(จากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Oil price mocks fuel realities
By F William Engdahl
23/05/2008
สาเหตุประการสำคัญๆ ซึ่งถูกใช้มากล่าวโทษว่า ทำให้ราคาน้ำมันทะยานลิ่ว จนกำลังอยู่ในระดับร่วมสองเท่าตัวของเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว มักเป็นเรื่องอุปสงค์ความต้องการใช้จากจีนและอินเดีย, อุปทานน้ำมันที่จะสนองให้ตลาดกำลังอยู่ในภาวะตึงตัว, ความหวาดหวั่นเกี่ยวกับการก่อการร้าย, และอื่นๆ ทว่าแท้ที่จริงแล้ว พวกผู้ร้ายตัวจริงกลับอยู่ใกล้ๆ บ้านของผู้บริโภคชาวอเมริกายิ่งกว่านั้นมาก นั่นคือตามสำนักงานของพวกธนาคารและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้ช่วยกันสร้างราคาจนสุดฤทธิ์เพื่อผลประโยชน์ดอกผลของพวกเขาเอง
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก*
ขณะที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังพิจารณาถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่กำลังขายกันในระดับสูงกว่า 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลกันอยู่นี้ พวกเขาควรที่จะตระหนักว่า แม้ด้วยการคิดคำนวณแบบอนุรักษนิยมแล้ว ก็ยังพบว่าอย่างน้อยที่สุด 60% ของระดับราคาดังกล่าว มาจากการเก็งกำไรในตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์ (futures) ที่ไร้ระเบียบกฎเกณฑ์กำกับดูแล โดยเป็นฝีมือของพวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ธนาคารและสถาบันการเงิน, และกลุ่มการเงินต่างๆ ซึ่งกำลังใช้ตลาดตราสารอนุพันธ์ “ไอซีอี ฟิวเจอร์ส” (ICE Futures) แห่งลอนดอน และ ตลาดตราสารอนุพันธ์ “ไนเม็กซ์” (Nymex) แห่งนิวยอร์ก รวมทั้งการซื้อขายระหว่างธนาคาร ตลอดจนการซื้อขายแบบโอเวอร์-เดอะ-เคาน์เตอร์ (over-the-counter การซื้อขายที่กระทำนอกตลาดที่เป็นทางการ) ที่ไร้การควบคุม มาหลีกหนีการถูกตรวจสอบอันละเอียดรัดกุม (ดูบทความเรื่อง Speculators knock OPEC off oil-price perch ของข้าพเจ้า, เอเชียไทมส์ออนไลน์, 5 พฤษภาคม 2008 หรือดู ‘นักเก็งกำไร’น็อก‘โอเปก’ตกลงจากเวทีกำหนดราคาน้ำมัน (ตอนแรก) และ (ตอนจบ) ใน www.manager.co.th)
หลักเกณฑ์เรื่องการซื้อขายโดยใช้เงินกู้ (margin) ของ คณะกรรมการการซื้อขายตราสารฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities Futures Trading Commission หรือ CFTC) เปิดทางให้พวกนักเก็งกำไรซื้อสัญญาตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของตลาดไนเม็กซ์ ด้วยการจ่ายเงินเพียงแค่ 6% ของมูลค่าของสัญญา ณ ระดับราคาปัจจุบันที่ประมาณ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จึงหมายความว่า เทรดเดอร์ตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์คนหนึ่งๆ สามารถที่จะวางเงินแค่ประมาณ 8 ดอลลาร์สำหรับน้ำมันทุกๆ บาร์เรลที่เขาสั่งซื้อสั่งขาย และขอกู้ยืมอีกประมาณ 120 ดอลลาร์ที่เหลืออยู่
วิธี “เพิ่มอำนาจเม็ดเงิน”(leverage) อย่างสุดโต่งในระดับ 16 ต่อ 1 เช่นนี้เอง ช่วยขับดันราคาให้ทะยานสู่ระดับที่สุดแสนห่างไกลความเป็นจริง และเป็นการชดเชยการขาดทุนของพวกธนาคารและสถาบันการเงินจากปัญหาซับไพรม์ตลอดจนความหายนะอื่นๆ โดยที่ประชาชนตลอดทั่วทุกตัวคนกลายเป็นผู้สูญเสีย
การโกหกหลอกลวงเกี่ยวกับ “peak oil” ซึ่งก็คือแนวความคิดที่อ้างว่า การผลิตน้ำมันกำลังมาถึงจุดที่น้ำมันดิบสำรองทั้งหมดได้ถูกใช้หมดไปเกินกว่าครึ่งหนึ่ง และช่วงระยะเวลาที่โลกมีน้ำมันราคาถูกตลอดจนมีปริมาณอย่างอุดมล้นเหลือก็กำลังหมดสิ้นลงไปแล้วนั้น กำลังทำให้การฉ้อฉลอย่างแพงลิ่วนี้สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ภายหลังการรุกรานอิรักในปี 2003 ด้วยความช่วยเหลือของพวกธนาคารหลักๆ, เทรดเดอร์น้ำมัน, และยักษ์ใหญ่บริษัทน้ำมันรายบิ๊กๆ
