พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า “ประเทศกูเอง”
นายกเศรษฐาโกรธ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำได้แค่นี้เอง แต่ทำไมไม่ถามรัฐมนตรีแรงงานดูเสียก่อน จะได้ไม่พลาดพลั้งออกมาบ่อยๆ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปตามกติกาที่ ตกลงกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฝ่ายการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ โดยมีตัวแทน 3 ฝ่าย เข้าร่วมพิจารณา คือ (1) ฝ่ายลูกจ้าง (2)ฝ่ายนายจ้าง และ (3) ฝ่ายรัฐ อย่างละเท่าๆกัน
ดังนั้น ถ้าลูกจ้างอยากขึ้นค่าแรง ก็แค่ไปรวมกับฝ่ายรัฐ จะขึ้นเท่าไรก็ได้
แต่ทุกปี ลูกจ้างกลับไปรวมหัวกับนายจ้าง จะไม่ยอมขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ จนฝ่ายรัฐต้องไปอ้อนวอนให้ขึ้นหน่อยได้ไหม ปีนี้ก็เหมือนกัน
กรณีที่ลูกจ้างไปรวมหัวกับนายจ้างไม่ขอขึ้นราคาค่าแรงขั้นต่ำนั้น มีเหตุผล หลายอย่าง เช่น
(1) ลูกจ้างมีฝีมือคนไทย ส่วนใหญ่ได้ค่าจ้าง เกินค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ขนาดวันละพันก็มีมาก จึงไม่ได้เดือดร้อนอะไร
(2) ถ้าขึ้นค่าแรงสูง นายจ้างจะเจ๊ง ลูกจ้าง ที่อยู่ในชนบท ก็ตกงานทันที ตอนผมเป็นเลขา รมว.รส เคยให้ลูกจ้างเขียนถึงเหตุผลที่ไม่อยากขึ้นค่าแรง ส่งมาเกือบทุกจังหวัด นับหมื่นฉบับ ก็ล้วนแต่มาจากสาเหตุนี้ โดยเฉพาะพวกลูกจ้าง SME จำไว้ว่าถ้า SME เจ๊ง รัฐบาลก็เจ๊งตามไปด้วย
(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรง คือ แรงงานต่างด้าว ที่นอกจากจะได้ค่าแรงขึ้นแล้ว ยังมุ่งหน้ามาเอาสวัสดิการต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น มาตั้งครรภ์ในเมืองไทย หรือเจ็บป่วยรักษาไม่หาย ก็มาทำงานเมืองไทย ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งรักษาตัว หรืออย่างน้อยก็ได้มาทำฟัน เป็นต้น ซึ่งพวกที่พาแรงงานเถื่อนเข้ามาในไทย ไม่เคยรู้เลยว่าแรงงานเถื่อนเหล่านี้ ครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานขี้โรคทั้งนั้น
ถ้ารัฐบาลอยากช่วยเหลือคนงานจริง ปีนี้อย่าลืมส่งเงินสบทบประกันสังคมด้วยล่ะ อย่าไปดองติดไว้ก่อนอีก
จากการประมาณการกองทุนพบว่ากรณีจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างและลูกจ้างในอัตราฝ่ายละ 0.5 % และรัฐบาล 0.25% กองทุนยังคงมีความมั่นคงโดยไม่ต้องลดประโยชน์ทดแทน และสามารถจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ลูกจ้างได้สบายๆ แต่ถ้ารัฐ เบี้ยวบ่อยๆ ไม่ส่งเงินสนับสนุนในส่วนของรัฐฯ พวกลูกจ้างก็จะเดือดร้อนแน่ๆ เอาแค่ช่วยส่งเงินสบทบกองทุน ให้ได้เสียก่อนเถอะครับ นั่นก็ถือว่าช่วยแรงงานมหาศาลแล้ว
