(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Hun Sen’s diplomatic juggling act
By Geoffrey Cain
17/07/2008
กัมพูชาตกในสภาพอยู่หว่างกลางพวกอภิมหาอำนาจที่กำลังแข่งขันชิงชัยกัน ยิ่งกว่าประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นใดทั้งสิ้น จากการที่สหรัฐฯกำลังแผ่ขยายแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ ส่วนจีนก็กำลังควักกระเป๋าให้ความช่วยเหลือทางการเงิน นายกรัฐมนตรีฮุนเซนจึงกำลังพยายามเลี้ยงตัวสร้างความสมดุล ในท่ามกลางกระแสการหยั่งเชิงทาบทามทางการทูต เพื่อทำให้รัฐบาลของเขาได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมือง
พนมเปญ – ยิ่งกว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นใดทั้งสิ้น กัมพูชากำลังพบว่าตนเองตกอยู่หว่างกลางของการแข่งขันชิงชัยระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่ต่างก็พยายามเข้ามาหยั่งเชิงทาบทามในทางการทูต ขณะที่วอชิงตันกำลังเสนอแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ระดับทวิภาคี ทางด้านปักกิ่งก็ควักกระเป๋าให้ความช่วยเหลือทางการเงิน นายกรัฐมนตรีฮุนเซนจึงกำลังพยายามเลี้ยงตัวสร้างความสมดุลในระหว่างอภิมหาอำนาจทั้งสองรายนี้ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองแก่รัฐบาลของเขา
ในปี 2006 สหรัฐฯได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตแห่งใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่โตยิ่งในกรุงพนมเปญ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นผูกพันทางการทูตครั้งใหม่ของวอชิงตันที่มีต่อประเทศนี้ สถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้มีพื้นที่สำนักงานสำหรับพวกหน่วยงานต่อสู้กับการก่อการร้ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จัดไว้ให้แก่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) หรือพื้นที่สำหรับสำนักงานคณะกรรมการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติ ที่เพิ่งจัดตั้งกันขึ้นมาเมื่อปี 2007
ผู้อำนวยการเอฟบีไอ รอเบิร์ต มูลเลอร์ ชี้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ริดูอัน อิซามุดดีน ผู้ปฏิบัติการคนหนึ่งของกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) ซึ่งใช้นามแฝงอันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า “ฮัมบาลี” ได้เคยหลบหนีลี้ภัยอยู่ในโรงเรียนมุสลิมกัมพูชาแห่งหนึ่ง ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมตัวในประเทศไทยในปี 2003 และนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่มูลเลอร์ยกขึ้นมาสนับสนุนให้จัดตั้งสำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายแห่งใหม่นี้ นอกจากนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำกัมพูชา โจเซฟ มุสโซเมลิ ยังอ้างด้วยว่า มีพวกกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่เขาไม่ระบุชื่อ กำลังพยายามอาศัยการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อให้ชุมชนชาวจามที่เป็นมุสลิมในท้องถิ่น ยอมรับการตีความศาสนาอิสลามแบบที่มีความเข้มงวดยิ่งกว่าเดิม
ในอีกด้านหนึ่ง จีนก็อาศัยทรัพยากรเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างเสริมอิทธิพลบารมี นับตั้งแต่ปี 2005 ปักกิ่งเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นประจำปีละประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในโครงการด้านถนนหนทาง, สะพาน, และเขื่อน และไม่เหมือนกับเม็ดเงินที่มาจากพวกผู้บริจาคทางโลกตะวันตก ซึ่งเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมายังเป็นรายรับถึงกว่าครึ่งหนึ่งของยอดงบประมาณแผ่นดินของกัมพูชา เพราะเงินทองจากจีนนั้นหลั่งไหลเข้ามาโดยมิได้มีการกำหนดเงื่อนไขบังคับล่วงหน้า อาทิ ให้รัฐบาลฮุนเซนต้องต่อสู้ปราบปรามการทุจริต หรือเดินหน้ามุ่งสู่ประชาธิปไตยให้มากขึ้น
เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ รัฐบาลจีนให้สัญญาที่จะช่วยเหลือโครงการกระแสไฟฟ้าในเขตชนบทที่ยังขาดแคลนไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่งของกัมพูชา โดยรวมถึงคำมั่นสัญญาเป็นมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สำหรับใช้ในโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 2 แห่ง โครงการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ซึ่งธนาคารโลกบอกว่าเป็นตัวการที่ทำให้ผู้คนของประเทศนี้มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงที่สุดในโลก
