**ต้องขอชื่นชมการทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ในเรื่องการคิดค้นและผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แต่ตลท.ของเราก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง...**
ในเช้าวันนี้ (25พ.ค.) จะเป็นการเปิดตัสอย่างเป็นทางการของดัชนีน้องใหม่ประจำตลาดหุ้นบ้านเรา **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** หรือ **FTSE SET Shariah Index** แม้จะไม่สามารถเปิดตัวได้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่าน จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ แต่เชื่อว่าดัชนีตัวใหม่นี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนผู้นับศาสนาอสิลามทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักลงทุนทั่วไป เพราะเจ้าสิ่งนี้นับเป็นอีกหนึ่งของขวัญล้ำค่า ที่เชื่อว่าหากใครนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาลงทุนจะไม่มีทางเสียใจได้แน่
สำหรับ **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ ตลาดทรัพย์ฯกับ ฟุตซี่ กรุ๊ป และ Yasaar Limited ในการพัฒนาดัชนีใหม่ เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ตามหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของผู้ร่วมตลาด ซึ่งจะประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวน 55หลักทรัพย์ คิดเป็นประมาณ 44% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดใน **FTSE SET All-Share Index** โดยมี **Yasaar Limited** ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ให้คำปรึกษาด้านการคัดเลือกหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักศาสนา
ทั้งนี้ การคัดเลือกหลักทรัพย์ใน **FTSE SET Shariah Index** จะพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนบัญชีลูกหนี้และเงินสดต่อสินทรัพย์รวม ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการจัดทำชุดดัชนีของ **FTSE Shariah Global Equity Index** ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหลักทรัพย์ในตลาดทุนโลกที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม โดยยังพิจารณาเกณฑ์การกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย **(free float)** และเกณฑ์การดำรงสภาพคล่อง **(Liquidity)** ด้วย
**สันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาด ตลาดหลักทรัพย์ฯ** กล่าวให้ความเห็นและแนะนำดัชนีน้องใหม่ว่า นี่ไม่ใช่ของใหม่ในตลาดทุนทั่วโลก แต่ไทยเราก็ไม่ใช้เจ้าสุดท้ายที่เพิ่งมีการจัดทำดัชนีประเภทนี้ โดยปัจจุบันนอกเหนือกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศที่มีระบบตลาดทุนขนาดใหญ่หลายประเทศก็มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวขึ้นมาแล้ว แม้ว่าประชากรของประเทศเหล่านี้จะมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่น้อยก็ตาม เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง เป็นต้น
**แล้วเพราะอะไร?** นานาประเทศเหล่านี้จึงเริ่มให้ความสำคัญกับดัชนีดังกล่าว คำตอบคือในโลกของ**อิสลามิก ไฟแนนซ์ (Islamic Finance)** นั้นมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง แต่จะให้มองและเข้าใจง่ายๆคือ พี่น้องร่วมโลกของเราไม่เชื่อว่าการปล่อยให้เงินอยู่เฉยๆ และจะงอกเงยขึ้นมากได้ แต่จะต้องเกิดจากการลงแรง ลงทุนทำให้ผลตอบแทนมันยเกิดขึ้นแต่ต้องเป็นไปตามกฎและหลักของศาสนาอสิลาม หรือ **“ชาริอะฮ์” (Shariah)**
ขณะเดียวกัน เราต้องมองกลับไปที่ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า พี่น้องมุสลิมของเราส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศเหล่านี้ขึ้นชื่อลือชาในความมั่งคั่งด้านทรัพย์พยากรณ์ทางพลังงานที่สำคัญของโลก นั่นคือ **น้ำมัน** ทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้มีความมั่นคง มั่งคง และยังมีเม็ดเงินอีกเป็นจำนวนมาก **โดยใช้คำว่าจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะนำมาลงทุนในดินแดนอื่นๆ ทั่วโลกก็ไม่แปลก ซึ่งนี่จะเป็นคำตอบให้กับทุกคนได้ว่าทำไมเราต้องมีการจัดทำดัชนีนี้ขึ้นมา**
