วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย/เอเจนซี - เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าฮวบในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อภาคส่งอออกของญี่ปุ่นอย่างมาก คาดกำไรของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งจะลดฮวบในไตรมาสต่อๆ ไป หลังเติบโตอย่างมั่นคงมาหลายปี
การที่เงินดอลลลาร์อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินเยน กำลังทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า จะส่งผลร้ายต่อการส่งออกของญี่ปุ่น และก็ทำให้ดัชนีนิกเคอิของตลาดหุ้นโตเกียวดิ่งลง 6% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 15% นับตั้งแต่ต้นปีนี้ เหตุการณ์นี้ยังบังเกิดขึ้นในช่วงที่พวกบริษัทญี่ปุ่นที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกมานานนั้น กำลังบอบช้ำอย่างหนักจากราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และกำลังเผชิญกับสัญญาณที่ชี้ว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯลดการใช้จ่ายลง
เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ทำให้สินค้าของผู้ส่งออกที่ไม่ใช่สหรัฐฯมีราคาแพงขึ้นเมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากต่างแดนที่เป็นสกุลดอลลาร์ของบริษัทเหล่านี้ เมื่อเปลี่ยนกลับเป็นเงินสกุลประเทศบ้านเกิดของบริษัท ก็ยังจะหดหายลงไปอีก ตัวอย่างเช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ได้แถลงว่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทหดหายไปถึง 20,000 ล้านเยน (194 ล้านดอลลาร์) ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ภาวะรายได้ลดลงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องค่าเงินเช่นนี้ อาจจะเลวร้ายขึ้นอย่างรวดเร็ว ในไตรมาสปัจจุบันนี้
ผู้ส่งออกจากประเทศและเขตอื่นๆในเอเชียก็มีฐานะอ่อนแอลงเช่นกัน ทั้งนี้ หุ้นของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวัน ลดลงในช่วงไม่นานมานี้ เนื่องจากผู้คนวิตกว่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้าของผู้ส่งออกไต้หวันมีราคาแพงขึ้น เมื่อซื้อขายด้วยเงินดอลลาร์ หรืออาจบีบให้ผู้ส่งออกต้องลดราคาเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน
อย่างไรก็ดี ในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่น ยังมีปัจจัยที่พอจะบรรเทาผลกระทบจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า กล่าวคือ ในช่วงที่ผ่านมา เงินสกุลเอเชียเกือบทุกสกุลยกเว้นเงินเยน ต่างอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร จึงทำให้สินค้าของประเทศเอเชียเหล่านี้ล่อใจผู้ซื้อในยุโรปมากขึ้น อาทิ ที่ผ่านมาในปีนี้ เงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงกว่า 5% เมื่อเทียบกับเงินยูโร ทว่า สำหรับญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่เช่นนี้ ในเมื่อเงินยูโรต่างหากที่อ่อนค่าลง 5.2% เมื่อเทียบกับเงินเยน
บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นในญี่ปุ่นอ่อนไหวอย่างยิ่งต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่แกว่งไปมา เนื่องจากผลประกอบการของผู้ส่งออกรายใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้น ในขณะที่การส่งออกคิดเป็น 15% ของเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่น ทว่า ผลกำไรก่อนถูกหักภาษีของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ได้มาจากตลาดต่างแดนมากถึง 30-40% ทั้งนี้ไปเป็นตามข้อมูลของแกรี อีวานส์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชีย แห่งธนาคารเอชเอสบีซี
เปรียบเทียบกับจีนแล้ว ผู้ส่งออกในแดนมังกร เกือบทั้งหมดเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือไม่ก็มีต่างชาติเป็นเจ้าของ ดังนั้น ผลประกอบการของผู้ส่งออกจีนจึงมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นจีน น้อยกว่าผู้ส่งออกอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อตลาดอื่นๆ ในเอเชีย
สำหรับในญี่ปุ่นนั้น นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์น่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นพอประมาณ ในปีการเงินนี้ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคมนี้ และในปีการเงินหน้า ทว่า นักวิเคราะห์บางคนกลับคาดว่าบริษัทญี่ปุ่นจะมีผลกำไรลดลงในปีการเงินหน้าซึ่งสิ้นสุดในสิ้นเดือนมีนาคม ปี2009
ณ ตอนนี้ บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งได้แถลงข่าวร้ายอันไม่คาดคิดมาก่อนกันไปบ้างแล้ว โดยบริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ คาดว่าผลกำไรสุทธิจะลดลง 17% ในปีการเงินนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน
ส่วนโตโยต้านั้น นอกจากจะบอบช้ำหนักจากภาวะเงินดอลลาร์อ่อนค่าแล้ว ยังประสบปัญหายอดขายในสหรัฐฯ ลดลงอันสืบเนืองจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยยอดขายของโตโยต้าในเดือนที่แล้ว ลดลง 2.8% จากปีก่อน
การที่เงินดอลลลาร์อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินเยน กำลังทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่า จะส่งผลร้ายต่อการส่งออกของญี่ปุ่น และก็ทำให้ดัชนีนิกเคอิของตลาดหุ้นโตเกียวดิ่งลง 6% ในสัปดาห์ที่แล้ว และดิ่งลง 15% นับตั้งแต่ต้นปีนี้ เหตุการณ์นี้ยังบังเกิดขึ้นในช่วงที่พวกบริษัทญี่ปุ่นที่พึ่งพารายได้จากการส่งออกมานานนั้น กำลังบอบช้ำอย่างหนักจากราคาพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น และกำลังเผชิญกับสัญญาณที่ชี้ว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯลดการใช้จ่ายลง
เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ทำให้สินค้าของผู้ส่งออกที่ไม่ใช่สหรัฐฯมีราคาแพงขึ้นเมื่อคิดเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากต่างแดนที่เป็นสกุลดอลลาร์ของบริษัทเหล่านี้ เมื่อเปลี่ยนกลับเป็นเงินสกุลประเทศบ้านเกิดของบริษัท ก็ยังจะหดหายลงไปอีก ตัวอย่างเช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ได้แถลงว่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้ผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทหดหายไปถึง 20,000 ล้านเยน (194 ล้านดอลลาร์) ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ภาวะรายได้ลดลงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเรื่องค่าเงินเช่นนี้ อาจจะเลวร้ายขึ้นอย่างรวดเร็ว ในไตรมาสปัจจุบันนี้
ผู้ส่งออกจากประเทศและเขตอื่นๆในเอเชียก็มีฐานะอ่อนแอลงเช่นกัน ทั้งนี้ หุ้นของผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไต้หวัน ลดลงในช่วงไม่นานมานี้ เนื่องจากผู้คนวิตกว่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้าของผู้ส่งออกไต้หวันมีราคาแพงขึ้น เมื่อซื้อขายด้วยเงินดอลลาร์ หรืออาจบีบให้ผู้ส่งออกต้องลดราคาเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน
อย่างไรก็ดี ในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากญี่ปุ่น ยังมีปัจจัยที่พอจะบรรเทาผลกระทบจากเงินดอลลาร์อ่อนค่า กล่าวคือ ในช่วงที่ผ่านมา เงินสกุลเอเชียเกือบทุกสกุลยกเว้นเงินเยน ต่างอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินยูโร จึงทำให้สินค้าของประเทศเอเชียเหล่านี้ล่อใจผู้ซื้อในยุโรปมากขึ้น อาทิ ที่ผ่านมาในปีนี้ เงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงกว่า 5% เมื่อเทียบกับเงินยูโร ทว่า สำหรับญี่ปุ่นแล้วไม่ใช่เช่นนี้ ในเมื่อเงินยูโรต่างหากที่อ่อนค่าลง 5.2% เมื่อเทียบกับเงินเยน
บรรดานักวิเคราะห์กล่าวว่า การที่ตลาดหุ้นในญี่ปุ่นอ่อนไหวอย่างยิ่งต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่แกว่งไปมา เนื่องจากผลประกอบการของผู้ส่งออกรายใหญ่ๆ ในญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้น ในขณะที่การส่งออกคิดเป็น 15% ของเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่น ทว่า ผลกำไรก่อนถูกหักภาษีของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่น ได้มาจากตลาดต่างแดนมากถึง 30-40% ทั้งนี้ไปเป็นตามข้อมูลของแกรี อีวานส์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์เอเชีย แห่งธนาคารเอชเอสบีซี
เปรียบเทียบกับจีนแล้ว ผู้ส่งออกในแดนมังกร เกือบทั้งหมดเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือไม่ก็มีต่างชาติเป็นเจ้าของ ดังนั้น ผลประกอบการของผู้ส่งออกจีนจึงมีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นจีน น้อยกว่าผู้ส่งออกอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อตลาดอื่นๆ ในเอเชีย
สำหรับในญี่ปุ่นนั้น นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่าบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์น่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นพอประมาณ ในปีการเงินนี้ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคมนี้ และในปีการเงินหน้า ทว่า นักวิเคราะห์บางคนกลับคาดว่าบริษัทญี่ปุ่นจะมีผลกำไรลดลงในปีการเงินหน้าซึ่งสิ้นสุดในสิ้นเดือนมีนาคม ปี2009
ณ ตอนนี้ บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งได้แถลงข่าวร้ายอันไม่คาดคิดมาก่อนกันไปบ้างแล้ว โดยบริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ คาดว่าผลกำไรสุทธิจะลดลง 17% ในปีการเงินนี้ เพราะเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน
ส่วนโตโยต้านั้น นอกจากจะบอบช้ำหนักจากภาวะเงินดอลลาร์อ่อนค่าแล้ว ยังประสบปัญหายอดขายในสหรัฐฯ ลดลงอันสืบเนืองจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยยอดขายของโตโยต้าในเดือนที่แล้ว ลดลง 2.8% จากปีก่อน