(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Hey Washington - it's a global crisis
By Sam Gardiner
26/02/2009
ในการปราศรัยต่อที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในประเด็นของมิติในระดับโลกต่อวิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ดูเสมือนจะแค่พูดให้มันดูน้อยเข้าไว้ (ถ้าจะหามุมมองที่ดีที่สุด) หรือไม่อย่างนั้นก็คือลืมๆ มันไปเสียเลย (ถ้าจะมองในทางร้ายที่สุด) อันที่จริงแล้ว ความต้องการที่เรียกหาความเป็นผู้นำและการออกมารับผิดชอบดูแลโดยรัฐบาลสหรัฐฯ นั้น ปรากฏอยู่ในที่อื่นๆ นอกพรมแดนสหรัฐอเมริกาด้วย
เมื่อฟังคำปราศรัยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบารัค โอบามา ที่กล่าวต่อที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ แล้ว ผมเฝ้าถามตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจโลก เกิดอะไรขึ้นกับโลกาภิวัฒน์ที่เป็นส่วนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิในสหรัฐฯ ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับความเป็นชาติผู้นำที่สหรัฐฯ เป็นมาตลอด ในการปราศรัยดังกล่าว ท่านประธานาธิบดีถอยจุดโฟกัสเข้ามาไว้ในระดับประเทศทั้งที่แนวทางอย่างนั้นในเวลาอย่างนี้มีแนวโน้มมากว่าจะไม่ช่วยแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลเป็นการกวาดล้างการจ้างงานในภาคการเงินทั่วโลกไปแล้ว 325,000 ตำแหน่ง ความดำเนินการเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในระบบการธนาคารของสหรัฐฯ จะไม่ไปแก้ปัญหาในระดับโลกซึ่งที่มีขนาดใหญ่โตกว่าได้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประหยัดพลังงาน จะไม่ไปช่วยบริษัทแคตเตอร์พิลลาร์ ซึ่งอิงอยู่กับยอดขายนอกประเทศเป็นสำคัญ ปัญหาที่สหรัฐฯ เผชิญในขณะนี้ เป็นปัญหาในระดับวิกฤตเศรษฐกิจโลก
“ชาติซึ่งประดิษฐ์ยานยนต์ไม่สามารถผละจากยานยนต์ไปได้” นั่นเป็นหนึ่งในประโยคเด็ดประโยคโดนใจของโอบามา ประธานาธิบดีกล่าวด้วยว่าตนได้ให้คำมั่นไว้แล้วที่จะปรับกระบวนอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยการปรับในเรื่องของเครื่องไม้เครื่องหมด และการปรับในเรื่องของจินตนภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และชนะได้ด้วย ขณะที่ถ้อยคำนานาประการของโอบามาล้วนแต่หรูหราน่าปลาบปลื้อมอย่างยอดเยี่ยม มันกลับล้มเหลวที่จะให้อรรถาธิบายถึงวิสัยทัศน์สำหรับการวางตำแหน่งแห่งที่ของสหรัฐฯ ในระบบเศรษฐกิจโลก
ผมไม่แน่ใจว่าประธานาธิบดีได้เห็นบทความใน น.ส.พ. Christian Science Monitor ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาแล้วหรือไม่ มันมีพาดหัวตัวใหญ่ว่า “อนาคตของผู้ผลิตรถสหรัฐฯ ผูกอยู่กับเศรษฐกิจโลก” และผมไม่ทราบว่ามีใครในรัฐบาลใหม่ชุดนี้ได้เห็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารฟอร์ดคนหนึ่งในสาขาที่รัสเซียเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ โดยบอกว่าคงต้องใช้เวลาสักห้าปีกว่าที่ยอดขายรถในรัสเซียจะฟื้นตัวขึ้นได้ หลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศนี้ได้รับผลกระทบด้านลบจากการที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง
