Russia throws a wrench in NATO’s works
By M K Bhadrakumar
14/03/2008
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กำลังยื่นข้อเสนอชนิดที่ทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) รู้สึกลำบากอย่างยิ่งที่จะปฏิเสธ นั่นคือ การที่รัสเซียจะเข้าร่วมเป็นภาคีหนึ่งในภารกิจอัฟกานิสถานของพันธมิตรฝ่ายตะวันตก เวลานี้แรงกดดันจึงกำลังตกอยู่กับสหรัฐฯที่จะต้องยอมรับแนวความคิดให้รัสเซียมีฐานะเป็นเส้นทางส่งผ่านสัมภาระต่างๆ ไปสู่อัฟกานิสถาน ประเด็นยุ่งยากอยู่ตรงที่วอชิงตันทราบดีว่า มอสโกจะค่อยๆ เรียกร้องการมีบทบาทในอัฟกานิสถานที่ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับตนเองและบรรดาเพื่อนพ้อง โดยเพื่อนพ้องเหล่านี้ย่อมหมายรวมถึงจีนด้วย
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยาวนาน 60 ปีขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ที่รัสเซียจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของพันธมิตรฝ่ายตะวันตกแห่งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย
เป็นที่ชัดเจนว่านาโต้จะเลื่อนการตัดสินใดๆ ในการบรรจุเอา ยูเครน และ จอร์เจีย เข้าไว้ใน “แผนปฏิบัติการเพื่อการเข้าเป็นสมาชิก”ของทางองค์การ ออกไปก่อน เรื่องนี้ย่อมเท่ากับว่า ทั้ง 2 ประเทศซึ่งต่างเป็นอดีตสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียต จะไม่สามารถขยับเข้าใกล้การเข้าร่วมนาโต้ให้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็อีก 1 ปี ซึ่งก็ย่อมเป็นการบ่งชี้ต่อไปว่า อย่างเร็วที่สุดที่ 2 ประเทศนี้จะทำให้ความปรารถนาที่จะได้เป็นสมาชิก สามารถกลายเป็นความจริงขึ้นมานั้น จะต้องอยู่ในกรอบเวลาอีก 4 ปี
นี่จึงเป็นเรื่องที่นาโต้แสดงท่าทีโอนอ่อนให้อย่างมากมายทีเดียว ต่อความรู้สึกอ่อนไหวของมอสโก สิ่งที่พอจะนึกภาพออกก็คือ มันคือการเก็บกวาดบรรดาเรื่องที่อาจเป็นอุปสรรคออกไป เพื่อปูทางสำหรับเรื่องซึ่งอาจกลายเป็นจุดผันเปลี่ยนสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับนาโต้ รัสเซียอาจจะกำลังจะเข้ามาร่วมจับมือกับนาโต้ในอัฟกานิสถาน ภาพที่ชัดเจนกว่านี้จะปรากฏออกมาจากการปรึกษาหารือกันอย่างเข้มข้นของบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซียและสหรัฐฯ ภายใต้รูปแบบที่เรียกกันว่า “2+2” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในกรุงมอสโก จากวันจันทร์ถึงวันอังคารสัปดาห์หน้า เมื่อพิจารณาจากความคิดเห็นอันระมัดระวังตัวของทั้งสองฝ่าย และความคึกคักของกิจกรรมทางการทูตของสหรัฐฯแล้ว ก็ดูมีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่รัสเซียกำลังจะถูกนำเข้ามาสู่หนทางแห่งการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน เคียงข้างกันกับนาโต้
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์คอมเมอร์แซนต์ ของรัสเซีย และหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ของลอนดอน ความริเริ่มครั้งนี้มาจากฝ่ายรัสเซีย เมื่อเอกอัครราชทูตคนใหม่ของรัสเซียประจำนาโต้ ดมิตริ โรโกซิน ซึ่งเมื่อก่อนเป็นนักการเมืองรัสเซียผู้มีประวัติสร้างข้อขัดแย้ง โดยเป็นนักชาตินิยมตัวเอ้ที่ตำหนิโจมตีฝ่ายตะวันตกอย่างรุนแรงอยู่เป็นประจำ ได้กลับมาส่งสัญญาณว่ามีความสนใจอย่างแข็งขันในประเด็นนี้ ณ การประชุมเมื่อไม่นานมานี้ของสภานาโต้-รัสเซีย ในกรุงบรัสเซลส์ โดยในแผนการนี้ทางฝ่ายรัสเซียจะจัดให้มีช่องทางภาคพื้นดิน เพื่อที่นาโต้จะใช้ขนส่งสินค้าของตน –ซึ่งระบุกันว่า “ไม่ใช่ยุทธปัจจัย”- ไปให้แก่กองทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการพูดจากันอย่างจริงจังเพื่อจัดทำข้อตกลงแม่บท
จากฝีก้าวของกิจกรรมทางการทูตที่ดำเนินไปอย่างน่าตื่นเต้น ทำให้เกิดความคาดหมายกันว่าทั้งสองฝ่ายดูน่าจะสามารถทำข้อตกลงกันอย่างเป็นทางการได้ ณ การประชุมสุดยอดที่บูคาเรสต์ของนาโต้ ในการให้สัมภาษณ์ต่อนิตยสาร แดร์ สปิเกล ของเยอรมนีเมื่อวันจันทร์(10 มี.ค.)
