xs
xsm
sm
md
lg

UN ไทยติงรัฐให้ความสำคัญกับโรค NCDs น้อยทั้งที่คร่าชีวิตคนไทย 3 ใน 4 คนต่อปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สหประชาชาติ ประเทศไทย เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับ ฆาตกรเงียบที่คุกคามอนาคตของประเทศไทย โดยนายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (World Health Organization: WHO Thailand) และนายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (United Nations Development Programme: UNDP) ระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงต้นของระลอกที่ 5 ซึ่งที่ผ่านมา โรคนี้ได้คร่าชีวิตคนไทยไปแล้วกว่า 21,000 คน

นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้ปัญหาด้านสุขภาพของไทยรุนแรงขึ้นคือ การรับมือกับโรคไม่ติดต่อ หรือ noncommunicable diseases (NCDs) ที่คร่าชีวิตประชาชนกว่า 1,000 คนต่อวัน หรือ 4 แสนคนต่อปี โดย NCDs ประกอบด้วย 4 โรคหลัก ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยกว่าครึ่งของผู้ที่เสียชีวิตจาก NCDs เสียชีวิตก่อนวัยอันควร (ตั้งแต่อายุ 30-70 ปี) ซึ่งการรับมือกับโรคโควิด-19 ของไทยสะท้อนให้เห็นว่า ให้ความสำคัญกับภาวะวิกฤตสาธารณสุข เช่น จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ให้เป็นหน่วยบัญชาการระดับประเทศ โดยผู้บริหารระดับสูง และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ สามารถรักษาชีวิตประชาชนได้ แต่ความสำคัญกับการจัดการโรค NCDs ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย 3 ใน 4 คนต่อปีนั้น มีค่อนข้างน้อย