ขณะที่วอชิงตันกำลังพยายามอย่างเคยๆ ที่จะหันเหเสียงประณามด่าทอให้ไปยังพวกผู้ผลิตน้ำมันชาติอาหรับ และองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ทว่าปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่อุปทานน้ำมันดิบขาดแคลนเลย ในทางเป็นจริงแล้ว โลกเวลานี้กำลังอยู่ในภาวะมีอุปทานน้ำมันมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ กระนั้นก็ตาม ราคายังคงไต่สูงขึ้นๆ อย่างไม่ยอมหยุดยั้ง ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ? คำตอบอยู่ที่ประดานโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯซึ่งจงใจชัดเจนที่จะยินยอมให้มีการปั่นตลาดสร้างราคาน้ำมันอย่างไม่มีการเลิกรา
**อุปสงค์น้ำมันโลกยังนิ่ง-ราคากลับพุ่งโด่ง**
เดวิด เคลลี หัวหน้านักยุทธศาสตร์ตลาด ของ เจพีมอร์แกนฟันด์ หนึ่งในธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้ยอมรับอะไรบางอย่างออกมาขณะพูดกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อเร็วๆ นี้ เขากล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องตระหนักรับรู้กัน ก็คือว่าอัตราขยายตัวของการบริโภคน้ำมันของโลกนั้น ไม่ได้แข็งแกร่งจนถึงขนาดนั้นหรอก”
เรื่องๆ หนึ่งที่ถูกใช้สนับสนุนการเก็งกำไรตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์น้ำมันก็คือ การกล่าวหาว่าอุปสงค์ความต้องการน้ำมันนำเข้าของจีน กำลังอยู่ในสภาพระเบิดระเบ้อควบคุมกันไม่อยู่แล้ว จึงขับดันให้สมดุลด้านอุปทาน-อุปสงค์เอียงไปในทางขาดแคลนอุปทาน แต่เอาเข้าจริงกลับไม่มีข้อเท็จจริงที่สนับสนุนข้อเสนอเรื่องอุปสงค์ของจีนเช่นนี้หรอก
สำนักงานสารสนเทศพลังงาน (Energy Information Administration หรือ EIA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ สรุปไว้ในรายงาน “ทิศทางอนาคตพลังงานในระยะสั้น” (Short Term Energy Outlook) ประจำเดือนล่าสุดของตนว่า อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯนั้น คาดหมายว่าจะลดต่ำลงราว 190,000 บาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) ในปีนี้ ที่เป็นเช่นนั้นส่วนสำคัญเนื่องมาจากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยล้ำลึกยิ่งขึ้นนั่นเอง
แต่การใช้น้ำมันของจีนก็อยู่ห่างไกลจากสภาพระเบิดระเบ้อ โดยรายงานของอีไอเอคาดหมายว่า ปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 400,000 บีพีดี ตัวเลขขนาดนี้ยังยากยิ่งที่จะกล่าวโทษจีนว่าเป็นตัวการทำให้ “อุปสงค์น้ำมันพุ่งลิ่ว” ดังที่ปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆ ปีที่แล้วจีนนำเข้าน้ำมันราว 3.2 ล้านบีพีดี และประมาณการการใช้น้ำมันของประเทศนั้นรวมทั้งสิ้นก็อยู่ที่ราว 7 ล้านบีพีดี เปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐฯเวลานี้ใช้น้ำมันในราว 20.7 ล้านบีพีดี
นั่นจึงหมายความว่า สหรัฐฯผู้เป็นชาติบริโภคน้ำมันรายสำคัญที่สุด กำลังมีอุปสงค์ลดลงอย่างเด่นชัด ส่วนจีนที่ปัจจุบันบริโภคน้ำมันเพียงแค่หนึ่งในสามของที่สหรัฐฯใช้อยู่ ก็จะเห็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตน้ำมันทั้งหมดของโลกซึ่งอยู่ในระดับประมาณ 84 ล้านบีพีดี กล่าวคือ ไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์ของอุปสงค์ทั้งหมด