ขณะเดียวกัน โครงการเหล่านี้ยังจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของพวกบริษัทจีนกว่า 3,000 แห่งที่ตั้งอยู่ในกัมพูชาเวลานี้ โดยที่เมื่อปี 2007 บริษัทเหล่านี้ทำรายรับได้รวม 1,560 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั้งนี้ตามข้อมูลสถิติของสถาบันเศรษฐกิจแห่งกัมพูชา จีนเวลานี้ว่าจ้างพนักงานคิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่โตทีเดียวในกำลังแรงงานทั่วประเทศของกัมพูชา เป็นการเข้าแทนที่พวกองค์กรพัฒนาเอกชนตลอดจนโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตก ซึ่งเคยครอบงำเศรษฐกิจของกัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อครั้งประเทศนี้เพิ่งก้าวขึ้นสู่การเจริญเติบโตเป็นครั้งแรก หลังจากจมปลักอยู่ในภาวะสงครามมาหลายสิบปี
ปัจจุบันเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังขยายตัวด้วยอัตราเป็นตัวเลขสองหลัก และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนในประเทศนี้ก็เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ปี 2005 เมื่อบริษัทน้ำมันเชฟรอนของสหรัฐฯสำรวจค้นพบสิ่งที่บางคนคาดการณ์ว่า เป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนใต้ของกัมพูชา ความผูกพันเชิงพาณิชย์ที่กำลังเติบโตดังกล่าวนี้ มีประจักษ์พยานให้เห็นชัดเจนจากการที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้มีการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นที่เมืองท่าสีหนุวิลล์ โดยสินค้าที่จะผลิตในเขตดังกล่าวจะถูกส่งออกไปยังจีนในแบบปลอดภาษี
จนกระทั่งถึงเวลานี้ มีบริษัทจีนอย่างน้อยที่สุด 6 รายแล้วที่ได้ลงนามทำข้อตกลงกับผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ซึ่งเป็นกิจการของจีนและกัมพูชา 2 ราย ทันทีที่การก่อสร้างระยะที่สองเสร็จสิ้นลงในปี 2011 เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์จะมีศักยภาพในการรองรับบริษัทต่างๆ 150 แห่งและพนักงานราว 40,000 คน ทางผู้พัฒนาที่เป็นฝ่ายจีนแสดงความคาดหวังว่า เขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2015 ทั้งนี้ตามเอกสารแถลงข่าวร่วมของโครงการดังกล่าวนี้
ตัวฮุนเซนได้เข้าร่วมในพิธีเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ด้วยตัวเอง พร้อมกับพูดภายหลังการลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับเหล่าผู้พัฒนาโครงการว่า เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่นี้จะโหมกระพือการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชา และเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ความผูกพันทวิภาคีที่มีกับจีน ทางการปักกิ่งยังได้บริจาคเรือตรวจการณ์รวม 9 ลำให้แก่ราชนาวีกัมพูชา เพื่อช่วยภารกิจรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเขตเศรษฐกิจใหม่ จากภัยโจรสลัดและการลักลอบค้าของเถื่อน
ขณะที่อิทธิพลเศรษฐกิจของจีนขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ของสหรัฐฯกลับตกอยู่ในสภาพเสื่อมถอย ในระยะปีหลังๆ มานี้ สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่กัมพูชาเพียงแค่ประมาณปีละ 150 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนเล็กกว่านักเมื่อเทียบกับการให้ความอุปถัมภ์ในเชิงพาณิชย์ของจีน ในเวลาเดียวกัน ความผูกพันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับกัมพูชาก็ลดฮวบลงด้วย ดังที่เห็นได้จากยอดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังสหรัฐฯในปี 2007 ที่ทรุดต่ำลงถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สหรัฐฯนั้นเป็นตลาดนำเข้าหลักของสิ่งทอกัมพูชามานานแล้ว แม้เวลานี้เองสิ่งทอก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกรายการใหญ่ที่สุดของประเทศนี้อยู่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ มานี้ ด้วยการเสนอให้ความช่วยเหลือมากขึ้นโดยผ่านแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ เวลานี้นโยบายของสหรัฐฯต่อกัมพูชาจึงดูเหมือนมีการปรับเปลี่ยนไป จากที่เคยเน้นย้ำแต่เรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองด้วยหลักนิติธรรมมาตลอดทศวรรษ 1990 อันที่จริง การตอกย้ำเช่นนั้นเอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะเบาะแว้งกันในทางการทูตอยู่บ่อยครั้ง ดังมีตัวอย่างปรากฏในผลการสอบสวนของเอฟบีไอ เกี่ยวกับเหตุระเบิดเล่นงานการชุมนุมที่จัดโดย สม รังสี นักการเมืองฝ่ายค้านเมื่อเดือนมีนาคม 1997 ณ เมืองหลวงพนมเปญ ซึ่งสังหารผู้คนไปอย่างน้อย 16 คน และบาดเจ็บอีก 150 คน รวมทั้งพลเรือนสหรัฐฯคนหนึ่งด้วย
