กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศฉบับที่ 28/2564 เรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งบริเวณแม่น้ำเพชรบุรี จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ช่วงวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2564 เกิดฝนตกหนักมากในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเพชรบุรี ปริมาณ 100-180 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำหลากไหลผ่านเขื่อนเพชรบุรีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ พบว่า จะมีน้ำหลากไหลสู่เขื่อนเพชรประมาณ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทั้งนี้ ได้มีการบริหารจัดการน้ำเข้าสู่ระบบส่งน้ำฝั่งซ้ายและขวา 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเพชรประมาณ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นเอ่อล้นตลิ่ง ประมาณ 0.3 - 0.6 เมตร ในช่วงวันที่ 10-15 พฤศจิกายน 2564 มีพื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ อำเภอท่ายาง บริเวณตำบลท่ายาง ตำบลท่าแลง และตำบลยางหย่อง อำเภอบ้านลาด บริเวณตำบลบ้านลาด ตำบลตำหรุ ตำบลท่าเสน ตำบลถ้ำณรงค์ และตำบลสมอพลือ อำเภอเมืองเพชรบุรี บริเวณเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตำบลท่าราบ ตำบลคลองกระแซง ตำบลต้นมะม่วง ตำบลบ้านหม้อ ตำบลหนองโสน และตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบ้านแหลม บริเวณตำบลท่าแร้ง ตำบลท่าแร้งออก ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร และตำบลบางครก
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ปรับแผนบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ ให้สอดคล้องกับการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเล และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือไว้ประจำจุดเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ทั้งนี้ ได้มีการบริหารจัดการน้ำเข้าสู่ระบบส่งน้ำฝั่งซ้ายและขวา 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเพชรประมาณ 350 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นเอ่อล้นตลิ่ง ประมาณ 0.3 - 0.6 เมตร ในช่วงวันที่ 10-15 พฤศจิกายน 2564 มีพื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ดังนี้ อำเภอท่ายาง บริเวณตำบลท่ายาง ตำบลท่าแลง และตำบลยางหย่อง อำเภอบ้านลาด บริเวณตำบลบ้านลาด ตำบลตำหรุ ตำบลท่าเสน ตำบลถ้ำณรงค์ และตำบลสมอพลือ อำเภอเมืองเพชรบุรี บริเวณเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตำบลท่าราบ ตำบลคลองกระแซง ตำบลต้นมะม่วง ตำบลบ้านหม้อ ตำบลหนองโสน และตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบ้านแหลม บริเวณตำบลท่าแร้ง ตำบลท่าแร้งออก ตำบลบ้านแหลม ตำบลบางขุนไทร และตำบลบางครก
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ปรับแผนบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ ให้สอดคล้องกับการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเล และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วมให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือไว้ประจำจุดเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์