ทางฝ่ายองค์การโอเปกได้กล่าวไว้ในการคาดการณ์อัตราขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกประจำปี 2008 ของตนว่า ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว คืออยู่ในระดับ 1.2 ล้านบีพีดี เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลงของโลกอุตสาหกรรม ได้รับการชดเชยจากอัตราการขยายตัวในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อยในบรรดาชาติกำลังพัฒนา โอเปกทำนายว่าอุปสงค์น้ำมันของทั่วโลกในปี 2008 จะอยู่ในระดับเฉลี่ยเท่ากับ 87 ล้านบีพีดี ซึ่งไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการก่อนหน้านี้ของทางองค์การ ทั้งนี้โอเปกทำนายว่าอุปสงค์ความต้องการใช้ของจีน, ตะวันออกกลาง, อินเดีย, และละตินอเมริกา จะเพิ่มมากขึ้น ทว่าอุปสงค์ของสหภาพยุโรปและอเมริกาเหนือ จะลดต่ำลง
ในเมื่อประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังเผชิญกับภาวะทรุดต่ำอย่างแรงในการบริโภค โดยเป็นการลดฮวบที่จะเลวร้ายลงทุกทีๆ เนื่องจากผลกระทบที่มีต่อภาคที่อยู่อาศัยและต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการที่วิกฤตตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ กำลังทำให้เกิดการลดอำนาจของเม็ดเงิน (de-leverage) ในตลาดการเงินทั้งหลาย นี่ถ้าหากเป็นตลาดที่เปิดกว้างหรือโปร่งใสตามปกติ เราควรที่จะคาดการณ์ได้เลยว่าราคาจะต้องกำลังไหลรูดลงไม่ใช่กำลังขยับขึ้น วิธีการกำหนดราคาน้ำมันของโลกในเวลานี้ ไม่มีวิกฤตการณ์อุปทานใดๆ ที่จะสามารถนำมาเป็นเหตุผลรองรับได้เลย
**น้ำมันจากแหล่งใหญ่แห่งใหม่ๆ กำลังไหลเข้าสู่ตลาด**
ไม่เพียงแต่ไม่มีวิกฤตการณ์อุปทานใดๆ ที่จะรองรับความสมเหตุสมผลของราคาลอยโด่งเป็นฟองสบู่เช่นนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ยังมีแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ขนาดยักษ์จำนวนมากที่มีกำหนดจะเริ่มทำการผลิตในช่วงปี 2008 นี้ ซึ่งจะทำให้มีอุปทานออกมามากขึ้นอีกด้วยซ้ำไป
ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังใกล้จะเสร็จสิ้นการดำเนินแผนการเพื่อเพิ่มกิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันขึ้นอีกประมาณหนึ่งในสาม และเพิ่มการลงทุนขึ้นอีกราว 40% โดยแผนการประจำปี 2009 ถึง 2013ของ ซาอุดีอะรามโค (Saudi Aramco) บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศนี้ คาดหมายกันว่าจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของบริษัท และกระทรวงน้ำมันภายในเดือนนี้ ซาอุดีอาระเบียจึงกำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินแผนการขยายการผลิตน้ำมันที่มีมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนองอุปสงค์ที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเอเชียและตลาดรุ่งเรืองขึ้นใหม่แห่งอื่นๆ โดยเป็นที่คาดหมายว่าจะเพิ่มศักยภาพในการสูบน้ำมันของตนจนเข้าสู่ระดับรวมทั้งสิ้น 12.5 ล้านบีพีดีภายในปีหน้า หรือเท่ากับสูงขึ้นราว 11% จากศักยภาพในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 11.3 ล้านบีพีดี
เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ แหล่งน้ำมันคูระซานิยะห์ (Khursaniyah) ของซาอุดีอาระเบีย ได้เริ่มต้นการสูบน้ำมัน และอีกไม่นานก็จะเพิ่มน้ำมันดิบเกรดสูงชนิด “อาราเบียนไลต์ครูด”(Arabian light crude) จำนวน 500,000 บีพีดี เข้าสู่ตลาดน้ำมันโลก นอกจากนั้น ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำมันคูราอิส (Khurais) ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่สุดของซาอุดีอะรามโค ก็จะเพิ่มศักยภาพการผลิตของแหล่งน้ำมันทั้งหลายในซาอุดีอาระเบีย จาก 11.3 ล้านบีพีดี เป็น 12.5 ล้านบีพีดีภายในปี 2009 ทั้งนี้วางแผนกันไว้ว่า แหล่งคูราอิสจะเพิ่มน้ำมันดิบคุณภาพสูงชนิดอาราเบียนไลต์ครูดอีกจำนวน 1.2 ล้านบีพีดี เข้าไปในศักยภาพการส่งออกของซาอุดีอาระเบีย
