เอเอฟพี - ญี่ปุ่นเคยขอร้องสหรัฐฯเมื่อปี 1965 ให้เตรียมตัวพรักพร้อมโจมตีจีนด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ถ้าหากญี่ปุ่นและจีนต้องเข้าทำสงครามกัน ทั้งนี้ตามเอกสารของทางการที่เพิ่งถูกยกเลิกชั้นความลับและเปิดเผยต่อสาธารณชนเมื่อวันจันทร์(22)
ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติเดียวในโลกที่เคยลิ้มรสความหฤโหดจากการถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ได้รณรงค์เรียกร้องมานานแล้วให้มีการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ให้หมด และหลักการของการรณรงค์เหล่านี้เองที่ทำให้ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เอซากุ ซาโตะ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1974
แต่จากเอกสารต่างๆของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งถูกยกเลิกชั้นความลับ แสดงให้เห็นว่า ซาโตะได้เคยขอให้สหรัฐฯ เตรียมพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีจีน หากญี่ปุ่นและจีนเข้าสู่สงคราม
เอกสารทางการทูตที่เคยถือเป็นความลับเหล่านี้ระบุว่า ซาโตะได้บอกกับ รอเบิร์ต แมคนามารา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมหารือที่วอชิงตันในปี 1965 ว่า "เราคาดหวังว่าสหรัฐฯ จะตอบโต้ทันทีโดยใช้อาวุธนิวเคลียร์" หากเกิดสงคราม
ทางด้านแมคนามารา ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังในฐานะเป็นผู้ก่อสงครามเวียดนามนั้น เอกสารเหล่านี้อ้างคำพูดของเขาที่กล่าวตอบเพียงว่า สหรัฐฯมีสมรรถนะทางเทคนิคที่จะเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ออกไปนอกประเทศได้
ขณะที่ซาโตะกล่าวด้วยว่า เขาจะอนุญาตให้สหรัฐฯ ใช้น่านน้ำของญี่ปุ่นในการเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ได้ หากเกิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับจีนขึ้น
ทั้งนี้ ในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าจีนประกาศ "การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม" ประมาณ 1 ปี กำลังกลายเป็นที่หวั่นวิตกอย่างยิ่งของญี่ปุ่น โดยที่ทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ต่างก็ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 แล้ว
ทาเคโอะ คาวามูระ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งตามระบบการเมืองของญี่ปุ่นถือว่ามีอำนาจในรัฐบาลเป็นอันดับสองรองจากนายกฯ อีกทั้งทำหน้าที่เป็นโฆษกรัฐบาลด้วยนั้น ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำพูดของซาโตะในเอกสารดังกล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนเพิ่งทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์
"เรามีข้อสรุปเพียงประการเดียวว่าไม่เคยมีการนำอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาในญี่ปุ่น" คาวามูระกล่าวและเสริมด้วยว่า "เรายังคงแน่วแน่และมั่นคงในนโยบายต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์" และ "สหรัฐฯ ก็เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี"
ซาโตะนั้นเป็นผู้นำญี่ปุ่นในระหว่างปี 1964-1972 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น เขาเป็นผู้วางนโยบายต่อต้านนิวเคลียร์ "3ไม่" คือ ญี่ปุ่นจะไม่ผลิต ไม่ครอบครอง และไม่อนุญาตให้นำอาวุธนิวเคลียร์เข้าประเทศ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1974
ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติเดียวในโลกที่เคยลิ้มรสความหฤโหดจากการถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู ได้รณรงค์เรียกร้องมานานแล้วให้มีการทำลายอาวุธนิวเคลียร์ให้หมด และหลักการของการรณรงค์เหล่านี้เองที่ทำให้ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เอซากุ ซาโตะ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1974
แต่จากเอกสารต่างๆของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งถูกยกเลิกชั้นความลับ แสดงให้เห็นว่า ซาโตะได้เคยขอให้สหรัฐฯ เตรียมพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์โจมตีจีน หากญี่ปุ่นและจีนเข้าสู่สงคราม
เอกสารทางการทูตที่เคยถือเป็นความลับเหล่านี้ระบุว่า ซาโตะได้บอกกับ รอเบิร์ต แมคนามารา รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมหารือที่วอชิงตันในปี 1965 ว่า "เราคาดหวังว่าสหรัฐฯ จะตอบโต้ทันทีโดยใช้อาวุธนิวเคลียร์" หากเกิดสงคราม
ทางด้านแมคนามารา ซึ่งเป็นที่รู้จักโด่งดังในฐานะเป็นผู้ก่อสงครามเวียดนามนั้น เอกสารเหล่านี้อ้างคำพูดของเขาที่กล่าวตอบเพียงว่า สหรัฐฯมีสมรรถนะทางเทคนิคที่จะเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ออกไปนอกประเทศได้
ขณะที่ซาโตะกล่าวด้วยว่า เขาจะอนุญาตให้สหรัฐฯ ใช้น่านน้ำของญี่ปุ่นในการเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ได้ หากเกิดสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับจีนขึ้น
ทั้งนี้ ในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าจีนประกาศ "การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม" ประมาณ 1 ปี กำลังกลายเป็นที่หวั่นวิตกอย่างยิ่งของญี่ปุ่น โดยที่ทั้งญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ต่างก็ยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนคอมมิวนิสต์ จนกระทั่งถึงทศวรรษ 1970 แล้ว
ทาเคโอะ คาวามูระ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งตามระบบการเมืองของญี่ปุ่นถือว่ามีอำนาจในรัฐบาลเป็นอันดับสองรองจากนายกฯ อีกทั้งทำหน้าที่เป็นโฆษกรัฐบาลด้วยนั้น ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำพูดของซาโตะในเอกสารดังกล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวจีนเพิ่งทำการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์
"เรามีข้อสรุปเพียงประการเดียวว่าไม่เคยมีการนำอาวุธนิวเคลียร์เข้ามาในญี่ปุ่น" คาวามูระกล่าวและเสริมด้วยว่า "เรายังคงแน่วแน่และมั่นคงในนโยบายต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์" และ "สหรัฐฯ ก็เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี"
ซาโตะนั้นเป็นผู้นำญี่ปุ่นในระหว่างปี 1964-1972 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น เขาเป็นผู้วางนโยบายต่อต้านนิวเคลียร์ "3ไม่" คือ ญี่ปุ่นจะไม่ผลิต ไม่ครอบครอง และไม่อนุญาตให้นำอาวุธนิวเคลียร์เข้าประเทศ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1974