เอเอฟพี/ผู้จัดการรายวัน - พายุวิกฤตการเงินในปี 2008 ได้กวาดทำลายตลาดการเงินโลกจนถึงรากฐานของมัน นักลงทุนต่างพากันขาดทุนย่อยยับเพราะแหล่งที่เคยใช้ทำกำไรอู้ฟู่หลายปีติดกัน กลายเป็นหลุมดำที่ดูดเม็ดเงินมหาศาลเข้าไปและไม่มีสิ่งใดคืนกลับมา
ผู้คนที่ออมเงินในรูปแบบการลงทุน รวมทั้งเสือสิงห์กระทิงแรดที่แสวงหากำไรสูงสุดต่างก็ต้องน้ำตาตกเมื่อตลาดหุ้นและตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ดิ่งลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้กองทุนที่ลงทุนกันตลาดหลักทรัพย์อย่างเช่น กองทุนเงินบำนาญ มูลนิธิต่าง ๆก็เข้าแถวหน้าแห้งจากการขาดทุนอย่างหนัก โดยบางคนก็บอกว่าเป็นความโชคร้าย ลงทุนผิดเวลา หรือแม้กระทั่งความโง่เขลาปัญญาของนักลงทุนที่ยังบินเข้ากองไฟต่อไป
ข่าวอื้อฉาวของคดีโกง 50,000 ล้านดอลลาร์โดยเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ นักลงทุนระดับตำนานของวอลล์สตรีท ได้ผุดขึ้นมาปิดท้ายปีอันย่ำแย่นี้ ก่อนหน้านี้ทั้งปีก็ระงมเต็มไปด้วยข่าวการล้มครืนของธนาคารและสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายๆ แห่งออกมาอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีของแมดอฟฟ์นั้น ธนาคารชั้นนำของโลกจำนวนมาก, นักลงทุนระดับอภิมหาเศรษฐี รวมไปถึงกองทุนเพื่อการกุศลของคนดังและองค์กรต่าง ๆอย่างเช่น มูลนิธิของสตีเวน สปีลเบิร์ก ผู้สร้างหนังชื่อก้องโลก ก็ยังตกเป็นเหยื่อของแมดอฟฟ์ ผู้ซึ่งทำเม็ดเงิน 50,000 ล้านหายวับไป โดยตอนนี้หน่วยงานกำกับดูแลกำลังตามรอยกระแสเงินกันจ้าละหวั่น
แต่พวกที่ขาดทุนหนักๆ จากการลงทุนในปีนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะเหยื่อของแมดอฟฟ์ อาทิ โจ ลิวอิส อัครมหาเศรษฐีนักลงทุนและเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอล ที่ถูกน็อกจากการล้มละลายของแบร์สเติร์นส อดีตวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านหยิ่งยะโสไร้น้ำใจ และในช่วงหลังหันมาบริหารการเงินแบบมุ่งกำไรสูงสุดแม้ต้องแบกรับความเสี่ยงสูงสุด อันเป็นที่มาของการพังทลายอย่างหมดรูปของบริษัท
ช่วงหลายปีก่อน ลิวอิสสามารถทำเงินได้มหาศาลจากการเก็งกำไรจนทำให้ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและเงินเปโซเม็กซิกันตกฮวบ และแล้วลิวอิสก็คืนกำไรกลับไปแก่ "มนุษยชาติ" โดยการเทเงินลงทุน 800 ล้านดอลลาร์เข้าไปถือหุ้นของแบร์สเติร์นส์เอาไว้ในราคาสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อหุ้น เทียบกับเมื่อตอนที่เจพีมอร์แกนเชส ยอมเข้าควบรวมแบร์สเติร์นส์ ตามคำขอร้องและหนุนช่วยของทางการสหรัฐฯนั้น ตีราคาหุ้นแบร์เอาไว้แค่เพียง 10 ดอลลาร์ต่อหุ้นเท่านั้น
ส่วนในเยอรมนี อดอล์ฟ เมิร์คเคิล ซึ่งเคยเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 94 ของโลกจากการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์ ก็ขาดทุนราว 1,000 ล้านยูโรจากการเก็งกำไรหุ้นของบริษัทโฟล์กสวาเกน
