คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) แถลงการณ์ ครป.ฉบับที่ 7/2563 คัดค้านการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อ “กระชับอำนาจ” ทางการเมือง
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม เวลา 04.00 น. เป็นต้นไปนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้ติดตามสถานการณ์เมืองด้วยความห่วงใยมาโดยตลอด มีความเห็นและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอคัดค้านการใช้อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อแก้ไขปัญหาการชุมนุมทางการเมือง อันมีสาเหตุมาจากวิกฤตศรัทธาต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเอง การใช้อำนาจพิเศษที่เหนือกว่าอำนาจทางปกครองปกติเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองโดยตรง มากกว่าการตั้งใจแก้ไขปัญหาสนิมที่เกิดจากเนื้อในตน อำนาจพิเศษดังกล่าวรวมถึงข้อกำหนดประกาศห้ามมิให้มีการชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไปและข้อกำหนดอื่นๆ จะนำมาสู่การใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดมีอำนาจครอบจักรวาล ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจและไม่ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา เนื่องจากการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
2.รัฐบาลและหรือรัฐสภาสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองได้โดยการเปิดการเจรจาทางการเมืองและเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างกติกาประเทศร่วมกันโดยเร็ว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงเป็นเพียง “การกระชับอำนาจ” ของนายกรัฐมนตรีเท่านั้นภายหลังมีข้อเรียกร้องให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบปัญหาความขัดแย้งที่ตนเองสร้างขึ้น นอกจากนั้นการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวยังมีขึ้นภายหลังแกนนำคณะราษฎรประกาศยุติการชุมนุมแล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะออกประกาศบังคับใช้อำนาจพิเศษโดยอ้างความมั่นคงใดๆ และการสลายการชุมนุมนั้นไม่เป็นลำดับขั้นตอนตามหลักสากลที่ต้องทำตามลำดับและต้องร้องขอคำสั่งจากศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือพื้นที่ที่มีการชุมนุมก่อนเพื่อให้มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม และต้องติดคำสั่งศาลหรือประกาศให้ทราบก่อน
3.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอคัดค้านการใช้ทหารเข้ามาแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในและควบคุมการชุมนุมของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังปรากฎมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาควบคุมและรักษาความสงบภายในรัฐสภา มีบัญชาให้กองทัพภาคที่ 1 ระดมกำลังเข้ากรุงเทพฯ และกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) เข้าควบคุมและรักษาความสงบรอบทำเนียบรัฐบาล ภารกิจดังกล่าวควรเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้วตามกฎหมายปกติที่มีอยู่และการจัดการการชุมนุมบนถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ควรใช้ทหารเข้ามายุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองดังมีบทเรียนตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535
4.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอให้รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำที่ถูกควบคุมสิทธิเสรีภาพโดยไม่สมัครใจ ภายใต้การใช้อำนาจโดยมิชอบและตั้งข้อหาความผิดตามกฎหมายมาตรา 116 เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงโดยถือว่าผู้ชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลเป็นภัยความมั่นคงของรัฐไปหมดทุกคน รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวิถีทางการเมืองและคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในการใข้สิทธิการชุมนุมทุกครั้ง เนื่องจากหากรัฐบาลหมดความชอบธรรมแล้ว อำนาจในการใช้กฎหมายก็จะหมดความชอบธรรมไปด้วย
5.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยหยุดการโฆษณาชวนเชื่อ การยั่วยุความรุนแรงโดยสงครามข่าวสาร การเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่นำไปสู่ความเกลียดชังและปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงทั้งจากภาครัฐและในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง โดยกลไกรัฐที่เกี่ยวข้องต้องไม่สร้างเงื่อนไขดังกล่าว และร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนและติดตามการแก้ไขปัญทางการเมืองของรัฐบาลต่อไปในวิถีประชาธิปไตยและสันติ หากเกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้นต่อไปนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างถึงที่สุด