ทางด้าน เปโตรบราส (Petrobras)บรรษัทน้ำมันระดับบิ๊กของบราซิล ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนต้นๆ ของการขุดเจาะน้ำมันในทะเลที่เพิ่งได้รับยืนยันว่ามีอยู่ ณ แหล่งน้ำมันทูปี (Tupi) ซึ่งอาจจะมีปริมาณมหาศาลพอๆ กันหรือกระทั่งใหญ่กว่าแหล่งน้ำมันในเขตทะเลเหนือ เปโตรบราสแถลงว่า แหล่งน้ำมันทูปี ที่อยู่ในระดับความลึกอย่างยิ่งนี้ อาจจะมีน้ำมันดิบชนิดไลต์ครูด ที่สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ถึง 8,000 ล้านบาร์เรลทีเดียว คาดหมายกันว่าเมื่อน้ำมันจากแหล่งนี้ออกสู่ตลาดได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็จะทำให้บราซิลผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันระดับ “ท็อปเทน” ของโลก โดยแทรกอยู่ระหว่างไนจีเรีย กับ เวเนซุเอลา
ส่วนในสหรัฐฯ นอกเหนือจากข่าวลือที่ว่าพวกบริษัทน้ำมันรายบิ๊กๆ กำลังจงใจนั่งเฉยๆ อยู่บนแหล่งน้ำมันสำรองแหล่งใหม่ๆ ในมลรัฐอะแลสกา ด้วยความหวาดกลัวว่าราคาที่สูงลิ่วในระยะไม่กี่ปีมานี้จะตกพรวดพราดจากภาวะอุปทานล้นเกิน ทางด้านสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (US Geological Survey หรือ USGS) ก็ได้ออกรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ยืนยันว่า มีแหล่งน้ำมันสำรองขนาดใหญ่แห่งใหม่ในพื้นที่ซึ่งเรียกกันว่า “เดอะ แบคเคน” (the Bakken) ซึ่งทอดตัวยาวข้ามมลรัฐนอร์ทดาโคตา, มอนแทนา ของสหรัฐฯ และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐซัสแคตเชวัน ของแคนาดา ยูเอสจีเอสประมาณการว่าอาจจะมีน้ำมันมากถึง 3,650 ล้านบาร์เรลในพื้นที่เดอะ แบคเคน
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแถลงมากมายที่ยืนยันว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองขนาดใหญ่แหล่งใหม่ที่จะได้รับการขุดเจาะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในอิรัก ประเทศซึ่งพวก “บิ๊กโฟร์” ยักษ์ใหญ่บริษัทน้ำมันอเมริกัน-อังกฤษทั้งสี่ กำลังน้ำลายสออยากยื่นมือเข้าไปครอบครองบรรดาแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้รับการสำรวจอยู่นั้น ก็เป็นที่เชื่อกันว่ามีน้ำมันสำรองในปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่อีกจำนวนมากของโลกซึ่งยังไม่เคยได้รับการสำรวจค้นหาน้ำมันกันเลย เมื่อระดับราคาสูงขึ้นเกินกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ศักยภาพใหม่ๆ ปริมาณมหาศาลก็กลายเป็นความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่กำลังเผชิญหน้าพวกบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการค้นหาน้ำมันมาทดแทนส่วนที่ใช้หมดไป แต่คือการคุมเพดานการค้นพบน้ำมันของโลก เพื่อพยุงราคาอันสูงเกินเหตุเอาไว้ ตรงนี้แหละที่พวกเขาได้รับความช่วยเหลือบางประการจากเหล่าธนาคารและสถาบันการเงินวอลล์สตรีท รวมทั้งตลาดซื้อขายน้ำมันแห่งใหญ่ 2 ตลาด อันได้แก่ ไนเม็กซ์ และ ไอซีอี กับ ไอซีอี ฟิวเจอร์ส ซึ่งมีฐานอยู่ที่ลอนดอนและแอตแลนตา
เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order” (สำนักพิมพ์ PlutoPress) และเรื่อง “Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of Genetic Manipulation” (สำนักพิมพ์ Global Research สามารถสั่งซื้อได้ที่ www.globalresearch.ca)