ในเอเชียและตะวันออกกลาง เหล่าผู้จัดการกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ต่างตะลึงงันและทำอะไรไม่ได้ นอกจากเฝ้ามองการลงทุนของตนเองในบรรดาแบงก์โลกตะวันตกเมื่อช่วงปลายปี 2007 ถึงต้นปี 2008 อันมีมูลค่ารวมกันราว ๆ 50,000 - 60,000 ล้านดอลลาร์ ต้องหดลดลงลงไปเรื่อย ๆ ในปี 2008 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นการเลือกลงทุนอย่างผิดเวลา
เหล่ากองทุนเหล่านี้พากันเข้ามาตามคำเชิญชวนของบรรดาแบงก์ในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ต้องการเม็ดเงินเข้ามาหนุนการดำเนินงานอย่างรุนแรง จากการขาดทุนในตราสารซับไพรม์และหลักทรัพย์อื่น ๆ แล้วตามมาด้วยสภาพคล่องเหือดแห้งในตลาด ซึ่งซ้ำเติมจนในที่สุดแล้วตอนช่วงปลายปีนี้ หลายๆ แห่งต้องยอมให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้น
ตัวอย่างของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐที่เข้ามาซื้อหุ้นของแบงก์ตะวันตก แล้วต้องตกอยู่ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มีอาทิเช่น ไชน่า อินเวสท์เมนท์ คอร์ป (ซีไอซี) ของรัฐบาลจีนซึ่งซื้อหุ้น 9.9% ของมอร์แกนสแตนลีย์เมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว
นอกจากนี้ก็ยังมี กัฟเวิร์นเมนท์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเมนท์ คอร์ป (จีไอซี) ซึ่งเข้าไปลงทุนในธนาคารยูบีเอส แห่งสวิสเซอร์แลนด์ และซิตี้กรุ๊ปของสหรัฐฯ
ในขณะเดียวกันกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐอีกแห่งหนึ่งของทางการสิงคโปร์เช่นกัน นั่นคือ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ได้อัดฉีดเม็ดเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าไปในเมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจอีกรายของสหรัฐฯที่ในที่สุดแล้วต้องยอมถูกแบงก์ออฟอเมริกาเทคโอเวอร์ไป
หรือสำนักงานการลงทุนแห่งอาบูอาบี ก็ได้เข้าลงทุนในซิตี้กรุ๊ป 7,500 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนระดับรัฐบาลเหล่านี้ยังคงเห็นว่าต้องใจเย็นรอให้สถานการณ์กระเตื้องขึ้น นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์บอกกับนักข่าวในช่วงธันวาคมว่า ในที่สุดแล้วการลงทุนเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนกลับคืนมา
"สถานการณ์ตอนนี้ดูมืดมนขึ้นเยอะเมื่อเทียบกับตอนที่พวกเขา (กองทุนเหล่านี้) เข้าไป แต่ทั้งหมดนี้คือการลงทุนระยะยาว ดังนั้นเราจึงยังต้องติดตามต่อไปอีก เวลานี้มันเหมือนกับจมอยู่ใต้น้ำ แต่สถานการณ์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้"
เขากล่าว
ไม่ว่านักลงทุนภาครัฐเหล่านี้พร้อมที่จะร้องเพลงรอกันไปอีกนานแค่ไหน แต่ความเป็นจริงอันเจ็บปวดในตอนนี้ปรากฏชัดเจนแล้วว่า ภาคอุตสาหกรรมวาณิชธนกิจ หรือธนาคารเพื่อการลงทุน (investment banking) ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังของสหรัฐฯ โดยถูกมองว่ามีความแข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีและมีการคุมเข้มทางด้านความโปร่งใสและตรวจจับสิ่งผิดปกติได้รวดเร็วนั้น ในปี 2008 ได้ถึงกาลสูญสลายเสียแล้ว