นอกจากนี้ จากข้อมูลพบว่า ทั่วทั้งโลกใบกลมๆนี้ มีพี่น้องมุสลิมอยู่ถึง 1 ใน 4 ของโลก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3ของโลกได้ในราวปี 2025 ขณะที่ไทยเราเองแม้พี่น้องเราส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เราก็มีพี่น้องที่เป็นมุสลิมถึง 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมด เรามีมัสยิดในประเทศรวมกันกว่า 2,500 แห่ง
ต่อมาต้องขอกล่าวถึงคำว่า **เศรษฐศาสตร์ เชิงศาสนาอสิลาม** ซึ่งปัจจุบันเป็นยอมรับและมีการพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงของโลกหลายแห่งเริ่มเล็งเห็ฯความสำคัญ และได้มีการจัดหลักสูตรการเรียนดังกล่าวขึ้นมาแล้ว จึงน่าจะเป็นสิ่งยืนยันว่า **ตอนนี้ทั่วโลกให้ความสนใจใน Islamic Finance เป็นอย่างมาก**
ย้อนกลับมาพูดถึง การลงทุนตามหลักศาสนาอสิลามของพี่น้องทั่วโลก พบว่ามีอัตราการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2002 พบว่าทั่วโลกมีกองทุนที่ใช้นโยบายลงทุนตามหลักเกณฑ์ของศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 22 โครงการในปี 02 เป็น 153 โครงการในปี 2007 โดยมีการลงทุนที่แตกต่างและหลายกหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนแบบมันนีมาร์เกต ฯลฯ
โดยในประเทศตะวันออกกลางที่อยู่ในกลุ่ม **Gulf Cooperation Council (GCC)**มีการออกกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามจำนวน 33 กองทุน มูลค่าสูงถึง 3,871 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 17 กองทุน มูลค่า 2,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คูเวต จำนวน 11 กองทุน มูลค่า 787 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กาตาร์ จำนวน 3 กองทุน มูลค่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ จำนวน 2 กองทุน มูลค่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อีกทั้งหากเปรียบระหว่างข้อมูลตัวเลขประชากรในประเทศ อัตราการเจริญเติบดจทางเศรษฐกิจ และมารเกตแคปของประเทศจะพบว่า ประเทศเหล่านี้จะมีมาร์เกตแคปโตกว่าจีดีพีของประเทศทั้งสิ้น แม้จำนวนประชากรจะไม่มากก็ตาม
**”ไทย นับว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ชาวตะวันนออกกลางรู้จัก และยอมรับในความสามารถของเราในหลายๆเรื่อง ซึ่งทำให้ผมเชื่อว่าพวกเขาเหล่านี้น่าจะสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศของเราเช่นกัน เพียงอาจยังมีข้อกังวลในเรื่องการลงทุนตรามหลักศาสนา ดังนั้นเมื่อเรามีดัชนีใหม่นี้ขึ้นมา จะช่วยเพิ่มการตัดสินใจให้กับพวกเขาได้ง่ายขึ้น และความน่าเชื่อถือก็เพิ่มขึ้นไปด้วย ไม่เฉพาะเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว”**
ดังนั้นเพื่อให้ **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากที่สุด การพิจารณาตรวจสอบคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะเข้ามาคำนวณในดัชนี นอกจาก **ฟุตซี่ กรุ๊ป* ที่มีชื่อเสียงในการจัดทำดัชนีแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องให้ **Yasaar Limited** เข้ามามีส่วนร่วม และช่วยควบคุมตรวจสอบหลักทรัพย์ต่างๆ เพราะเขาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มเครดิตและความน่าเชื่อถือให้แก่ดัชนีใหม่นี้