ราคาน้ำมันแพงระยับเย้ยหยันความเป็นจริง (ตอนจบ)
‘นักเก็งกำไร’น็อก‘โอเปก’ตกลงจากเวทีกำหนดราคาน้ำมัน (ตอนแรก)
นักเก็งกำไร’น็อก‘โอเปก’ตกลงจากเวทีกำหนดราคาน้ำมัน (ตอนจบ)
Oil price mocks fuel realities
By F William Engdahl
23/05/2008
สาเหตุประการสำคัญๆ ซึ่งถูกใช้มากล่าวโทษว่า ทำให้ราคาน้ำมันทะยานลิ่ว จนกำลังอยู่ในระดับร่วมสองเท่าตัวของเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว มักเป็นเรื่องอุปสงค์ความต้องการใช้จากจีนและอินเดีย, อุปทานน้ำมันที่จะสนองให้ตลาดกำลังอยู่ในภาวะตึงตัว, ความหวาดหวั่นเกี่ยวกับการก่อการร้าย, และอื่นๆ ทว่าแท้ที่จริงแล้ว พวกผู้ร้ายตัวจริงกลับอยู่ใกล้ๆ บ้านของผู้บริโภคชาวอเมริกายิ่งกว่านั้นมาก นั่นคือตามสำนักงานของพวกธนาคารและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งได้ช่วยกันสร้างราคาจนสุดฤทธิ์เพื่อผลประโยชน์ดอกผลของพวกเขาเอง
*รายงานชิ้นนี้แบ่งเป็น 2 ตอน นี่คือตอนแรก*
ขณะที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคกำลังพิจารณาถึงผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่กำลังขายกันในระดับสูงกว่า 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลกันอยู่นี้ พวกเขาควรที่จะตระหนักว่า แม้ด้วยการคิดคำนวณแบบอนุรักษนิยมแล้ว ก็ยังพบว่าอย่างน้อยที่สุด 60% ของระดับราคาดังกล่าว มาจากการเก็งกำไรในตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์ (futures) ที่ไร้ระเบียบกฎเกณฑ์กำกับดูแล โดยเป็นฝีมือของพวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ธนาคารและสถาบันการเงิน, และกลุ่มการเงินต่างๆ ซึ่งกำลังใช้ตลาดตราสารอนุพันธ์ “ไอซีอี ฟิวเจอร์ส” (ICE Futures) แห่งลอนดอน และ ตลาดตราสารอนุพันธ์ “ไนเม็กซ์” (Nymex) แห่งนิวยอร์ก รวมทั้งการซื้อขายระหว่างธนาคาร ตลอดจนการซื้อขายแบบโอเวอร์-เดอะ-เคาน์เตอร์ (over-the-counter การซื้อขายที่กระทำนอกตลาดที่เป็นทางการ) ที่ไร้การควบคุม มาหลีกหนีการถูกตรวจสอบอันละเอียดรัดกุม (ดูบทความเรื่อง Speculators knock OPEC off oil-price perch ของข้าพเจ้า, เอเชียไทมส์ออนไลน์, 5 พฤษภาคม 2008 หรือดู ‘นักเก็งกำไร’น็อก‘โอเปก’ตกลงจากเวทีกำหนดราคาน้ำมัน (ตอนแรก) และ (ตอนจบ) ใน www.manager.co.th)
หลักเกณฑ์เรื่องการซื้อขายโดยใช้เงินกู้ (margin) ของ คณะกรรมการการซื้อขายตราสารฟิวเจอร์สสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities Futures Trading Commission หรือ CFTC) เปิดทางให้พวกนักเก็งกำไรซื้อสัญญาตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์สของตลาดไนเม็กซ์ ด้วยการจ่ายเงินเพียงแค่ 6% ของมูลค่าของสัญญา ณ ระดับราคาปัจจุบันที่ประมาณ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จึงหมายความว่า เทรดเดอร์ตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์คนหนึ่งๆ สามารถที่จะวางเงินแค่ประมาณ 8 ดอลลาร์สำหรับน้ำมันทุกๆ บาร์เรลที่เขาสั่งซื้อสั่งขาย และขอกู้ยืมอีกประมาณ 120 ดอลลาร์ที่เหลืออยู่
วิธี “เพิ่มอำนาจเม็ดเงิน”(leverage) อย่างสุดโต่งในระดับ 16 ต่อ 1 เช่นนี้เอง ช่วยขับดันราคาให้ทะยานสู่ระดับที่สุดแสนห่างไกลความเป็นจริง และเป็นการชดเชยการขาดทุนของพวกธนาคารและสถาบันการเงินจากปัญหาซับไพรม์ตลอดจนความหายนะอื่นๆ โดยที่ประชาชนตลอดทั่วทุกตัวคนกลายเป็นผู้สูญเสีย
