(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
US standing in Caspian drips away
By M K Bhadrakumar
10/10/2008
ที่มั่นของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียกลางกำลังซวนเซหดหายลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเป็นจริงใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ปรากฏออกมาภายหลังสงครามจอร์เจีย-รัสเซีย ความพยายามของสหรัฐฯที่จะเกี้ยวพาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคซึ่งมีท่อส่งน้ำมันสายสำคัญๆ พาดผ่านแห่งนี้ กำลังถูกบอกปัดอย่างไม่ใยดี เมื่อรัสเซียที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาต่างหากซึ่งถูกมองว่าคือพันธมิตรรายหลักทางด้านพลังงาน ยิ่งกว่านั้น บทบาทของมอสโกในการกอบกู้ช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอซ์แลนด์ที่อยู่ห่างไกลออกไป ก็ยังเป็นการส่งสารอันมีความหมายมายังเขตทุ่งหญ้าสเตปส์แห่งนี้อีกด้วย
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการไปเยือนคาซัคสถานของไรซ์บังเกิดขึ้นท่ามกลางฉากหลังที่เต็มไปด้วยความมืดมัว ไม่ว่าอาเซอร์ไบจานหรือคาซัคสถานต่างก็ไม่มีท่าทีสนอกสนใจในการทำข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางส่งออกพลังงานเสียใหม่ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ผ่านรัสเซีย แน่นอนว่าประเทศทั้งสองต่างยังคงหวังที่จะรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ แต่ก็จะไม่ทำเรื่องนี้ด้วยการหันไปทะเลาะเบาะแว้งกับรัสเซียหรอก ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับไรซ์ที่กรุงอัสตานาเมื่อวันอาทิตย์(5) รัฐมนตรีต่างประเทศ มารัต ทาซิน ของคาซัคสถาน เน้นย้ำว่าความสัมพันธ์กับรัสเซียจะยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับสูงสุด “ความสัมพันธ์ของเรากับรัสเซีย ผมสามารถที่จะพูดออกมาได้เลยว่า ยังคงอยู่ในระดับเยี่ยมยอด เรามีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ดีมาก รัสเซียคือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของเรา ขณะเดียวกัน ผมควรขีดเส้นใต้ด้วยว่าความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่กับสหรัฐฯ ก็มีลักษณะที่มีเสถียรภาพและเป็นไปในเชิงยุทธศาสตร์”
ไม่ว่าทาซิน หรือประธานาธิบดี นูรูสุลตาน นาซาร์บาเยฟ ของคาซัคสถาน ก็ดูเหมือนไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาใดๆ กับไรซ์ในเรื่องเกี่ยวกับสายท่อส่งพลังงานที่สหรัฐฯเป็นผู้อุปถัมภ์อยู่ ตรงกันข้ามขณะที่แถลงต่อสื่อมวลชนร่วมกับประธานาธิบดี ดมิตรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ภายหลังการประชุมว่าด้วยพื้นที่ชายแดนรัสเซีย-คาซัคสถาน ณ เมืองอัคตีอูบินสก์ ของคาซัคสถานเมื่อวันที่ 22 กันยายน นาซาร์บาเยฟบอกว่า คาซัคสถานจะเพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นสู่ระดับ 12 ล้านเมตริกตันในปี 2009 และยื่นข้อเสนอที่จะลำเลียงน้ำมันที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้ผ่านทางรัสเซีย “มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่น้ำมันของคาซัคสถานควรที่จะส่งผ่านรัสเซีย” เขากล่าว
