ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ถึงกรณีหญิงไทย 2 คน ถูกตรวจพบเชื้อโควิด-19 หลังพ้นการกักกันโรค 14 วัน ว่า มีความเป็นไปได้ ดังนี้
1. ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2 ถึง 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมาก ถึง 21 วัน ดังนั้น ในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน การกระจายโรค
2. การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้ว ก็เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วัน ที่อยู่ในสถานที่กักกัน ในอดีตเช่นในเรือสำราญ ดังนั้นในสถานที่กักกัน เราจึงเคร่งครัดไม่ให้มีการพบปะกันระหว่างผู้ที่กักกันด้วยกัน หรือบุคคลภายนอก
3. ผู้ป่วยนั้นมาติดเชื้อในประเทศไทย โอกาสนี้เป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 80 วันแล้ว
4. มีความเป็นไปได้ที่ผู้นั้นติดเชื้อมาจากต่างประเทศ หรือป่วยอยู่ต่างประเทศแล้ว และเมื่อมาถึงเมืองไทย เชื้อมีปริมาณน้อย ในบางช่วงก็ตรวจไม่พบ และต่อมา หรือบางช่วง ก็ตรวจพบ อย่างเช่นการระบาดในรอบแรกของเรา เราได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พบว่าก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อแล้ว หลังจากนั้นเราติดตาม ก็ยังมีการพบเชื้อ แต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก ในการติดตามระยะยาวที่เราทำการศึกษา จำนวน 212 ราย พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว เรายังตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย เราได้เผยแพร่ในวารสารhttps://www.biorxiv.org/content/10.1101/2020.07.17.208439v1.full.pdf?fbclid=IwAR3sz0TlblDOfsO0ROXekj5l6mvKGfaIjlMvyi9GwXcYRnNXA_2hiVUCxUI
เราพบไวรัสได้หลังจากมีอาการ 36– 105 วัน แต่ปริมาณไวรัสที่พบน้อยมาก
ดังนั้น การพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อย โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ ดังข้อมูลในการระบาดรอบแรก ที่เราได้ทำการศึกษาถึงแม้จะตรวจพบเชื้อ ก็ไม่พบว่าแพร่กระจายไปสู่ผู้ใดเลย
1. ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะเป็น 2 ถึง 7 วัน อาจพบได้ถึง 14 วัน และอาจจะเป็นไปได้น้อยมาก ถึง 21 วัน ดังนั้น ในทางปฏิบัติผู้ที่พ้นระยะการกักกันโรค 14 วัน มักจะแนะนำให้ไปกักกันที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการป้องกัน การกระจายโรค
2. การตรวจพบเชื้อหลังจาก 14 วันไปแล้ว ก็เป็นไปได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วง 14 วัน ที่อยู่ในสถานที่กักกัน ในอดีตเช่นในเรือสำราญ ดังนั้นในสถานที่กักกัน เราจึงเคร่งครัดไม่ให้มีการพบปะกันระหว่างผู้ที่กักกันด้วยกัน หรือบุคคลภายนอก
3. ผู้ป่วยนั้นมาติดเชื้อในประเทศไทย โอกาสนี้เป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้ไม่พบการติดต่อเกิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 80 วันแล้ว
4. มีความเป็นไปได้ที่ผู้นั้นติดเชื้อมาจากต่างประเทศ หรือป่วยอยู่ต่างประเทศแล้ว และเมื่อมาถึงเมืองไทย เชื้อมีปริมาณน้อย ในบางช่วงก็ตรวจไม่พบ และต่อมา หรือบางช่วง ก็ตรวจพบ อย่างเช่นการระบาดในรอบแรกของเรา เราได้ทำการศึกษาร่วมกับสำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พบว่าก่อนกลับจากโรงพยาบาลตรวจไม่พบเชื้อแล้ว หลังจากนั้นเราติดตาม ก็ยังมีการพบเชื้อ แต่เชื้อมีปริมาณน้อยมาก ในการติดตามระยะยาวที่เราทำการศึกษา จำนวน 212 ราย พบว่าในช่วง 4-12 สัปดาห์ หลังจากที่มีอาการ และผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว เรายังตรวจพบเชื้อได้ประมาณร้อยละ 6.6 ของผู้ป่วย เราได้เผยแพร่ในวารสารhttps://www.biorxiv.org/content/10.1101/2020.07.17.208439v1.full.pdf?fbclid=IwAR3sz0TlblDOfsO0ROXekj5l6mvKGfaIjlMvyi9GwXcYRnNXA_2hiVUCxUI
เราพบไวรัสได้หลังจากมีอาการ 36– 105 วัน แต่ปริมาณไวรัสที่พบน้อยมาก
ดังนั้น การพบเชื้อดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีอาการ รวมทั้งการตรวจปริมาณไวรัส ถ้ามีเป็นจำนวนน้อย โอกาสที่จะแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่นก็น้อยมากๆ ดังข้อมูลในการระบาดรอบแรก ที่เราได้ทำการศึกษาถึงแม้จะตรวจพบเชื้อ ก็ไม่พบว่าแพร่กระจายไปสู่ผู้ใดเลย