**และเมื่อทุกอย่างลงตัวการจัดทำดัชนีดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จ จนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ ซึ่งทางตาดหลักทรัพย์ฯเองก็คาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนชาวมุสลิมให้หันมอง และนำเงินลงทุนมาลงทุนไทยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เชื่อว่านี่จะเป็นโอกาสในการลงทุนแบบใหม่อีกช่องทางหนึ่งที่มีคุณภาพ สำหรับนักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะโครงสร้างทางการเงินของหลักทรัพย์ที่ถูกคัดเลือกมาไว้ในดัชนีฯ**
**การคัดเลือกหลักทรัพย์**
ตลาดหลักทรัพย์ ฟุตซี่ กรุ๊ป และ Yasaar ได้ทำการคัดเลือกหลักทรัพย์ จำนวน 55 หลักทรัพย์หรือ คิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด มาจัดทำเป็นดัชนี ฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์ ซึ่งครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็นหลักทรัพย์ในกลุ่มน้ำมันและก๊าซ ร้อยละ 47.78 กลุ่มสื่อสาร ร้อยละ 14.96 และ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ร้อยละ 11 นอกจากนี้ยังมีในกลุ่มอาหาร สินค้าเกษตร ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยานยนต์ในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป
โดยการคัดเลือกเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ดังนี้ คือ คัดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจขัดต่อหลักศาสนาอิสลามออก ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือประกันภัย ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจตามหลักศาสนาอิสลาม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสุกร ซึ่งไม่เป็นอาหารฮาลาล ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นกาสิโน การพนัน โรงภาพยนตร์ ดนตรี สื่อลามก รวมทั้งธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายอาวุธ
และหลังจากที่ได้หลักทรัพย์ที่ผ่านเกณฑ์การดำเนินธุรกิจแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาอัตราส่วนทางการเงิน ดังนี้ คือส่วนของหนี้ต้องน้อยกว่าร้อยละ 33 ของสินทรัพย์รวม ส่วนของเงินสดและดอกเบี้ย ต้องน้อยกว่าร้อยละ 33 ของสินทรัพย์รวม สัดส่วนของบัญชีลูกหนี้และเงินสด ต้องน้อยกว่าร้อยละ 50 ของสินทรัพย์รวมและดอกเบี้ยรวมและรายได้อื่นๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของรายได้รวม
** “การเปิดตัว FTSE SET Shariah Index ในครั้งนี้ เป็นการก้าวเข้าสู่ตลาดของตราสารที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ที่กำลังเติบโต โดยดัชนีใหม่นี้จะช่วยเพิ่มเครื่องมือทางการเงินให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการออกตราสารการลงทุนที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ (Structured investment products) ที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามในระดับโลกอีกด้วย”ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ** ให้ทัศนะ
“บริษัทสนใจใช้ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์ ( FTSE SET Shariah Index) เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับกองทุนภายใต้การบริหาร 2 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเช่นกัน นั่นคือ กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 กองทุนอ้างอิงดัชนี SET Index อยู่”
สุดท้ายขอหยิบยก ความเห็นของ **กีรติ โกสีย์เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์ฯ** ที่พยายามเน้นย้ำให้กับสื่อมวลชน ในวันที่มาอธิบายและแนะนำดัชนีว่า หากไม่นำหลักเกณฑ์ทางศาสนาอสิลามมาประกอบ แต่มองถึงข้อพิจราณาหลักทรัพย์ในด้านสถานะการเงิน จะพบว่าดัชนีใหม่นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกหลักทรัพย์ให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกช่องทางหนึ่ง เพราะจากเกณฑ์สถานะทางการเงินที่ใช้คัดเลือกนี้ นักลงทุนจะค้นพบหลักทรัพย์ที่แข็งแกร่ง มีฟรีโฟลตในระดับที่ดี หนี้สินน้อย และมีผลการดำเนินงานที่เยี่ยม ดังนั้นดัชนีใหม่นี้ แม้คุณไม่ใช่พี่น้องมุสลิม แต่คุณก็สามารถนำมาไปใช้ได้....ด้วยเช่นกัน
