เอเจนซี - เจ้าหน้าที่ระดับท็อปของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกโรงต่อต้านความคาดหมายของตลาดที่ว่าจะมีการหั่นลดอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในปลายเดือนนี้ โดยกล่าวในวันพฤหัสบดี (2) ว่า นโยบายการเงินเวลานี้อยู่ในสภาพผ่อนปรนอย่างยิ่งอยู่แล้ว ขณะที่ยังจะต้องคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อ
ประธานกรรมการบริหารเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เจมส์ บูลลาร์ด และประธานเฟดสาขาแคนซัสซิตี้ โธมัน โฮนิก ต่างยอมรับว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าที่จะเผชิญกับความยากลำบากในช่วงเวลาต่อไปจากนี้ แต่พวกเขาต่างก็แสดงความไม่สบายอย่างชัดเจนกับแนวความคิดเรื่องการลดดอกเบี้ย
"ผมคิดว่าการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาในเวลานี้ อาจจะไม่ใช่เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างถูกต้อง" บูลลาร์ดบอกกับผู้ฟังการแสดงปาฐกถาของเขา ที่มหาวิทยาลัยอินดีแอนา วิทยาเขตบลูมมิงตัน
ส่วนโฮนิกซึ่งกล่าวในงานประชุมที่เมืองอัลบูเกอร์กี มลรัฐนิวเม็กซิโก ก็บ่งชี้ว่า เขากำลังพิจารณาในเรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ควรเริ่มขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเมื่อใดมากกว่า ถึงแม้ตลาดสินเชื่อยังคงประสบภาวะปั่นป่วนผันผวนอยู่ในตอนนี้
"เราจำเป็นที่จะต้องรับมือกับวิกฤตคราวนี้ ผมเห็นด้วย อีกทั้งการรับมือก็เป็นเรื่องยากด้วย แต่เราไม่สามารถที่จะละเลยสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเราได้หรอก" โฮนิกบอก พร้อมกับชี้ด้วยว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากๆ นั่นแหละที่เป็นตัวการช่วยให้ตลาดสินเชื่อเบ่งบาน จนนำมาสู่วิกฤตในปัจจุบัน
"คุณสามารถที่จะปล่อยดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับนี้ หรือกระทั่งขยับมันขึ้นไป โดยที่คุณก็ยังคงมีนโยบายการเงินซึ่งเอื้ออำนวย (ต่อการกู้ยืม) อยู่นั่นเอง" เขากล่าว "ผมน่ะต้องการที่จะทำอย่างนั้น (ขึ้นดอกเบี้ย) ให้เร็วที่สุดที่ผมสามารถทำได้ ดีกว่านั่งเฉยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด"
ทั้งบูลลาร์ด และ โฮนิก ต่างก็ไม่ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่มีสิทธิออกเสียงประจำปีนี้ ทว่าด้วยฐานะการเป็นประธานเฟดสาขา พวกเขายังคงได้เข้าร่วมและเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม
เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นกำลังแสดงสัญญาณของการอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาเดียวกับที่กำลังเกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวอย่างหนัก ทำให้ในตลาดการเงินมีเสียงคาดหมายกันว่า การประชุมครั้งต่อไปของเอฟโอเอ็มซีในวันที่ 28-29 เดือนนี้ จะมีการลดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นั่นคือ เฟดฟันด์เรต โดยอาจลงมาถึง 0.5%
เฟดนั้นได้หั่นดอกเบี้ยตัวนี้รวม 3.25% แล้วในระหว่างเดือนกันยายน 2007 จนถึงเดือนเมษายนปีนี้ จนปัจจุบันอยู่ในระดับ 2% ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหมายที่จะลดทอนผลกระทบจากวิกฤตภาคที่อยู่อาศัย
ผลพวงจากวิกฤตคราวนี้ กำลังทำให้ภาพของอุตสาหกรรมการเงินสหรัฐฯแปรเปลี่ยนไปในระดับพื้นฐาน อีกทั้งผลักดันให้รัฐสภาต้องพิจารณาอนุมัติแผนการใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยชีวิตภาคการเงิน และหลีกเลี่ยงผลต่อเนื่องซึ่งจะมีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
