วยพลัง ขณะที่อำนาจกับอิทธิพลก็จะขยายตัวขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าประเทศเหล่านี้จะต้องเผชิญกับทุกข์ตรมในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
อาร์ แทกการ์ต เมอร์ฟี่ อดีตวาณิชธนากร ปัจจุบันเป็นอาจารย์ในโครงการเอ็มบีเอด้านธุรกิจระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยสึกุบะ วิทยาเขตโตเกียว และเป็นผู้ประสานงานของวารสารเอเชีย-แปซิฟิก เจอร์นัล เขาเขียนหนังสือชื่อ The Weight of the Yen (Norton, 1996) และเขียนอีกเล่มหนึ่งร่วมกับอากิโอะ มิกุนิ เรื่อง Japan's Policy Trap (Brookings, 2002)
Post-crisis riches ahead for East Asia leaders
By R Taggart Murphy
18/06/2009
อำนาจซื้อซึ่งจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้มีอยู่นั้น จะทวีคูณมากยิ่งขึ้นในวันเวลาที่เศรษฐกิจของโลกตะวันตกฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโดยที่ไม่อาจจะปลอดเสียซึ่งปัญหาเงินเฟ้อ มันไม่ใช่จะหมายถึงว่าพวกประเทศย่านเอเชียเหล่านี้จะดิ้นรนผละหนีจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแสนจะปวกเปียกอ่อนแอ – ทั้งนี้ การณ์ดูค่อนข้างจะเป็นไปในทิศทางตรงข้าม
รัสเซลล์ นาเปีย ใคร่ครวญไว้อย่างน่าสนใจในบทความจ่าหัวว่า “ทำไมความรู้ซึ่งน้อยนิดในเรื่องเงินเฟ้อ จึงอาจเป็นอันตรายได้” อันเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในไฟแนนเชียล ไทมส์ ฉบับที่เพิ่งผ่านมาได้ไม่นาน นาเปียตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะได้เห็นการหวนกลับมาของสภาพแวดล้อมประการต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตของทศวรรษ 1970 ซึ่งถ้าจะระบุตรงๆ ก็คือสภาพแวดล้อมว่าด้วยปัญหาเงินเฟ้อรุนแรง ทั้งนี้ ในบทความดังกล่าวนาเปียระดมหมัดฮุกชุดใหญ่เล่นงานนักวิชาการและความปักใจหมกมุ่นของนักวิชาการต่อสมมุติฐานเรื่องตลาดที่ทรงประสิทธิภาพที่จะพาสหรัฐฯ กลับสู่ความยิ่งใหญ่ แล้วนาเปียเตือนว่าผู้คนยังไม่สรุปบทเรียนที่เคยเกิดขึ้นในยุคก่อนที่จะเข้าช่วงเศรษฐกิจคลี่คลายจากภาวะเงินเฟ้อรุนแรง พร้อมกันนั้น นาเปียชี้ว่านักลงทุนที่ปลดแอกตัวเองจากฝันหวานในเรื่องประสิทธิภาพเพ้อๆ นั้น ย่อมจะได้บทเรียนจากประวัติศาสตร์และจะมีข้อได้เปรียบในการแสวงหาผลกำไรแท้จริงที่ดีกว่าใครๆ
บทเรียนดังกล่าวสามารถเป็นอะไรได้หลายอย่าง อาทิ บทเรียนว่าสิ่งที่รัฐบาลทั้งหลายทำในวันนี้เพื่อดึงเราออกจากภาวะถดถอยในปัจจุบัน (ซึ่งเป็นอีกครั้งที่ที่วิกฤตเงินเฟ้อแบบทศวรรษ 1970 จะเข้าเล่นงานพวกเรา) ได้ตั้งเค้าให้เห็นอยู่ลิบๆ และบทเรียนว่านักลงทุนจำต้องมองหาเครื่องมือการลงทุนที่สามารถปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่อาจเกิดขึ้น อีกทั้งบทเรียนว่านักลงทุนควรถือสินทรัพย์ในต่างประเทศให้มากขึ้น เหมือนกับที่นักลงทุนเคยตระหนักมาแล้วเมื่อตอนทศวรรษ 1970 ว่า รัฐบาลที่อยู่ในภาวะจนตรอกสามารถบั่นทอนมูลค่าแท้จริงของผลกำไรที่ได้มาจากสินทรัพย์ในประเทศ