ในเช้าวันนี้ (25พ.ค.) จะเป็นการเปิดตัสอย่างเป็นทางการของดัชนีน้องใหม่ประจำตลาดหุ้นบ้านเรา **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** หรือ **FTSE SET Shariah Index** แม้จะไม่สามารถเปิดตัวได้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่าน จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ แต่เชื่อว่าดัชนีตัวใหม่นี้ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนผู้นับศาสนาอสิลามทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักลงทุนทั่วไป เพราะเจ้าสิ่งนี้นับเป็นอีกหนึ่งของขวัญล้ำค่า ที่เชื่อว่าหากใครนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาลงทุนจะไม่มีทางเสียใจได้แน่
สำหรับ **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ ตลาดทรัพย์ฯกับ ฟุตซี่ กรุ๊ป และ Yasaar Limited ในการพัฒนาดัชนีใหม่ เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ตามหลักศาสนาอิสลาม รวมทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของผู้ร่วมตลาด ซึ่งจะประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวน 55หลักทรัพย์ คิดเป็นประมาณ 44% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดใน **FTSE SET All-Share Index** โดยมี **Yasaar Limited** ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ให้คำปรึกษาด้านการคัดเลือกหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามหลักศาสนา
ทั้งนี้ การคัดเลือกหลักทรัพย์ใน **FTSE SET Shariah Index** จะพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ เช่น อัตราส่วนบัญชีลูกหนี้และเงินสดต่อสินทรัพย์รวม ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการจัดทำชุดดัชนีของ **FTSE Shariah Global Equity Index** ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหลักทรัพย์ในตลาดทุนโลกที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม โดยยังพิจารณาเกณฑ์การกระจายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อย **(free float)** และเกณฑ์การดำรงสภาพคล่อง **(Liquidity)** ด้วย
**สันติ กีระนันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาตลาด ตลาดหลักทรัพย์ฯ** กล่าวให้ความเห็นและแนะนำดัชนีน้องใหม่ว่า นี่ไม่ใช่ของใหม่ในตลาดทุนทั่วโลก แต่ไทยเราก็ไม่ใช้เจ้าสุดท้ายที่เพิ่งมีการจัดทำดัชนีประเภทนี้ โดยปัจจุบันนอกเหนือกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศที่มีระบบตลาดทุนขนาดใหญ่หลายประเทศก็มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวขึ้นมาแล้ว แม้ว่าประชากรของประเทศเหล่านี้จะมีผู้นับถือศาสนาอิสลามอยู่น้อยก็ตาม เช่น สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น ฮ่องกง เป็นต้น
**แล้วเพราะอะไร?** นานาประเทศเหล่านี้จึงเริ่มให้ความสำคัญกับดัชนีดังกล่าว คำตอบคือในโลกของ**อิสลามิก ไฟแนนซ์ (Islamic Finance)** นั้นมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง แต่จะให้มองและเข้าใจง่ายๆคือ พี่น้องร่วมโลกของเราไม่เชื่อว่าการปล่อยให้เงินอยู่เฉยๆ และจะงอกเงยขึ้นมากได้ แต่จะต้องเกิดจากการลงแรง ลงทุนทำให้ผลตอบแทนมันยเกิดขึ้นแต่ต้องเป็นไปตามกฎและหลักของศาสนาอสิลาม หรือ **“ชาริอะฮ์” (Shariah)**
ขณะเดียวกัน เราต้องมองกลับไปที่ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า พี่น้องมุสลิมของเราส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งประเทศเหล่านี้ขึ้นชื่อลือชาในความมั่งคั่งด้านทรัพย์พยากรณ์ทางพลังงานที่สำคัญของโลก นั่นคือ **น้ำมัน** ทำให้ภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้มีความมั่นคง มั่งคง และยังมีเม็ดเงินอีกเป็นจำนวนมาก **โดยใช้คำว่าจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะนำมาลงทุนในดินแดนอื่นๆ ทั่วโลกก็ไม่แปลก ซึ่งนี่จะเป็นคำตอบให้กับทุกคนได้ว่าทำไมเราต้องมีการจัดทำดัชนีนี้ขึ้นมา**