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 1997 ซึ่งได้อ้างแหล่งข่าวรัฐบาลสหรัฐฯรวม 4 รายที่สามารถเข้าถึงหลักฐานเอกสารลับต่างๆ ระบุว่า เอฟบีไอมีความโน้มเอียงที่จะชี้ออกมาว่า หน่วยองครักษ์ส่วนตัวของฮุนเซน ที่มีชื่อว่า “กองพลน้อย 70” (Brigade 70) นั่นแหละเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุระเบิดคราวนั้น ตลอดจนการพยายามเข้ามาแทรกแซงการสอบสวนของเอฟบีไอภายหลังจากนั้นด้วย สหรัฐฯนั้นยังไม่เคยเปิดเผยผลการสอบสวนนี้ต่อสาธารณชนมาก่อน ถึงแม้ “ฮิวแมน ไรต์ส วอตช์” (Human Rights Watch) องค์การสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ออกมาเรียกร้องตอนต้นปีนี้ ให้วอชิงตันเปิดการสอบสวนที่ชะงักงันไปนานนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง “แทนที่จะพยายามปกป้องความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯมีอยู่กับกัมพูชา สหรัฐฯในเวลานี้ควรที่จะทำสิ่งที่ตนเองได้เริ่มต้นไว้ให้เสร็จสิ้นลงไป” องค์การสิทธิมนุษยชนแห่งนี้กล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง
**สายสัมพันธ์เพื่อต่อสู้การก่อการร้าย **
ทว่าแทนที่จะทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯกลับอ้างไว้ในรายงานว่าด้วยการค้ามนุษย์ทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้ว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชากำลังกระเตื้องดีขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของฮุนเซน รายงานนี้ยังกล่าวชมเชยความพยายามของรัฐบาลฮุนเซนในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์อีกด้วย
แต่เรื่องที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว เอฟบีไอได้เชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของกัมพูชา ฮก ลุนดี ไปยังนครลาสเวกัส เพื่อร่วมการปรึกษาหารือว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ถึงแม้ลุนดีจะมีชื่อฉาวโฉ่ว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันร้ายแรงในหลายๆ กรณี
ตามรายงานของฮิวแมน ไรต์ช วอตช์ ผู้ซึ่งระบุว่าได้เสนอหลักฐานของทางองค์การเองต่อรัฐบาลสหรัฐฯแล้วด้วย ลุนดีมีส่วนร่วมอยู่ในแผนการสมคบคิดก่อเหตุขว้างระเบิดใส่การชุมนุมของฝ่ายค้านเมื่อปี 1997 อันเป็นพฤติการณ์ที่ก่อนหน้านี้เอฟบีไอเคยจัดให้เป็น “พฤติการณ์ของผู้ก่อการร้าย” เขายังเป็นผู้บังคับบัญชาให้กำลังทหารหลายกองพันที่จงรักภักดีต่อฮุนเซน ก่อการรัฐประหารขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 1997 ซึ่งมีการขับไล่สมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีร่วมในเวลานั้น โดยที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านตลอดจนผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่งได้ถูกฆ่าตายแบบใช้อำนาจเถื่อน และอีกหลายๆ คนต้องหลบหนีลี้ภัย
การฆาตกรรม เคม ซัมโบ นักหนังสือพิมพ์ผู้เป็นพันธมิตรกับสม รังสี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเป็นการกระทำของรัฐบาล ในช่วงเวลาก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ สมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วม และเวลานี้เป็นผู้นำของพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อของเขาเองเป็นชื่อพรรค เมื่อเร็วๆ นี้ได้ขอลี้ภัยในมาเลเซีย ภายหลังรัฐบาลฮุนเซนได้เพิ่มความพยายามที่จะใช้ข้อหาหมิ่นประมาทมาเล่นงานเขา
การที่สหรัฐฯประเมินในทางบวกต่อสภาพสิทธิมนุษยชนของกัมพูชา อาจมองได้ว่าเป็นการตอบโต้ทางการทูต ต่อวิธีการแบบไร้เงื่อนไขยิ่งกว่าและเน้นในเรื่องเชิงพาณิชย์ซึ่งจีนกำลังใช้อยู่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจจะมีปัจจัยเกี่ยวกับความรู้สึกละอายใจจากการกระทำผิดพลาดในอดีตของทั้งสหรัฐฯและจีน และก็กลายเป็นปัจจัยอันยุ่งยากซับซ้อนประการสำคัญทีเดียวในการหาทางให้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฮุนเซน
ทั้งนี้ปักกิ่งมีชื่อฉาวอยู่แล้วในเรื่องที่สนับสนุนระบอบปกครองอันโหดเหี้ยมของเขมรแดง ทั้งตอนที่กลุ่มที่มีแนวคิดแบบเหมาอิสต์หัวรุนแรงนี้ขึ้นครองอำนาจในช่วงปี 1975-79 และหลังจากที่พวกเขาถูกโค่นล้มโดยกองทัพเวียดนามในปี 1979 แล้วหันไปต่อสู้ในรูปแบบกองกำลังจรยุทธ์แถวๆ บริเวณชายแดนติดประเทศไทย
ระบอบเขมรแดงนั้น เวลานี้ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของชาวกัมพูชาถึง 2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ก็รวมถึงพ่อค้านักธุรกิจชาวจีนด้วย แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการประมาณการกันว่า สหรัฐฯได้สังหารชาวกัมพูชาไปกว่า 500,000 คน ระหว่างการรณรงค์โจมตีทิ้งระเบิดลับๆ ใส่ประเทศนี้ในช่วงปี 1969-70 ซึ่งยิ่งทำให้สงครามกลางเมืองในกัมพูชาขยายตัวรุนแรง สหรัฐฯยังเป็นผู้สนับสนุนการรัฐประหารของนายพลลอนนอลเมื่อปี 1970 ที่โค่นล้มสมเด็จนโรดม สีหนุ ออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ
