เอเอฟพี – องค์กรดูแลด้านภูมิอากาศ เผย ตัวเลขชี้วัดสภาพอากาศ ระบุ สวีเดนเป็นประเทศที่สามารถควบคุมการปล่อยของก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด ขณะที่ ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่จัดการได้แย่ที่สุด
อย่างไรก็ตาม ดัชนีวัดการลงมือปฏิบัติเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปีจัดให้สวีเดนอยู่ในอันดับที่ 4 เท่านั้น โดยที่ 1-3 ไม่มีผู้ใดสามารถครองตำแหน่งได้
เยอรมันวอตช์ และเครือข่ายปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของยุโรป หรือ ซีเอเอ็น เผยว่า ไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ได้รับการพิจารณาว่าสามารถปกป้องภูมิอากาศของประเทศตัวเองได้เป็นที่น่าพอใจ และไม่มีประเทศไหนที่แสดงความตั้งใจลงมืออย่างจริงจัง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อน
องค์กรทั้งสองนี้จัดระดับให้ภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับอุตสาหกรรม เป็นสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมีอันตราย
ส่วนประเทศที่ติดอันดับการลงมือรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศตามสวีเดนมา ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย บราซิล อังกฤษ และ เดนมาร์ก ขณะที่ 10 อันดับรั้งท้าย คือ กรีซ มาเลเซีย ไซปรัส รัสเซีย ออสเตรเลีย คาซักสถาน ลักเซมเบิร์ก สหรัฐฯ แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย นั้นเป็นประเทศที่จัดการได้แย่ที่สุด
ตัวเลขชี้วัดการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นการเปรียบเทียบ 57 ประเทศทั่วโลก ที่สามารถลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการของก๊าซเรือนกระจก ในรอบปีได้มากกว่า 90%
สำหรับเกณฑ์มาตรฐานนั้นมาจากเครื่องชี้วัดจาก 12 ประเทศ บนฐานของระดับการปล่อยก๊าซ แนวโน้มการปล่อยก๊าซ และนโยบายด้านภูมิอากาศ
ทั้งนี้ ตัวเลขในปีที่แล้ว 3 ประเทศแรกที่ได้รับยกย่องว่าสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากที่สุดคือ สวีเดน เยอรมนี และ ไอซ์แลนด์ ขณะที่ 3 ประเทศสุดท้าย ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และซาอุดีอาระเบีย
อย่างไรก็ตาม ดัชนีวัดการลงมือปฏิบัติเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประจำปีจัดให้สวีเดนอยู่ในอันดับที่ 4 เท่านั้น โดยที่ 1-3 ไม่มีผู้ใดสามารถครองตำแหน่งได้
เยอรมันวอตช์ และเครือข่ายปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศของยุโรป หรือ ซีเอเอ็น เผยว่า ไม่มีแม้แต่ประเทศเดียวที่ได้รับการพิจารณาว่าสามารถปกป้องภูมิอากาศของประเทศตัวเองได้เป็นที่น่าพอใจ และไม่มีประเทศไหนที่แสดงความตั้งใจลงมืออย่างจริงจัง เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อน
องค์กรทั้งสองนี้จัดระดับให้ภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนือระดับอุตสาหกรรม เป็นสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างมีอันตราย
ส่วนประเทศที่ติดอันดับการลงมือรับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศตามสวีเดนมา ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย บราซิล อังกฤษ และ เดนมาร์ก ขณะที่ 10 อันดับรั้งท้าย คือ กรีซ มาเลเซีย ไซปรัส รัสเซีย ออสเตรเลีย คาซักสถาน ลักเซมเบิร์ก สหรัฐฯ แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย นั้นเป็นประเทศที่จัดการได้แย่ที่สุด
ตัวเลขชี้วัดการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น เป็นการเปรียบเทียบ 57 ประเทศทั่วโลก ที่สามารถลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการของก๊าซเรือนกระจก ในรอบปีได้มากกว่า 90%
สำหรับเกณฑ์มาตรฐานนั้นมาจากเครื่องชี้วัดจาก 12 ประเทศ บนฐานของระดับการปล่อยก๊าซ แนวโน้มการปล่อยก๊าซ และนโยบายด้านภูมิอากาศ
ทั้งนี้ ตัวเลขในปีที่แล้ว 3 ประเทศแรกที่ได้รับยกย่องว่าสามารถลดภาวะโลกร้อนได้มากที่สุดคือ สวีเดน เยอรมนี และ ไอซ์แลนด์ ขณะที่ 3 ประเทศสุดท้าย ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และซาอุดีอาระเบีย