ต่อไปนี้คือส่วนที่น่าสนใจอย่างมากจากข้อเขียนของนาเปียที่ว่า “ในระหว่างทศวรรษ 1970 เงินเฟ้อในโลกตะวันตกได้ถ่ายเททรัพย์อันมหาศาลเกินจะคาดคิดได้ ให้เคลื่อนออกจากโลกตะวันตกไปอยู่ในกระเป๋าของใครไม่กี่คนในตะวันออกกลาง ในทำนองเดียวกัน คลื่นเงินเฟ้อใหม่ของสหรัฐฯ ก็จะถ่ายโอนความมั่งคั่งจากสินค้าอุปโภคบริโภคในโลกตะวันตก ไปสู่ผู้ผลิตสินค้าในภูมิภาคตะวันออกเช่นกัน”
นาเปียไม่ได้ระบุชัดๆ ว่าเขาหมายถึงประเทศใดบ้างในความหมายของคำว่า “ตะวันออก” แต่เราก็คาดได้อยู่ว่าเขาพูดถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เพียงใช้ภูมิปัญญาระดับพื้นๆ เราต่างทราบว่าประเทศทั้งสามนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ล้วนอยู่ในช่วงลำบาก อันที่จริงแล้ว ริชาร์ด แคทซ์ เขียนขึ้นไว้ในฟอรั่มเอสเอสเจเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ว่า “ตัวเลขจีดีพีล่าสุดแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดที่น่าตกใจ ... และบอกด้วยว่า เท่าที่ผ่านมา ญี่ปุ่นกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยร้ายแรงที่สุดกว่าชาติเศรษฐีทั้งหลาย”ที่เป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) และแม้แต่เจมส์ ฟาลโลวส์ ยังเขียนไว้ในบทความอันเป็นที่ลือเลื่องที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร ดิ แอตแลนติก ฉบับเดือนเมษายน ในประเด็นที่ว่าความสามารถของจีนที่จะฝ่าฟันสรรพปัญหาในปัจจุบัน อยู่ในภาวะถดถอย ทั้งนี้ ฟาลโลวส์เขียนไว้ว่า “สัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำปรากฏอยู่ทุกหนแห่ง”ในประเทศจีน ดังนั้น ในการเขียนด้วยคำว่าเอเชียตะวันออกนั้น ถ้านาเปียจะหมายเฉพาะจีน เขาก็คงจะระบุคำว่า “จีน” ออกไปชัดๆ มากกว่าจะใช้คำว่า “ตะวันออก”
หากว่าสิ่งที่นาเปียเขียนไว้ข้างต้นนั้นถูกต้อง เราย่อมจะมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลายประการทีเดียว ทั้งนี้ ขอให้เราพิจารณาเทียบเคียงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1970 กล่าวคือ ในช่วงก่อนปี 1973 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันล้วนแต่ยอมรับระดับราคาที่กำหนดโดยกลไกตลาด แต่พอถึงปีดังกล่าว ประเทศเหล่านี้ต่อสู้อย่างสุดความสามารถที่จะชิงเอาพลังการควบคุมตลาดออกมาจากฝ่ายลูกค้า (ส่วนใหญ่คือพวกอเมริกัน) เข้าสู่มือของพวกตน และนับจากนั้นมา ชาติเหล่านี้สามารถเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันได้เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในคราวสงครามโยมคิปปูร์ ปี 1973 (Yom Kippur War - สงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล) ซึ่งติดตามมาด้วยการที่ผู้ผลิตน้ำมันในโลกอาหรับงดส่งออกน้ำมัน สามารถแสดงให้เห็นได้เป็นอย่างดีถึงพลังของชาติอาหรับเหล่านี้ในการควบคุมตลาดน้ำมันโลก แต่ก็แน่ล่ะว่า