น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินโครงการ "คนละครึ่ง" เป็นอย่างมาก ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งประชาชนและร้านค้า สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายประจำวันของประชาชน เงินสะพัดในชุมชน เจ้าของร้านค้า หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ต่างก็มีรายได้เพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นก็สะดวก
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 523,000 ร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7.1 ล้านคน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 7,629 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 3,888 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 3,741 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 216 บาทต่อครั้ง สำหรับจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเปิดให้มีการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง รอบสอง ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ระหว่างเวลา 06.00-23.00 น. และในส่วนของการเพิ่มจำนวนร้านค้า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปก่อนหน้านี้ ให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง ร่วมกันอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เพราะมีจำนวนมากที่สนใจร่วมโครงการฯ แต่มีความกังวลเรื่องการทำธุรกรรมผ่านมือถือและวิธีการลงทะเบียน
ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์โครงการฯ และอำนวยความสะดวกในเรื่องการรับรองว่าเป็นร้านค้าจริง ตั้งเป้าอยากให้มี 1 ล้านร้านค้า จะได้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ที่ผ่านมา จำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นมาก จาก 300,000 ร้าน ช่วงปลายเดือนตุลาคม เป็น 523,000 แสนร้านแล้ว และในจำนวนนี้เป็นหาบเร่แผงลอยมากกว่า 70,000 ราย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นายกรัฐมนตรีกังวลก็คือ การฉวยโอกาสจากโครงการฯ เช่น การคิดราคาสินค้าที่สูงขึ้น หรือการทำธุรกรรมที่ไม่มีการซื้อขายจริง รัฐบาลจึงขอความร่วมมือจากประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่าให้มีการดำเนินการไปในทางมิชอบ ไม่ทำลายบรรยากาศของการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจริงให้โครงการนี้ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและโปร่งใส
ในส่วนของธนาคารกรุงไทย ได้วางระบบการป้องกันการทุจริตในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้แล้ว และจะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชันตลอดจนการจ่ายเงินทั้งฝั่งร้านค้าและประชาชนทันที หากพบการใช้จ่ายผิดเงื่อนไข และอาจมีการดำเนินการตามกฎหมายตามความผิดฐานฉ้อโกง
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 มีร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 523,000 ร้านค้า และมีผู้ใช้สิทธิแล้วจำนวน 7.1 ล้านคน โดยมียอดการใช้จ่ายสะสม 7,629 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 3,888 ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก 3,741 ล้านบาท ยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 216 บาทต่อครั้ง สำหรับจังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเปิดให้มีการลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง รอบสอง ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ระหว่างเวลา 06.00-23.00 น. และในส่วนของการเพิ่มจำนวนร้านค้า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไปก่อนหน้านี้ ให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง ร่วมกันอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย เพราะมีจำนวนมากที่สนใจร่วมโครงการฯ แต่มีความกังวลเรื่องการทำธุรกรรมผ่านมือถือและวิธีการลงทะเบียน
ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์โครงการฯ และอำนวยความสะดวกในเรื่องการรับรองว่าเป็นร้านค้าจริง ตั้งเป้าอยากให้มี 1 ล้านร้านค้า จะได้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ที่ผ่านมา จำนวนร้านค้าเพิ่มขึ้นมาก จาก 300,000 ร้าน ช่วงปลายเดือนตุลาคม เป็น 523,000 แสนร้านแล้ว และในจำนวนนี้เป็นหาบเร่แผงลอยมากกว่า 70,000 ราย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นายกรัฐมนตรีกังวลก็คือ การฉวยโอกาสจากโครงการฯ เช่น การคิดราคาสินค้าที่สูงขึ้น หรือการทำธุรกรรมที่ไม่มีการซื้อขายจริง รัฐบาลจึงขอความร่วมมือจากประชาชนและร้านค้าให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่าให้มีการดำเนินการไปในทางมิชอบ ไม่ทำลายบรรยากาศของการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจริงให้โครงการนี้ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย โดยใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและโปร่งใส
ในส่วนของธนาคารกรุงไทย ได้วางระบบการป้องกันการทุจริตในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้แล้ว และจะมีการระงับการใช้แอปพลิเคชันตลอดจนการจ่ายเงินทั้งฝั่งร้านค้าและประชาชนทันที หากพบการใช้จ่ายผิดเงื่อนไข และอาจมีการดำเนินการตามกฎหมายตามความผิดฐานฉ้อโกง