บูลลาร์ด กล่าวว่า เป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่เฟดต้องมุ่งให้ความสนใจแก้ไขภาวะปั่นป่วนในตลาดการเงินเวลานี้ แต่เขาก็เตือนตรงๆ ว่า การลดดอกเบี้ยลงไปอีกไม่ใช่เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
"เราได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาตั้งเยอะแล้ว เราสร้างภาวะแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยต่ำขึ้นมาแล้ว มันเป็นเครื่องมือทื่อๆ...และคุณก็กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อกำลังก่อตัวปุดๆ ขึ้นมา ซึ่งอาจจะถึงขั้นควบคุมไม่ได้ ถ้าเราไม่คอยจับจ้องเอาไว้ให้ดี" เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว
หากเอฟโอเอ็มซีตัดลดดอกเบี้ยลงมา ย่อมหมายความว่าเฟดฟันด์เรตจะอยู่ในระดับ 1 เปอร์เซ็นต์เศษๆ บูลลาร์ด กล่าวว่า เขารู้สึกกังวลกับตัวเลข 1% นี้ "ตัวเลข 1% คือตัวเลขที่เคยใช้กันอยู่ในตอนช่วงแรกของรอบทศวรรษนี้ และเป็นช่วงเวลาที่โยงใยกับการสร้างปัญหาต่างๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงคิดว่า นี่เป็นอะไรซึ่งผู้มีหน้าที่วางนโยบายควรจะต้องใส่ใจ"
ทางด้านโฮนิก บอกว่า เขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะมีการเติบโตในรอบไตรมาสสามปีนี้ "แค่พอประมาณมากๆ" โดยจะต่ำกว่าอัตราที่ถือว่าเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว นั่นคือราว 2.75% นอกจากนั้นเศรษฐกิจยังจะอ่อนแอต่อไปในไตรมาสสี่ และกระทั่งในปีหน้า
เขาบอกว่า อาการหายใจไม่ออกของตลาดสินเชื่อ ทำให้นโยบายการเงินที่ลดดอกเบี้ยลงมาต่ำมากแล้ว ยังดูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่เขาเชื่อว่าการหั่นดอกเบี้ยครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา จะบังเกิดผลที่ต้องการ เมื่อตลาดกลับมีความมั่นใจกันใหม่อีกครั้ง
ประธานกรรมการบริหารเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ เจมส์ บูลลาร์ด และประธานเฟดสาขาแคนซัสซิตี้ โธมัน โฮนิก ต่างยอมรับว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ น่าที่จะเผชิญกับความยากลำบากในช่วงเวลาต่อไปจากนี้ แต่พวกเขาต่างก็แสดงความไม่สบายอย่างชัดเจนกับแนวความคิดเรื่องการลดดอกเบี้ย
"ผมคิดว่าการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาในเวลานี้ อาจจะไม่ใช่เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างถูกต้อง" บูลลาร์ดบอกกับผู้ฟังการแสดงปาฐกถาของเขา ที่มหาวิทยาลัยอินดีแอนา วิทยาเขตบลูมมิงตัน
ส่วนโฮนิกซึ่งกล่าวในงานประชุมที่เมืองอัลบูเกอร์กี มลรัฐนิวเม็กซิโก ก็บ่งชี้ว่า เขากำลังพิจารณาในเรื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ควรเริ่มขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเมื่อใดมากกว่า ถึงแม้ตลาดสินเชื่อยังคงประสบภาวะปั่นป่วนผันผวนอยู่ในตอนนี้
"เราจำเป็นที่จะต้องรับมือกับวิกฤตคราวนี้ ผมเห็นด้วย อีกทั้งการรับมือก็เป็นเรื่องยากด้วย แต่เราไม่สามารถที่จะละเลยสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเราได้หรอก" โฮนิกบอก พร้อมกับชี้ด้วยว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากๆ นั่นแหละที่เป็นตัวการช่วยให้ตลาดสินเชื่อเบ่งบาน จนนำมาสู่วิกฤตในปัจจุบัน