**ปริศนาแหล่งน้ำมันคาชากัน**
นาซาร์บาเยฟกำลังบอกเป็นนัยว่า อัสตานาจะใช้ท่อส่งของ แคสเปียน ไพพ์ไลน์ คอนซอร์เชียม (ซีพีพี) ที่ทางรัสเซียควบคุมอยู่ เพื่อนำน้ำมันดิบของคาซัคสถานจากแหล่งคาชากัน ในปี 2012-2013 ไปยังท่าเรือขนถ่ายของรัสเซียในทะเลดำ นูร์ลัน บาลากิมบาเยฟ ที่ปรึกษาของนาซาร์บาเยฟ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี(9)ว่า คาซัคสถานมีความสนใจที่จะซื้อหุ้นของซีพีซีเพิ่มเติมขึ้นอีก 13.7% จากส่วนที่ทางบริษัทบีพี และทางโอมานถือครองอยู่ ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นอื่นๆ จะมีรัสเซียถือหุ้นอยู่ 24% นอกนั้นก็มีบริษัทเชฟรอน, เชลล์, และเอซซอนโมบิล
ไรซ์น่าจะฉวยใช้ประโยชน์จากการไปเยือนอัสตานาของเธอ โดยดำเนินการตรวจสอบเรื่องของคาชากัน คาซัคสถานและบริษัทน้ำมันตะวันตกกลุ่มหนึ่งนำโดย เอนิ แห่งอิตาลี มีกำหนดที่จะสรุปรายละเอียดขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับอนาคตของคาชากันภายในวันที่ 25 ตุลาคม คาดหมายกันว่าจะมีการจัดตั้งบริษัทดำเนินงานแห่งใหม่ขึ้นมา โดยที่บริษัทแต่ละแห่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีทั้ง เอนิ, เชลล์, โคโนโคฟิลลิปส์, อินเปกซ์ โฮลดิ้งส์ของญี่ปุ่น, และ คาซมูไนแก๊ส ของคาซัคสถาน ก็น่าที่จะแบ่งสรรกันเข้าควบคุมด้านต่างๆ ของการดำเนินงาน อาทิ ด้านการผลิต หรือด้านการขนส่งทางเรือ
ประมาณกันว่า คาชากันมีปริมาณน้ำมันสำรองที่สามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์อยู่ 7,000 – 9,000 ล้านบาร์เรล และไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีฐานะเป็นเสมือนเพชรประดับยอดมงกุฎของพื้นที่ย่านริมทะเลสาบแคสเปียน ในการลำเลียงขนส่งน้ำมันจากคาชากันไปถึงมือลูกค้าน่าที่จะมีความจำเป็นต้องใช้เส้นทางต่างๆ กันหลายๆ เส้นทาง โดยที่จะต้องมีการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันสายใหญ่ๆ สายใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ไรซ์ย่อมสามารถคาดการณ์ได้อย่างง่ายดายถึงการแข่งขันช่วงชิงกันอันดุเดือดที่รอคอยอยู่ข้างหน้า ก่อนถึงกำหนดวันเวลาเริ่มการผลิตของแหล่งคาชากันในปี 2013 สงครามเพื่อแย่งชิงคาชากันกำลังจะปะทุครั้งใหญ่แล้ว
เส้นทางการลำเลียงขนส่งผลผลิตจากคาชากัน ย่อมจะมีผลอย่างสำคัญยิ่งต่อความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจในระยะยาวของท่อส่งสายบีทีซี ทว่าจนถึงเวลานี้อัสตานายังไม่แสดงความรีบเร่งอะไรที่จะทำข้อตกลงผูกพันน้ำมันคาชากันให้แก่บีทีซี คาซัคสถานอาจจะกำลังเล่นกับเวลา และสอดประสานกับโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันสายไซบีเรียตะวันออกไปยังแปซิฟิก (อีเอสพีโอ)ของรัสเซียที่กำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2012 เพื่อนำน้ำมันไปสู่ตลาดแถบเอเชีย
รัฐมนตรีพลัง เซอร์เกย์ ชมัตโค ของรัสเซียกล่าวในวันพุธ(8)ว่า คาซทรานสออยล์ รัฐวิสาหกิจดำเนินงานท่อส่งน้ำมันของคาซัคสถาน กำลังแสดงความสนใจที่จะลำเลียงน้ำมันดิบคาซัคสถานผ่านท่อส่งสายอีเอสพีโอ “หุ้นส่วนชาวคาซัคของเรากำลังมองโครงการนี้ด้วยความสนใจและความกระตือรื้อร้นเป็นอย่างยิ่ง เรารู้สึกยินดีในเรื่องนี้” เขากล่าวในพิธีเปิดช่วงระหว่างทาลาคัน-ไทเชต ของท่อส่งสายอีเอสพีโอ ช่วงทาลาคัน-ไทเชตนี้สร้างเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ขณะที่ส่วนซึ่งจะต้องสร้างต่อไปยัง สโคโวโรดิโน ใกล้ๆ พรมแดนจีนนั้น กำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2009