โรโกซินได้ยืนยันความคาดหมายเช่นนี้ โดยกล่าวว่า “เรา(รัสเซีย)สนับสนุนการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งพุ่งเป้าไปที่พวกตอลิบานและอัลกออิดะห์ ผมหวังว่าเราจะสามารถใช้ความพยายามจนบรรลุข้อตกลงอันสำคัญยิ่งเป็นชุดใหญ่ กับหุ้นส่วนฝ่ายตะวันตกของเราในการประชุมซัมมิตที่บูคาเรสต์ เราจะสาธิตให้เห็นว่าเราพร้อมแล้วที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน”
มีการอ้างคำกล่าวของพวกนักการทูตรัสเซียที่กำลังพูดจากันว่า มอสโกมีการปรึกษาหารือกับรัฐบาลของคาซัคสถาน และ อุซเบกิสถาน เกี่ยวกับเรื่องข้อเสนอเปิดช่องทางภาคพื้นดินให้นาโต้ใช้ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันซับซ้อนยุ่งยากของความสัมพันธ์รัสเซีย-นาโต้แล้ว ประเด็นปัญหานี้น่าจะยังถูกฉุดรั้งด้วยปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ก็ได้พูดเป็นนัยเอาไว้มาก ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว(8 มี.ค.) ร่วมกันกับนายกรัฐมนตรี แองเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี ผู้ไปเยือนมอสโก เขาบอกว่า “นาโต้ในทุกวันนี้กำลังก้าวเกินเลยข้อจำกัดของตัวเองไปแล้ว เราไม่มีปัญหาในเรื่องการช่วยเหลืออัฟกานิสถาน แต่มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย เมื่อมันกลายเป็นนาโต้ที่กำลังให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่ นี่เป็นเรื่องที่เกินเลยจากขอบเขตของภูมิภาคแอตแลนติกเหนือ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พวกคุณต่างตระหนักกันอยู่แล้ว”
ปูตินยังใช้โอกาสนี้วิพากษ์แผนการขยายตัวของนาโต้อย่างเผ็ดร้อน “ในเวลาที่เราไม่ได้มีการประจันหน้ากันระหว่างระบบที่เป็นปรปักษ์กัน 2 ระบบอีกต่อไปแล้ว การขยายตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของกลุ่มทางการทหารและทางการเมืองเช่นนี้ ทางเรามองว่าไม่เพียงไม่มีความจำเป็นเท่านั้น หากยังสร้างความเสียหายและให้ผลในทางตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจไว้ด้วยซ้ำ มีความรู้สึกกันว่ากำลังมีความพยายามที่จะสร้างองค์การซึ่งจะมาแทนที่สหประชาชาติ ทว่าประชาคมระหว่างประเทศในแง่องค์รวมแล้ว ย่อมยากยิ่งที่จะเห็นพ้องกับโครงสร้างดังกล่าวสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคตของพวกเรา ผมคิดว่ามันรังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันมากขึ้นอีกเท่านั้น ที่พูดมาเหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งในเชิงปรัชญา ซึ่งพวกคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามใจ”
ความนัยของคำพูดเช่นนี้ย่อมกระจ่างชัดอยู่แล้ว รัสเซียยินดีที่จะร่วมมือกับนาโต้ ทว่าบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและเป็นไปอย่างรอบด้าน และประการที่สอง ข้อเสนอประเภทที่ให้นาโต้คัดสรรให้รัสเซียเข้าร่วมมือเกี่ยวข้องด้วยเฉพาะบางเรื่อง อันเป็นข้อเสนอที่สหรัฐฯกำลังป่าวร้องผลักดันอยู่นั้น เป็นเรื่องที่มอสโกไม่ยอมรับ จุดที่สำคัญเลยก็คือ ปูตินกำลังตั้งคำถามเอาซึ่งๆ หน้า ถึงจุดยืนของนาโต้ที่จะผูกขาดการแก้ไขความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน
รัฐมนตรีต่างประเทศ เซอร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ก็กำลังส่งสัญญาณเป็นการต่างหากออกไป ถึงความพรักพร้อมของรัสเซียที่จะจัดหาช่องทางขนส่งทางทหารเข้าสู่อัฟกานิสถานให้แก่นาโต้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “มีการทำข้อตกลงซึ่งครอบคลุมทุกๆ ด้านของปัญหาอัฟกานิสถาน ระหว่างนาโต้กับองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security Treaty Organization หรือ CSTO ซึ่งภาคีสมาชิกประกอบไปด้วยอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต ได้แก่ อาร์เมเนีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, ทาจิกิสถาน, อุซเบกิสถาน, และรัสเซีย - ผู้แปล)” จุดสำคัญก็คือ ลาฟรอฟพูดเรื่องนี้ในทันทีภายหลังการประชุมวาระที่ 7 ของสภาความร่วมมือรัสเซีย-ฝรั่งเศสว่าด้วยประเด็นปัญหาด้านความมั่นคง ณ กรุงปารีส เมื่อวันอังคาร(11 มี.ค.) เขากล่าวย้ำว่า “สมาชิกนาโต้ส่วนใหญ่ รวมทั้งฝรั่งเศสด้วย” ชมชอบแนวความคิดของมอสโกในเรื่องกรอบโครงความร่วมมือระหว่างนาโต้-CSTO ในเรื่องอัฟกานิสถาน ลาฟรอฟเพียงแต่ไม่ชี้ออกมาตรงๆ เท่านั้นว่า วอชิงตันกำลังสกัดกั้นความร่วมมือดังกล่าวระหว่างนาโต้กับ CSTO ที่นำโดยรัสเซีย
หากพิจารณากันตามเนื้อผ้า วอชิงตันน่าจะกระโจนตรงเข้ารับข้อเสนอของรัสเซียที่จะสนับสนุนภารกิจของนาโต้ในอัฟกานิสถาน ปากีสถานนั้นกำลังพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือไม่ได้ใน “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ความไม่แน่นอนทางการเมืองในปากีสถานซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นทุกที กลายเป็นการใส่เครื่องหมายคำถามให้แก่ภูมิปัญญาของสหรัฐฯที่ยังคงพึ่งพาอาศัยปากีสถานอย่างมากมาย ในการขนส่งสัมภาระต่างๆ ไปให้แก่กองทหารของตนในอัฟกานิสถาน
พวกโฆษกของกองทัพสหรัฐฯพูดยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ราวสามในสี่ของสัมภาระทั้งหมดที่กำลังส่งเข้าไปในอัฟกานิสถานนั้น เป็นการขนส่งผ่านปากีสถาน นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาระดับพื้นฐานอีกหลายประเด็นด้วย เป็นต้นว่า สหรัฐฯยังจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนที่จะส่งอิทธิพลต่อการเมืองของปากีสถาน หรืออันที่จริงแล้ว ต่อวิวัฒนาการของเศรษฐกิจการเมืองของปากีสถาน ในช่วงระยะเวลาอันสำคัญยิ่งยวดที่กำลังจะมาถึง
การขึ้นสู่อำนาจของพรรค อวามิ เนชั่นแนล ปาร์ตี้ (เอเอ็นพี) อันเป็นพรรคฝ่ายซ้ายชาตินิยมชาวปัชตุนซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงมาก ในจังหวัด นอร์ท-เวสต์ ฟรอนเทียร์ อันแสนจะอ่อนไหวยิ่งของปากีสถาน ยิ่งทำให้การจับกลุ่มทางการเมืองเพิ่มความซับซ้อนขึ้นไปอีก