แน่นอนว่ามันก็ถูกต้องอยู่หรอกที่จะเสนอว่าการปรับกระบวนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญ กระนั้นก็ตาม คำพูดของผู้บริหารคนหนึ่งของค่ายรถยนต์ฟอร์ด น่าจะเตือนใจเราให้ระลึกได้ถึงความหมายของระบบเศรษฐกิจโลก เขากล่าวว่าความเข้มแข็งของฟอร์ดเชื่อมโยงอยู่กับความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจรัสเซีย (เมื่อราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทางการรัสเซียได้รวมให้รถยนต์ฟอร์ดแบบที่ 5 ประตู รุ่นโฟกัส ได้อยู่ในกลุ่มยานยนต์ที่ภาครัฐเตรียมจะให้เงินอุดหนุนการซื้อในตลาด ซึ่งเป็นรายใหญ่อันดับสองของยุโรป โดยมีแนวโน้มว่ายอดขายอาจร่วงกว่า 19% ในปีนี้ตามการรายงานของบลูมเบิร์ก)
ในการเข้าให้ปากคำต่อวุฒิสภาเมื่อไม่นานมานี้ ผู้อำนวยการคนใหม่ของสำนักข่าวข่าวกรองแห่งชาติ พลเรือเอกเดนนิส แบลร์ ได้หย่อนปัจจัยเขย่าขวัญลงมาหนึ่งรายการใหญ่ โดยกล่าวว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกขณะนี้ เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแบบระยะสั้นแต่ร้ายแรงที่สุดที่สหรัฐฯ กำลังประสบอยู่ นอกจากนั้น ยังชี้ด้วยว่านี้เป็นปัญหาที่ร้ายแรงเสียยิ่งกว่าภัยคุกคามจากการก่อการร้าย การขาดไร้เสถียรภาพที่มาจากการว่างงานและการที่รายได้หดหาย คือภัยที่ทำร้ายได้อย่างเหลือเกิน
ท่านประธานาธิบดีดูเหมือนว่าจะหลงลืมคำเตือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านข้อมูลข่าวสารไปเสียแล้ว แน่นอนแหละว่า มันก็ถูกต้องอยู่ที่จะบอกว่าเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณพ่อคุณแม่ใบเลี้ยงเดี่ยวที่ไม่สามารถหาสตางค์ไปจ่ายค่าผ่อนบ้านได้ไหว กระนั้นก็ตาม มันเป็นความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์ถ้าละเลยที่จะมองในภาพที่ใหญ่ขึ้น
โอบามามีการพูดถึงเศรษฐกิจโลกอยู่บ้าง แต่ก็ในลักษณะแบบแตะๆ ผ่าน โดยบอกว่าสหรัฐฯ จะทำงานร่วมกับชาติสมาชิกกลุ่ม จี-20 ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก กระนั้นก็ตาม ท่าทีดังกล่าวให้ความรู้สึกแค่ระดับกรรมการผู้มีส่วนร่วม ยังไม่ใช่ความรู้สึกแบบผู้นำการแก้ปัญหา
ด้านบ็อบบี้ จินดัล ผู้ว่าการรัฐหลุยเซียนา แสดงท่าทีต่อเรื่องนี้แทนคนรีพับลิกกัน ด้วยการเสนอบทบาทของสหรัฐฯ ต่อระบบเศรษฐกิจโลกที่ต้องพึ่งพากันและกัน ในระดับวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำที่น้อยเสียยิ่งกว่า จินดัลพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกในคำปราศรัยด้วยถ้อยคำว่า “พายุเศรษฐกิจที่โหมกระหน่ำบ้าคลั่งอยู่รอบๆ เรา” นั่นเป็นปฏิกิริยาต่อวิกฤตการณ์ในระดับเพียงแค่เรื่องระดับบุคคลที่จินดัลเคยแสดงในช่วงวาตภัยแคทริน่า ไม่ได้นำเสนอการออกมาแสดงความรับผิดชอบแบบผู้นำสหรัฐฯ ในถ้อยคำของจินดัล ความเป็นผู้นำปรากฏออกมาได้จากแค่ระดับของการลดภาษีและการทำให้รัฐบาลมีขนาดเล็กลง
บางที ผมอาจจะคิดในทางวิพากษ์วิจารณืมากเกินไป บางทีผมอาจคาดหวังมากเกินไป กระนั้นก็ตาม ในประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน ภาวะการนำ ภาวะการเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่แบบในยุคของประธานาธิบดีอับราฮัม ลิงคอน ได้เคยปรากฏกันมาหลายครั้งแล้ว ผมปรารถนาจะได้ยินถ้อยคำในทำนองแบบที่จอร์จ มาร์แชลพูดในปาถกฐาฮาร์เวิร์ด เมื่อปี 1947 ซึ่งนำเสนอคนอเมริกันให้แสดงบทบาทในระบบเศรษฐกิจโลก ดังนี้ :