ทางการอัสตานาจะตัดสินใจลำเลียงผลผลิตน้ำมันที่คาดหมายไว้ของตน นั่นคือ 150 ล้านตันต่อปีภายในปี 2015 ผ่านไปทางท่อส่งสายอีเอสพีโอหรือไม่ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ จีนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล และภูมิรัฐศาสตร์ของย่านแคสเปียนก็จะเกิดการพลิกโฉมครั้งประวัติศาสตร์
** “พันธมิตรน้ำมัน”รัสเซีย-คาซัคสถาน**
ไรซ์พยายามวางรูปภายนอกให้ดูดี โดยกล่าวว่า “นี่ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ ประเภทที่ต้องหาทางขอความรักจากคาซัคสถานให้สำเร็จ” ทว่าเห็นกันได้ชัดเจนเหลือเกินว่าวอชิงตันรู้สึกหงุดหงิดหัวเสีย จากการที่คาซัคสถานกำลังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณอันตรายของการแปรเปลี่ยนไปอยู่ข้างมอสโก ทางการอัสตานาสนับสนุนปฏิบัติการของรัสเซียในคอเคซัส และถึงกับตัดลดการลงทุนของตนในจอร์เจียอีกด้วย ถ้าไรซ์เคยวาดหวังไว้ว่าจะหนุนหลังให้คาซัคสถานลุกขึ้นยืนต่อต้าน “การทำตัวเป็นอันธพาล” ของรัสเซียแล้ว เธอก็ต้องรู้สึกผิดหวังแน่ๆ
ในวันก่อนหน้าที่ไรซ์จะมาถึงอัสตานา ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟบอกว่า “ตัวผมเองสามารถเป็นประจักษ์พยานต่อข้อเท็จจริงที่ว่าจอร์เจียเป็นฝ่ายบุกโจมตีก่อน ผมอยู่ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมกับมิสเตอร์ปูติน เมื่อตอนที่พวกเราได้ทราบข่าวเรื่องนี้เป็นครั้งแรกสุด ผมคิดว่าการเสนอข่าวเหตุการณ์เหล่านั้นมีความลำเอียง คุณควรจะประณามใครในการสู้รบขัดแย้งคราวนี้ ข้อเท็จจริงต่างๆ มันวางแบให้เห็นชัดเจนเต็มที่อยู่แล้ว”
นับแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียในวันที่ 7 พฤษภาคม เมดเวเดฟได้เดินทางเยือนคาซัคสถาน 3 เที่ยวแล้ว ระหว่างการเยือนครั้งสุดท้าย เขาให้สัญญาว่า “เรา(รัสเซียและคาซัคสถาน) จะเพิ่มพูนผลผลิตและการส่งออกวัตถุดิบไฮโดรคาร์บอนต่อไปเรื่อยๆ, สร้างท่อส่งสายใหม่ๆเมื่อมันเป็นประโยชน์และมีความจำเป็น, และดึงดูดการเงินทุนขนาดใหญ่ๆ เข้ามาในภาคเชื้อเพลิงและพลังงาน”
เมื่อวันพุธ(8) ขณะไปเยือนเมืองอัลมาตี เมืองใหญ่ที่สุดของคาซัคสถาน วาดิม กุสตอฟ ประธานผู้ทรงอิทธิพลของคณะกรรมาธิการซีไอเอส (CIS ย่อมาจาก Commonwealth of Independent States กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ซึ่งก็คือองค์การของบรรดาประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต) แห่งรัฐสภารัสเซีย ได้เสนอแนวความคิดใหม่ขึ้นมาว่า ประเทศทั้งสองจำเป็นจะต้องพัฒนาตลาดร่วมทางด้านพลังงานขึ้นมา เขากล่าวว่า “พันธมิตรน้ำมัน” เช่นนี้จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