มีบางคนประเมินว่าเวลานี้จีนอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าสหรัฐฯในเรื่องความสัมพันธ์กับกัมพูชา ขณะที่ฮุนเซนแสดงการต้อนรับความริเริ่มทางด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ซึ่งน่าที่จะเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงสมรรถนะทางด้านการตรวจตราเฝ้าระวังของรัฐบาลของเขากันไปอีกยาวนานนั้น คำแถลงต่างๆ ของนายกรัฐมนตรีผู้นี้ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่แท้จริงของการก่อการร้ายในกัมพูชา กลับอยู่ในลักษณะที่ขัดแย้งกันเอง
หลังจากเกิดเหตุพยายามโจมตีด้วยระเบิดทว่าไม่ประสบผล ต่ออนุสาวรีย์มิตรภาพกัมพูชา-เวียดนามเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 โดยฝีมือของกลุ่มหัวรุนแรงในท้องถิ่นกลุ่มหนึ่ง ฮุนเซนได้ออกมาแถลงยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลของเขาที่จะต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย ทว่าพอถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 เขาก็ทำท่าเหมือนจะพลิกกลับจุดยืนของเขาเสียแล้ว ด้วยการบอกว่า ในกัมพูชาไม่มีผู้ก่อการร้ายใดๆ ทั้งสิ้น
สิ่งที่ชัดเจนยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ ความร่วมมือของฮุนเซนที่ให้กับแผนการริเริ่มเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯนั้น มีฐานะเป็นรองแรงขับดันของรัฐบาลของเขาที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนของจีนให้เติบใหญ่ยิ่งขึ้น ตามตัวเลขของสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติในปี 2006 เฉพาะส่วนที่มาจากจีนมีมูลค่าเท่ากับ 763 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเกือบเป็นสองเท่าตัวของตัวเลขเมื่อปี 2005 คาดหมายกันว่าตัวเลขเหล่านี้น่าจะสูงขึ้นอีกในปีที่แล้ว ที่ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในข้อตกลงด้านต่างๆ อยู่หลายๆ ฉบับ
ขณะที่วอชิงตันกำลังพยายามเบี่ยงเบนลดทอนอิทธิพลด้านการทูตเชิงพาณิชย์ของจีนอยู่นั้น ปักกิ่งกลับมุ่งมั่นเดินหน้าด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะจับมือกับกัมพูชาทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมทั้งการอาศัยพวกผู้ประกอบการเชื้อสายจีนที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองในประเทศนี้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ตามโรงเรียนต่างๆ ของกัมพูชา ดูเหมือนกำลังเกิดกระแสที่ภาษาจีนกลางกำลังได้รับความนิยมเหนือกว่าภาษาอังกฤษซึ่งลดคุณค่าลงไป เวลานี้กัมพูชาคือที่ตั้งของโรงเรียน “เดือนหวา” (Duan Hua) ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจุบันมีนักเรียนเข้าศึกษาอยู่กว่า 8,000 คน สำหรับหลักสูตรภาษาจีนยอดฮิตที่สุดในกัมพูชานั้นได้แก่พวกที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ เพราะพวกนักเรียนนักศึกษากำลังคิดกันว่า สมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษอย่างเก่งก็อาจช่วยให้พวกเขาได้งานทำในองค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ แต่ภาษาจีนกลางนั้นจะเสริมส่งให้พวกเขาเข้าสู่ตำแหน่งงานที่มีผลตอบแทนสูงๆ ในภาคธุรกิจ
สัญญาณบ่งชี้อีกประการหนึ่งในเรื่องที่ว่า จีนกำลังเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะใจชาวกัมพูชา ได้แก่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เมื่อตำรวจกัมพูชาเข้าขัดขวางและข่มขู่ที่จะเนรเทศ มีอา ฟาร์โรว์ ดาราและนักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน ซึ่งพยายามที่จะจัดการประท้วงต่อต้านความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ที่จีนมีอยู่กับระบอบปกครองนองเลือดของซูดาน ฟาร์โรว์บอกว่าเธอเลือกกัมพูชาเป็นสถานที่ประท้วงของเธอก็ด้วยความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากทั้งซูดานและกัมพูชาต่างผ่านประสบการณ์ในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ระหว่างที่กำลังได้รับความช่วยเหลือจากจีน อย่างไรก็ตาม เขียว กัญฤทธิ์ โฆษกรัฐบาลและรัฐมนตรีข่าวสารของกัมพูชากลับแถลงในขณะที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบสั่งห้ามการประท้วงของฟาร์โรว์ว่า ที่ต้องเข้าห้ามปรามขัดขวาง เพราะการกระทำดังกล่าวมี “วาระการเมืองที่เป็นการต่อต้านจีน” อันเป็นจุดยืนซึ่งรัฐบาลฮุนเซนไม่ได้เห็นด้วยอย่างแน่นอน
