เอเจนซี - ชาวบัลแกเรียหลายพันคน ออกมาชุมนุมกันใจกลางกรุงโซเฟียเมื่อวันศุกร์(26) หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้าการเลือกตั้ง เพื่อประท้วงความล้มเหลวของรัฐบาลในการปกป้องคนตกงานและต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน
การเดินขบวนดังกล่าวย้ำให้เห็นถึงความโกรธเคืองของประชาชนที่เพิ่มมาขึ้นเรื่อยๆ ต่อความพยายามปฏิรูปการเมืองอันหยุดชะงักและความไร้ความสามารถของรัฐบาลที่อาจทำให้บัลแกเรียต้องตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปอีกหลายปี
ในความเป็นประเทศยากจนที่สุดในสหภาพยุโรป บัลแกเรียยังถูกมองในฐานะชาติที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดจนนำไปสู่การอายัดเงินช่วยเหลือจากอียูในปีนี้ สืบเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฉ้อฉล
ผลสำรวจความคิดเห็นหลายสำนักชี้ว่ารัฐบาลสังคมนิยมของนายกรัฐมนตรีเซอร์เก สตานิเชฟ ดูเหมือนจะต้องสูญเสียอำนาจหลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้
จากการที่ต้องประสบกับภาวะคะแนนนิยมตกต่ำและความโกรธเคืองของประชาชนต่อการรับมือทางเศรษฐกิจและปฏิรูประบบยุติธรรม รัฐบาลพยายามหาทางออกจากปัญหาด้วยการขึ้นเบี้ยบำนาญและดำเนินโครงการก่อสร้างใหม่ๆ
แต่นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าการใช้จ่ายอย่างโลดโผนก่อนหน้าการเลือกตั้งของรัฐบาลนั้น คุกคามต่อการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งอาจบีบให้โซเฟียต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
ผู้ชุมนุมราว 3,000 คนที่รวมตัวกันหน้าโบสถ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้ มีทั้งบรรดาครู เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข คนงานเหมืองแร่และสมาชิกสหภาพด้านการค้าอื่นๆ โดยต่างถือป้ายมีใจความว่า "เราต้องการงาน" และ "เราต้องการความยุติธรรม เราต้องการเห็นผู้ทำผิดได้รับผลกรรม"
นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากต่างพากันหนีหายนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเริ่มขึ้น โดยหลายบริษัทได้ระงับการผลิตในบัลแกเรีย ส่งผลให้มีประชาชนต้องตกงานเฉลี่ยแล้วราว 5,000 คนต่อเดือนเลยทีเดียว
การเดินขบวนดังกล่าวย้ำให้เห็นถึงความโกรธเคืองของประชาชนที่เพิ่มมาขึ้นเรื่อยๆ ต่อความพยายามปฏิรูปการเมืองอันหยุดชะงักและความไร้ความสามารถของรัฐบาลที่อาจทำให้บัลแกเรียต้องตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปอีกหลายปี
ในความเป็นประเทศยากจนที่สุดในสหภาพยุโรป บัลแกเรียยังถูกมองในฐานะชาติที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดจนนำไปสู่การอายัดเงินช่วยเหลือจากอียูในปีนี้ สืบเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเรื่องฉ้อฉล
ผลสำรวจความคิดเห็นหลายสำนักชี้ว่ารัฐบาลสังคมนิยมของนายกรัฐมนตรีเซอร์เก สตานิเชฟ ดูเหมือนจะต้องสูญเสียอำนาจหลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้
จากการที่ต้องประสบกับภาวะคะแนนนิยมตกต่ำและความโกรธเคืองของประชาชนต่อการรับมือทางเศรษฐกิจและปฏิรูประบบยุติธรรม รัฐบาลพยายามหาทางออกจากปัญหาด้วยการขึ้นเบี้ยบำนาญและดำเนินโครงการก่อสร้างใหม่ๆ
แต่นักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าการใช้จ่ายอย่างโลดโผนก่อนหน้าการเลือกตั้งของรัฐบาลนั้น คุกคามต่อการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งอาจบีบให้โซเฟียต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)
ผู้ชุมนุมราว 3,000 คนที่รวมตัวกันหน้าโบสถ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้ มีทั้งบรรดาครู เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข คนงานเหมืองแร่และสมาชิกสหภาพด้านการค้าอื่นๆ โดยต่างถือป้ายมีใจความว่า "เราต้องการงาน" และ "เราต้องการความยุติธรรม เราต้องการเห็นผู้ทำผิดได้รับผลกรรม"
นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากต่างพากันหนีหายนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเริ่มขึ้น โดยหลายบริษัทได้ระงับการผลิตในบัลแกเรีย ส่งผลให้มีประชาชนต้องตกงานเฉลี่ยแล้วราว 5,000 คนต่อเดือนเลยทีเดียว