นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้ลงนามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขหน่วยบริการ พ.ศ. 2564 แล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กองทุนบัตรทอง) สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิในปีงบประมาณ 2565 นี้
สำหรับประกาศดังกล่าว ครอบคลุมค่าบริการภายใต้กองทุนบัตรทองจำนวน 11 รายการ ดังนี้
1. บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว จำนวน 158,294.42 ล้านบาท
2. บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,768.11 ล้านบาท
3. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จำนวน 9,731.34 ล้านบาท
4. บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง จำนวน 1,154.78 ล้านบาท
5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,498.29 ล้านบาท
6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 990.11 ล้านบาท
7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ จำนวน 319.28 ล้านบาท
8. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,769.93 ล้านบาท
9. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับบริการกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 825.08 ล้านบาท
10. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จำนวน 283.03 ล้านบาท
11. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและปเองกันโรค จำนวน 19,265.42 ล้านบาท
ทั้งนี้ รวมงบประมาณค่าบริการ 11 ราย เป็นงบประมาณจำนวน 198,891.79 ล้านบาท เมื่อหักค่าแรงหน่วยบริการของรัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 58,341.59 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่เข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ไม่รวมเงินเดือนหน่วยบริการของรัฐ) จำนวน 140,550.19 ล้านบาท
สำหรับประกาศดังกล่าว ครอบคลุมค่าบริการภายใต้กองทุนบัตรทองจำนวน 11 รายการ ดังนี้
1. บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว จำนวน 158,294.42 ล้านบาท
2. บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 3,768.11 ล้านบาท
3. บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จำนวน 9,731.34 ล้านบาท
4. บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง จำนวน 1,154.78 ล้านบาท
5. ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,498.29 ล้านบาท
6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน จำนวน 990.11 ล้านบาท
7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ จำนวน 319.28 ล้านบาท
8. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2,769.93 ล้านบาท
9. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับบริการกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 825.08 ล้านบาท
10. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จำนวน 283.03 ล้านบาท
11. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและปเองกันโรค จำนวน 19,265.42 ล้านบาท
ทั้งนี้ รวมงบประมาณค่าบริการ 11 ราย เป็นงบประมาณจำนวน 198,891.79 ล้านบาท เมื่อหักค่าแรงหน่วยบริการของรัฐในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 58,341.59 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่เข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ไม่รวมเงินเดือนหน่วยบริการของรัฐ) จำนวน 140,550.19 ล้านบาท