วาณิชธนกิจ 5 แห่งของวอลล์สตรีท ที่ได้รับการยอมรับนับถือทั่วโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน และสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล ล้วนประสบชะตากรรมอันเลวร้ายต่าง ๆกันไป โกลด์แมนแซคส์ และ มอร์แกนสแตนลีย์ ยังดูดีกว่าเพื่อนโดยเพียงต้องเปลี่ยนโครงสร้างจากการเป็นกิจการวาณิชธนกิจที่ไม่ถูกหน่วยงานของทางการกำกับดูแลอะไรนัก มาเป็นบริษัทถือหุ้นในธนาคาร เพื่อจะได้มีคุณสมบัติขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐ แต่ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดของรัฐเช่นกัน ส่วน แบร์สเติร์นส์ และ เมอร์ริลลินช์ ถูกเทคโอเวอร์ ในขณะที่ เลห์แมนบราเธอร์สปิดตัวลงอย่างถาวร
ริชาร์ด ฟัลด์ อดีตผู้บริหารของเลห์แมนบราเธอร์ส ต้องไปขึ้นเขียงให้รัฐสภาสอบสวนละเอียดยิบ รายได้ของเขาจากการบริหารบริษัทราว 300 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2000 ถูกนำเอามาเปิดเผย ซึ่งยิ่งทำให้บรรดาผู้แทนในรัฐสภาพากันถล่มเขาเสียยับเยิน
"ในขณะที่คุณฟัลด์และผู้บริหารรายอื่น ๆของเลห์แมนพากันร่ำรวยยิ่งขึ้น พวกเขาก็นำพาเลห์แมนบราเธอร์สและเศรษฐกิจของเราดิ่งเหว" ประธานคณะกรรมาธิการในรัฐสภา เฮนรี แว็กซ์แมน กล่าวถ้อยคำเสียดสีที่ถูกนำไปอ้างอิงกันอย่างกว้างขวาง
ตัวอย่างของธนาคารที่ไปไม่รอดหรือดำเนินงานอย่างไร้ประสิทธิภาพในรอบปี 2008 ยังมีมากมายกว่านี้อีก ตัวอย่างเช่น
ธนาคารโซซิเยเต้ เจเนราล ของฝรั่งเศสออกมาประกาศผลขาดทุนจากการค้าตราสารอนุพันธ์ถึง 4,900 ล้านยูโรในเดือนมกราคม โดยทางธนาคารโบ้ยว่าเป็นฝีมือของพนักงานค้าตราสารที่ชื่อ เจอโรม เคียร์เวลล์ ที่เอาเงินธนาคารไปลงทุนเกินกว่าที่ตนเองรับผิดชอบ แต่นักวิเคราะห์พากันบอกว่าธนาคารเองก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ตลอดมาหากว่านักค้าคนนั้นยังไม่สร้างความเสียหายให้แก่บริษัท
ส่วนที่เยอรมนี พวกผู้บริหารของธนาคารเคเอฟดับบลิว ที่ถูกหนังสือพิมพ์ตั้งสมญาว่า "นายธนาคารที่โง่ที่สุดในเยอรมนี" ได้ถูกไล่ออกไป ภายหลังถูกสื่อเปิดโปงว่าพวกผู้บริหารของธนาคารของรัฐแห่งนี้ ยังคงโอนเงิน 300 ล้านยูโรไปให้เลห์แมนบราเธอร์สอย่างเซื่องๆ ก่อนหน้าที่เลห์แมนจะล้มละลายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในประเทศจีน ซิติก แปซิฟิก บริษัทลงทุนใหญ่ที่สุดของรัฐบาลแดนมังกรรายงานว่า อาจจะขาดทุนจากสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้รับอนุมัติจากบริษัท ไปในราว 18,600 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง(2,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ทางด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทะยานขึ้นราวกับจุดพลุติดต่อกันมาหลายปีทั้งในอังกฤษ ไอร์แลนด์ สเปน และสหรัฐฯ ก็ได้ให้บทเรียนอันเจ็บปวดในเรื่องความเป็นจริงทางเศรษฐกิจแก่นักลงทุนว่า สิ่งที่ที่พุ่งขึ้นย่อมมีวันควงสว่านลงมาได้เช่นกัน
เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสเปน เมโทรวาเซกาได้บรรลุข้อตกลงกับธนาคารเอชเอสบีซี เพื่อซื้อสำนักงานใหญ่ในลอนดอนของแบงก์แห่งนี้ด้วยมูลค่า 1,090 ล้านปอนด์ แต่แล้วก็ต้องขายคืนให้แก่เอชเอสบีซีเมื่อเดือนธันวาคมในราคาขาดทุนถึง 250 ล้านปอนด์ เพราะถ้าถือเอาไว้ก็รังแต่จะขาดทุนมากขึ้นทุกที ท่ามกลางราคาอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษที่ดิ่งลงสู่เหวที่ไม่มีก้นในขณะนี้