“ตลาดร่วมด้านพลังงานของรัสเซียและคาซัคสถาน จะช่วยพัฒนาความร่วมมือทางด้านพลังงาน, จัดหาทรัพยากรพลังงานราคาถูกให้แก่ตลาดภายในประเทศทั้งสอง, และเพิ่มทวีการจัดส่งพลังงานให้แก่ประเทศที่สาม” กุสตอฟกล่าว ตามความเห็นของเขาแล้ว รัสเซียและคาซัคสถานควรที่จะพัฒนาและยอมรับแนวคิดร่วมในเรื่องเกี่ยวกับตลาดพลังงานขึ้นมา ซึ่งแนวคิดร่วมนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยูโรเอเชีย (Euroasian Economic Community) ขึ้นด้วย
เห็นชัดเจนว่า วอชิงตันก้าวไม่ทันนโยบายการทูตของฝ่ายรัสเซีย สิ่งที่ทำให้เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีกก็คือ วิกฤตทางการเงินที่บ้านเกิดกำลังทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯอีกด้วย อุดมการณ์ทั้งชุดในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่พวกนักการทูตสหรัฐฯเที่ยวโฆษณาชวนเชื่อต่อภูมิภาคแถบนี้ กำลังกลายเป็นสิ่งที่หมดค่าไร้เครดิต
มันจึงเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองอันใหญ่โตมหึมา เมื่อไอซ์แลนด์แสดง “ความผิดหวัง” ต่อโลกตะวันตก และหันไปหามอสโกเพื่อขอเงินกู้จำนวน 4,000 ล้านยูโร (5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มากอบกู้ช่วยชีวิตเศรษฐกิจของตนให้พ้นจากภาวะล้มละลายที่ย่างใกล้เข้ามา ภาพลักษณ์เช่นนี้ย่อมจะสร้างความประทับใจอย่างยาวนานในพื้นที่ทุ่งหญ้าสเตปส์แห่งเอเชียกลาง
เอ็ม เค ภัทรกุมาร ทำงานเป็นนักการทูตอาชีพ อยู่ในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย มายาวนานกว่า 29 ปี เขาเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ อาทิ เอกอัครราชทูตประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-98) และ ประจำตุรกี (1998-2001)
สหรัฐฯกำลังสูญเสียที่มั่นในย่านแคสเปียน (ตอนแรก)
US standing in Caspian drips away
By M K Bhadrakumar
10/10/2008
ที่มั่นของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียกลางกำลังซวนเซหดหายลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเป็นจริงใหม่ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ปรากฏออกมาภายหลังสงครามจอร์เจีย-รัสเซีย ความพยายามของสหรัฐฯที่จะเกี้ยวพาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคซึ่งมีท่อส่งน้ำมันสายสำคัญๆ พาดผ่านแห่งนี้ กำลังถูกบอกปัดอย่างไม่ใยดี เมื่อรัสเซียที่กำลังก้าวผงาดขึ้นมาต่างหากซึ่งถูกมองว่าคือพันธมิตรรายหลักทางด้านพลังงาน ยิ่งกว่านั้น บทบาทของมอสโกในการกอบกู้ช่วยเหลือทางการเงินแก่ไอซ์แลนด์ที่อยู่ห่างไกลออกไป ก็ยังเป็นการส่งสารอันมีความหมายมายังเขตทุ่งหญ้าสเตปส์แห่งนี้อีกด้วย
*รายงานนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ*
(ต่อจากตอนแรก)
จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ ย่อมเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการไปเยือนคาซัคสถานของไรซ์บังเกิดขึ้นท่ามกลางฉากหลังที่เต็มไปด้วยความมืดมัว ไม่ว่าอาเซอร์ไบจานหรือคาซัคสถานต่างก็ไม่มีท่าทีสนอกสนใจในการทำข้อตกลงเพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางส่งออกพลังงานเสียใหม่ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ผ่านรัสเซีย แน่นอนว่าประเทศทั้งสองต่างยังคงหวังที่จะรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ แต่ก็จะไม่ทำเรื่องนี้ด้วยการหันไปทะเลาะเบาะแว้งกับรัสเซียหรอก ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับไรซ์ที่กรุงอัสตานาเมื่อวันอาทิตย์(5) รัฐมนตรีต่างประเทศ มารัต ทาซิน ของคาซัคสถาน เน้นย้ำว่าความสัมพันธ์กับรัสเซียจะยังคงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญลำดับสูงสุด “ความสัมพันธ์ของเรากับรัสเซีย ผมสามารถที่จะพูดออกมาได้เลยว่า ยังคงอยู่ในระดับเยี่ยมยอด เรามีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ดีมาก รัสเซียคือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของเรา ขณะเดียวกัน ผมควรขีดเส้นใต้ด้วยว่าความสัมพันธ์ที่เรามีอยู่กับสหรัฐฯ ก็มีลักษณะที่มีเสถียรภาพและเป็นไปในเชิงยุทธศาสตร์”
ไม่ว่าทาซิน หรือประธานาธิบดี นูรูสุลตาน นาซาร์บาเยฟ ของคาซัคสถาน ก็ดูเหมือนไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาใดๆ กับไรซ์ในเรื่องเกี่ยวกับสายท่อส่งพลังงานที่สหรัฐฯเป็นผู้อุปถัมภ์อยู่ ตรงกันข้ามขณะที่แถลงต่อสื่อมวลชนร่วมกับประธานาธิบดี ดมิตรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ภายหลังการประชุมว่าด้วยพื้นที่ชายแดนรัสเซีย-คาซัคสถาน ณ เมืองอัคตีอูบินสก์ ของคาซัคสถานเมื่อวันที่ 22 กันยายน นาซาร์บาเยฟบอกว่า คาซัคสถานจะเพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นสู่ระดับ 12 ล้านเมตริกตันในปี 2009 และยื่นข้อเสนอที่จะลำเลียงน้ำมันที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้ผ่านทางรัสเซีย “มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่น้ำมันของคาซัคสถานควรที่จะส่งผ่านรัสเซีย” เขากล่าว
**ปริศนาแหล่งน้ำมันคาชากัน**
นาซาร์บาเยฟกำลังบอกเป็นนัยว่า อัสตานาจะใช้ท่อส่งของ แคสเปียน ไพพ์ไลน์ คอนซอร์เชียม (ซีพีพี) ที่ทางรัสเซียควบคุมอยู่ เพื่อนำน้ำมันดิบของคาซัคสถานจากแหล่งคาชากัน ในปี 2012-2013 ไปยังท่าเรือขนถ่ายของรัสเซียในทะเลดำ นูร์ลัน บาลากิมบาเยฟ ที่ปรึกษาของนาซาร์บาเยฟ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี(9)ว่า คาซัคสถานมีความสนใจที่จะซื้อหุ้นของซีพีซีเพิ่มเติมขึ้นอีก 13.7% จากส่วนที่ทางบริษัทบีพี และทางโอมานถือครองอยู่ ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นอื่นๆ จะมีรัสเซียถือหุ้นอยู่ 24% นอกนั้นก็มีบริษัทเชฟรอน, เชลล์, และเอซซอนโมบิล
ไรซ์น่าจะฉวยใช้ประโยชน์จากการไปเยือนอัสตานาของเธอ โดยดำเนินการตรวจสอบเรื่องของคาชากัน คาซัคสถานและบริษัทน้ำมันตะวันตกกลุ่มหนึ่งนำโดย เอนิ แห่งอิตาลี มีกำหนดที่จะสรุปรายละเอียดขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับอนาคตของคาชากันภายในวันที่ 25 ตุลาคม คาดหมายกันว่าจะมีการจัดตั้งบริษัทดำเนินงานแห่งใหม่ขึ้นมา โดยที่บริษัทแต่ละแห่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีทั้ง เอนิ, เชลล์, โคโนโคฟิลลิปส์, อินเปกซ์ โฮลดิ้งส์ของญี่ปุ่น, และ คาซมูไนแก๊ส ของคาซัคสถาน ก็น่าที่จะแบ่งสรรกันเข้าควบคุมด้านต่างๆ ของการดำเนินงาน อาทิ ด้านการผลิต หรือด้านการขนส่งทางเรือ
