เอเจนซี - นักรบตอลิบานในอัฟกานิสถาน ส่วนใหญ่พร้อมที่จะวางอาวุธ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าตายหากกลับใจ เพราะว่ารัฐบาลอัฟกันไม่สามารถประกันความปลอดภัยให้ได้ อดีตผู้บัญชาการเครือข่ายนักรบ เผย
“ตอลิบาน 95 เปอร์เซ็นต์ ต้องการรอมชอมกับรัฐบาล ถ้าพวกเขาได้รับประกันความปลดภัย” อดีตผู้บัญชาการของตอลิบานคนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ว่าการเมืองมุซา ฆอลา กล่าว “แต่รัฐบาลอัฟกานิสถานไม่สามารถประกันความปลอดภัยของพวกเขาได้ พวกเขากำลังต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด” มุลเลาะห์ อับดุล ซาลามกล่าว
ซาลาม กล่าวว่า รัฐบาลต้องให้คำมั่นว่าจะรักษาความปลอดภัยให้แก่นักรบที่ต้องการสันติภาพ แต่นักรบส่วนใหญ่ต้องลดความเสี่ยงจนกว่ากองทัพจะแข็งแกร่งเพียงพอ
“ตอลิบานกำลังสังจับตาดูสภถานการณ์ความปลอดภัย ขณะนี้ รัฐบาลไม่ได้เข้มแข็งไปกว่าพวกเขาเลย เมื่อเข้มแข็งกว่านี้ พวกเขาก็จะมาอยู่ฝ่ายรัฐบาล” ซาลาม อดีตสหายของมุลเลาะห์ โมฮัมหมัด โอมาร์ ผู้นำกลุ่มตอลิบาน กล่าว
หลังจากที่ถูกโค่นล้มหลังเหตุวินาศกรรมโจมตีสหรัฐฯ เมื่อ 11 กันยายน 2001 กลุ่มตอลิบานได้รวมกลุ่มกันอีกในเมืองมุซา ฆอลา และเมืองเฮลมานด์ เพราะเป็นพื้นที่แทบจะไม่มีกองกำลังนานาชาติเข้ามา และมีอิทธิพลของรัฐบาลน้อย
ทหารอังกฤษเข้าไปมุซาฆอลา กลางปี 2006 แต่ถอนกำลังออกไปในปีถัดมา หลังจากเกิดการโจมตีแบบรายวันจากกลุ่มตอลิบาน
ตอลิบานเข้ายึดเมืองมุซาฆอลาได้ในเดือนมกราคม 2007 และจัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้น ขณะที่กองทัพอัฟกานิสถาน และกองกำลังต่างชาติต่อต้านการโจมตี มุซาฆอลา มองไม่เห็นมาตรการสันติภาพใดๆ ในอัฟกานิสถาน เนื่องจากภัยคุกคามการการโจมตีแบบฆ่าตัวตาย
ใน 10 เดือนต่อมา ทหารอังกฤษและสหรัฐฯนับพันได้เปิดฉากการโจมตีครั้งใหญ่รอบๆ มุซาฆอลา แผ้วถางทางให้แก่กองกำลังอัฟกานิสถานเข้ายึดครองเมืองนี้ และหลังจากนั้นในเดือนธันวาคม ซาลามก็เปลี่ยนข้างมาอยูกับรัฐบาล และได้รับการแต่งตังเป็นผู้ว่าการเมืองมุซาฆอลา นับแต่นั้นมา ทหารอังกฤษ และอัฟกัน ก็ค่อยขยายอิทธิพลไปทั่วเมือง