ผู้คนที่ออมเงินในรูปแบบการลงทุน รวมทั้งเสือสิงห์กระทิงแรดที่แสวงหากำไรสูงสุดต่างก็ต้องน้ำตาตกเมื่อตลาดหุ้นและตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ดิ่งลงซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้กองทุนที่ลงทุนกันตลาดหลักทรัพย์อย่างเช่น กองทุนเงินบำนาญ มูลนิธิต่าง ๆก็เข้าแถวหน้าแห้งจากการขาดทุนอย่างหนัก โดยบางคนก็บอกว่าเป็นความโชคร้าย ลงทุนผิดเวลา หรือแม้กระทั่งความโง่เขลาปัญญาของนักลงทุนที่ยังบินเข้ากองไฟต่อไป
ข่าวอื้อฉาวของคดีโกง 50,000 ล้านดอลลาร์โดยเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ นักลงทุนระดับตำนานของวอลล์สตรีท ได้ผุดขึ้นมาปิดท้ายปีอันย่ำแย่นี้ ก่อนหน้านี้ทั้งปีก็ระงมเต็มไปด้วยข่าวการล้มครืนของธนาคารและสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายๆ แห่งออกมาอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีของแมดอฟฟ์นั้น ธนาคารชั้นนำของโลกจำนวนมาก, นักลงทุนระดับอภิมหาเศรษฐี รวมไปถึงกองทุนเพื่อการกุศลของคนดังและองค์กรต่าง ๆอย่างเช่น มูลนิธิของสตีเวน สปีลเบิร์ก ผู้สร้างหนังชื่อก้องโลก ก็ยังตกเป็นเหยื่อของแมดอฟฟ์ ผู้ซึ่งทำเม็ดเงิน 50,000 ล้านหายวับไป โดยตอนนี้หน่วยงานกำกับดูแลกำลังตามรอยกระแสเงินกันจ้าละหวั่น
แต่พวกที่ขาดทุนหนักๆ จากการลงทุนในปีนี้ ไม่ได้มีแต่เฉพาะเหยื่อของแมดอฟฟ์ อาทิ โจ ลิวอิส อัครมหาเศรษฐีนักลงทุนและเจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอล ที่ถูกน็อกจากการล้มละลายของแบร์สเติร์นส อดีตวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านหยิ่งยะโสไร้น้ำใจ และในช่วงหลังหันมาบริหารการเงินแบบมุ่งกำไรสูงสุดแม้ต้องแบกรับความเสี่ยงสูงสุด อันเป็นที่มาของการพังทลายอย่างหมดรูปของบริษัท
ช่วงหลายปีก่อน ลิวอิสสามารถทำเงินได้มหาศาลจากการเก็งกำไรจนทำให้ค่าเงินปอนด์ของอังกฤษและเงินเปโซเม็กซิกันตกฮวบ และแล้วลิวอิสก็คืนกำไรกลับไปแก่ "มนุษยชาติ" โดยการเทเงินลงทุน 800 ล้านดอลลาร์เข้าไปถือหุ้นของแบร์สเติร์นส์เอาไว้ในราคาสูงกว่า 100 ดอลลาร์ต่อหุ้น เทียบกับเมื่อตอนที่เจพีมอร์แกนเชส ยอมเข้าควบรวมแบร์สเติร์นส์ ตามคำขอร้องและหนุนช่วยของทางการสหรัฐฯนั้น ตีราคาหุ้นแบร์เอาไว้แค่เพียง 10 ดอลลาร์ต่อหุ้นเท่านั้น
ส่วนในเยอรมนี อดอล์ฟ เมิร์คเคิล ซึ่งเคยเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 94 ของโลกจากการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บส์ ก็ขาดทุนราว 1,000 ล้านยูโรจากการเก็งกำไรหุ้นของบริษัทโฟล์กสวาเกน
ในเอเชียและตะวันออกกลาง เหล่าผู้จัดการกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ ต่างตะลึงงันและทำอะไรไม่ได้ นอกจากเฝ้ามองการลงทุนของตนเองในบรรดาแบงก์โลกตะวันตกเมื่อช่วงปลายปี 2007 ถึงต้นปี 2008 อันมีมูลค่ารวมกันราว ๆ 50,000 - 60,000 ล้านดอลลาร์ ต้องหดลดลงลงไปเรื่อย ๆ ในปี 2008 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเป็นการเลือกลงทุนอย่างผิดเวลา
