เอเจนซี - นักเศรษฐศาสตร์ ชี้ การคอร์รัปชัน และการเมืองแบบระบบอุปถัมภ์ และโครงสร้างรัฐบาลที่เก่าคร่ำครึได้ทำให้ระบบราชการในฟิลิปปินส์อ่อนแอ และยังทำให้การปรับปรุงพัฒนาการด้านมนุษย์ของประเทศล่าช้าออกไปด้วย
โซลิตา มันซอด อดีตการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน และระดับรายได้ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ 2 ประการสำคัญของพัฒนาการมนุษย์ ได้รับผลกระทบ เพราะปัจจัยเหล่านั้น และเพราะจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งทำให้คาดว่า จำนวนผู้ที่อยู่ในภาวะความยากจนในประเทศจะสูงขึ้นอีก
เธอชี้ว่า ความยากจนของฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้นจากปี 1997 แม้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2007 โดยประชากรจำนวนอย่างน้อย 25.2 เปอร์เซ็นต์ อยู่ต่ำกว่าระดับยากจนในปี 1997 และ 27 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2006 ทั้งนี้ ระดับความจนนั้นหมายความว่า มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ
โทบี เมลิสซา มันซอด บุตรสาวของ โซลิตา และสมาชิกของเครือข่ายพัฒนามนุษย์ ระบุว่า การพัฒนามนุษย์ของประเทศไปไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากหน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่ล้มเหลวในการให้บริการขั้นพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
เธอกล่าวว่า ระบบข้าราชการของฟิลิปปินส์ล้มเหลวที่จะให้บริการขั้นพื้นฐานที่สุด เนื่องจากปัญหาคอร์รัปชัน ระบบการเมืองที่ใช้เส้นสาย และความล้มเหลวของรัฐบาลที่จะปฏิรูป โครงสร้างและระบบการทำงานของตัวเอง
โทบี กล่าวในรายงานด้านการพัฒนามนุษย์ประจำปี 2008/2009 ว่า การใช้เงินล่อใจในหน่วยงานราชการได้ทำให้คุณภาพของระบบข้าราชการฟิลิปปินส์อ่อนแอลงในทุกระดับชั้นในไม่กี่ปีมานี้ ขณะที่บริการของรัฐที่เข้มแข็งเป็นปัจจัยสำคัญของธรรมาภิบาล โดยเฉพาะเมื่อภาวะผู้นำทางการเมืองแปรปรวน และระดับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการมีสูง
เธอระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากาล อาร์โรโย ที่เข้าครองอำนาจในปี 2001 มีจำนวนที่ปรึกษาจำนวนมาก ที่เพลิดเพลินกับตำแหน่งและอำนาจ แต่ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำยังมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกินความจำเป็น ส่งผลต้องจ่ายเงินเดือนพิเศษเพิ่มขึ้น 1.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในแต่ละปีด้วย
ขณะที่ในตรงข้าม พนักงานของรัฐส่วนใหญ่จากจำนวนทั้งหมด 1.3 ล้านคน ได้รับเงินเดือนต่ำกว่างานแบบเดียวกันในภาคเอกชนมากถึง 74 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการคอร์รัปชันในทุกระดับด้วย