นอกจากนี้ จากข้อมูลพบว่า ทั่วทั้งโลกใบกลมๆนี้ มีพี่น้องมุสลิมอยู่ถึง 1 ใน 4 ของโลก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3ของโลกได้ในราวปี 2025 ขณะที่ไทยเราเองแม้พี่น้องเราส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่เราก็มีพี่น้องที่เป็นมุสลิมถึง 10% ของจำนวนประชากรทั้งหมด เรามีมัสยิดในประเทศรวมกันกว่า 2,500 แห่ง
ต่อมาต้องขอกล่าวถึงคำว่า **เศรษฐศาสตร์ เชิงศาสนาอสิลาม** ซึ่งปัจจุบันเป็นยอมรับและมีการพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และมีชื่อเสียงของโลกหลายแห่งเริ่มเล็งเห็ฯความสำคัญ และได้มีการจัดหลักสูตรการเรียนดังกล่าวขึ้นมาแล้ว จึงน่าจะเป็นสิ่งยืนยันว่า **ตอนนี้ทั่วโลกให้ความสนใจใน Islamic Finance เป็นอย่างมาก**
ย้อนกลับมาพูดถึง การลงทุนตามหลักศาสนาอสิลามของพี่น้องทั่วโลก พบว่ามีอัตราการเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2002 พบว่าทั่วโลกมีกองทุนที่ใช้นโยบายลงทุนตามหลักเกณฑ์ของศาสนาเพิ่มขึ้นจาก 22 โครงการในปี 02 เป็น 153 โครงการในปี 2007 โดยมีการลงทุนที่แตกต่างและหลายกหลายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนแบบมันนีมาร์เกต ฯลฯ
โดยในประเทศตะวันออกกลางที่อยู่ในกลุ่ม **Gulf Cooperation Council (GCC)**มีการออกกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามจำนวน 33 กองทุน มูลค่าสูงถึง 3,871 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นประเทศซาอุดีอาระเบีย จำนวน 17 กองทุน มูลค่า 2,946 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คูเวต จำนวน 11 กองทุน มูลค่า 787 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กาตาร์ จำนวน 3 กองทุน มูลค่า 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ จำนวน 2 กองทุน มูลค่า 96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อีกทั้งหากเปรียบระหว่างข้อมูลตัวเลขประชากรในประเทศ อัตราการเจริญเติบดจทางเศรษฐกิจ และมารเกตแคปของประเทศจะพบว่า ประเทศเหล่านี้จะมีมาร์เกตแคปโตกว่าจีดีพีของประเทศทั้งสิ้น แม้จำนวนประชากรจะไม่มากก็ตาม
**”ไทย นับว่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ชาวตะวันนออกกลางรู้จัก และยอมรับในความสามารถของเราในหลายๆเรื่อง ซึ่งทำให้ผมเชื่อว่าพวกเขาเหล่านี้น่าจะสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศของเราเช่นกัน เพียงอาจยังมีข้อกังวลในเรื่องการลงทุนตรามหลักศาสนา ดังนั้นเมื่อเรามีดัชนีใหม่นี้ขึ้นมา จะช่วยเพิ่มการตัดสินใจให้กับพวกเขาได้ง่ายขึ้น และความน่าเชื่อถือก็เพิ่มขึ้นไปด้วย ไม่เฉพาะเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนแต่เพียงอย่างเดียว”**
ดังนั้นเพื่อให้ **ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์** มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือมากที่สุด การพิจารณาตรวจสอบคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะเข้ามาคำนวณในดัชนี นอกจาก **ฟุตซี่ กรุ๊ป* ที่มีชื่อเสียงในการจัดทำดัชนีแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องให้ **Yasaar Limited** เข้ามามีส่วนร่วม และช่วยควบคุมตรวจสอบหลักทรัพย์ต่างๆ เพราะเขาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มเครดิตและความน่าเชื่อถือให้แก่ดัชนีใหม่นี้