เจฟฟรีย์ เคน เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกัมพูชา อาจสามารถติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ geoffrey.cain@gmail.com
Hun Sen’s diplomatic juggling act
By Geoffrey Cain
17/07/2008
กัมพูชาตกในสภาพอยู่หว่างกลางพวกอภิมหาอำนาจที่กำลังแข่งขันชิงชัยกัน ยิ่งกว่าประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นใดทั้งสิ้น จากการที่สหรัฐฯกำลังแผ่ขยายแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ ส่วนจีนก็กำลังควักกระเป๋าให้ความช่วยเหลือทางการเงิน นายกรัฐมนตรีฮุนเซนจึงกำลังพยายามเลี้ยงตัวสร้างความสมดุล ในท่ามกลางกระแสการหยั่งเชิงทาบทามทางการทูต เพื่อทำให้รัฐบาลของเขาได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเมือง
พนมเปญ – ยิ่งกว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นใดทั้งสิ้น กัมพูชากำลังพบว่าตนเองตกอยู่หว่างกลางของการแข่งขันชิงชัยระหว่างสหรัฐฯกับจีน ที่ต่างก็พยายามเข้ามาหยั่งเชิงทาบทามในทางการทูต ขณะที่วอชิงตันกำลังเสนอแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ระดับทวิภาคี ทางด้านปักกิ่งก็ควักกระเป๋าให้ความช่วยเหลือทางการเงิน นายกรัฐมนตรีฮุนเซนจึงกำลังพยายามเลี้ยงตัวสร้างความสมดุลในระหว่างอภิมหาอำนาจทั้งสองรายนี้ เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองแก่รัฐบาลของเขา
ในปี 2006 สหรัฐฯได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตแห่งใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่โตยิ่งในกรุงพนมเปญ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นผูกพันทางการทูตครั้งใหม่ของวอชิงตันที่มีต่อประเทศนี้ สถานเอกอัครราชทูตแห่งนี้มีพื้นที่สำนักงานสำหรับพวกหน่วยงานต่อสู้กับการก่อการร้ายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่จัดไว้ให้แก่สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (เอฟบีไอ) หรือพื้นที่สำหรับสำนักงานคณะกรรมการต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติ ที่เพิ่งจัดตั้งกันขึ้นมาเมื่อปี 2007
ผู้อำนวยการเอฟบีไอ รอเบิร์ต มูลเลอร์ ชี้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ริดูอัน อิซามุดดีน ผู้ปฏิบัติการคนหนึ่งของกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยะห์ (เจไอ) ซึ่งใช้นามแฝงอันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางว่า “ฮัมบาลี” ได้เคยหลบหนีลี้ภัยอยู่ในโรงเรียนมุสลิมกัมพูชาแห่งหนึ่ง ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมตัวในประเทศไทยในปี 2003 และนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่มูลเลอร์ยกขึ้นมาสนับสนุนให้จัดตั้งสำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายแห่งใหม่นี้ นอกจากนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำกัมพูชา โจเซฟ มุสโซเมลิ ยังอ้างด้วยว่า มีพวกกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่เขาไม่ระบุชื่อ กำลังพยายามอาศัยการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อให้ชุมชนชาวจามที่เป็นมุสลิมในท้องถิ่น ยอมรับการตีความศาสนาอิสลามแบบที่มีความเข้มงวดยิ่งกว่าเดิม
ในอีกด้านหนึ่ง จีนก็อาศัยทรัพยากรเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างเสริมอิทธิพลบารมี นับตั้งแต่ปี 2005 ปักกิ่งเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเป็นประจำปีละประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้ในโครงการด้านถนนหนทาง, สะพาน, และเขื่อน และไม่เหมือนกับเม็ดเงินที่มาจากพวกผู้บริจาคทางโลกตะวันตก ซึ่งเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมายังเป็นรายรับถึงกว่าครึ่งหนึ่งของยอดงบประมาณแผ่นดินของกัมพูชา เพราะเงินทองจากจีนนั้นหลั่งไหลเข้ามาโดยมิได้มีการกำหนดเงื่อนไขบังคับล่วงหน้า อาทิ ให้รัฐบาลฮุนเซนต้องต่อสู้ปราบปรามการทุจริต หรือเดินหน้ามุ่งสู่ประชาธิปไตยให้มากขึ้น
เดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ รัฐบาลจีนให้สัญญาที่จะช่วยเหลือโครงการกระแสไฟฟ้าในเขตชนบทที่ยังขาดแคลนไฟฟ้าเป็นอย่างยิ่งของกัมพูชา โดยรวมถึงคำมั่นสัญญาเป็นมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สำหรับใช้ในโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า 2 แห่ง โครงการเหล่านี้จะช่วยบรรเทาปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ซึ่งธนาคารโลกบอกว่าเป็นตัวการที่ทำให้ผู้คนของประเทศนี้มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงที่สุดในโลก