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม เวลา 04.00 น. เป็นต้นไปนั้น คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้ติดตามสถานการณ์เมืองด้วยความห่วงใยมาโดยตลอด มีความเห็นและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอคัดค้านการใช้อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงเพื่อแก้ไขปัญหาการชุมนุมทางการเมือง อันมีสาเหตุมาจากวิกฤตศรัทธาต่อการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเอง การใช้อำนาจพิเศษที่เหนือกว่าอำนาจทางปกครองปกติเป็นการละเมิดสิทธิพลเมืองโดยตรง มากกว่าการตั้งใจแก้ไขปัญหาสนิมที่เกิดจากเนื้อในตน อำนาจพิเศษดังกล่าวรวมถึงข้อกำหนดประกาศห้ามมิให้มีการชุมนุมเกิน 5 คนขึ้นไปและข้อกำหนดอื่นๆ จะนำมาสู่การใช้อำนาจละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดมีอำนาจครอบจักรวาล ขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจและไม่ต้องรับผิดทางแพ่งและอาญา เนื่องจากการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
2.รัฐบาลและหรือรัฐสภาสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งจากการชุมนุมทางการเมืองได้โดยการเปิดการเจรจาทางการเมืองและเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างกติกาประเทศร่วมกันโดยเร็ว การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงจึงเป็นเพียง “การกระชับอำนาจ” ของนายกรัฐมนตรีเท่านั้นภายหลังมีข้อเรียกร้องให้ลาออกเพื่อรับผิดชอบปัญหาความขัดแย้งที่ตนเองสร้างขึ้น นอกจากนั้นการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวยังมีขึ้นภายหลังแกนนำคณะราษฎรประกาศยุติการชุมนุมแล้ว จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะออกประกาศบังคับใช้อำนาจพิเศษโดยอ้างความมั่นคงใดๆ และการสลายการชุมนุมนั้นไม่เป็นลำดับขั้นตอนตามหลักสากลที่ต้องทำตามลำดับและต้องร้องขอคำสั่งจากศาลแพ่งหรือศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจเหนือพื้นที่ที่มีการชุมนุมก่อนเพื่อให้มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม และต้องติดคำสั่งศาลหรือประกาศให้ทราบก่อน
3.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอคัดค้านการใช้ทหารเข้ามาแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในและควบคุมการชุมนุมของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศ ดังปรากฎมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาควบคุมและรักษาความสงบภายในรัฐสภา มีบัญชาให้กองทัพภาคที่ 1 ระดมกำลังเข้ากรุงเทพฯ และกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) เข้าควบคุมและรักษาความสงบรอบทำเนียบรัฐบาล ภารกิจดังกล่าวควรเป็นบทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งทำหน้าที่ได้ดีอยู่แล้วตามกฎหมายปกติที่มีอยู่และการจัดการการชุมนุมบนถนนราชดำเนินเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ควรใช้ทหารเข้ามายุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองดังมีบทเรียนตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535
4.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอให้รัฐบาลปล่อยตัวแกนนำที่ถูกควบคุมสิทธิเสรีภาพโดยไม่สมัครใจ ภายใต้การใช้อำนาจโดยมิชอบและตั้งข้อหาความผิดตามกฎหมายมาตรา 116 เกินเลยไปจากข้อเท็จจริงโดยถือว่าผู้ชุมนุมที่ต่อต้านรัฐบาลเป็นภัยความมั่นคงของรัฐไปหมดทุกคน รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองด้วยวิถีทางการเมืองและคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในการใข้สิทธิการชุมนุมทุกครั้ง เนื่องจากหากรัฐบาลหมดความชอบธรรมแล้ว อำนาจในการใช้กฎหมายก็จะหมดความชอบธรรมไปด้วย
5.คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขอเรียกร้องให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชน ร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง โดยหยุดการโฆษณาชวนเชื่อ การยั่วยุความรุนแรงโดยสงครามข่าวสาร การเผยแพร่ข้อมูลเท็จที่นำไปสู่ความเกลียดชังและปลุกระดมให้เกิดความรุนแรงทั้งจากภาครัฐและในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง โดยกลไกรัฐที่เกี่ยวข้องต้องไม่สร้างเงื่อนไขดังกล่าว และร่วมกันปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนและติดตามการแก้ไขปัญทางการเมืองของรัฐบาลต่อไปในวิถีประชาธิปไตยและสันติ หากเกิดความรุนแรงใดๆ ขึ้นต่อไปนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลจะต้องรับผิดชอบอย่างถึงที่สุด