เหล่ากองทุนเหล่านี้พากันเข้ามาตามคำเชิญชวนของบรรดาแบงก์ในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ต้องการเม็ดเงินเข้ามาหนุนการดำเนินงานอย่างรุนแรง จากการขาดทุนในตราสารซับไพรม์และหลักทรัพย์อื่น ๆ แล้วตามมาด้วยสภาพคล่องเหือดแห้งในตลาด ซึ่งซ้ำเติมจนในที่สุดแล้วตอนช่วงปลายปีนี้ หลายๆ แห่งต้องยอมให้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้น
ตัวอย่างของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐที่เข้ามาซื้อหุ้นของแบงก์ตะวันตก แล้วต้องตกอยู่ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มีอาทิเช่น ไชน่า อินเวสท์เมนท์ คอร์ป (ซีไอซี) ของรัฐบาลจีนซึ่งซื้อหุ้น 9.9% ของมอร์แกนสแตนลีย์เมื่อเดือนธันวาคมที่แล้ว
นอกจากนี้ก็ยังมี กัฟเวิร์นเมนท์ ออฟ สิงคโปร์ อินเวสเมนท์ คอร์ป (จีไอซี) ซึ่งเข้าไปลงทุนในธนาคารยูบีเอส แห่งสวิสเซอร์แลนด์ และซิตี้กรุ๊ปของสหรัฐฯ
ในขณะเดียวกันกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐอีกแห่งหนึ่งของทางการสิงคโปร์เช่นกัน นั่นคือ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ได้อัดฉีดเม็ดเงินหลายพันล้านดอลลาร์เข้าไปในเมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจอีกรายของสหรัฐฯที่ในที่สุดแล้วต้องยอมถูกแบงก์ออฟอเมริกาเทคโอเวอร์ไป
หรือสำนักงานการลงทุนแห่งอาบูอาบี ก็ได้เข้าลงทุนในซิตี้กรุ๊ป 7,500 ล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนระดับรัฐบาลเหล่านี้ยังคงเห็นว่าต้องใจเย็นรอให้สถานการณ์กระเตื้องขึ้น นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์บอกกับนักข่าวในช่วงธันวาคมว่า ในที่สุดแล้วการลงทุนเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนกลับคืนมา
"สถานการณ์ตอนนี้ดูมืดมนขึ้นเยอะเมื่อเทียบกับตอนที่พวกเขา (กองทุนเหล่านี้) เข้าไป แต่ทั้งหมดนี้คือการลงทุนระยะยาว ดังนั้นเราจึงยังต้องติดตามต่อไปอีก เวลานี้มันเหมือนกับจมอยู่ใต้น้ำ แต่สถานการณ์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้"
เขากล่าว
ไม่ว่านักลงทุนภาครัฐเหล่านี้พร้อมที่จะร้องเพลงรอกันไปอีกนานแค่ไหน แต่ความเป็นจริงอันเจ็บปวดในตอนนี้ปรากฏชัดเจนแล้วว่า ภาคอุตสาหกรรมวาณิชธนกิจ หรือธนาคารเพื่อการลงทุน (investment banking) ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังของสหรัฐฯ โดยถูกมองว่ามีความแข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีและมีการคุมเข้มทางด้านความโปร่งใสและตรวจจับสิ่งผิดปกติได้รวดเร็วนั้น ในปี 2008 ได้ถึงกาลสูญสลายเสียแล้ว