อามีร์ ไฮเดอร์ ข่าน โฮติ ผู้นำของเอเอ็นพี บอกตรงไปตรงกับกับวิทยุ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ในการให้สัมภาษณ์พิเศษสัปดาห์นี้ว่า “การจัดลำดับความสำคัญของเรามีความชัดเจนมาก เรื่องแรกเลยคือเราต้องการที่จะมุ่งหน้าสู่สันติภาพ โดยผ่านการเจรจา (กับพวกตอลิบาน), ผ่านทาง จีร์กา (การประชุมสภาชนเผ่า), และผ่านการสนทนาหารือกัน แล้วแต่ประสงค์ของพระเจ้าเถิด เราจะเรียนรู้จาก (การพูดจาและจีร์กาที่ล้มเหลวไปในอดีต) และจะพยายามไม่ทำความผิดพลาดอย่างเดียวกันซ้ำอีก เราจะพยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนของเรา, ผู้นำชนเผ่าของเรา, และ (ผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม) ของเรา และด้วยการร่วมมือกับพวกเขา เราจะพยายามมุ่งหน้าสู่สันติภาพโดยผ่านการเจรจากัน”
โอติไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” หรือความคาดหมายของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่จะเห็นการเปิดยุทธการของปากีสถานในพื้นที่ของชาวชนเผ่าเหล่านี้ มันจึงยังคงเป็นปริศนาว่า ทำไมคณะรัฐบาลบุชจนถึงบัดนี้แล้วจึงยังสมควรที่จะกีดกันไม่ให้ประเทศอย่างเช่น รัสเซียและจีน เข้ามามีส่วนในหนทางแก้ไขความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน ทั้งที่ผลประโยชน์ของประเทศเหล่านี้กำลังถูกกระทบกระเทือนอย่างยิ่งยวด หรือกระทั่งถูกกระทบกระเทือนอย่างเร่งด่วนกว่าด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับสหรัฐฯหรือประเทศทางยุโรป ดังที่ เฮนรี คิสซิงเจอร์ รัฐบุรุษของสหรัฐฯเขียนไว้ในบทความในหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ฉบับวันจันทร์ (10 มี.ค.) “การมีฉันทามติทางยุทธศาสตร์ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ... เสถียรภาพของปากีสถานไม่ควรที่จะถูกมองว่าเป็นปัญหาท้าทายของฝ่ายอเมริกันแต่ผู้เดียว”
คำถามมูลค่าล้านดอลลาร์จึงมีอยู่ว่า ในส่วนของคณะรัฐบาลบุชนั้นมีเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือไม่ที่จะบรรลุ “ฉันทามติทางยุทธศาสตร์” ว่าด้วยอัฟกานิสถาน กับรัสเซียในการประชุมสุดยอดนาโต้ที่กำลังจะมาถึงคราวนี้ เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า มอสโกนั้นปรารถนาเรื่องนี้ พวกสมาชิกเก่าๆ ของนาโต้อย่างเช่น ฝรั่งเศส และ เยอรมนี ก็เช่นกัน ต่างตระหนักว่าพันธมิตรนาโต้อาจประสบความพ่ายแพ้ในอัฟกานิสถาน ซึ่งจะเป็นความเสียหายถึงขั้นหายนะต่อฐานะของนาโต้ทีเดียว และก็ตระหนักด้วยว่านาโต้กับรัสเซียนั้น อย่างไรเสียก็มีเป้าหมายอย่างเดียวกันในอัฟกานิสถาน
เครมลินกำลังทำให้คณะรัฐบาลบุชตกอยู่ในสภาพถูกไล่ต้อนให้จนมุม การรับความช่วยเหลือจากรัสเซียในหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งยวดนี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลเหลือเกินสำหรับนาโต้ พันธมิตรตะวันตกแห่งนี้กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรับมือกับสงครามในอัฟกานิสถาน หากเปรียบเทียบกับอิรักแล้ว ผู้สังเกตการณ์บางรายประมาณการว่า จำเป็นจะต้องใช้กำลังทหารระดับเฉียดครึ่งล้านคนทีเดียวจึงจะสามารถสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน เมื่อคำนึงถึงขนาดและสภาพภูมิประเทศอันยากลำบากของประเทศนี้
แต่การร่วมมือกับรัสเซียย่อมทำให้นาโต้ต้องเริ่มเข้าไปร่วมมือกับ CSTO และเป็นไปได้ว่ากับองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization หรือ SCO ประกอบด้วย จีน, รัสเซีย, คาซัคสถาน,คีร์กิซสถาน, ทาจิกิสถาน, และ อุซเบกิสถาน -ผู้แปล) อีกด้วย (เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ วาตาลี ชูรคิน ขณะกล่าวปราศรัยต่อคณะมนตรีความมั่นคงที่นครนิวยอร์กเมื่อวันพุธ(12มี.ค.) ก็เสนอว่า ในการสู้รบปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติดที่มีต้นกำเนิดจากอัฟกานิสถานให้ประสบความสำเร็จ ระบบเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยที่ส่งเสริมโดยรัสเซียในภูมิภาคเอเชียกลางในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะสามารถทำอะไรได้มากทีเดียว รวมทั้งควรหาทางใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ CSTO และ SCO ด้วย)
สิ่งที่สหรัฐฯรู้สึกวิตกก็คือ การเชื่อมโยงใดๆ ทำนองนี้ระหว่างนาโต้กับ CSTO และ SCO จะบ่อนทำลายนโยบาย “ปิดล้อม” ที่มุ่งกระทำต่อรัสเซีย (และต่อจีน) นอกเหนือจากจะเป็นอันตรายต่อยุทธศาสตร์โลกของสหรัฐฯซึ่งกำลังมุ่งทำให้นาโต้กลายเป็นองค์การทางการเมืองในขอบเขตทั่วโลก
ส่วนที่จะสร้างความเสียหายได้มากที่สุดก็คือ ความร่วมมือกันระหว่างรัสเซีย-นาโต้ จะต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความผูกพันกันระหว่างรัสเซียกับพวกประเทศยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น และนั่นก็จะส่งผลทำให้บทบาทความเป็นผู้นำในย่านสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในยุคศตวรรษที่ 21 ของสหรัฐฯ ต้องมีอันอ่อนแอลงไป
ณ การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของพันธมิตรนาโต้ ที่กรุงบรัสเซลส์ วันที่ 6 มีนาคม รัฐมนตรีต่างประเทศ แบร์นารด์ กูชแนร์ ของฝรั่งเศส ได้เรียกร้องให้สภารัฐมนตรีนาโต้ “ยอมรับพิจารณาถึงความอ่อนไหวของรัสเซีย และพิจารณาถึงบทบาทอันสำคัญที่ประเทศนั้นแสดงอยู่” ยิ่งกว่านั้น เขายังโต้แย้งว่า ความสัมพันธ์กับรัสเซียกำลังตึงเครียดอยู่แล้วจากกรณีโคโซโว และจากระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธที่สหรัฐฯวางแผนไว้ซึ่งจะตั้งฐานอยู่ในยุโรปด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นอีก หนังสือพิมพ์เลอมงด์ ของฝรั่งเศสอ้างคำพูดของเขาที่กล่าวว่า “เรา(ฝรั่งเศส)คิดว่าความสัมพันธ์อียู-รัสเซียนั้นมีความสำคัญอย่างที่สุด และฝรั่งเศสไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับรัสเซียในฐานะที่เป็นชาติยิ่งใหญ่ชาติหนึ่ง” (ฝรั่งเศสกำลังจะรับตำแหน่งประธานอียูตามระบบหมุนเวียน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้)