ประมาณกันว่า คาชากันมีปริมาณน้ำมันสำรองที่สามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์อยู่ 7,000 – 9,000 ล้านบาร์เรล และไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีฐานะเป็นเสมือนเพชรประดับยอดมงกุฎของพื้นที่ย่านริมทะเลสาบแคสเปียน ในการลำเลียงขนส่งน้ำมันจากคาชากันไปถึงมือลูกค้าน่าที่จะมีความจำเป็นต้องใช้เส้นทางต่างๆ กันหลายๆ เส้นทาง โดยที่จะต้องมีการก่อสร้างท่อส่งน้ำมันสายใหญ่ๆ สายใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ไรซ์ย่อมสามารถคาดการณ์ได้อย่างง่ายดายถึงการแข่งขันช่วงชิงกันอันดุเดือดที่รอคอยอยู่ข้างหน้า ก่อนถึงกำหนดวันเวลาเริ่มการผลิตของแหล่งคาชากันในปี 2013 สงครามเพื่อแย่งชิงคาชากันกำลังจะปะทุครั้งใหญ่แล้ว
เส้นทางการลำเลียงขนส่งผลผลิตจากคาชากัน ย่อมจะมีผลอย่างสำคัญยิ่งต่อความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจในระยะยาวของท่อส่งสายบีทีซี ทว่าจนถึงเวลานี้อัสตานายังไม่แสดงความรีบเร่งอะไรที่จะทำข้อตกลงผูกพันน้ำมันคาชากันให้แก่บีทีซี คาซัคสถานอาจจะกำลังเล่นกับเวลา และสอดประสานกับโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันสายไซบีเรียตะวันออกไปยังแปซิฟิก (อีเอสพีโอ)ของรัสเซียที่กำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2012 เพื่อนำน้ำมันไปสู่ตลาดแถบเอเชีย
รัฐมนตรีพลัง เซอร์เกย์ ชมัตโค ของรัสเซียกล่าวในวันพุธ(8)ว่า คาซทรานสออยล์ รัฐวิสาหกิจดำเนินงานท่อส่งน้ำมันของคาซัคสถาน กำลังแสดงความสนใจที่จะลำเลียงน้ำมันดิบคาซัคสถานผ่านท่อส่งสายอีเอสพีโอ “หุ้นส่วนชาวคาซัคของเรากำลังมองโครงการนี้ด้วยความสนใจและความกระตือรื้อร้นเป็นอย่างยิ่ง เรารู้สึกยินดีในเรื่องนี้” เขากล่าวในพิธีเปิดช่วงระหว่างทาลาคัน-ไทเชต ของท่อส่งสายอีเอสพีโอ ช่วงทาลาคัน-ไทเชตนี้สร้างเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน ขณะที่ส่วนซึ่งจะต้องสร้างต่อไปยัง สโคโวโรดิโน ใกล้ๆ พรมแดนจีนนั้น กำหนดเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2009
ทางการอัสตานาจะตัดสินใจลำเลียงผลผลิตน้ำมันที่คาดหมายไว้ของตน นั่นคือ 150 ล้านตันต่อปีภายในปี 2015 ผ่านไปทางท่อส่งสายอีเอสพีโอหรือไม่ ถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ จีนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล และภูมิรัฐศาสตร์ของย่านแคสเปียนก็จะเกิดการพลิกโฉมครั้งประวัติศาสตร์
** “พันธมิตรน้ำมัน”รัสเซีย-คาซัคสถาน**
ไรซ์พยายามวางรูปภายนอกให้ดูดี โดยกล่าวว่า “นี่ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ ประเภทที่ต้องหาทางขอความรักจากคาซัคสถานให้สำเร็จ” ทว่าเห็นกันได้ชัดเจนเหลือเกินว่าวอชิงตันรู้สึกหงุดหงิดหัวเสีย จากการที่คาซัคสถานกำลังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณอันตรายของการแปรเปลี่ยนไปอยู่ข้างมอสโก ทางการอัสตานาสนับสนุนปฏิบัติการของรัสเซียในคอเคซัส และถึงกับตัดลดการลงทุนของตนในจอร์เจียอีกด้วย ถ้าไรซ์เคยวาดหวังไว้ว่าจะหนุนหลังให้คาซัคสถานลุกขึ้นยืนต่อต้าน “การทำตัวเป็นอันธพาล” ของรัสเซียแล้ว เธอก็ต้องรู้สึกผิดหวังแน่ๆ