วาณิชธนกิจ 5 แห่งของวอลล์สตรีท ที่ได้รับการยอมรับนับถือทั่วโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน และสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล ล้วนประสบชะตากรรมอันเลวร้ายต่าง ๆกันไป โกลด์แมนแซคส์ และ มอร์แกนสแตนลีย์ ยังดูดีกว่าเพื่อนโดยเพียงต้องเปลี่ยนโครงสร้างจากการเป็นกิจการวาณิชธนกิจที่ไม่ถูกหน่วยงานของทางการกำกับดูแลอะไรนัก มาเป็นบริษัทถือหุ้นในธนาคาร เพื่อจะได้มีคุณสมบัติขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐ แต่ต้องเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดของรัฐเช่นกัน ส่วน แบร์สเติร์นส์ และ เมอร์ริลลินช์ ถูกเทคโอเวอร์ ในขณะที่ เลห์แมนบราเธอร์สปิดตัวลงอย่างถาวร
ริชาร์ด ฟัลด์ อดีตผู้บริหารของเลห์แมนบราเธอร์ส ต้องไปขึ้นเขียงให้รัฐสภาสอบสวนละเอียดยิบ รายได้ของเขาจากการบริหารบริษัทราว 300 ล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ปี 2000 ถูกนำเอามาเปิดเผย ซึ่งยิ่งทำให้บรรดาผู้แทนในรัฐสภาพากันถล่มเขาเสียยับเยิน
"ในขณะที่คุณฟัลด์และผู้บริหารรายอื่น ๆของเลห์แมนพากันร่ำรวยยิ่งขึ้น พวกเขาก็นำพาเลห์แมนบราเธอร์สและเศรษฐกิจของเราดิ่งเหว" ประธานคณะกรรมาธิการในรัฐสภา เฮนรี แว็กซ์แมน กล่าวถ้อยคำเสียดสีที่ถูกนำไปอ้างอิงกันอย่างกว้างขวาง
ตัวอย่างของธนาคารที่ไปไม่รอดหรือดำเนินงานอย่างไร้ประสิทธิภาพในรอบปี 2008 ยังมีมากมายกว่านี้อีก ตัวอย่างเช่น
ธนาคารโซซิเยเต้ เจเนราล ของฝรั่งเศสออกมาประกาศผลขาดทุนจากการค้าตราสารอนุพันธ์ถึง 4,900 ล้านยูโรในเดือนมกราคม โดยทางธนาคารโบ้ยว่าเป็นฝีมือของพนักงานค้าตราสารที่ชื่อ เจอโรม เคียร์เวลล์ ที่เอาเงินธนาคารไปลงทุนเกินกว่าที่ตนเองรับผิดชอบ แต่นักวิเคราะห์พากันบอกว่าธนาคารเองก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ตลอดมาหากว่านักค้าคนนั้นยังไม่สร้างความเสียหายให้แก่บริษัท
ส่วนที่เยอรมนี พวกผู้บริหารของธนาคารเคเอฟดับบลิว ที่ถูกหนังสือพิมพ์ตั้งสมญาว่า "นายธนาคารที่โง่ที่สุดในเยอรมนี" ได้ถูกไล่ออกไป ภายหลังถูกสื่อเปิดโปงว่าพวกผู้บริหารของธนาคารของรัฐแห่งนี้ ยังคงโอนเงิน 300 ล้านยูโรไปให้เลห์แมนบราเธอร์สอย่างเซื่องๆ ก่อนหน้าที่เลห์แมนจะล้มละลายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในประเทศจีน ซิติก แปซิฟิก บริษัทลงทุนใหญ่ที่สุดของรัฐบาลแดนมังกรรายงานว่า อาจจะขาดทุนจากสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศซึ่งไม่ได้รับอนุมัติจากบริษัท ไปในราว 18,600 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง(2,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ทางด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทะยานขึ้นราวกับจุดพลุติดต่อกันมาหลายปีทั้งในอังกฤษ ไอร์แลนด์ สเปน และสหรัฐฯ ก็ได้ให้บทเรียนอันเจ็บปวดในเรื่องความเป็นจริงทางเศรษฐกิจแก่นักลงทุนว่า สิ่งที่ที่พุ่งขึ้นย่อมมีวันควงสว่านลงมาได้เช่นกัน
เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของสเปน เมโทรวาเซกาได้บรรลุข้อตกลงกับธนาคารเอชเอสบีซี เพื่อซื้อสำนักงานใหญ่ในลอนดอนของแบงก์แห่งนี้ด้วยมูลค่า 1,090 ล้านปอนด์ แต่แล้วก็ต้องขายคืนให้แก่เอชเอสบีซีเมื่อเดือนธันวาคมในราคาขาดทุนถึง 250 ล้านปอนด์ เพราะถ้าถือเอาไว้ก็รังแต่จะขาดทุนมากขึ้นทุกที ท่ามกลางราคาอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษที่ดิ่งลงสู่เหวที่ไม่มีก้นในขณะนี้