เป็นความจริงที่ว่าฝรั่งเศสไม่ได้โดดเดี่ยวในเรื่องนี้เลย ในช่วงหลังๆ มานี้ ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงระดับโลก เยอรมนีก็ได้ปรับเปลี่ยนมาสู่การมีระยะห่างจากสหรัฐฯและรัสเซียให้พอๆ กัน อีกทั้งยังกำลังยื่นมือออกมาอีกครั้งหนึ่ง (ชวนให้ระลึกถึงสมัยที่ แกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ในฐานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียในความสัมพันธ์สหภาพยุโรป-รัสเซีย
สองวันหลังจากการเยือนมอสโกของเธอเมื่อเร็วๆ นี้ แมร์เคิลได้กล่าวปราศรัยต่อเวทีหารืออันทรงเกียรติของบรรดานายทหารระดับท็อปของเยอรมัน (Kommandeurtagung)ในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันจันทร์(10 มี.ค.) และมีเลขาธิการนาโต้ ยาฟ เดอ ฮูป เชฟเฟอร์ เข้าฟังด้วย โดยเธอเดินหน้าอย่างโจ่งแจ้งในการฝังข้อเสนอให้รับยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ กระทั่งก่อนหน้าการประชุมซัมมิตที่บูคาเรสต์ด้วยซ้ำ
“บรรดาประเทศที่พัวพันกับความขัดแย้งในภูมิภาคหรือมีความขัดแย้งภายใน ไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกได้” เธอกล่าว แมร์เคิลบอกต่อไปว่าพวกประเทศที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต้ ต้องทำให้แน่ใจว่า ได้รับเสียงสนับสนุนทางการเมืองภายในประเทศ “อย่างมีความสำคัญในเชิงคุณภาพ” ในทางเป็นจริงก็คือ เยอรมนีกำลังสกัดกั้นการที่นาโต้จะขยายตัวเข้าไปในดินแดนของอดีตสหภาพโซเวียตให้มากขึ้น –ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายที่รัสเซียประกาศเอาไว้แล้วนั่นเอง
จากการยื่นเสนอ พิมพ์เขียวแห่งความร่วมมือกับนาโต้ว่าด้วยอัฟกานิสถาน กันอย่างห้าวหาญเช่นนี้ รัสเซียก็เท่ากับท้าทายสหรัฐฯให้ต้องตัดสินเลือกว่าจะทำอย่างไร และมันก็ไม่ใช่เรื่องที่วอชิงตันจะตัดสินใจเลือกได้อย่างง่ายๆ เสียด้วย คุณจะรับมืออย่างไรในโลกแห่งอนาคตกับประเทศที่ยอดส่งออกพลังงานอยู่ในระดับเฉียดใกล้หลักหมาย 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน? น้ำมันดิบชนิดยูราลส์ ซึ่งเป็นมาตรวัดราคาของน้ำมันดิบจากรัสเซียนั้น ได้พุ่งขึ้นทำสถิติ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในสัปดาห์นี้ และทันทีที่ซื้อขายกัน ณ 107.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มูลค่าการส่งออกน้ำมันดิบ, น้ำมันสำเร็จรูป, และก๊าซของรัสเซีย ก็จะทะลุหลัก 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่งบประมาณประจำปี 2008 ของรัสเซียคำนวณโดยถือว่าราคาเฉลี่ยของน้ำมันยูราลส์อยู่ที่ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น
นอกจากนั้น อิทธิพลของรัสเซียในเอเชียกลางในยุคหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก็กำลังขึ้นถึงขีดสูงสุดอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนหน้าจะมีความเป็นไปได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกที่จะปรากฏ “องค์การโอเปกทางด้านก๊าซธรรมชาติ” ผงาดขึ้นมา อันจะประกอบด้วยรัสเซียและพวกประเทศในเอเชียกลาง เรื่องนี้น่าจะส่องแสงเปล่งประกายกลบรัศมีมรดกทางนโยบายการต่างประเทศอื่นๆ ทั้งหมดของรัสเซียในยุคปูตินทีเดียว รัสเซียแสวงหาทางมานานแล้วที่จะให้มีสมาคมของเหล่าผู้ผลิตและผู้ส่งออกก๊าซ ในหมู่ประเทศที่ล้วนเคยอยู่ในสหภาพโซเวียต ในรูปแบบเดียวกับการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบ รัสเซียและซัปพลายเออร์ในเอเชียกลาง อันได้แก่ คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, และเตอร์เมนิสถาน เวลานี้ได้ตกลงกันแล้วว่า เริ่มตั้งแต่ปี 2009 พวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้สูตรคำนวณราคาแบบที่ใช้ในยุโรป
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งติดป้ายเครื่องหมายแสดงมาตรฐานของเครมลินอย่างชัดเจน เป็นการยกระดับความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับพวกผู้ผลิตทางเอเชียกลางเหล่านี้ ไปสู่ระดับความร่วมมือกันและการมียุทธศาสตร์ร่วมกันในตลาดต่างประเทศที่สูงขึ้นไปอีก เรื่องนี้มีความหมายอันกว้างไกลสำหรับพวกประเทศยุโรปและสหรัฐฯ รัสเซียเปิดเกมเดินหมากรุกฆาตโครงการสร้างท่อส่งพลังงานข้ามทะเลสาบแคสเปียนที่อุปถัมภ์โดยสหรัฐฯเข้าให้แล้ว
แน่นอนทีเดียวว่า จุดบกพร่องใหญ่ในมรดกของปูตินก็คือ สมัยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา ยังคงประสบความล้มเหลว ที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนที่ผงาดขึ้นมาอย่างเต็มที่แล้วของยุโรป เวลานี้เขากำลังยื่นข้อเสนอต่อนาโต้ชนิดปฏิเสธไม่ลง – นั่นคือ การทำให้รัสเซียกลายเป็นภาคีหนึ่งในภารกิจอัฟกานิสถานของพันธมิตรนาโต้ ข้อเสนอของรัสเซียออกมาในจังหวะเวลาที่สงครามในอัฟกานิสถานกำลังดำเนินไปอย่างเลวร้าย และนาโต้ก็อาจคว้าความช่วยเหลือไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดเท่าที่จะหาได้
วอชิงตันกำลังตกอยู่ในฐานะที่ลำบากยากยิ่ง ในเมื่อมอสโกไม่ยินยอมเพียงแค่เข้ามีส่วนร่วมอย่างคัดสรรจากนาโต้ หรือเป็นแค่เพียงช่องทางผ่านเท่านั้น หากแต่ต้องการจะเพิ่มขยายและหยั่งรากลึกสู่การมีส่วนร่วมนี้ทีละน้อยๆ โดยที่พวกพันธมิตรสำคัญทางฟากยุโรปก็อาจจะยินดีให้เป็นไปเช่นนั้นด้วย มอสโกยังรบเร้าให้ CSTO และกระทั่ง SCO ด้วย เข้ามามีส่วนร่วม ในอีกด้านหนึ่งนั้น การเข้าพัวพันด้วยของรัสเซียอาจสามารถชุบชีวิตภารกิจในอัฟกานิสถานของนาโต้ และสร้างความมั่นใจว่า ภารกิจนี้จะไม่ตกอยู่ในสภาพลำบาก จากปัจจัยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนของปากีสถาน ซึ่งกำลังกลายเป็นปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง
ทางวอชิงตันจะยอมรับทางเลือกอันขมขื่นนี้หรือไม่? ปูตินซึ่งจิตใจความเป็นนักต่อสู้ของเขามีเครื่องหมายรับประกันจากกการได้สายดำในกีฬาคาราเต้ ย่อมสามารถที่จะนั่งนับว่าวาระการเป็นประธานาธิบดีของเขายังคงมีอยู่อีก 5-6 สัปดาห์ และนั่นเป็นเวลามากมายทีเดียวที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนหมายเลขหนึ่งของนาโต้ในระดับโลก และทำให้มั่นใจได้ว่ารัสเซียจะมีตำแหน่งแห่งที่อันถาวรภายในเคหะสถานร่วมของชาวยุโรป
อย่างน้อยที่สุด ประวัติก็วนกลับมาครบรอบวัฏจักรพอดี ในตอนที่ปูตินไปถึงกรุงบูคาเรสต์ในอีก 18 วันข้างหน้า เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดปีที่ 60 ของพันธมิตรตะวันตกแห่งนี้ และนั่นก็จะเป็นเวลา 54 ปีนับแต่ที่สหภาพโซเวียตได้ออกมาเสนอแนะว่า ตนเองควรจะได้เข้าร่วมนาโต้ เพื่อรักษาสันติภาพเอาไว้ในยุโรป
เอ็ม เค ภัทรกุมาร รับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียมากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ อาทิ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และประจำตุรกี (1998-2001)
By M K Bhadrakumar
14/03/2008
ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กำลังยื่นข้อเสนอชนิดที่ทำให้องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) รู้สึกลำบากอย่างยิ่งที่จะปฏิเสธ นั่นคือ การที่รัสเซียจะเข้าร่วมเป็นภาคีหนึ่งในภารกิจอัฟกานิสถานของพันธมิตรฝ่ายตะวันตก เวลานี้แรงกดดันจึงกำลังตกอยู่กับสหรัฐฯที่จะต้องยอมรับแนวความคิดให้รัสเซียมีฐานะเป็นเส้นทางส่งผ่านสัมภาระต่างๆ ไปสู่อัฟกานิสถาน ประเด็นยุ่งยากอยู่ตรงที่วอชิงตันทราบดีว่า มอสโกจะค่อยๆ เรียกร้องการมีบทบาทในอัฟกานิสถานที่ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับตนเองและบรรดาเพื่อนพ้อง โดยเพื่อนพ้องเหล่านี้ย่อมหมายรวมถึงจีนด้วย
นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยาวนาน 60 ปีขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) ที่รัสเซียจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของพันธมิตรฝ่ายตะวันตกแห่งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 เมษายน ณ กรุงบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย
เป็นที่ชัดเจนว่านาโต้จะเลื่อนการตัดสินใดๆ ในการบรรจุเอา ยูเครน และ จอร์เจีย เข้าไว้ใน “แผนปฏิบัติการเพื่อการเข้าเป็นสมาชิก”ของทางองค์การ ออกไปก่อน เรื่องนี้ย่อมเท่ากับว่า ทั้ง 2 ประเทศซึ่งต่างเป็นอดีตสาธารณรัฐในสหภาพโซเวียต จะไม่สามารถขยับเข้าใกล้การเข้าร่วมนาโต้ให้มากขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็อีก 1 ปี ซึ่งก็ย่อมเป็นการบ่งชี้ต่อไปว่า อย่างเร็วที่สุดที่ 2 ประเทศนี้จะทำให้ความปรารถนาที่จะได้เป็นสมาชิก สามารถกลายเป็นความจริงขึ้นมานั้น จะต้องอยู่ในกรอบเวลาอีก 4 ปี
นี่จึงเป็นเรื่องที่นาโต้แสดงท่าทีโอนอ่อนให้อย่างมากมายทีเดียว ต่อความรู้สึกอ่อนไหวของมอสโก สิ่งที่พอจะนึกภาพออกก็คือ มันคือการเก็บกวาดบรรดาเรื่องที่อาจเป็นอุปสรรคออกไป เพื่อปูทางสำหรับเรื่องซึ่งอาจกลายเป็นจุดผันเปลี่ยนสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับนาโต้ รัสเซียอาจจะกำลังจะเข้ามาร่วมจับมือกับนาโต้ในอัฟกานิสถาน ภาพที่ชัดเจนกว่านี้จะปรากฏออกมาจากการปรึกษาหารือกันอย่างเข้มข้นของบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมของรัสเซียและสหรัฐฯ ภายใต้รูปแบบที่เรียกกันว่า “2+2” ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในกรุงมอสโก จากวันจันทร์ถึงวันอังคารสัปดาห์หน้า เมื่อพิจารณาจากความคิดเห็นอันระมัดระวังตัวของทั้งสองฝ่าย และความคึกคักของกิจกรรมทางการทูตของสหรัฐฯแล้ว ก็ดูมีความเป็นไปได้สูงยิ่งที่รัสเซียกำลังจะถูกนำเข้ามาสู่หนทางแห่งการแก้ไขปัญหาอัฟกานิสถาน เคียงข้างกันกับนาโต้
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์คอมเมอร์แซนต์ ของรัสเซีย และหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ของลอนดอน ความริเริ่มครั้งนี้มาจากฝ่ายรัสเซีย เมื่อเอกอัครราชทูตคนใหม่ของรัสเซียประจำนาโต้ ดมิตริ โรโกซิน ซึ่งเมื่อก่อนเป็นนักการเมืองรัสเซียผู้มีประวัติสร้างข้อขัดแย้ง โดยเป็นนักชาตินิยมตัวเอ้ที่ตำหนิโจมตีฝ่ายตะวันตกอย่างรุนแรงอยู่เป็นประจำ ได้กลับมาส่งสัญญาณว่ามีความสนใจอย่างแข็งขันในประเด็นนี้ ณ การประชุมเมื่อไม่นานมานี้ของสภานาโต้-รัสเซีย ในกรุงบรัสเซลส์ โดยในแผนการนี้ทางฝ่ายรัสเซียจะจัดให้มีช่องทางภาคพื้นดิน เพื่อที่นาโต้จะใช้ขนส่งสินค้าของตน –ซึ่งระบุกันว่า “ไม่ใช่ยุทธปัจจัย”- ไปให้แก่กองทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการพูดจากันอย่างจริงจังเพื่อจัดทำข้อตกลงแม่บท
จากฝีก้าวของกิจกรรมทางการทูตที่ดำเนินไปอย่างน่าตื่นเต้น ทำให้เกิดความคาดหมายกันว่าทั้งสองฝ่ายดูน่าจะสามารถทำข้อตกลงกันอย่างเป็นทางการได้ ณ การประชุมสุดยอดที่บูคาเรสต์ของนาโต้ ในการให้สัมภาษณ์ต่อนิตยสาร แดร์ สปิเกล ของเยอรมนีเมื่อวันจันทร์(10 มี.ค.)
โรโกซินได้ยืนยันความคาดหมายเช่นนี้ โดยกล่าวว่า “เรา(รัสเซีย)สนับสนุนการรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งพุ่งเป้าไปที่พวกตอลิบานและอัลกออิดะห์ ผมหวังว่าเราจะสามารถใช้ความพยายามจนบรรลุข้อตกลงอันสำคัญยิ่งเป็นชุดใหญ่ กับหุ้นส่วนฝ่ายตะวันตกของเราในการประชุมซัมมิตที่บูคาเรสต์ เราจะสาธิตให้เห็นว่าเราพร้อมแล้วที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูบูรณะอัฟกานิสถาน”
มีการอ้างคำกล่าวของพวกนักการทูตรัสเซียที่กำลังพูดจากันว่า มอสโกมีการปรึกษาหารือกับรัฐบาลของคาซัคสถาน และ อุซเบกิสถาน เกี่ยวกับเรื่องข้อเสนอเปิดช่องทางภาคพื้นดินให้นาโต้ใช้ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์อันซับซ้อนยุ่งยากของความสัมพันธ์รัสเซีย-นาโต้แล้ว ประเด็นปัญหานี้น่าจะยังถูกฉุดรั้งด้วยปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ก็ได้พูดเป็นนัยเอาไว้มาก ระหว่างการแถลงข่าวเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว(8 มี.ค.) ร่วมกันกับนายกรัฐมนตรี แองเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี ผู้ไปเยือนมอสโก เขาบอกว่า “นาโต้ในทุกวันนี้กำลังก้าวเกินเลยข้อจำกัดของตัวเองไปแล้ว เราไม่มีปัญหาในเรื่องการช่วยเหลืออัฟกานิสถาน แต่มันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย เมื่อมันกลายเป็นนาโต้ที่กำลังให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่ นี่เป็นเรื่องที่เกินเลยจากขอบเขตของภูมิภาคแอตแลนติกเหนือ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พวกคุณต่างตระหนักกันอยู่แล้ว”
ปูตินยังใช้โอกาสนี้วิพากษ์แผนการขยายตัวของนาโต้อย่างเผ็ดร้อน “ในเวลาที่เราไม่ได้มีการประจันหน้ากันระหว่างระบบที่เป็นปรปักษ์กัน 2 ระบบอีกต่อไปแล้ว การขยายตัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของกลุ่มทางการทหารและทางการเมืองเช่นนี้ ทางเรามองว่าไม่เพียงไม่มีความจำเป็นเท่านั้น หากยังสร้างความเสียหายและให้ผลในทางตรงกันข้ามกับที่ตั้งใจไว้ด้วยซ้ำ มีความรู้สึกกันว่ากำลังมีความพยายามที่จะสร้างองค์การซึ่งจะมาแทนที่สหประชาชาติ ทว่าประชาคมระหว่างประเทศในแง่องค์รวมแล้ว ย่อมยากยิ่งที่จะเห็นพ้องกับโครงสร้างดังกล่าวสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคตของพวกเรา ผมคิดว่ามันรังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกันมากขึ้นอีกเท่านั้น ที่พูดมาเหล่านี้เป็นข้อโต้แย้งในเชิงปรัชญา ซึ่งพวกคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตามใจ”
ความนัยของคำพูดเช่นนี้ย่อมกระจ่างชัดอยู่แล้ว รัสเซียยินดีที่จะร่วมมือกับนาโต้ ทว่าบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันและเป็นไปอย่างรอบด้าน และประการที่สอง ข้อเสนอประเภทที่ให้นาโต้คัดสรรให้รัสเซียเข้าร่วมมือเกี่ยวข้องด้วยเฉพาะบางเรื่อง อันเป็นข้อเสนอที่สหรัฐฯกำลังป่าวร้องผลักดันอยู่นั้น เป็นเรื่องที่มอสโกไม่ยอมรับ จุดที่สำคัญเลยก็คือ ปูตินกำลังตั้งคำถามเอาซึ่งๆ หน้า ถึงจุดยืนของนาโต้ที่จะผูกขาดการแก้ไขความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน
รัฐมนตรีต่างประเทศ เซอร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ก็กำลังส่งสัญญาณเป็นการต่างหากออกไป ถึงความพรักพร้อมของรัสเซียที่จะจัดหาช่องทางขนส่งทางทหารเข้าสู่อัฟกานิสถานให้แก่นาโต้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า “มีการทำข้อตกลงซึ่งครอบคลุมทุกๆ ด้านของปัญหาอัฟกานิสถาน ระหว่างนาโต้กับองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security Treaty Organization หรือ CSTO ซึ่งภาคีสมาชิกประกอบไปด้วยอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต ได้แก่ อาร์เมเนีย, เบลารุส, คาซัคสถาน, คีร์กิซสถาน, ทาจิกิสถาน, อุซเบกิสถาน, และรัสเซีย - ผู้แปล)” จุดสำคัญก็คือ ลาฟรอฟพูดเรื่องนี้ในทันทีภายหลังการประชุมวาระที่ 7 ของสภาความร่วมมือรัสเซีย-ฝรั่งเศสว่าด้วยประเด็นปัญหาด้านความมั่นคง ณ กรุงปารีส เมื่อวันอังคาร(11 มี.ค.) เขากล่าวย้ำว่า “สมาชิกนาโต้ส่วนใหญ่ รวมทั้งฝรั่งเศสด้วย” ชมชอบแนวความคิดของมอสโกในเรื่องกรอบโครงความร่วมมือระหว่างนาโต้-CSTO ในเรื่องอัฟกานิสถาน ลาฟรอฟเพียงแต่ไม่ชี้ออกมาตรงๆ เท่านั้นว่า วอชิงตันกำลังสกัดกั้นความร่วมมือดังกล่าวระหว่างนาโต้กับ CSTO ที่นำโดยรัสเซีย
หากพิจารณากันตามเนื้อผ้า วอชิงตันน่าจะกระโจนตรงเข้ารับข้อเสนอของรัสเซียที่จะสนับสนุนภารกิจของนาโต้ในอัฟกานิสถาน ปากีสถานนั้นกำลังพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือไม่ได้ใน “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ความไม่แน่นอนทางการเมืองในปากีสถานซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นทุกที กลายเป็นการใส่เครื่องหมายคำถามให้แก่ภูมิปัญญาของสหรัฐฯที่ยังคงพึ่งพาอาศัยปากีสถานอย่างมากมาย ในการขนส่งสัมภาระต่างๆ ไปให้แก่กองทหารของตนในอัฟกานิสถาน
พวกโฆษกของกองทัพสหรัฐฯพูดยืนยันอย่างเป็นทางการว่า ราวสามในสี่ของสัมภาระทั้งหมดที่กำลังส่งเข้าไปในอัฟกานิสถานนั้น เป็นการขนส่งผ่านปากีสถาน นอกจากนั้นยังมีประเด็นปัญหาระดับพื้นฐานอีกหลายประเด็นด้วย เป็นต้นว่า สหรัฐฯยังจะมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนที่จะส่งอิทธิพลต่อการเมืองของปากีสถาน หรืออันที่จริงแล้ว ต่อวิวัฒนาการของเศรษฐกิจการเมืองของปากีสถาน ในช่วงระยะเวลาอันสำคัญยิ่งยวดที่กำลังจะมาถึง
การขึ้นสู่อำนาจของพรรค อวามิ เนชั่นแนล ปาร์ตี้ (เอเอ็นพี) อันเป็นพรรคฝ่ายซ้ายชาตินิยมชาวปัชตุนซึ่งมีความมุ่งมั่นสูงมาก ในจังหวัด นอร์ท-เวสต์ ฟรอนเทียร์ อันแสนจะอ่อนไหวยิ่งของปากีสถาน ยิ่งทำให้การจับกลุ่มทางการเมืองเพิ่มความซับซ้อนขึ้นไปอีก
อามีร์ ไฮเดอร์ ข่าน โฮติ ผู้นำของเอเอ็นพี บอกตรงไปตรงกับกับวิทยุ เรดิโอ ฟรี ยุโรป/เรดิโอ ลิเบอร์ตี ในการให้สัมภาษณ์พิเศษสัปดาห์นี้ว่า “การจัดลำดับความสำคัญของเรามีความชัดเจนมาก เรื่องแรกเลยคือเราต้องการที่จะมุ่งหน้าสู่สันติภาพ โดยผ่านการเจรจา (กับพวกตอลิบาน), ผ่านทาง จีร์กา (การประชุมสภาชนเผ่า), และผ่านการสนทนาหารือกัน แล้วแต่ประสงค์ของพระเจ้าเถิด เราจะเรียนรู้จาก (การพูดจาและจีร์กาที่ล้มเหลวไปในอดีต) และจะพยายามไม่ทำความผิดพลาดอย่างเดียวกันซ้ำอีก เราจะพยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนของเรา, ผู้นำชนเผ่าของเรา, และ (ผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม) ของเรา และด้วยการร่วมมือกับพวกเขา เราจะพยายามมุ่งหน้าสู่สันติภาพโดยผ่านการเจรจากัน”
โอติไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” หรือความคาดหมายของคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่จะเห็นการเปิดยุทธการของปากีสถานในพื้นที่ของชาวชนเผ่าเหล่านี้ มันจึงยังคงเป็นปริศนาว่า ทำไมคณะรัฐบาลบุชจนถึงบัดนี้แล้วจึงยังสมควรที่จะกีดกันไม่ให้ประเทศอย่างเช่น รัสเซียและจีน เข้ามามีส่วนในหนทางแก้ไขความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน ทั้งที่ผลประโยชน์ของประเทศเหล่านี้กำลังถูกกระทบกระเทือนอย่างยิ่งยวด หรือกระทั่งถูกกระทบกระเทือนอย่างเร่งด่วนกว่าด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับสหรัฐฯหรือประเทศทางยุโรป ดังที่ เฮนรี คิสซิงเจอร์ รัฐบุรุษของสหรัฐฯเขียนไว้ในบทความในหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮอรัลด์ ทรีบูน ฉบับวันจันทร์ (10 มี.ค.) “การมีฉันทามติทางยุทธศาสตร์ยังคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ... เสถียรภาพของปากีสถานไม่ควรที่จะถูกมองว่าเป็นปัญหาท้าทายของฝ่ายอเมริกันแต่ผู้เดียว”
คำถามมูลค่าล้านดอลลาร์จึงมีอยู่ว่า ในส่วนของคณะรัฐบาลบุชนั้นมีเจตนารมณ์ทางการเมืองหรือไม่ที่จะบรรลุ “ฉันทามติทางยุทธศาสตร์” ว่าด้วยอัฟกานิสถาน กับรัสเซียในการประชุมสุดยอดนาโต้ที่กำลังจะมาถึงคราวนี้ เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า มอสโกนั้นปรารถนาเรื่องนี้ พวกสมาชิกเก่าๆ ของนาโต้อย่างเช่น ฝรั่งเศส และ เยอรมนี ก็เช่นกัน ต่างตระหนักว่าพันธมิตรนาโต้อาจประสบความพ่ายแพ้ในอัฟกานิสถาน ซึ่งจะเป็นความเสียหายถึงขั้นหายนะต่อฐานะของนาโต้ทีเดียว และก็ตระหนักด้วยว่านาโต้กับรัสเซียนั้น อย่างไรเสียก็มีเป้าหมายอย่างเดียวกันในอัฟกานิสถาน
เครมลินกำลังทำให้คณะรัฐบาลบุชตกอยู่ในสภาพถูกไล่ต้อนให้จนมุม การรับความช่วยเหลือจากรัสเซียในหัวเลี้ยวหัวต่ออันสำคัญยิ่งยวดนี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลเหลือเกินสำหรับนาโต้ พันธมิตรตะวันตกแห่งนี้กำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อรับมือกับสงครามในอัฟกานิสถาน หากเปรียบเทียบกับอิรักแล้ว ผู้สังเกตการณ์บางรายประมาณการว่า จำเป็นจะต้องใช้กำลังทหารระดับเฉียดครึ่งล้านคนทีเดียวจึงจะสามารถสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถาน เมื่อคำนึงถึงขนาดและสภาพภูมิประเทศอันยากลำบากของประเทศนี้
แต่การร่วมมือกับรัสเซียย่อมทำให้นาโต้ต้องเริ่มเข้าไปร่วมมือกับ CSTO และเป็นไปได้ว่ากับองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization หรือ SCO ประกอบด้วย จีน, รัสเซีย, คาซัคสถาน,คีร์กิซสถาน, ทาจิกิสถาน, และ อุซเบกิสถาน -ผู้แปล) อีกด้วย (เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ วาตาลี ชูรคิน ขณะกล่าวปราศรัยต่อคณะมนตรีความมั่นคงที่นครนิวยอร์กเมื่อวันพุธ(12มี.ค.) ก็เสนอว่า ในการสู้รบปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติดที่มีต้นกำเนิดจากอัฟกานิสถานให้ประสบความสำเร็จ ระบบเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยที่ส่งเสริมโดยรัสเซียในภูมิภาคเอเชียกลางในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา จะสามารถทำอะไรได้มากทีเดียว รวมทั้งควรหาทางใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ CSTO และ SCO ด้วย)
สิ่งที่สหรัฐฯรู้สึกวิตกก็คือ การเชื่อมโยงใดๆ ทำนองนี้ระหว่างนาโต้กับ CSTO และ SCO จะบ่อนทำลายนโยบาย “ปิดล้อม” ที่มุ่งกระทำต่อรัสเซีย (และต่อจีน) นอกเหนือจากจะเป็นอันตรายต่อยุทธศาสตร์โลกของสหรัฐฯซึ่งกำลังมุ่งทำให้นาโต้กลายเป็นองค์การทางการเมืองในขอบเขตทั่วโลก
ส่วนที่จะสร้างความเสียหายได้มากที่สุดก็คือ ความร่วมมือกันระหว่างรัสเซีย-นาโต้ จะต้องเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ความผูกพันกันระหว่างรัสเซียกับพวกประเทศยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น และนั่นก็จะส่งผลทำให้บทบาทความเป็นผู้นำในย่านสองฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกในยุคศตวรรษที่ 21 ของสหรัฐฯ ต้องมีอันอ่อนแอลงไป
ณ การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของพันธมิตรนาโต้ ที่กรุงบรัสเซลส์ วันที่ 6 มีนาคม รัฐมนตรีต่างประเทศ แบร์นารด์ กูชแนร์ ของฝรั่งเศส ได้เรียกร้องให้สภารัฐมนตรีนาโต้ “ยอมรับพิจารณาถึงความอ่อนไหวของรัสเซีย และพิจารณาถึงบทบาทอันสำคัญที่ประเทศนั้นแสดงอยู่” ยิ่งกว่านั้น เขายังโต้แย้งว่า ความสัมพันธ์กับรัสเซียกำลังตึงเครียดอยู่แล้วจากกรณีโคโซโว และจากระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธที่สหรัฐฯวางแผนไว้ซึ่งจะตั้งฐานอยู่ในยุโรปด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้นอีก หนังสือพิมพ์เลอมงด์ ของฝรั่งเศสอ้างคำพูดของเขาที่กล่าวว่า “เรา(ฝรั่งเศส)คิดว่าความสัมพันธ์อียู-รัสเซียนั้นมีความสำคัญอย่างที่สุด และฝรั่งเศสไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์กับรัสเซียในฐานะที่เป็นชาติยิ่งใหญ่ชาติหนึ่ง” (ฝรั่งเศสกำลังจะรับตำแหน่งประธานอียูตามระบบหมุนเวียน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้)
เป็นความจริงที่ว่าฝรั่งเศสไม่ได้โดดเดี่ยวในเรื่องนี้เลย ในช่วงหลังๆ มานี้ ในประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงระดับโลก เยอรมนีก็ได้ปรับเปลี่ยนมาสู่การมีระยะห่างจากสหรัฐฯและรัสเซียให้พอๆ กัน อีกทั้งยังกำลังยื่นมือออกมาอีกครั้งหนึ่ง (ชวนให้ระลึกถึงสมัยที่ แกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ในฐานะเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของรัสเซียในความสัมพันธ์สหภาพยุโรป-รัสเซีย
สองวันหลังจากการเยือนมอสโกของเธอเมื่อเร็วๆ นี้ แมร์เคิลได้กล่าวปราศรัยต่อเวทีหารืออันทรงเกียรติของบรรดานายทหารระดับท็อปของเยอรมัน (Kommandeurtagung)ในกรุงเบอร์ลินเมื่อวันจันทร์(10 มี.ค.) และมีเลขาธิการนาโต้ ยาฟ เดอ ฮูป เชฟเฟอร์ เข้าฟังด้วย โดยเธอเดินหน้าอย่างโจ่งแจ้งในการฝังข้อเสนอให้รับยูเครนและจอร์เจียเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ กระทั่งก่อนหน้าการประชุมซัมมิตที่บูคาเรสต์ด้วยซ้ำ
