สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ชี้แจงกรณีดาวเคราะห์น้อย '2010 FR' จะผ่านเข้ามาใกล้โลกในสัปดาห์นี้ ว่า แม้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะใหญ่กว่ามหาพีระมิดแห่งกีซาในประเทศอียิปต์ แต่ก็อยู่ห่างจากโลกมาก ไม่เป็นอันตราย
ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563 ดาวเคราะห์น้อย 2010 FR จะโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดประมาณ 7.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 19.3 เท่าของระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงจันทร์ จากระยะห่างดังกล่าวถือว่าไม่ต้องกังวลว่าจะเข้ามาชนโลก แต่เนื่องจากมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น นักดาราศาสตร์จึงยังคงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
ดาวเคราะห์น้อย 2010 FR ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 439 วัน ค้นพบโดยหอดูดาวคาตาลินา สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2553 มีขนาดประมาณ 270 เมตร หรือใหญ่กว่ามหาพีระมิดแห่งกีซาในประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ยังจัดเป็นวัตถุใกล้โลก (Near Earth Object) ประเภทดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยง (Potentially Hazardous Asteroid) ด้วย
นักดาราศาสตร์ต่างทราบดีว่า เป็นเรื่องที่ยากมากที่ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางจะพุ่งชนโลก แต่ถึงกระนั้นโอกาสที่โลกจะถูกชนก็ไม่เคยเป็นศูนย์ สิ่งที่รับประกันความปลอดภัยของโลกจากวัตถุจากอวกาศ คือ ความรู้และเทคโนโลยีในการค้นหา ติดตาม แล้วจึงหาวิธีป้องกันโลกจากภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563 ดาวเคราะห์น้อย 2010 FR จะโคจรเข้ามาใกล้โลกที่สุดประมาณ 7.4 ล้านกิโลเมตร หรือ 19.3 เท่าของระยะทางเฉลี่ยจากโลกถึงดวงจันทร์ จากระยะห่างดังกล่าวถือว่าไม่ต้องกังวลว่าจะเข้ามาชนโลก แต่เนื่องจากมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น นักดาราศาสตร์จึงยังคงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
ดาวเคราะห์น้อย 2010 FR ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 439 วัน ค้นพบโดยหอดูดาวคาตาลินา สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2553 มีขนาดประมาณ 270 เมตร หรือใหญ่กว่ามหาพีระมิดแห่งกีซาในประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ยังจัดเป็นวัตถุใกล้โลก (Near Earth Object) ประเภทดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยง (Potentially Hazardous Asteroid) ด้วย
นักดาราศาสตร์ต่างทราบดีว่า เป็นเรื่องที่ยากมากที่ดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางจะพุ่งชนโลก แต่ถึงกระนั้นโอกาสที่โลกจะถูกชนก็ไม่เคยเป็นศูนย์ สิ่งที่รับประกันความปลอดภัยของโลกจากวัตถุจากอวกาศ คือ ความรู้และเทคโนโลยีในการค้นหา ติดตาม แล้วจึงหาวิธีป้องกันโลกจากภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