การโกหกหลอกลวงเกี่ยวกับ “peak oil” ซึ่งก็คือแนวความคิดที่อ้างว่า การผลิตน้ำมันกำลังมาถึงจุดที่น้ำมันดิบสำรองทั้งหมดได้ถูกใช้หมดไปเกินกว่าครึ่งหนึ่ง และช่วงระยะเวลาที่โลกมีน้ำมันราคาถูกตลอดจนมีปริมาณอย่างอุดมล้นเหลือก็กำลังหมดสิ้นลงไปแล้วนั้น กำลังทำให้การฉ้อฉลอย่างแพงลิ่วนี้สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ภายหลังการรุกรานอิรักในปี 2003 ด้วยความช่วยเหลือของพวกธนาคารหลักๆ, เทรดเดอร์น้ำมัน, และยักษ์ใหญ่บริษัทน้ำมันรายบิ๊กๆ
ขณะที่วอชิงตันกำลังพยายามอย่างเคยๆ ที่จะหันเหเสียงประณามด่าทอให้ไปยังพวกผู้ผลิตน้ำมันชาติอาหรับ และองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ทว่าปัญหาไม่ได้อยู่ตรงที่อุปทานน้ำมันดิบขาดแคลนเลย ในทางเป็นจริงแล้ว โลกเวลานี้กำลังอยู่ในภาวะมีอุปทานน้ำมันมากเกินไปเสียด้วยซ้ำ กระนั้นก็ตาม ราคายังคงไต่สูงขึ้นๆ อย่างไม่ยอมหยุดยั้ง ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ? คำตอบอยู่ที่ประดานโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯซึ่งจงใจชัดเจนที่จะยินยอมให้มีการปั่นตลาดสร้างราคาน้ำมันอย่างไม่มีการเลิกรา
**อุปสงค์น้ำมันโลกยังนิ่ง-ราคากลับพุ่งโด่ง**
เดวิด เคลลี หัวหน้านักยุทธศาสตร์ตลาด ของ เจพีมอร์แกนฟันด์ หนึ่งในธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำในแวดวงอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้ยอมรับอะไรบางอย่างออกมาขณะพูดกับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เมื่อเร็วๆ นี้ เขากล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องตระหนักรับรู้กัน ก็คือว่าอัตราขยายตัวของการบริโภคน้ำมันของโลกนั้น ไม่ได้แข็งแกร่งจนถึงขนาดนั้นหรอก”
เรื่องๆ หนึ่งที่ถูกใช้สนับสนุนการเก็งกำไรตราสารอนุพันธ์ฟิวเจอร์น้ำมันก็คือ การกล่าวหาว่าอุปสงค์ความต้องการน้ำมันนำเข้าของจีน กำลังอยู่ในสภาพระเบิดระเบ้อควบคุมกันไม่อยู่แล้ว จึงขับดันให้สมดุลด้านอุปทาน-อุปสงค์เอียงไปในทางขาดแคลนอุปทาน แต่เอาเข้าจริงกลับไม่มีข้อเท็จจริงที่สนับสนุนข้อเสนอเรื่องอุปสงค์ของจีนเช่นนี้หรอก
สำนักงานสารสนเทศพลังงาน (Energy Information Administration หรือ EIA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ สรุปไว้ในรายงาน “ทิศทางอนาคตพลังงานในระยะสั้น” (Short Term Energy Outlook) ประจำเดือนล่าสุดของตนว่า อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯนั้น คาดหมายว่าจะลดต่ำลงราว 190,000 บาร์เรลต่อวัน (บีพีดี) ในปีนี้ ที่เป็นเช่นนั้นส่วนสำคัญเนื่องมาจากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยล้ำลึกยิ่งขึ้นนั่นเอง
แต่การใช้น้ำมันของจีนก็อยู่ห่างไกลจากสภาพระเบิดระเบ้อ โดยรายงานของอีไอเอคาดหมายว่า ปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 400,000 บีพีดี ตัวเลขขนาดนี้ยังยากยิ่งที่จะกล่าวโทษจีนว่าเป็นตัวการทำให้ “อุปสงค์น้ำมันพุ่งลิ่ว” ดังที่ปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆ ปีที่แล้วจีนนำเข้าน้ำมันราว 3.2 ล้านบีพีดี และประมาณการการใช้น้ำมันของประเทศนั้นรวมทั้งสิ้นก็อยู่ที่ราว 7 ล้านบีพีดี เปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐฯเวลานี้ใช้น้ำมันในราว 20.7 ล้านบีพีดี
นั่นจึงหมายความว่า สหรัฐฯผู้เป็นชาติบริโภคน้ำมันรายสำคัญที่สุด กำลังมีอุปสงค์ลดลงอย่างเด่นชัด ส่วนจีนที่ปัจจุบันบริโภคน้ำมันเพียงแค่หนึ่งในสามของที่สหรัฐฯใช้อยู่ ก็จะเห็นการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตน้ำมันทั้งหมดของโลกซึ่งอยู่ในระดับประมาณ 84 ล้านบีพีดี กล่าวคือ ไม่ถึงครึ่งเปอร์เซ็นต์ของอุปสงค์ทั้งหมด
