วันนี้ (15 ต.ค.) จังหวัดอุทัยธานี ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินอุทกภัย จากพายุโนรู ตามประกาศจังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 ส่งผลให้มีฝนตกหนักขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 โดยภัยพิบัติดังกล่าวได้ขยายวงกว้างและส่งผลกระทบในพื้นที่ 8 อำเภอแล้ว
ทั้งนี้ ภัยดังกล่าวเป็นสาธารณภัย/ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร และทรัพย์สินของราษฎร และสาธารณภัย/ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังกล่าว ยังไม่ยุติ เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัย ให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน อาศัยอำนาจตามความ ข้อ 20 วรรคสามของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ประกอบกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าในเขตพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติป้องกันสาธารณภัย พ.ศ.2550 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัด และแผนอื่นที่เกี่ยวข้องตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และมติคณะ ที่เกี่ยวข้อง โดยเร็วและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่เกิดภัย
ทั้งนี้ ภัยดังกล่าวเป็นสาธารณภัย/ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร และทรัพย์สินของราษฎร และสาธารณภัย/ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดังกล่าว ยังไม่ยุติ เพื่อประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัย ให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน อาศัยอำนาจตามความ ข้อ 20 วรรคสามของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ประกอบกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้อำนวยการจังหวัด จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามอำนาจหน้าในเขตพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติป้องกันสาธารณภัย พ.ศ.2550 แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัด และแผนอื่นที่เกี่ยวข้องตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ และมติคณะ ที่เกี่ยวข้อง โดยเร็วและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่เกิดภัย