“บรรดาประเทศที่พัวพันกับความขัดแย้งในภูมิภาคหรือมีความขัดแย้งภายใน ไม่สามารถที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกได้” เธอกล่าว แมร์เคิลบอกต่อไปว่าพวกประเทศที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกนาโต้ ต้องทำให้แน่ใจว่า ได้รับเสียงสนับสนุนทางการเมืองภายในประเทศ “อย่างมีความสำคัญในเชิงคุณภาพ” ในทางเป็นจริงก็คือ เยอรมนีกำลังสกัดกั้นการที่นาโต้จะขยายตัวเข้าไปในดินแดนของอดีตสหภาพโซเวียตให้มากขึ้น –ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายที่รัสเซียประกาศเอาไว้แล้วนั่นเอง
จากการยื่นเสนอ พิมพ์เขียวแห่งความร่วมมือกับนาโต้ว่าด้วยอัฟกานิสถาน กันอย่างห้าวหาญเช่นนี้ รัสเซียก็เท่ากับท้าทายสหรัฐฯให้ต้องตัดสินเลือกว่าจะทำอย่างไร และมันก็ไม่ใช่เรื่องที่วอชิงตันจะตัดสินใจเลือกได้อย่างง่ายๆ เสียด้วย คุณจะรับมืออย่างไรในโลกแห่งอนาคตกับประเทศที่ยอดส่งออกพลังงานอยู่ในระดับเฉียดใกล้หลักหมาย 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน? น้ำมันดิบชนิดยูราลส์ ซึ่งเป็นมาตรวัดราคาของน้ำมันดิบจากรัสเซียนั้น ได้พุ่งขึ้นทำสถิติ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในสัปดาห์นี้ และทันทีที่ซื้อขายกัน ณ 107.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มูลค่าการส่งออกน้ำมันดิบ, น้ำมันสำเร็จรูป, และก๊าซของรัสเซีย ก็จะทะลุหลัก 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยที่งบประมาณประจำปี 2008 ของรัสเซียคำนวณโดยถือว่าราคาเฉลี่ยของน้ำมันยูราลส์อยู่ที่ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเท่านั้น
นอกจากนั้น อิทธิพลของรัสเซียในเอเชียกลางในยุคหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ก็กำลังขึ้นถึงขีดสูงสุดอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนหน้าจะมีความเป็นไปได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกที่จะปรากฏ “องค์การโอเปกทางด้านก๊าซธรรมชาติ” ผงาดขึ้นมา อันจะประกอบด้วยรัสเซียและพวกประเทศในเอเชียกลาง เรื่องนี้น่าจะส่องแสงเปล่งประกายกลบรัศมีมรดกทางนโยบายการต่างประเทศอื่นๆ ทั้งหมดของรัสเซียในยุคปูตินทีเดียว รัสเซียแสวงหาทางมานานแล้วที่จะให้มีสมาคมของเหล่าผู้ผลิตและผู้ส่งออกก๊าซ ในหมู่ประเทศที่ล้วนเคยอยู่ในสหภาพโซเวียต ในรูปแบบเดียวกับการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมันดิบ รัสเซียและซัปพลายเออร์ในเอเชียกลาง อันได้แก่ คาซัคสถาน, อุซเบกิสถาน, และเตอร์เมนิสถาน เวลานี้ได้ตกลงกันแล้วว่า เริ่มตั้งแต่ปี 2009 พวกเขาจะเปลี่ยนไปใช้สูตรคำนวณราคาแบบที่ใช้ในยุโรป
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งติดป้ายเครื่องหมายแสดงมาตรฐานของเครมลินอย่างชัดเจน เป็นการยกระดับความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัสเซียกับพวกผู้ผลิตทางเอเชียกลางเหล่านี้ ไปสู่ระดับความร่วมมือกันและการมียุทธศาสตร์ร่วมกันในตลาดต่างประเทศที่สูงขึ้นไปอีก เรื่องนี้มีความหมายอันกว้างไกลสำหรับพวกประเทศยุโรปและสหรัฐฯ รัสเซียเปิดเกมเดินหมากรุกฆาตโครงการสร้างท่อส่งพลังงานข้ามทะเลสาบแคสเปียนที่อุปถัมภ์โดยสหรัฐฯเข้าให้แล้ว
แน่นอนทีเดียวว่า จุดบกพร่องใหญ่ในมรดกของปูตินก็คือ สมัยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา ยังคงประสบความล้มเหลว ที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนที่ผงาดขึ้นมาอย่างเต็มที่แล้วของยุโรป เวลานี้เขากำลังยื่นข้อเสนอต่อนาโต้ชนิดปฏิเสธไม่ลง – นั่นคือ การทำให้รัสเซียกลายเป็นภาคีหนึ่งในภารกิจอัฟกานิสถานของพันธมิตรนาโต้ ข้อเสนอของรัสเซียออกมาในจังหวะเวลาที่สงครามในอัฟกานิสถานกำลังดำเนินไปอย่างเลวร้าย และนาโต้ก็อาจคว้าความช่วยเหลือไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดเท่าที่จะหาได้
วอชิงตันกำลังตกอยู่ในฐานะที่ลำบากยากยิ่ง ในเมื่อมอสโกไม่ยินยอมเพียงแค่เข้ามีส่วนร่วมอย่างคัดสรรจากนาโต้ หรือเป็นแค่เพียงช่องทางผ่านเท่านั้น หากแต่ต้องการจะเพิ่มขยายและหยั่งรากลึกสู่การมีส่วนร่วมนี้ทีละน้อยๆ โดยที่พวกพันธมิตรสำคัญทางฟากยุโรปก็อาจจะยินดีให้เป็นไปเช่นนั้นด้วย มอสโกยังรบเร้าให้ CSTO และกระทั่ง SCO ด้วย เข้ามามีส่วนร่วม ในอีกด้านหนึ่งนั้น การเข้าพัวพันด้วยของรัสเซียอาจสามารถชุบชีวิตภารกิจในอัฟกานิสถานของนาโต้ และสร้างความมั่นใจว่า ภารกิจนี้จะไม่ตกอยู่ในสภาพลำบาก จากปัจจัยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนของปากีสถาน ซึ่งกำลังกลายเป็นปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง
ทางวอชิงตันจะยอมรับทางเลือกอันขมขื่นนี้หรือไม่? ปูตินซึ่งจิตใจความเป็นนักต่อสู้ของเขามีเครื่องหมายรับประกันจากกการได้สายดำในกีฬาคาราเต้ ย่อมสามารถที่จะนั่งนับว่าวาระการเป็นประธานาธิบดีของเขายังคงมีอยู่อีก 5-6 สัปดาห์ และนั่นเป็นเวลามากมายทีเดียวที่จะทำให้รัสเซียกลายเป็นหุ้นส่วนหมายเลขหนึ่งของนาโต้ในระดับโลก และทำให้มั่นใจได้ว่ารัสเซียจะมีตำแหน่งแห่งที่อันถาวรภายในเคหะสถานร่วมของชาวยุโรป
อย่างน้อยที่สุด ประวัติก็วนกลับมาครบรอบวัฏจักรพอดี ในตอนที่ปูตินไปถึงกรุงบูคาเรสต์ในอีก 18 วันข้างหน้า เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดปีที่ 60 ของพันธมิตรตะวันตกแห่งนี้ และนั่นก็จะเป็นเวลา 54 ปีนับแต่ที่สหภาพโซเวียตได้ออกมาเสนอแนะว่า ตนเองควรจะได้เข้าร่วมนาโต้ เพื่อรักษาสันติภาพเอาไว้ในยุโรป
เอ็ม เค ภัทรกุมาร รับราชการเป็นนักการทูตอาชีพในกระทรวงการต่างประเทศอินเดียมากว่า 29 ปี ในตำแหน่งต่างๆ อาทิ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำอุซเบกิสถาน (ปี 1995-1998) และประจำตุรกี (1998-2001)