ผลสืบเนื่องจากฝีมือการผูกขาดราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค ได้บั่นทอนรายได้แท้จริงที่ประเทศเหล่านี้ได้รับจากการขายน้ำมันให้แก่ตลาดโลก เพราะในช่วงก่อนหน้าจรดจนช่วงเวลานั้น สหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่ในยุคของประธานาธิบดีนิกสัน เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงอีกทั้งวิกฤตความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของเงินดอลลาร์ และจึงถอนตัวออกจากระบบแลกเปลี่ยนค่าเงินโดยอิงกับมาตรฐานทองคำ แล้วตามมาซึ่งการยุติระบบเบรตตัน วู้ดส์ ในปี 1971
การล่มสลายของระบบแลกเปลี่ยนเงินตราทำให้สหรัฐฯ สามารถถ่ายเทภาวะเงินเฟ้อของตนไปสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์ก็พลอยร่วงดิ่งสู่ความตกต่ำมหาศาล ดังนั้น ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ตลอดจนผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ส่งขายสหรัฐฯ และได้รับเงินดอลลาร์ตอบแทนกลับมานั้น ต้องพบว่ารายได้แท้จริงจากการค้ากับสหรัฐฯ มีอันต้องลดน้อยลงอย่างน่าตกใจ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ผลิตน้ำมันค้นพบว่าตนมีอำนาจที่จะกอบกู้ความเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐฯ และประเทศเหล่านี้ก็ใช้อำนาจดังกล่าวไปเพื่อการกอบกู้มูลค่ารายได้ของตน พร้อมกับสร้างความมั่งคั่งให้ตนเองได้อย่างทบทวี
การณ์ ณ ปัจจุบันก็ละม้ายกัน 3 ชาติเอเชียตะวันออกจอมพลังทางเศรษฐกิจสามารถทวีการครอบครองศักยภาพการผลิตส่วนใหญ่ของโลกไว้ในอุ้งมือ ในทำนองเดียวกับที่กลุ่มประเทศสมาชิกโอเปคสามารถครอบครองศักยภาพการผลิตน้ำมันส่วนใหญ่ของโลก หลังจากที่แนวการบริหารแบบเอาท์ซอร์ส (การบริหารจัดการธุรกิจแบบจ้างบริษัทภายนอกรับงานพื้นๆ ไปทำเพื่อกลับมาป้อนแก่ระบบการผลิตหลักเพื่อลดค่าโสหุ้ยและหั่นต้นทุนการดำเนินงาน) เป็นที่แพร่หลายมานานกว่าหนึ่งเจนเนอเรชั่นในสหรัฐฯ ตลอดจนหลายๆ ภูมิภาค และหลังจากที่โลกตะวันตกเดินนโยบายผูกติดอยู่กับอุดมการการค้าเสรี การถ่ายเทศักยภาพการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดของโลกครั้งหนึ่ง จึงได้บังเกิดขึ้นมา ซึ่งได้แก่ การถ่ายเทจากโลกตะวันตกสู่ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี แม้ว่าศักยภาพการผลิตดังกล่าวของประเทศทั้งสามนี้ อาจถูกครอบครองอยู่โดยคนภายนอกไม่ใช่น้อยๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของจีน) แต่ในทางปฏิบัติ เจ้าของประเทศ เช่น จีน จะใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางเศรษฐกิจนี้ ชิงการควบคุมไว้ในมือของพวกตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“ถ้า”และ“เมื่อ”เศรษฐกิจของสหรัฐฯกับอังกฤษฟื้นตัว ประเทศพวกนี้จะพบว่าตนถูกบีบให้ต้องสั่งซื้อทุกอย่างจากสามคู่หูเอเชีย นับจากอุปกรณ์เครื่องมือทุนไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภคทีเดียว หลังจากนั้น มันอาจเป็นไปได้ว่าโลกจะกลับสู่สถานะดั้งเดิม