"คุณสามารถที่จะปล่อยดอกเบี้ยเอาไว้ในระดับนี้ หรือกระทั่งขยับมันขึ้นไป โดยที่คุณก็ยังคงมีนโยบายการเงินซึ่งเอื้ออำนวย (ต่อการกู้ยืม) อยู่นั่นเอง" เขากล่าว "ผมน่ะต้องการที่จะทำอย่างนั้น (ขึ้นดอกเบี้ย) ให้เร็วที่สุดที่ผมสามารถทำได้ ดีกว่านั่งเฉยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด"
ทั้งบูลลาร์ด และ โฮนิก ต่างก็ไม่ได้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ที่มีสิทธิออกเสียงประจำปีนี้ ทว่าด้วยฐานะการเป็นประธานเฟดสาขา พวกเขายังคงได้เข้าร่วมและเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม
เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นกำลังแสดงสัญญาณของการอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาเดียวกับที่กำลังเกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวอย่างหนัก ทำให้ในตลาดการเงินมีเสียงคาดหมายกันว่า การประชุมครั้งต่อไปของเอฟโอเอ็มซีในวันที่ 28-29 เดือนนี้ จะมีการลดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นั่นคือ เฟดฟันด์เรต โดยอาจลงมาถึง 0.5%
เฟดนั้นได้หั่นดอกเบี้ยตัวนี้รวม 3.25% แล้วในระหว่างเดือนกันยายน 2007 จนถึงเดือนเมษายนปีนี้ จนปัจจุบันอยู่ในระดับ 2% ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหมายที่จะลดทอนผลกระทบจากวิกฤตภาคที่อยู่อาศัย
ผลพวงจากวิกฤตคราวนี้ กำลังทำให้ภาพของอุตสาหกรรมการเงินสหรัฐฯแปรเปลี่ยนไปในระดับพื้นฐาน อีกทั้งผลักดันให้รัฐสภาต้องพิจารณาอนุมัติแผนการใช้เงิน 700,000 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยชีวิตภาคการเงิน และหลีกเลี่ยงผลต่อเนื่องซึ่งจะมีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
บูลลาร์ด กล่าวว่า เป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่เฟดต้องมุ่งให้ความสนใจแก้ไขภาวะปั่นป่วนในตลาดการเงินเวลานี้ แต่เขาก็เตือนตรงๆ ว่า การลดดอกเบี้ยลงไปอีกไม่ใช่เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
"เราได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาตั้งเยอะแล้ว เราสร้างภาวะแวดล้อมของอัตราดอกเบี้ยต่ำขึ้นมาแล้ว มันเป็นเครื่องมือทื่อๆ...และคุณก็กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อกำลังก่อตัวปุดๆ ขึ้นมา ซึ่งอาจจะถึงขั้นควบคุมไม่ได้ ถ้าเราไม่คอยจับจ้องเอาไว้ให้ดี" เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว
หากเอฟโอเอ็มซีตัดลดดอกเบี้ยลงมา ย่อมหมายความว่าเฟดฟันด์เรตจะอยู่ในระดับ 1 เปอร์เซ็นต์เศษๆ บูลลาร์ด กล่าวว่า เขารู้สึกกังวลกับตัวเลข 1% นี้ "ตัวเลข 1% คือตัวเลขที่เคยใช้กันอยู่ในตอนช่วงแรกของรอบทศวรรษนี้ และเป็นช่วงเวลาที่โยงใยกับการสร้างปัญหาต่างๆ ขึ้นมาจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงคิดว่า นี่เป็นอะไรซึ่งผู้มีหน้าที่วางนโยบายควรจะต้องใส่ใจ"
ทางด้านโฮนิก บอกว่า เขาคาดหมายว่าสหรัฐฯ จะมีการเติบโตในรอบไตรมาสสามปีนี้ "แค่พอประมาณมากๆ" โดยจะต่ำกว่าอัตราที่ถือว่าเป็นการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว นั่นคือราว 2.75% นอกจากนั้นเศรษฐกิจยังจะอ่อนแอต่อไปในไตรมาสสี่ และกระทั่งในปีหน้า
เขาบอกว่า อาการหายใจไม่ออกของตลาดสินเชื่อ ทำให้นโยบายการเงินที่ลดดอกเบี้ยลงมาต่ำมากแล้ว ยังดูไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่เขาเชื่อว่าการหั่นดอกเบี้ยครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา จะบังเกิดผลที่ต้องการ เมื่อตลาดกลับมีความมั่นใจกันใหม่อีกครั้ง