ส่วนสำคัญยิ่งในการดำเนินการสำเร็จของสหรัฐฯ คือความเข้าใจที่เกิดขึ้นในส่วนของผู้คนในอเมริกาซึ่งสามารถเข้าใจได้ถึงลักษณะของปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ควรนำไปใช้ ... ด้วยญาณทัศนะอันยาวไกล และความเต็มใจในส่วนของประชาชนที่จะเผชิญหากับความรับผิดชอบอันมหาศาลซึ่งประวัติศาสตร์ได้วางไว้บนประเทศของเรา ปัญหาอุปสรรคที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมานี้ จะสามารถถูกปราบปรามลงได้
โอบามาพูดไว้มากเกี่ยวกับความรับผิดชอลของพวกนักการธนาคาร บุคคลทั่วไป และรัฐบาลในเรื่องของวิกฤตการเงินการคลังปัจจุบันนี้ แต่การขาดเสียซึ่งการพุ่งเป้าไปยังความรับผิดชอบอันมหาศาลในระดับโลกที่คนอเมริกันในฐานะชาติๆ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นในระดับของประธานาธิปดีซึ่งรณรงค์หาเสียงไว้เกี่ยวกับการผูกพันกับโลกด้วยรูปแบบใหม่นั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ขอให้เราตั้งหวังว่า วิกฤตการเงินการคลังนี้จะไม่ทำให้ประเทศของเราถอยเข้ามาปิดตัวเอง ละเลยไม่ใส่ใจกับหายนะที่เราเผชิญจากการหลอมละลายในตลาดการเงินโลก
พันเอก แซม การ์ดิแนร์ เขียนบทความให้แก่นิตยสารรายสัปดาห์ของสถาบัน Foreign Policy In Focus การ์ดิแนร์ซึ่งเกษียณอายุราชการแล้ว สอนวิชายุทธศาสตร์และปฏิบัติการด้านการทหาร ที่ the National War College, Air War College and Naval War College
Hey Washington - it's a global crisis
By Sam Gardiner
26/02/2009
ในการปราศรัยต่อที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาในประเด็นของมิติในระดับโลกต่อวิกฤตเศรษฐกิจอเมริกา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ดูเสมือนจะแค่พูดให้มันดูน้อยเข้าไว้ (ถ้าจะหามุมมองที่ดีที่สุด) หรือไม่อย่างนั้นก็คือลืมๆ มันไปเสียเลย (ถ้าจะมองในทางร้ายที่สุด) อันที่จริงแล้ว ความต้องการที่เรียกหาความเป็นผู้นำและการออกมารับผิดชอบดูแลโดยรัฐบาลสหรัฐฯ นั้น ปรากฏอยู่ในที่อื่นๆ นอกพรมแดนสหรัฐอเมริกาด้วย
เมื่อฟังคำปราศรัยของประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายบารัค โอบามา ที่กล่าวต่อที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ แล้ว ผมเฝ้าถามตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจโลก เกิดอะไรขึ้นกับโลกาภิวัฒน์ที่เป็นส่วนสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิในสหรัฐฯ ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา เกิดอะไรขึ้นกับความเป็นชาติผู้นำที่สหรัฐฯ เป็นมาตลอด ในการปราศรัยดังกล่าว ท่านประธานาธิบดีถอยจุดโฟกัสเข้ามาไว้ในระดับประเทศทั้งที่แนวทางอย่างนั้นในเวลาอย่างนี้มีแนวโน้มมากว่าจะไม่ช่วยแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ส่งผลเป็นการกวาดล้างการจ้างงานในภาคการเงินทั่วโลกไปแล้ว 325,000 ตำแหน่ง ความดำเนินการเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นในระบบการธนาคารของสหรัฐฯ จะไม่ไปแก้ปัญหาในระดับโลกซึ่งที่มีขนาดใหญ่โตกว่าได้ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประหยัดพลังงาน จะไม่ไปช่วยบริษัทแคตเตอร์พิลลาร์ ซึ่งอิงอยู่กับยอดขายนอกประเทศเป็นสำคัญ ปัญหาที่สหรัฐฯ เผชิญในขณะนี้ เป็นปัญหาในระดับวิกฤตเศรษฐกิจโลก