ในวันก่อนหน้าที่ไรซ์จะมาถึงอัสตานา ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟบอกว่า “ตัวผมเองสามารถเป็นประจักษ์พยานต่อข้อเท็จจริงที่ว่าจอร์เจียเป็นฝ่ายบุกโจมตีก่อน ผมอยู่ในกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมกับมิสเตอร์ปูติน เมื่อตอนที่พวกเราได้ทราบข่าวเรื่องนี้เป็นครั้งแรกสุด ผมคิดว่าการเสนอข่าวเหตุการณ์เหล่านั้นมีความลำเอียง คุณควรจะประณามใครในการสู้รบขัดแย้งคราวนี้ ข้อเท็จจริงต่างๆ มันวางแบให้เห็นชัดเจนเต็มที่อยู่แล้ว”
นับแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียในวันที่ 7 พฤษภาคม เมดเวเดฟได้เดินทางเยือนคาซัคสถาน 3 เที่ยวแล้ว ระหว่างการเยือนครั้งสุดท้าย เขาให้สัญญาว่า “เรา(รัสเซียและคาซัคสถาน) จะเพิ่มพูนผลผลิตและการส่งออกวัตถุดิบไฮโดรคาร์บอนต่อไปเรื่อยๆ, สร้างท่อส่งสายใหม่ๆเมื่อมันเป็นประโยชน์และมีความจำเป็น, และดึงดูดการเงินทุนขนาดใหญ่ๆ เข้ามาในภาคเชื้อเพลิงและพลังงาน”
เมื่อวันพุธ(8) ขณะไปเยือนเมืองอัลมาตี เมืองใหญ่ที่สุดของคาซัคสถาน วาดิม กุสตอฟ ประธานผู้ทรงอิทธิพลของคณะกรรมาธิการซีไอเอส (CIS ย่อมาจาก Commonwealth of Independent States กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ซึ่งก็คือองค์การของบรรดาประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต) แห่งรัฐสภารัสเซีย ได้เสนอแนวความคิดใหม่ขึ้นมาว่า ประเทศทั้งสองจำเป็นจะต้องพัฒนาตลาดร่วมทางด้านพลังงานขึ้นมา เขากล่าวว่า “พันธมิตรน้ำมัน” เช่นนี้จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
“ตลาดร่วมด้านพลังงานของรัสเซียและคาซัคสถาน จะช่วยพัฒนาความร่วมมือทางด้านพลังงาน, จัดหาทรัพยากรพลังงานราคาถูกให้แก่ตลาดภายในประเทศทั้งสอง, และเพิ่มทวีการจัดส่งพลังงานให้แก่ประเทศที่สาม” กุสตอฟกล่าว ตามความเห็นของเขาแล้ว รัสเซียและคาซัคสถานควรที่จะพัฒนาและยอมรับแนวคิดร่วมในเรื่องเกี่ยวกับตลาดพลังงานขึ้นมา ซึ่งแนวคิดร่วมนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยูโรเอเชีย (Euroasian Economic Community) ขึ้นด้วย
เห็นชัดเจนว่า วอชิงตันก้าวไม่ทันนโยบายการทูตของฝ่ายรัสเซีย สิ่งที่ทำให้เรื่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีกก็คือ วิกฤตทางการเงินที่บ้านเกิดกำลังทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯอีกด้วย อุดมการณ์ทั้งชุดในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่พวกนักการทูตสหรัฐฯเที่ยวโฆษณาชวนเชื่อต่อภูมิภาคแถบนี้ กำลังกลายเป็นสิ่งที่หมดค่าไร้เครดิต
มันจึงเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองอันใหญ่โตมหึมา เมื่อไอซ์แลนด์แสดง “ความผิดหวัง” ต่อโลกตะวันตก และหันไปหามอสโกเพื่อขอเงินกู้จำนวน 4,000 ล้านยูโร (5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มากอบกู้ช่วยชีวิตเศรษฐกิจของตนให้พ้นจากภาวะล้มละลายที่ย่างใกล้เข้ามา ภาพลักษณ์เช่นนี้ย่อมจะสร้างความประทับใจอย่างยาวนานในพื้นที่ทุ่งหญ้าสเตปส์แห่งเอเชียกลาง
เอ็ม เค ภัทรกุมาร ทำงานเป็นนักการทูตอาชีพ อยู่ในกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย มายาวนานกว่า 29 ปี เขาเคยดำรงตำแหน่งต่างๆ อาทิ เอกอัครราชทูตประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-98) และ ประจำตุรกี (1998-2001)