โดยที่พวกคู่แข่งในสหรัฐฯ อังกฤษ และเยอรมนีก็จะต่อสู้ตอบโต้ แล้วสามชาติเอเชียนี้ก็ต้องกล้ำกลืนฝืนทนรับระดับราคาใหม่ไปตามสภาพการณ์จริง ซึ่งถ้านาเปียวิเคราะห์ถูก พวกผู้ผลิตในเอเชียอาจตื่นตัวขึ้นตระหนักในอำนาจที่พวกตนมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนโยบายของสหรัฐฯ กับอังกฤษ พากันกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้เร่งการบริโภคเพื่อเอื้อแก่การฟื้นฟู เมื่อถึงตอนนั้น ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี อาจเดินเกมยอกย้อนเพื่อให้รายได้ที่ตนรับมาจากประเทศโลกตะวันตก ได้รับการชดเชยจากการที่ค่าเงินของประเทศลูกค้าอ่อนตัวลงจนทำให้รายได้ในสกุลเงินของตนลดน้อยอย่างเห็นได้ชัด
แนวทางหนึ่งในเรื่องนี้อาจเป็นการที่ญี่ปุ่น จีน และเกาหลียืนกรานให้ลูกค้าจากซีกโลกตะวันตกชำระค่าสินค้าด้วยเงินสกุลที่ประเทศทั้งสามมั่นใจว่าจะสามารถคุมเสถียรภาพค่าเงินได้จริง ในการนี้ แบรด เซตเซอร์ มีงานเขียนที่น่าคิดชิ้นยาวๆ ชิ้นหนึ่งว่าจีนอาจหาทางปรับโฉมการจัดระเบียบทางการเงินโลกยุคหลังเศรษฐกิจถดถอย โดยระบุว่า “จีนไม่สบายใจอย่างเห็นได้ชัดกับการที่ต้องเสี่ยงอยู่กับการถือสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์”
แต่ถ้าโลกดำเนินไปตามรูปแบบที่ถูกตั้งไว้ในทศวรรษ 1970 กล่าวคือ หลังจากที่ลองเล่นๆ กับตัวเลือกต่างๆ ที่อาจนำมาใช้แทนเงินดอลลาร์ในการชำระหนี้สินระหว่างประเทศกับเป็นเงินทุนสำรองของประเทศ บรรดาชาติผู้ผลิตสินค้าเหล่านี้ก็จะกลับมาใช้บริการของเงินดอลลาร์ตามเดิม แต่แน่นอนว่า ณ ระดับราคาสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นมากๆ ละม้ายกับที่ชาติโอเปคประสบความสำเร็จไปแล้ว
เมื่อศึกษาจากประสบการณ์ของหลายชาติผู้ส่งออกปิโตรเลียมในปี 1974 จะพบว่าชาติเหล่านี้เคยดำริจะขอเก็บเงินค่าสินค้าเป็นสกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์ แต่แล้วด้วยนานาเหตุผล ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ทั้งหลายก็ต้องหวนกลับไปใช้เงินสกุลดอลลาร์ ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญมีอยู่สองประการคือ การขาดเงินสกุลตัวอื่นที่จะเป็นทางเลือกได้ดีกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า และการที่สหรัฐฯ ทำหน้าที่เป็นกำบังอันเปี่ยมด้วยเสถียรภาพให้แก่ซาอุดิ อาระเบีย และชาห์แห่งอิหร่าน ตลอดจนบรรดาประเทศต่างๆ แห่งอ่าวเปอร์เซีย ในการนี้ ชาติโอเปคไม่แต่เพียงเลือกใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่เรียกเก็บค่าสินค้า หากยังไปให้การสนับสนุนอย่างใหญ๋หลวงแก่การสร้างระเบียบทางการเงินโลกขึ้นใหม่ โดยนำเม็ดเงินดอลลาร์ที่ได้รับชำระค่าน้ำมันไปฝากเข้าบัญชีในกรุงลอนดอน เงินอันมหาศาลจากตรงนั้นถูกแบงก์พาณิชย์ใหญ่ยักษ์ของโลกนำไปปล่อยกู้แก่ประเทศที่ต้องหาเงินไปนำเข้าน้ำมันไว้ใช้นั่นเอง
