นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยถึงแนวทางการพิจารณา 6 ญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่จะประชุมวิปฯ 3 ฝ่าย ว่า การประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 23-24 กันยายนนี้ จะเป็นการประชุมวิปร่วม 3 ฝ่าย โดยพรรคร่วมรัฐบาลเสนอไป 1 ร่าง คือญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 โดยไม่ต้องแตะหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 คือบททั่วไปและบทพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนนี้เห็นตรงกับพรรคร่วมฝ่ายค้านที่เสนอ
ทั้งนี้ ส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลถือเป็นกลางมากที่สุด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งตนรับผิดชอบเป็นตัวแทนในการเจรจา เพราะฉะนั้นข้อมูลต่างๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางส่วนให้เหมาะสมกับบ้านเมือง
สำหรับอีก 4 ญัตติ ที่เป็นการปิดสวิตช์ ส.ว. และให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบนั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายค้านจะเสนอ แต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ยื่นไป ซึ่งตนมองว่าเป็นภาระในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละร่างต้องใช้การโหวตยืนขานชื่อทีละคน ทั้งหมด 750 คน จากนั้นจึงนับคะแนน ซึ่งจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงต่อญัตติ ซึ่ง 6 ญัตติจะใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใช้เวลาเร็วขึ้น โดย 1 คน โหวตทีเดียว 6 ญัตติ ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง แต่ต้องอยู่ที่องค์ประกอบของ ส.ส. และ ส.ว. ว่าจะได้รับการร่วมมือมากน้อยเพียงใด หากเป็นไปตามคาดการณ์จะใช้เวลา 2 วัน
ทั้งนี้ หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นจะดำเนินการผ่านรัฐสภาอีกรอบ และหากการโหวตผ่านจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทันที ซึ่งหากไม่ผ่านจะส่งทำประชามติอีกครั้ง จากนั้นถือว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ได้ทันที
ทั้งนี้ ส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลถือเป็นกลางมากที่สุด โดยจะทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง ส.ส. และ ส.ว. ซึ่งตนรับผิดชอบเป็นตัวแทนในการเจรจา เพราะฉะนั้นข้อมูลต่างๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานความต้องการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางส่วนให้เหมาะสมกับบ้านเมือง
สำหรับอีก 4 ญัตติ ที่เป็นการปิดสวิตช์ ส.ว. และให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบนั้น เป็นสิทธิ์ที่ฝ่ายค้านจะเสนอ แต่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้ยื่นไป ซึ่งตนมองว่าเป็นภาระในการดำเนินการ ซึ่งแต่ละร่างต้องใช้การโหวตยืนขานชื่อทีละคน ทั้งหมด 750 คน จากนั้นจึงนับคะแนน ซึ่งจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงต่อญัตติ ซึ่ง 6 ญัตติจะใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ใช้เวลาเร็วขึ้น โดย 1 คน โหวตทีเดียว 6 ญัตติ ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง แต่ต้องอยู่ที่องค์ประกอบของ ส.ส. และ ส.ว. ว่าจะได้รับการร่วมมือมากน้อยเพียงใด หากเป็นไปตามคาดการณ์จะใช้เวลา 2 วัน
ทั้งนี้ หลังร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นจะดำเนินการผ่านรัฐสภาอีกรอบ และหากการโหวตผ่านจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทันที ซึ่งหากไม่ผ่านจะส่งทำประชามติอีกครั้ง จากนั้นถือว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ได้ทันที