**และเมื่อทุกอย่างลงตัวการจัดทำดัชนีดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จ จนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ ซึ่งทางตาดหลักทรัพย์ฯเองก็คาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนชาวมุสลิมให้หันมอง และนำเงินลงทุนมาลงทุนไทยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เชื่อว่านี่จะเป็นโอกาสในการลงทุนแบบใหม่อีกช่องทางหนึ่งที่มีคุณภาพ สำหรับนักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะโครงสร้างทางการเงินของหลักทรัพย์ที่ถูกคัดเลือกมาไว้ในดัชนีฯ**
**การคัดเลือกหลักทรัพย์**
ตลาดหลักทรัพย์ ฟุตซี่ กรุ๊ป และ Yasaar ได้ทำการคัดเลือกหลักทรัพย์ จำนวน 55 หลักทรัพย์หรือ คิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด มาจัดทำเป็นดัชนี ฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์ ซึ่งครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม โดยแบ่งเป็นหลักทรัพย์ในกลุ่มน้ำมันและก๊าซ ร้อยละ 47.78 กลุ่มสื่อสาร ร้อยละ 14.96 และ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ร้อยละ 11 นอกจากนี้ยังมีในกลุ่มอาหาร สินค้าเกษตร ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมยานยนต์ในสัดส่วนที่ลดหลั่นกันไป
โดยการคัดเลือกเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ดังนี้ คือ คัดหลักทรัพย์ที่ดำเนินธุรกิจขัดต่อหลักศาสนาอิสลามออก ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือประกันภัย ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจตามหลักศาสนาอิสลาม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสุกร ซึ่งไม่เป็นอาหารฮาลาล ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบันเทิง ไม่ว่าจะเป็นกาสิโน การพนัน โรงภาพยนตร์ ดนตรี สื่อลามก รวมทั้งธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือจำหน่ายอาวุธ
และหลังจากที่ได้หลักทรัพย์ที่ผ่านเกณฑ์การดำเนินธุรกิจแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาอัตราส่วนทางการเงิน ดังนี้ คือส่วนของหนี้ต้องน้อยกว่าร้อยละ 33 ของสินทรัพย์รวม ส่วนของเงินสดและดอกเบี้ย ต้องน้อยกว่าร้อยละ 33 ของสินทรัพย์รวม สัดส่วนของบัญชีลูกหนี้และเงินสด ต้องน้อยกว่าร้อยละ 50 ของสินทรัพย์รวมและดอกเบี้ยรวมและรายได้อื่นๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของรายได้รวม
** “การเปิดตัว FTSE SET Shariah Index ในครั้งนี้ เป็นการก้าวเข้าสู่ตลาดของตราสารที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ที่กำลังเติบโต โดยดัชนีใหม่นี้จะช่วยเพิ่มเครื่องมือทางการเงินให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการออกตราสารการลงทุนที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ (Structured investment products) ที่เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามในระดับโลกอีกด้วย”ภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ** ให้ทัศนะ
“บริษัทสนใจใช้ดัชนีฟุตซี่ เซ็ท ชาริอะห์ ( FTSE SET Shariah Index) เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับกองทุนภายใต้การบริหาร 2 กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเช่นกัน นั่นคือ กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว และกองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 กองทุนอ้างอิงดัชนี SET Index อยู่”
สุดท้ายขอหยิบยก ความเห็นของ **กีรติ โกสีย์เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจข้อมูล ตลาดหลักทรัพย์ฯ** ที่พยายามเน้นย้ำให้กับสื่อมวลชน ในวันที่มาอธิบายและแนะนำดัชนีว่า หากไม่นำหลักเกณฑ์ทางศาสนาอสิลามมาประกอบ แต่มองถึงข้อพิจราณาหลักทรัพย์ในด้านสถานะการเงิน จะพบว่าดัชนีใหม่นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกหลักทรัพย์ให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกช่องทางหนึ่ง เพราะจากเกณฑ์สถานะทางการเงินที่ใช้คัดเลือกนี้ นักลงทุนจะค้นพบหลักทรัพย์ที่แข็งแกร่ง มีฟรีโฟลตในระดับที่ดี หนี้สินน้อย และมีผลการดำเนินงานที่เยี่ยม ดังนั้นดัชนีใหม่นี้ แม้คุณไม่ใช่พี่น้องมุสลิม แต่คุณก็สามารถนำมาไปใช้ได้....ด้วยเช่นกัน