สิ่งสำคัญที่จะต้องระบุไว้ตรงนี้มีอยู่ว่า พวกชาติผู้ส่งออกน้ำมันมิได้พึงใจเพียงแค่จะตั้งราคาน้ำมันให้สูงลิ่ว แต่พวกนี้ยังปรับโฉมการเงินโลกขึ้นใหม่ในแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่พวกตน กล่าวคือการได้รับผลตอบแทนเงินฝากสกุลดอลลาร์ในลอนดอนไปอย่างอิ่มเอมยิ่ง เพราะในช่วงกลางทศวรรษ 1970 นั้น ดอกเบี้ยพุ่งทะยานหลายเท่าทวีคูณกว่าอัตราเงินเฟ้อ ครั้นเมื่อประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นลูกค้าของชาวโอเปคตกที่นั่งล่มจมไม่สามารถจ่ายคืนเงินกู้ได้ แบงก์พาณิชย์ทั้งหลายในสหรัฐฯ และยุโรปคือผู้ที่ได้รับความเสียหายไปเต็มๆ (ส่วนแบงก์ญี่ปุ่นก็เข้าไปมีเอี่ยวในแนวทางแก้ปัญหาหนี้ แต่กระทรวงการคลังได้“แนะนำ”ให้แบงก์พาณิชย์เหล่านี้หั่นความเสี่ยงที่ถืออยู่ในหนี้ที่ปล่อยแก่ประเทศในโลกที่สาม ลงไปได้อย่างมหาศาลในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเมื่อต้นทศวรรษ 1980) ยิ่งกว่านั้น การที่ชาติผู้ผลิตน้ำมันเอาเงินฝากไว้ในลอนดอน นโยบายนั้นทำให้เงินของพวกเขาปลอดภัยจากเงื้อมมือของเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ ในเวลาเดียวกัน เม็ดเงินมหาศาลที่ลงไปในยุโรป ได้สร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่แก่ตลาดยูโรดอลลาร์ อ้นเป็นตลาดค้าเงินดอลลาร์ที่ไม่อยู่ใต้การกำกับของสหรัฐฯ
ในกระบวนการทั้งหลายทั้งปวง ปัจจัยด้านการทหารของสหรัฐฯ นับเป็นตัวแปรสำคัญภายในสมการอำนาจต่างๆ ที่ระอุอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชีย และภูมิภาคตะวันตกของเอเชีย การยุติเสียซึ่งบทบาทของเงินดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลกลางของโลก จะสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนอเมริกันผู้เสียภาษีให้รัฐบาลนำไปใช้จ่ายในเรื่องการกระจายกำลังทางการทหารไว้ในส่วนนี้ของโลก ตลอดจนการสนับสนุนโครงสร้างการกระจายฐานทัพของสหรัฐฯ ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ของโลก นอกจากนั้น แม้ในปัจจุบันนี้ สกุลเงินที่พอจะเป็นทางเลือกเพื่อใช้แทนที่เงินดอลลาร์ก็พอจะมีอยู่ นั่นคือเงินยูโร กระนั้นก็ตาม มันไม่มีแนวโน้มใดๆ ที่สามเกลอยักษ์เอเชียจะเอาอำนาจควบคุมเงินโลกใส่พานไปให้ยุโรปง่ายๆ ในเมื่อสามชาตินี้มีอำนาจต่อรองในยุโรปน้อยกว่าที่มีอยู่กับสหรัฐฯ อย่างมากมายทีเดียว
ตัวเลือกอื่นที่น่าใช้ก็คือ การทำให้เงินเยน หรือมิเช่นนั้นก็ เงินหยวน กลายเป็นสกุลเงินกลางระหว่างประเทศ แต่ทางเลือกนี้จะบีบให้จีนและญี่ปุ่นต้องมาต่อรองกันหนักทีเดียว ความน่าจะเป็นเชิงการเมืองระหว่างประเทศจึงมีอยู่ว่า สองชาตินี้คงยอมให้ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ (เฟด) บริหารเม็ดเงินดอลลาร์ในฐานะเงินสกุลกลางของโลกต่อไป แทนที่จะยกของดีให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง(ระหว่างโตเกียวกับปักกิ่ง)ไปง่ายๆ
แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าสองเกลอยักษ์ใหญ่เอเชีย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน) จะไม่เสาะหาทางแปลงโฉมระบบการเงินโลกขึ้นใหม่ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองในทำนองละม้ายกับที่กลุ่มชาติโอเปคเคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อหนึ่งเจนเนอเรชั่นที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดสำคัญสกัดกั้นการทำนายไม่ให้ไปไกลนัก กล่าวคือ (ถ้าไม่นับอิหร่าน) ชาติผู้ส่งออกน้ำมันยังเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์สูงเด่นกว่าใคร ในเมื่อประเทศพวกนี้มีประชากรค่อนข้างน้อย ทำให้ยังมีเงินจากการขายน้ำมันอยู่ในกำปั่นยักษ์อีกมหาศาลนักนับจากที่การปรับขึ้นราคาน้ำมันประสบความสำเร็จเรื่อยมา ขณะที่ญี่ปุ่นยังไปไม่พ้นจากปัญหาติดขัดด้านปริมาณประชากรและด้านการคลัง ส่วนจีนมีประชากรจำนวนมโหฬารนักซึ่งล้วนต่อนำเงินรายได้ไปหาซื้อสิ่งของเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรอีกมากมายนับไม่ถ้วน กระนั้นก็ตาม ชาติผู้ส่งออกน้ำมันมีแหล่งที่มาของความมั่งคั่งจากความบังเอิญทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจมลายหายสูญไปได้ในชั่วข้ามคืน ถ้าโลกเกิดจะมีแหล่งพลังงานทางอื่นใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนามาได้ในเชิงพาณิชย์ในปริมาณที่เพียงพอ ณ ระดับราคาที่เหมาะสม
พวกญี่ปุ่น จีน และเกาหลีออกแรงทำงานไว้หนักหนามากกว่าจะได้มาซึ่งสิ่งที่พวกเขามีอยู่ในปัจจุบัน และต่างจะโอ้อวดถึงระบบเศรษฐกิจของพวกตนที่สร้างบูรณาการได้อย่างสูง มีความซับซ้อนอย่างเหลือเกิน ทำให้สามารถทำการผลิตที่ก้าวหน้ากว่าแค่การไปดูดไปสกัดสิ่งของใต้ดินขึ้นมาขายแพงหลายเท่าตัวของต้นทุนที่ลงมือทำไปจริง ในเวลาเดียวกัน พวกชาติทางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ก็ละม้ายชาติในตะวันออกกลาง คือเป็นภูมิภาคอันตรายและเต็มไปด้วยความผันผวน เพียงแต่จะมีองค์ประกอบที่แตกต่างออกไปมาก
กระนั้นก็ตาม นาเปียชี้ให้ตระหนักสิ่งสำคัญทีเดียวเมื่อเขาตั้งข้อสังเกตขึ้นมาว่า ขณะที่บาดแผลของทศวรรษ 1970 ทำให้ได้เห็นการถ่ายโอนทรัพย์ไปสู่ตะวันออกกลางอย่างถาวร กลียุคทางเศรษฐกิจในทุกวันนี้อาจส่งผลให้เกิดการปรับโฉมของโครงสร้างทางการเงินโลกและโครงสร้างความมั่งคั่งของโลก โดยจะได้เห็นว่า“พวกเอเชียตะวันออก”เริ่มเปี่ยมไปด้วยพลัง ขณะที่อำนาจกับอิทธิพลก็จะขยายตัวขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าประเทศเหล่านี้จะต้องเผชิญกับทุกข์ตรมในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
อาร์ แทกการ์ต เมอร์ฟี่ อดีตวาณิชธนากร ปัจจุบันเป็นอาจารย์ในโครงการเอ็มบีเอด้านธุรกิจระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยสึกุบะ วิทยาเขตโตเกียว และเป็นผู้ประสานงานของวารสารเอเชีย-แปซิฟิก เจอร์นัล เขาเขียนหนังสือชื่อ The Weight of the Yen (Norton, 1996) และเขียนอีกเล่มหนึ่งร่วมกับอากิโอะ มิกุนิ เรื่อง Japan's Policy Trap (Brookings, 2002)