เอเอฟพี - ศาลสูงสุดแห่งอินโดนีเซียตกเป็นสถาบันล่าสุดที่ถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก ภายใต้มาตรการปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งเคยเปิดโปงวงจรอุบาทว์ดังกล่าวภายในสำนักงานอัยการสูงสุดและกรมศุลกากรมาแล้วก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่เผยในวันพุธ (18)
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (16) พนักงานสอบสวนจากคณะกรรมการปราบปรามการคอร์รัปชั่นแห่งอินโดนีเซีย (เคพีเค) ได้ยึดเอกสารหลายฉบับจากศาลสูงสุด เพื่อค้นหาพยานหลักฐานการยักยอกเงินค่าธรรมเนียมศาล โยฮัน บูดี โฆษกเคพีเคแถลง
"เราเตรียมจะตรวจสอบบัญชีธนาคารของศาลแห่งนี้หลายบัญชี รวมถึงบัญชีที่ใช้ชื่อบากีร์ มานัน ประธานศาลสูงสุดด้วย" ฮาร์โยโน อูมาร์ รองประธานเคพีเค แผนกป้องกันและปราบปรามกล่าว
เรื่องอื้อฉาวคราวนี้ เกิดขึ้นภายหลังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพบความผิดปกติในระบบการเก็บค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเป็นค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้มาติดต่อธุระที่ศาล จำนวนราว 3.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 13 ล้านบาท) ตลอดช่วง 15 เดือนก่อนหน้าเดือนมีนาคมปีนี้
ด้านศาลสูงสุดก็ปฏิเสธที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบรายได้จากค่าธรรมเนียมศาล โดยอ้างว่า เงินเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบภาษีอากร
การสอบสวนครั้งนี้ นับเป็นกรณีล่าสุดในบรรดาสถาบันสำคัญต่าง ๆ ที่ถูกตรวจสอบคดีทุจริตจากคณะกรรมการปราบปรามการคอร์รัปชั่น ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายหลังการล่มสลายของระบอบการคอร์รัปชั่นของซูฮาร์โตเมื่อปลายศตวรรษที่ 1990
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (16) พนักงานสอบสวนจากคณะกรรมการปราบปรามการคอร์รัปชั่นแห่งอินโดนีเซีย (เคพีเค) ได้ยึดเอกสารหลายฉบับจากศาลสูงสุด เพื่อค้นหาพยานหลักฐานการยักยอกเงินค่าธรรมเนียมศาล โยฮัน บูดี โฆษกเคพีเคแถลง
"เราเตรียมจะตรวจสอบบัญชีธนาคารของศาลแห่งนี้หลายบัญชี รวมถึงบัญชีที่ใช้ชื่อบากีร์ มานัน ประธานศาลสูงสุดด้วย" ฮาร์โยโน อูมาร์ รองประธานเคพีเค แผนกป้องกันและปราบปรามกล่าว
เรื่องอื้อฉาวคราวนี้ เกิดขึ้นภายหลังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินพบความผิดปกติในระบบการเก็บค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งเป็นค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้มาติดต่อธุระที่ศาล จำนวนราว 3.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 13 ล้านบาท) ตลอดช่วง 15 เดือนก่อนหน้าเดือนมีนาคมปีนี้
ด้านศาลสูงสุดก็ปฏิเสธที่จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเข้าไปตรวจสอบรายได้จากค่าธรรมเนียมศาล โดยอ้างว่า เงินเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในรูปแบบภาษีอากร
การสอบสวนครั้งนี้ นับเป็นกรณีล่าสุดในบรรดาสถาบันสำคัญต่าง ๆ ที่ถูกตรวจสอบคดีทุจริตจากคณะกรรมการปราบปรามการคอร์รัปชั่น ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายหลังการล่มสลายของระบอบการคอร์รัปชั่นของซูฮาร์โตเมื่อปลายศตวรรษที่ 1990