“ชาติซึ่งประดิษฐ์ยานยนต์ไม่สามารถผละจากยานยนต์ไปได้” นั่นเป็นหนึ่งในประโยคเด็ดประโยคโดนใจของโอบามา ประธานาธิบดีกล่าวด้วยว่าตนได้ให้คำมั่นไว้แล้วที่จะปรับกระบวนอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยการปรับในเรื่องของเครื่องไม้เครื่องหมด และการปรับในเรื่องของจินตนภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้และชนะได้ด้วย ขณะที่ถ้อยคำนานาประการของโอบามาล้วนแต่หรูหราน่าปลาบปลื้อมอย่างยอดเยี่ยม มันกลับล้มเหลวที่จะให้อรรถาธิบายถึงวิสัยทัศน์สำหรับการวางตำแหน่งแห่งที่ของสหรัฐฯ ในระบบเศรษฐกิจโลก
ผมไม่แน่ใจว่าประธานาธิบดีได้เห็นบทความใน น.ส.พ. Christian Science Monitor ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาแล้วหรือไม่ มันมีพาดหัวตัวใหญ่ว่า “อนาคตของผู้ผลิตรถสหรัฐฯ ผูกอยู่กับเศรษฐกิจโลก” และผมไม่ทราบว่ามีใครในรัฐบาลใหม่ชุดนี้ได้เห็นการสัมภาษณ์ผู้บริหารฟอร์ดคนหนึ่งในสาขาที่รัสเซียเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ โดยบอกว่าคงต้องใช้เวลาสักห้าปีกว่าที่ยอดขายรถในรัสเซียจะฟื้นตัวขึ้นได้ หลังจากที่เศรษฐกิจของประเทศนี้ได้รับผลกระทบด้านลบจากการที่ราคาน้ำมันอ่อนตัวลง
แน่นอนว่ามันก็ถูกต้องอยู่หรอกที่จะเสนอว่าการปรับกระบวนของอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านของเครื่องมืออุปกรณ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญ กระนั้นก็ตาม คำพูดของผู้บริหารคนหนึ่งของค่ายรถยนต์ฟอร์ด น่าจะเตือนใจเราให้ระลึกได้ถึงความหมายของระบบเศรษฐกิจโลก เขากล่าวว่าความเข้มแข็งของฟอร์ดเชื่อมโยงอยู่กับความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจรัสเซีย (เมื่อราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทางการรัสเซียได้รวมให้รถยนต์ฟอร์ดแบบที่ 5 ประตู รุ่นโฟกัส ได้อยู่ในกลุ่มยานยนต์ที่ภาครัฐเตรียมจะให้เงินอุดหนุนการซื้อในตลาด ซึ่งเป็นรายใหญ่อันดับสองของยุโรป โดยมีแนวโน้มว่ายอดขายอาจร่วงกว่า 19% ในปีนี้ตามการรายงานของบลูมเบิร์ก)
ในการเข้าให้ปากคำต่อวุฒิสภาเมื่อไม่นานมานี้ ผู้อำนวยการคนใหม่ของสำนักข่าวข่าวกรองแห่งชาติ พลเรือเอกเดนนิส แบลร์ ได้หย่อนปัจจัยเขย่าขวัญลงมาหนึ่งรายการใหญ่ โดยกล่าวว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกขณะนี้ เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแบบระยะสั้นแต่ร้ายแรงที่สุดที่สหรัฐฯ กำลังประสบอยู่ นอกจากนั้น ยังชี้ด้วยว่านี้เป็นปัญหาที่ร้ายแรงเสียยิ่งกว่าภัยคุกคามจากการก่อการร้าย การขาดไร้เสถียรภาพที่มาจากการว่างงานและการที่รายได้หดหาย คือภัยที่ทำร้ายได้อย่างเหลือเกิน
ท่านประธานาธิบดีดูเหมือนว่าจะหลงลืมคำเตือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านข้อมูลข่าวสารไปเสียแล้ว แน่นอนแหละว่า มันก็ถูกต้องอยู่ที่จะบอกว่าเศรษฐกิจถดถอยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคุณพ่อคุณแม่ใบเลี้ยงเดี่ยวที่ไม่สามารถหาสตางค์ไปจ่ายค่าผ่อนบ้านได้ไหว กระนั้นก็ตาม มันเป็นความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์ถ้าละเลยที่จะมองในภาพที่ใหญ่ขึ้น