ขณะเดียวกัน โครงการเหล่านี้ยังจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของพวกบริษัทจีนกว่า 3,000 แห่งที่ตั้งอยู่ในกัมพูชาเวลานี้ โดยที่เมื่อปี 2007 บริษัทเหล่านี้ทำรายรับได้รวม 1,560 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทั้งนี้ตามข้อมูลสถิติของสถาบันเศรษฐกิจแห่งกัมพูชา จีนเวลานี้ว่าจ้างพนักงานคิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่โตทีเดียวในกำลังแรงงานทั่วประเทศของกัมพูชา เป็นการเข้าแทนที่พวกองค์กรพัฒนาเอกชนตลอดจนโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตก ซึ่งเคยครอบงำเศรษฐกิจของกัมพูชาในช่วงทศวรรษ 1990 เมื่อครั้งประเทศนี้เพิ่งก้าวขึ้นสู่การเจริญเติบโตเป็นครั้งแรก หลังจากจมปลักอยู่ในภาวะสงครามมาหลายสิบปี
ปัจจุบันเศรษฐกิจของกัมพูชากำลังขยายตัวด้วยอัตราเป็นตัวเลขสองหลัก และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนในประเทศนี้ก็เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ปี 2005 เมื่อบริษัทน้ำมันเชฟรอนของสหรัฐฯสำรวจค้นพบสิ่งที่บางคนคาดการณ์ว่า เป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนใต้ของกัมพูชา ความผูกพันเชิงพาณิชย์ที่กำลังเติบโตดังกล่าวนี้ มีประจักษ์พยานให้เห็นชัดเจนจากการที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้มีการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นที่เมืองท่าสีหนุวิลล์ โดยสินค้าที่จะผลิตในเขตดังกล่าวจะถูกส่งออกไปยังจีนในแบบปลอดภาษี
จนกระทั่งถึงเวลานี้ มีบริษัทจีนอย่างน้อยที่สุด 6 รายแล้วที่ได้ลงนามทำข้อตกลงกับผู้พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้ ซึ่งเป็นกิจการของจีนและกัมพูชา 2 ราย ทันทีที่การก่อสร้างระยะที่สองเสร็จสิ้นลงในปี 2011 เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์จะมีศักยภาพในการรองรับบริษัทต่างๆ 150 แห่งและพนักงานราว 40,000 คน ทางผู้พัฒนาที่เป็นฝ่ายจีนแสดงความคาดหวังว่า เขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์เป็นมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2015 ทั้งนี้ตามเอกสารแถลงข่าวร่วมของโครงการดังกล่าวนี้
ตัวฮุนเซนได้เข้าร่วมในพิธีเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ด้วยตัวเอง พร้อมกับพูดภายหลังการลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับเหล่าผู้พัฒนาโครงการว่า เขตเศรษฐกิจแห่งใหม่นี้จะโหมกระพือการเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชา และเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ความผูกพันทวิภาคีที่มีกับจีน ทางการปักกิ่งยังได้บริจาคเรือตรวจการณ์รวม 9 ลำให้แก่ราชนาวีกัมพูชา เพื่อช่วยภารกิจรักษาความมั่นคงปลอดภัยของเขตเศรษฐกิจใหม่ จากภัยโจรสลัดและการลักลอบค้าของเถื่อน
ขณะที่อิทธิพลเศรษฐกิจของจีนขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ของสหรัฐฯกลับตกอยู่ในสภาพเสื่อมถอย ในระยะปีหลังๆ มานี้ สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่กัมพูชาเพียงแค่ประมาณปีละ 150 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนเล็กกว่านักเมื่อเทียบกับการให้ความอุปถัมภ์ในเชิงพาณิชย์ของจีน ในเวลาเดียวกัน ความผูกพันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับกัมพูชาก็ลดฮวบลงด้วย ดังที่เห็นได้จากยอดส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังสหรัฐฯในปี 2007 ที่ทรุดต่ำลงถึง 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สหรัฐฯนั้นเป็นตลาดนำเข้าหลักของสิ่งทอกัมพูชามานานแล้ว แม้เวลานี้เองสิ่งทอก็ยังคงเป็นสินค้าส่งออกรายการใหญ่ที่สุดของประเทศนี้อยู่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ มานี้ ด้วยการเสนอให้ความช่วยเหลือมากขึ้นโดยผ่านแผนการริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ เวลานี้นโยบายของสหรัฐฯต่อกัมพูชาจึงดูเหมือนมีการปรับเปลี่ยนไป จากที่เคยเน้นย้ำแต่เรื่องการส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองด้วยหลักนิติธรรมมาตลอดทศวรรษ 1990 อันที่จริง การตอกย้ำเช่นนั้นเอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายทะเลาะเบาะแว้งกันในทางการทูตอยู่บ่อยครั้ง ดังมีตัวอย่างปรากฏในผลการสอบสวนของเอฟบีไอ เกี่ยวกับเหตุระเบิดเล่นงานการชุมนุมที่จัดโดย สม รังสี นักการเมืองฝ่ายค้านเมื่อเดือนมีนาคม 1997 ณ เมืองหลวงพนมเปญ ซึ่งสังหารผู้คนไปอย่างน้อย 16 คน และบาดเจ็บอีก 150 คน รวมทั้งพลเรือนสหรัฐฯคนหนึ่งด้วย
ตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 1997 ซึ่งได้อ้างแหล่งข่าวรัฐบาลสหรัฐฯรวม 4 รายที่สามารถเข้าถึงหลักฐานเอกสารลับต่างๆ ระบุว่า เอฟบีไอมีความโน้มเอียงที่จะชี้ออกมาว่า หน่วยองครักษ์ส่วนตัวของฮุนเซน ที่มีชื่อว่า “กองพลน้อย 70” (Brigade 70) นั่นแหละเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุระเบิดคราวนั้น ตลอดจนการพยายามเข้ามาแทรกแซงการสอบสวนของเอฟบีไอภายหลังจากนั้นด้วย สหรัฐฯนั้นยังไม่เคยเปิดเผยผลการสอบสวนนี้ต่อสาธารณชนมาก่อน ถึงแม้ “ฮิวแมน ไรต์ส วอตช์” (Human Rights Watch) องค์การสิทธิมนุษยชนที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ ได้ออกมาเรียกร้องตอนต้นปีนี้ ให้วอชิงตันเปิดการสอบสวนที่ชะงักงันไปนานนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง “แทนที่จะพยายามปกป้องความสัมพันธ์ที่สหรัฐฯมีอยู่กับกัมพูชา สหรัฐฯในเวลานี้ควรที่จะทำสิ่งที่ตนเองได้เริ่มต้นไว้ให้เสร็จสิ้นลงไป” องค์การสิทธิมนุษยชนแห่งนี้กล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง
**สายสัมพันธ์เพื่อต่อสู้การก่อการร้าย **
ทว่าแทนที่จะทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯกลับอ้างไว้ในรายงานว่าด้วยการค้ามนุษย์ทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้ว่า สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชากำลังกระเตื้องดีขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของฮุนเซน รายงานนี้ยังกล่าวชมเชยความพยายามของรัฐบาลฮุนเซนในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์อีกด้วย
แต่เรื่องที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว เอฟบีไอได้เชิญผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของกัมพูชา ฮก ลุนดี ไปยังนครลาสเวกัส เพื่อร่วมการปรึกษาหารือว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ถึงแม้ลุนดีจะมีชื่อฉาวโฉ่ว่าเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันร้ายแรงในหลายๆ กรณี
ตามรายงานของฮิวแมน ไรต์ช วอตช์ ผู้ซึ่งระบุว่าได้เสนอหลักฐานของทางองค์การเองต่อรัฐบาลสหรัฐฯแล้วด้วย ลุนดีมีส่วนร่วมอยู่ในแผนการสมคบคิดก่อเหตุขว้างระเบิดใส่การชุมนุมของฝ่ายค้านเมื่อปี 1997 อันเป็นพฤติการณ์ที่ก่อนหน้านี้เอฟบีไอเคยจัดให้เป็น “พฤติการณ์ของผู้ก่อการร้าย” เขายังเป็นผู้บังคับบัญชาให้กำลังทหารหลายกองพันที่จงรักภักดีต่อฮุนเซน ก่อการรัฐประหารขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 1997 ซึ่งมีการขับไล่สมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ นายกรัฐมนตรีร่วมในเวลานั้น โดยที่สมาชิกพรรคฝ่ายค้านตลอดจนผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่งได้ถูกฆ่าตายแบบใช้อำนาจเถื่อน และอีกหลายๆ คนต้องหลบหนีลี้ภัย
การฆาตกรรม เคม ซัมโบ นักหนังสือพิมพ์ผู้เป็นพันธมิตรกับสม รังสี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมา เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเป็นการกระทำของรัฐบาล ในช่วงเวลาก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคมนี้ สมเด็จนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วม และเวลานี้เป็นผู้นำของพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อของเขาเองเป็นชื่อพรรค เมื่อเร็วๆ นี้ได้ขอลี้ภัยในมาเลเซีย ภายหลังรัฐบาลฮุนเซนได้เพิ่มความพยายามที่จะใช้ข้อหาหมิ่นประมาทมาเล่นงานเขา
การที่สหรัฐฯประเมินในทางบวกต่อสภาพสิทธิมนุษยชนของกัมพูชา อาจมองได้ว่าเป็นการตอบโต้ทางการทูต ต่อวิธีการแบบไร้เงื่อนไขยิ่งกว่าและเน้นในเรื่องเชิงพาณิชย์ซึ่งจีนกำลังใช้อยู่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศนี้ นอกจากนั้นแล้ว ยังอาจจะมีปัจจัยเกี่ยวกับความรู้สึกละอายใจจากการกระทำผิดพลาดในอดีตของทั้งสหรัฐฯและจีน และก็กลายเป็นปัจจัยอันยุ่งยากซับซ้อนประการสำคัญทีเดียวในการหาทางให้ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากฮุนเซน
ทั้งนี้ปักกิ่งมีชื่อฉาวอยู่แล้วในเรื่องที่สนับสนุนระบอบปกครองอันโหดเหี้ยมของเขมรแดง ทั้งตอนที่กลุ่มที่มีแนวคิดแบบเหมาอิสต์หัวรุนแรงนี้ขึ้นครองอำนาจในช่วงปี 1975-79 และหลังจากที่พวกเขาถูกโค่นล้มโดยกองทัพเวียดนามในปี 1979 แล้วหันไปต่อสู้ในรูปแบบกองกำลังจรยุทธ์แถวๆ บริเวณชายแดนติดประเทศไทย
ระบอบเขมรแดงนั้น เวลานี้ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบการเสียชีวิตของชาวกัมพูชาถึง 2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ก็รวมถึงพ่อค้านักธุรกิจชาวจีนด้วย แต่ขณะเดียวกัน ก็มีการประมาณการกันว่า สหรัฐฯได้สังหารชาวกัมพูชาไปกว่า 500,000 คน ระหว่างการรณรงค์โจมตีทิ้งระเบิดลับๆ ใส่ประเทศนี้ในช่วงปี 1969-70 ซึ่งยิ่งทำให้สงครามกลางเมืองในกัมพูชาขยายตัวรุนแรง สหรัฐฯยังเป็นผู้สนับสนุนการรัฐประหารของนายพลลอนนอลเมื่อปี 1970 ที่โค่นล้มสมเด็จนโรดม สีหนุ ออกจากตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ
