นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงสถานการณ์และการดำเนินงานเกี่ยวกับอุทกภัยในภาคคมนาคม ว่า มีโครงข่ายคมนาคมได้รับผลกระทบ 93 เส้นทาง จำนวน 121 แห่ง สามารถสัญจรผ่านได้ 67 แห่ง สัญจรผ่านไม่ได้ 54 แห่ง แบ่งเป็น ทางถนน (ทางหลวง-ทางหลวงชนบท-บริษัท ขนส่ง จำกัด) 50 แห่ง และทางราง (รถไฟ) 4 แห่ง โดยมีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย 16 จังหวัด ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.อ่างทอง 2.พระนครศรีอยุธยา 3.นครราชสีมา 4.ชัยภูมิ และ 5.นครสวรรค์
ส่วนเส้นทางเดินรถไฟ 4 แห่ง ที่ผ่านไม่ได้ ทำให้ต้องหยุดเดินรถ 7 ขบวน ดังนี้ เส้นทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ 2 ขบวน, เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 4 ขบวน และเส้นทางกรุงเทพ-ลพบุรี 1 ขบวน ต้องปรับเปลี่ยน 1 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 2 ขบวน เป็นเส้นทางแก่งคอย-ปากช่อง-นครราชสีมา-ชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย และลดระยะทางวิ่ง 9 ขบวน ดังนี้ เส้นทางกรุงเทพฯ-ลพบุรี 3 ขบวน เหลือเส้นทางกรุงเทพฯ-บ้านหมอ, เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-พิษณุโลก, เส้นทางกรุงเทพฯ-ตะพานหิน 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-ตะพานหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-เชียงใหม่
ขณะที่ บขส. ปรับเส้นทางเดินรถ 1 เส้นทาง ได้แก่ รถโดยสารพิจิตร สาย 47 กรุงเทพฯ-ทุ่งช้าง สาย 957 กรุงเทพฯ-แม่สาย และสาย 962 กรุงเทพฯ-ป่าแดด-เชียงของ เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ทล.117 นครสวรรค์-พิษณุโลก
อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำชับหน่วยงานในสังกัดคมนาคมทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด หากเกิดอุทกภัยต้องเร่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งหาเส้นทางเลี่ยงให้ประชาชนเดินทางได้อย่างปลอดภัย และเมื่อน้ำลดลงแล้วให้เร่งซ่อมแซมปรับปรุงให้ถนนกลับมาปลอดภัยดังเดิม ส่วนถนนที่ขาดให้ออกแบบปรับปรุงช่องทางน้ำให้กว้างเพียงพอ เพื่อรองรับมวลน้ำในอนาคต โดยให้รวบรวมข้อมูลส่งมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อของบประมาณกลางสนับสนุนในการดำเนินการจากรัฐบาลต่อไป
ส่วนกรณีการเดินเรือในแม่น้ำช่วงที่มีน้ำขึ้นสูงนั้น กรมเจ้าท่าได้ออกประกาศเรื่องกำหนดพื้นที่ควบคุมการเดินเรือในช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงกว่าปกติในจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ โดยให้ใช้ความเร็วเรือลดลง เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นที่จะไปกระทบ และสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 500-5,000 บาท และยึดประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือเป็นเวลา 6 เดือน
ส่วนเส้นทางเดินรถไฟ 4 แห่ง ที่ผ่านไม่ได้ ทำให้ต้องหยุดเดินรถ 7 ขบวน ดังนี้ เส้นทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ 2 ขบวน, เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 4 ขบวน และเส้นทางกรุงเทพ-ลพบุรี 1 ขบวน ต้องปรับเปลี่ยน 1 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 2 ขบวน เป็นเส้นทางแก่งคอย-ปากช่อง-นครราชสีมา-ชุมทางบัวใหญ่-หนองคาย และลดระยะทางวิ่ง 9 ขบวน ดังนี้ เส้นทางกรุงเทพฯ-ลพบุรี 3 ขบวน เหลือเส้นทางกรุงเทพฯ-บ้านหมอ, เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-พิษณุโลก, เส้นทางกรุงเทพฯ-ตะพานหิน 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-ตะพานหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2 ขบวน เหลือเส้นทางลพบุรี-เชียงใหม่
ขณะที่ บขส. ปรับเส้นทางเดินรถ 1 เส้นทาง ได้แก่ รถโดยสารพิจิตร สาย 47 กรุงเทพฯ-ทุ่งช้าง สาย 957 กรุงเทพฯ-แม่สาย และสาย 962 กรุงเทพฯ-ป่าแดด-เชียงของ เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง ทล.117 นครสวรรค์-พิษณุโลก
อย่างไรก็ตาม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำชับหน่วยงานในสังกัดคมนาคมทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด หากเกิดอุทกภัยต้องเร่งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แจ้งเตือนประชาชน รวมทั้งหาเส้นทางเลี่ยงให้ประชาชนเดินทางได้อย่างปลอดภัย และเมื่อน้ำลดลงแล้วให้เร่งซ่อมแซมปรับปรุงให้ถนนกลับมาปลอดภัยดังเดิม ส่วนถนนที่ขาดให้ออกแบบปรับปรุงช่องทางน้ำให้กว้างเพียงพอ เพื่อรองรับมวลน้ำในอนาคต โดยให้รวบรวมข้อมูลส่งมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อของบประมาณกลางสนับสนุนในการดำเนินการจากรัฐบาลต่อไป
ส่วนกรณีการเดินเรือในแม่น้ำช่วงที่มีน้ำขึ้นสูงนั้น กรมเจ้าท่าได้ออกประกาศเรื่องกำหนดพื้นที่ควบคุมการเดินเรือในช่วงที่ระดับน้ำขึ้นสูงกว่าปกติในจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพฯ และสมุทรปราการ โดยให้ใช้ความเร็วเรือลดลง เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นที่จะไปกระทบ และสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน และทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ ลำคลอง ทั้งนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับตั้งแต่ 500-5,000 บาท และยึดประกาศนียบัตรผู้ควบคุมเรือเป็นเวลา 6 เดือน