ทางฝ่ายองค์การโอเปกได้กล่าวไว้ในการคาดการณ์อัตราขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกประจำปี 2008 ของตนว่า ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้ว คืออยู่ในระดับ 1.2 ล้านบีพีดี เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลงของโลกอุตสาหกรรม ได้รับการชดเชยจากอัตราการขยายตัวในการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนิดหน่อยในบรรดาชาติกำลังพัฒนา โอเปกทำนายว่าอุปสงค์น้ำมันของทั่วโลกในปี 2008 จะอยู่ในระดับเฉลี่ยเท่ากับ 87 ล้านบีพีดี ซึ่งไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณการก่อนหน้านี้ของทางองค์การ ทั้งนี้โอเปกทำนายว่าอุปสงค์ความต้องการใช้ของจีน, ตะวันออกกลาง, อินเดีย, และละตินอเมริกา จะเพิ่มมากขึ้น ทว่าอุปสงค์ของสหภาพยุโรปและอเมริกาเหนือ จะลดต่ำลง
ในเมื่อประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังเผชิญกับภาวะทรุดต่ำอย่างแรงในการบริโภค โดยเป็นการลดฮวบที่จะเลวร้ายลงทุกทีๆ เนื่องจากผลกระทบที่มีต่อภาคที่อยู่อาศัยและต่อภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากการที่วิกฤตตลาดตราสารหนี้ของสหรัฐฯ กำลังทำให้เกิดการลดอำนาจของเม็ดเงิน (de-leverage) ในตลาดการเงินทั้งหลาย นี่ถ้าหากเป็นตลาดที่เปิดกว้างหรือโปร่งใสตามปกติ เราควรที่จะคาดการณ์ได้เลยว่าราคาจะต้องกำลังไหลรูดลงไม่ใช่กำลังขยับขึ้น วิธีการกำหนดราคาน้ำมันของโลกในเวลานี้ ไม่มีวิกฤตการณ์อุปทานใดๆ ที่จะสามารถนำมาเป็นเหตุผลรองรับได้เลย
**น้ำมันจากแหล่งใหญ่แห่งใหม่ๆ กำลังไหลเข้าสู่ตลาด**
ไม่เพียงแต่ไม่มีวิกฤตการณ์อุปทานใดๆ ที่จะรองรับความสมเหตุสมผลของราคาลอยโด่งเป็นฟองสบู่เช่นนั้น ในอีกด้านหนึ่ง ยังมีแหล่งน้ำมันใหม่ๆ ขนาดยักษ์จำนวนมากที่มีกำหนดจะเริ่มทำการผลิตในช่วงปี 2008 นี้ ซึ่งจะทำให้มีอุปทานออกมามากขึ้นอีกด้วยซ้ำไป
ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังใกล้จะเสร็จสิ้นการดำเนินแผนการเพื่อเพิ่มกิจกรรมการขุดเจาะน้ำมันขึ้นอีกประมาณหนึ่งในสาม และเพิ่มการลงทุนขึ้นอีกราว 40% โดยแผนการประจำปี 2009 ถึง 2013ของ ซาอุดีอะรามโค (Saudi Aramco) บรรษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศนี้ คาดหมายกันว่าจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของบริษัท และกระทรวงน้ำมันภายในเดือนนี้ ซาอุดีอาระเบียจึงกำลังอยู่ในช่วงของการดำเนินแผนการขยายการผลิตน้ำมันที่มีมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนองอุปสงค์ที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเอเชียและตลาดรุ่งเรืองขึ้นใหม่แห่งอื่นๆ โดยเป็นที่คาดหมายว่าจะเพิ่มศักยภาพในการสูบน้ำมันของตนจนเข้าสู่ระดับรวมทั้งสิ้น 12.5 ล้านบีพีดีภายในปีหน้า หรือเท่ากับสูงขึ้นราว 11% จากศักยภาพในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 11.3 ล้านบีพีดี
เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ แหล่งน้ำมันคูระซานิยะห์ (Khursaniyah) ของซาอุดีอาระเบีย ได้เริ่มต้นการสูบน้ำมัน และอีกไม่นานก็จะเพิ่มน้ำมันดิบเกรดสูงชนิด “อาราเบียนไลต์ครูด”(Arabian light crude) จำนวน 500,000 บีพีดี เข้าสู่ตลาดน้ำมันโลก นอกจากนั้น ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำมันคูราอิส (Khurais) ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่สุดของซาอุดีอะรามโค ก็จะเพิ่มศักยภาพการผลิตของแหล่งน้ำมันทั้งหลายในซาอุดีอาระเบีย จาก 11.3 ล้านบีพีดี เป็น 12.5 ล้านบีพีดีภายในปี 2009 ทั้งนี้วางแผนกันไว้ว่า แหล่งคูราอิสจะเพิ่มน้ำมันดิบคุณภาพสูงชนิดอาราเบียนไลต์ครูดอีกจำนวน 1.2 ล้านบีพีดี เข้าไปในศักยภาพการส่งออกของซาอุดีอาระเบีย