มีบางคนประเมินว่าเวลานี้จีนอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าสหรัฐฯในเรื่องความสัมพันธ์กับกัมพูชา ขณะที่ฮุนเซนแสดงการต้อนรับความริเริ่มทางด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ ซึ่งน่าที่จะเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงสมรรถนะทางด้านการตรวจตราเฝ้าระวังของรัฐบาลของเขากันไปอีกยาวนานนั้น คำแถลงต่างๆ ของนายกรัฐมนตรีผู้นี้ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่แท้จริงของการก่อการร้ายในกัมพูชา กลับอยู่ในลักษณะที่ขัดแย้งกันเอง
หลังจากเกิดเหตุพยายามโจมตีด้วยระเบิดทว่าไม่ประสบผล ต่ออนุสาวรีย์มิตรภาพกัมพูชา-เวียดนามเมื่อเดือนกรกฎาคม 2007 โดยฝีมือของกลุ่มหัวรุนแรงในท้องถิ่นกลุ่มหนึ่ง ฮุนเซนได้ออกมาแถลงยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลของเขาที่จะต่อสู้ปราบปรามการก่อการร้าย ทว่าพอถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 เขาก็ทำท่าเหมือนจะพลิกกลับจุดยืนของเขาเสียแล้ว ด้วยการบอกว่า ในกัมพูชาไม่มีผู้ก่อการร้ายใดๆ ทั้งสิ้น
สิ่งที่ชัดเจนยิ่งกว่านั้นอีกก็คือ ความร่วมมือของฮุนเซนที่ให้กับแผนการริเริ่มเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯนั้น มีฐานะเป็นรองแรงขับดันของรัฐบาลของเขาที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนของจีนให้เติบใหญ่ยิ่งขึ้น ตามตัวเลขของสภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา การลงทุนจากต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติในปี 2006 เฉพาะส่วนที่มาจากจีนมีมูลค่าเท่ากับ 763 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเกือบเป็นสองเท่าตัวของตัวเลขเมื่อปี 2005 คาดหมายกันว่าตัวเลขเหล่านี้น่าจะสูงขึ้นอีกในปีที่แล้ว ที่ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามในข้อตกลงด้านต่างๆ อยู่หลายๆ ฉบับ
ขณะที่วอชิงตันกำลังพยายามเบี่ยงเบนลดทอนอิทธิพลด้านการทูตเชิงพาณิชย์ของจีนอยู่นั้น ปักกิ่งกลับมุ่งมั่นเดินหน้าด้วยวิธีการต่างๆ ที่จะจับมือกับกัมพูชาทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมทั้งการอาศัยพวกผู้ประกอบการเชื้อสายจีนที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองในประเทศนี้ด้วย นอกจากนั้น ยังมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า ตามโรงเรียนต่างๆ ของกัมพูชา ดูเหมือนกำลังเกิดกระแสที่ภาษาจีนกลางกำลังได้รับความนิยมเหนือกว่าภาษาอังกฤษซึ่งลดคุณค่าลงไป เวลานี้กัมพูชาคือที่ตั้งของโรงเรียน “เดือนหวา” (Duan Hua) ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปัจจุบันมีนักเรียนเข้าศึกษาอยู่กว่า 8,000 คน สำหรับหลักสูตรภาษาจีนยอดฮิตที่สุดในกัมพูชานั้นได้แก่พวกที่มุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ เพราะพวกนักเรียนนักศึกษากำลังคิดกันว่า สมรรถนะทางด้านภาษาอังกฤษอย่างเก่งก็อาจช่วยให้พวกเขาได้งานทำในองค์การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ แต่ภาษาจีนกลางนั้นจะเสริมส่งให้พวกเขาเข้าสู่ตำแหน่งงานที่มีผลตอบแทนสูงๆ ในภาคธุรกิจ
สัญญาณบ่งชี้อีกประการหนึ่งในเรื่องที่ว่า จีนกำลังเป็นฝ่ายมีชัยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะใจชาวกัมพูชา ได้แก่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ เมื่อตำรวจกัมพูชาเข้าขัดขวางและข่มขู่ที่จะเนรเทศ มีอา ฟาร์โรว์ ดาราและนักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน ซึ่งพยายามที่จะจัดการประท้วงต่อต้านความสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ที่จีนมีอยู่กับระบอบปกครองนองเลือดของซูดาน ฟาร์โรว์บอกว่าเธอเลือกกัมพูชาเป็นสถานที่ประท้วงของเธอก็ด้วยความสำคัญในเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากทั้งซูดานและกัมพูชาต่างผ่านประสบการณ์ในเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ระหว่างที่กำลังได้รับความช่วยเหลือจากจีน อย่างไรก็ตาม เขียว กัญฤทธิ์ โฆษกรัฐบาลและรัฐมนตรีข่าวสารของกัมพูชากลับแถลงในขณะที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบสั่งห้ามการประท้วงของฟาร์โรว์ว่า ที่ต้องเข้าห้ามปรามขัดขวาง เพราะการกระทำดังกล่าวมี “วาระการเมืองที่เป็นการต่อต้านจีน” อันเป็นจุดยืนซึ่งรัฐบาลฮุนเซนไม่ได้เห็นด้วยอย่างแน่นอน
เจฟฟรีย์ เคน เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่พำนักอยู่ในกัมพูชา อาจสามารถติดต่อกับเขาได้ทางอีเมล์ geoffrey.cain@gmail.com