โอบามามีการพูดถึงเศรษฐกิจโลกอยู่บ้าง แต่ก็ในลักษณะแบบแตะๆ ผ่าน โดยบอกว่าสหรัฐฯ จะทำงานร่วมกับชาติสมาชิกกลุ่ม จี-20 ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก กระนั้นก็ตาม ท่าทีดังกล่าวให้ความรู้สึกแค่ระดับกรรมการผู้มีส่วนร่วม ยังไม่ใช่ความรู้สึกแบบผู้นำการแก้ปัญหา
ด้านบ็อบบี้ จินดัล ผู้ว่าการรัฐหลุยเซียนา แสดงท่าทีต่อเรื่องนี้แทนคนรีพับลิกกัน ด้วยการเสนอบทบาทของสหรัฐฯ ต่อระบบเศรษฐกิจโลกที่ต้องพึ่งพากันและกัน ในระดับวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำที่น้อยเสียยิ่งกว่า จินดัลพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจโลกในคำปราศรัยด้วยถ้อยคำว่า “พายุเศรษฐกิจที่โหมกระหน่ำบ้าคลั่งอยู่รอบๆ เรา” นั่นเป็นปฏิกิริยาต่อวิกฤตการณ์ในระดับเพียงแค่เรื่องระดับบุคคลที่จินดัลเคยแสดงในช่วงวาตภัยแคทริน่า ไม่ได้นำเสนอการออกมาแสดงความรับผิดชอบแบบผู้นำสหรัฐฯ ในถ้อยคำของจินดัล ความเป็นผู้นำปรากฏออกมาได้จากแค่ระดับของการลดภาษีและการทำให้รัฐบาลมีขนาดเล็กลง
บางที ผมอาจจะคิดในทางวิพากษ์วิจารณืมากเกินไป บางทีผมอาจคาดหวังมากเกินไป กระนั้นก็ตาม ในประวัติศาสตร์ชาติอเมริกัน ภาวะการนำ ภาวะการเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่แบบในยุคของประธานาธิบดีอับราฮัม ลิงคอน ได้เคยปรากฏกันมาหลายครั้งแล้ว ผมปรารถนาจะได้ยินถ้อยคำในทำนองแบบที่จอร์จ มาร์แชลพูดในปาถกฐาฮาร์เวิร์ด เมื่อปี 1947 ซึ่งนำเสนอคนอเมริกันให้แสดงบทบาทในระบบเศรษฐกิจโลก ดังนี้ :
ส่วนสำคัญยิ่งในการดำเนินการสำเร็จของสหรัฐฯ คือความเข้าใจที่เกิดขึ้นในส่วนของผู้คนในอเมริกาซึ่งสามารถเข้าใจได้ถึงลักษณะของปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ควรนำไปใช้ ... ด้วยญาณทัศนะอันยาวไกล และความเต็มใจในส่วนของประชาชนที่จะเผชิญหากับความรับผิดชอบอันมหาศาลซึ่งประวัติศาสตร์ได้วางไว้บนประเทศของเรา ปัญหาอุปสรรคที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอมานี้ จะสามารถถูกปราบปรามลงได้
โอบามาพูดไว้มากเกี่ยวกับความรับผิดชอลของพวกนักการธนาคาร บุคคลทั่วไป และรัฐบาลในเรื่องของวิกฤตการเงินการคลังปัจจุบันนี้ แต่การขาดเสียซึ่งการพุ่งเป้าไปยังความรับผิดชอบอันมหาศาลในระดับโลกที่คนอเมริกันในฐานะชาติๆ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นในระดับของประธานาธิปดีซึ่งรณรงค์หาเสียงไว้เกี่ยวกับการผูกพันกับโลกด้วยรูปแบบใหม่นั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ขอให้เราตั้งหวังว่า วิกฤตการเงินการคลังนี้จะไม่ทำให้ประเทศของเราถอยเข้ามาปิดตัวเอง ละเลยไม่ใส่ใจกับหายนะที่เราเผชิญจากการหลอมละลายในตลาดการเงินโลก
พันเอก แซม การ์ดิแนร์ เขียนบทความให้แก่นิตยสารรายสัปดาห์ของสถาบัน Foreign Policy In Focus การ์ดิแนร์ซึ่งเกษียณอายุราชการแล้ว สอนวิชายุทธศาสตร์และปฏิบัติการด้านการทหาร ที่ the National War College, Air War College and Naval War College