ส่วนใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ลองไปหาดูว่า รัฐบาลไหนส่ง ไม่ส่ง เงินประกันสังคมบ้าง พอรู้แล้ว ก็พอเดาเหตุการณ์ ในอนาคตได้ครับ
นายกเศรษฐาโกรธ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำได้แค่นี้เอง แต่ทำไมไม่ถามรัฐมนตรีแรงงานดูเสียก่อน จะได้ไม่พลาดพลั้งออกมาบ่อยๆ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นไปตามกติกาที่ ตกลงกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฝ่ายการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ โดยมีตัวแทน 3 ฝ่าย เข้าร่วมพิจารณา คือ (1) ฝ่ายลูกจ้าง (2)ฝ่ายนายจ้าง และ (3) ฝ่ายรัฐ อย่างละเท่าๆกัน
ดังนั้น ถ้าลูกจ้างอยากขึ้นค่าแรง ก็แค่ไปรวมกับฝ่ายรัฐ จะขึ้นเท่าไรก็ได้
แต่ทุกปี ลูกจ้างกลับไปรวมหัวกับนายจ้าง จะไม่ยอมขึ้น ค่าแรงขั้นต่ำ จนฝ่ายรัฐต้องไปอ้อนวอนให้ขึ้นหน่อยได้ไหม ปีนี้ก็เหมือนกัน
กรณีที่ลูกจ้างไปรวมหัวกับนายจ้างไม่ขอขึ้นราคาค่าแรงขั้นต่ำนั้น มีเหตุผล หลายอย่าง เช่น
(1) ลูกจ้างมีฝีมือคนไทย ส่วนใหญ่ได้ค่าจ้าง เกินค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว ขนาดวันละพันก็มีมาก จึงไม่ได้เดือดร้อนอะไร
(2) ถ้าขึ้นค่าแรงสูง นายจ้างจะเจ๊ง ลูกจ้าง ที่อยู่ในชนบท ก็ตกงานทันที ตอนผมเป็นเลขา รมว.รส เคยให้ลูกจ้างเขียนถึงเหตุผลที่ไม่อยากขึ้นค่าแรง ส่งมาเกือบทุกจังหวัด นับหมื่นฉบับ ก็ล้วนแต่มาจากสาเหตุนี้ โดยเฉพาะพวกลูกจ้าง SME จำไว้ว่าถ้า SME เจ๊ง รัฐบาลก็เจ๊งตามไปด้วย
(3) ผู้ที่ได้ประโยชน์โดยตรง คือ แรงงานต่างด้าว ที่นอกจากจะได้ค่าแรงขึ้นแล้ว ยังมุ่งหน้ามาเอาสวัสดิการต่างๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น มาตั้งครรภ์ในเมืองไทย หรือเจ็บป่วยรักษาไม่หาย ก็มาทำงานเมืองไทย ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งรักษาตัว หรืออย่างน้อยก็ได้มาทำฟัน เป็นต้น ซึ่งพวกที่พาแรงงานเถื่อนเข้ามาในไทย ไม่เคยรู้เลยว่าแรงงานเถื่อนเหล่านี้ ครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานขี้โรคทั้งนั้น
ถ้ารัฐบาลอยากช่วยเหลือคนงานจริง ปีนี้อย่าลืมส่งเงินสบทบประกันสังคมด้วยล่ะ อย่าไปดองติดไว้ก่อนอีก
จากการประมาณการกองทุนพบว่ากรณีจัดเก็บเงินสมทบจากนายจ้างและลูกจ้างในอัตราฝ่ายละ 0.5 % และรัฐบาล 0.25% กองทุนยังคงมีความมั่นคงโดยไม่ต้องลดประโยชน์ทดแทน และสามารถจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ลูกจ้างได้สบายๆ แต่ถ้ารัฐ เบี้ยวบ่อยๆ ไม่ส่งเงินสนับสนุนในส่วนของรัฐฯ พวกลูกจ้างก็จะเดือดร้อนแน่ๆ เอาแค่ช่วยส่งเงินสบทบกองทุน ให้ได้เสียก่อนเถอะครับ นั่นก็ถือว่าช่วยแรงงานมหาศาลแล้ว
ส่วนใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ ก็ลองไปหาดูว่า รัฐบาลไหนส่ง ไม่ส่ง เงินประกันสังคมบ้าง พอรู้แล้ว ก็พอเดาเหตุการณ์ ในอนาคตได้ครับ