ทางด้าน เปโตรบราส (Petrobras)บรรษัทน้ำมันระดับบิ๊กของบราซิล ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนต้นๆ ของการขุดเจาะน้ำมันในทะเลที่เพิ่งได้รับยืนยันว่ามีอยู่ ณ แหล่งน้ำมันทูปี (Tupi) ซึ่งอาจจะมีปริมาณมหาศาลพอๆ กันหรือกระทั่งใหญ่กว่าแหล่งน้ำมันในเขตทะเลเหนือ เปโตรบราสแถลงว่า แหล่งน้ำมันทูปี ที่อยู่ในระดับความลึกอย่างยิ่งนี้ อาจจะมีน้ำมันดิบชนิดไลต์ครูด ที่สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ถึง 8,000 ล้านบาร์เรลทีเดียว คาดหมายกันว่าเมื่อน้ำมันจากแหล่งนี้ออกสู่ตลาดได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ก็จะทำให้บราซิลผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันระดับ “ท็อปเทน” ของโลก โดยแทรกอยู่ระหว่างไนจีเรีย กับ เวเนซุเอลา
ส่วนในสหรัฐฯ นอกเหนือจากข่าวลือที่ว่าพวกบริษัทน้ำมันรายบิ๊กๆ กำลังจงใจนั่งเฉยๆ อยู่บนแหล่งน้ำมันสำรองแหล่งใหม่ๆ ในมลรัฐอะแลสกา ด้วยความหวาดกลัวว่าราคาที่สูงลิ่วในระยะไม่กี่ปีมานี้จะตกพรวดพราดจากภาวะอุปทานล้นเกิน ทางด้านสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (US Geological Survey หรือ USGS) ก็ได้ออกรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ยืนยันว่า มีแหล่งน้ำมันสำรองขนาดใหญ่แห่งใหม่ในพื้นที่ซึ่งเรียกกันว่า “เดอะ แบคเคน” (the Bakken) ซึ่งทอดตัวยาวข้ามมลรัฐนอร์ทดาโคตา, มอนแทนา ของสหรัฐฯ และบริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐซัสแคตเชวัน ของแคนาดา ยูเอสจีเอสประมาณการว่าอาจจะมีน้ำมันมากถึง 3,650 ล้านบาร์เรลในพื้นที่เดอะ แบคเคน
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแถลงมากมายที่ยืนยันว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองขนาดใหญ่แหล่งใหม่ที่จะได้รับการขุดเจาะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในอิรัก ประเทศซึ่งพวก “บิ๊กโฟร์” ยักษ์ใหญ่บริษัทน้ำมันอเมริกัน-อังกฤษทั้งสี่ กำลังน้ำลายสออยากยื่นมือเข้าไปครอบครองบรรดาแหล่งน้ำมันที่ยังไม่ได้รับการสำรวจอยู่นั้น ก็เป็นที่เชื่อกันว่ามีน้ำมันสำรองในปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากซาอุดีอาระเบียเท่านั้น ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่อีกจำนวนมากของโลกซึ่งยังไม่เคยได้รับการสำรวจค้นหาน้ำมันกันเลย เมื่อระดับราคาสูงขึ้นเกินกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ศักยภาพใหม่ๆ ปริมาณมหาศาลก็กลายเป็นความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่กำลังเผชิญหน้าพวกบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการค้นหาน้ำมันมาทดแทนส่วนที่ใช้หมดไป แต่คือการคุมเพดานการค้นพบน้ำมันของโลก เพื่อพยุงราคาอันสูงเกินเหตุเอาไว้ ตรงนี้แหละที่พวกเขาได้รับความช่วยเหลือบางประการจากเหล่าธนาคารและสถาบันการเงินวอลล์สตรีท รวมทั้งตลาดซื้อขายน้ำมันแห่งใหญ่ 2 ตลาด อันได้แก่ ไนเม็กซ์ และ ไอซีอี กับ ไอซีอี ฟิวเจอร์ส ซึ่งมีฐานอยู่ที่ลอนดอนและแอตแลนตา
เอฟ วิลเลียม เองดาห์ล เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “A Century of War: Anglo-American Oil Politics and the New World Order” (สำนักพิมพ์ PlutoPress) และเรื่อง “Seeds of Destruction: The Hidden Agenda of Genetic Manipulation” (สำนักพิมพ์ Global Research สามารถสั่งซื้อได้ที่ www.globalresearch.ca)