เอเอฟพี - ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯชี้ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทารก เช่น โลชั่น แป้ง แชมพู อาจทำให้ร่างกายของทารกมีสารเคมีอันตราย"ฟธาเลต" สะสมในปริมาณสูง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และส่งผลต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์
ผลการวิจัยจัดทำโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตันและสถาบันวิจัยแห่งโรงพยาบาลเด็กในนครซิแอตเทิล สหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวานนี้ (4) พบว่า ทารกที่ใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยเด็กอ่อน เช่น โลชั่นทาผิว แชมพู และแป้ง มีแนวโน้มที่จะมีสารฟธาเลต (phthalate) ในปัสสาวะ มากกว่าทารกคนอื่นๆ
คณะนักวิจัยได้วัดระดับสารฟธาเลต 9 ชนิดที่แตกต่างกัน ในตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บจากทารก 163 คน อายุระหว่าง 2 - 28 เดือน อีกทั้งยังให้มารดาของทารกเหล่านี้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ผลิตสุขอนามัยเด็กอ่อน ในช่วง 1 วัน ที่ผ่านมา
ทีมวิจัย พบว่า ในทุกๆ ตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บจากทารก จะมีสารฟธาเลตอย่างน้อย 1 ชนิด และการใช้แป้งเด็ก โลชั่น และแชมพู เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับระดับปริมาณฟธาเลตในปัสสาวะที่เพิ่มมากขึ้น
ชีลา ซัทยานารายน์ ศาสตราจารย์ด้านกุมารแพทยศาสตร์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้จัดทำงานวิจัย กล่าวว่า เด็กอ่อนที่ได้รับสารฟธาเลตจะมีแนวโน้มที่จะมีการสะสมฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังจะมีอาการภูมิแพ้ อาการคัดจมูกน้ำมูกไหล และเกิดผื่นแดง เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังระบุว่า งานวิจัยผลของสารฟธาเลตในสัตว์ ชี้ว่าสารเคมีสังเคราะห์ชนิดนี้สามารถส่งผลร้ายต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ ขณะที่ผลการวิจัยในมนุษย์พบว่า การที่มารดาของได้รับสารฟธาเลตก่อนคลอดบุตร หรือทารกได้รับสารชนิดนี้ผ่านน้ำนมมารดา อาจทำให้การสะสมของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
ซัทยานารายน์ กล่าวว่า ทารกมีความเสี่ยงในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบสืบพันธุ์ ต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกัน กำลังพัฒนา
ทั้งนี้ สารฟธาเลตโดยทั่วไปมักพบในผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนตัว และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่นๆ รวมทั้งของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติก และสารหล่อลื่น
ผลการวิจัยจัดทำโดยมหาวิทยาลัยวอชิงตันและสถาบันวิจัยแห่งโรงพยาบาลเด็กในนครซิแอตเทิล สหรัฐฯ ซึ่งเผยแพร่เมื่อวานนี้ (4) พบว่า ทารกที่ใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยเด็กอ่อน เช่น โลชั่นทาผิว แชมพู และแป้ง มีแนวโน้มที่จะมีสารฟธาเลต (phthalate) ในปัสสาวะ มากกว่าทารกคนอื่นๆ
คณะนักวิจัยได้วัดระดับสารฟธาเลต 9 ชนิดที่แตกต่างกัน ในตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บจากทารก 163 คน อายุระหว่าง 2 - 28 เดือน อีกทั้งยังให้มารดาของทารกเหล่านี้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ผลิตสุขอนามัยเด็กอ่อน ในช่วง 1 วัน ที่ผ่านมา
ทีมวิจัย พบว่า ในทุกๆ ตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บจากทารก จะมีสารฟธาเลตอย่างน้อย 1 ชนิด และการใช้แป้งเด็ก โลชั่น และแชมพู เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับระดับปริมาณฟธาเลตในปัสสาวะที่เพิ่มมากขึ้น
ชีลา ซัทยานารายน์ ศาสตราจารย์ด้านกุมารแพทยศาสตร์ แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้จัดทำงานวิจัย กล่าวว่า เด็กอ่อนที่ได้รับสารฟธาเลตจะมีแนวโน้มที่จะมีการสะสมฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังจะมีอาการภูมิแพ้ อาการคัดจมูกน้ำมูกไหล และเกิดผื่นแดง เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังระบุว่า งานวิจัยผลของสารฟธาเลตในสัตว์ ชี้ว่าสารเคมีสังเคราะห์ชนิดนี้สามารถส่งผลร้ายต่อการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ ขณะที่ผลการวิจัยในมนุษย์พบว่า การที่มารดาของได้รับสารฟธาเลตก่อนคลอดบุตร หรือทารกได้รับสารชนิดนี้ผ่านน้ำนมมารดา อาจทำให้การสะสมของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป
ซัทยานารายน์ กล่าวว่า ทารกมีความเสี่ยงในการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบสืบพันธุ์ ต่อมไร้ท่อ และภูมิคุ้มกัน กำลังพัฒนา
ทั้งนี้ สารฟธาเลตโดยทั่วไปมักพบในผลิตภัณฑ์สุขอนามัยส่วนตัว และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนอื่นๆ รวมทั้งของเล่นเด็กที่ทำจากพลาสติก และสารหล่อลื่น