ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง 8 วิธี เปลี่ยนผิวเหลือง ผิวขาวซีด เป็นผิวขาวอมชมพูได้นั้น ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากการที่จะเปลี่ยนให้คนที่มีผิวขาวเหลืองเป็นขาวอมชมพูได้นั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสิ่งที่ทำให้ผิวมีความแตกต่างกันคือ เม็ดสี หรือเมลานิน (Melnin) โดยเมลานินจะอยู่บริเวณชั้นผิวหนังกำพร้า ถูกผลิตขึ้นโดยเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จากชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า ก่อนจะถูกส่งขึ้นมาสู่ชั้นบนเป็นทอด ๆ ซึ่งเมลานินที่ถูกผลิตขึ้นมานี้ มี 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Umelnin) ซึ่งมีสีดำ น้ำตาลเข้ม และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีสีแดง เหลือง
ทั้งนี้ เมลานินทั้งสองชนิดนี้ มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล สัดส่วนที่แตกต่างกันไปของเมลานินที่ผลิตออกมาทำให้สีผิวของเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ชาวแอฟริกัน หรืออเมริกาใต้ หรือผู้ที่มีผิวคล้ำจะมีสัดส่วนของยูเมลานินมากกว่า ขณะที่คนผิวขาว เอเซีย จีน หรือยุโรป จะมีสัดส่วนของฟีโอเมลานินมากกว่า ดังนั้น การที่คนเราจะมีผิวขาวเหลือง หรือขาวอมชมพู จึงขึ้นกับสัดส่วนของเมลานินในชั้นผิวหนัง
ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เนื่องจากการที่จะเปลี่ยนให้คนที่มีผิวขาวเหลืองเป็นขาวอมชมพูได้นั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสิ่งที่ทำให้ผิวมีความแตกต่างกันคือ เม็ดสี หรือเมลานิน (Melnin) โดยเมลานินจะอยู่บริเวณชั้นผิวหนังกำพร้า ถูกผลิตขึ้นโดยเมลาโนไซต์ (Melanocyte) จากชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า ก่อนจะถูกส่งขึ้นมาสู่ชั้นบนเป็นทอด ๆ ซึ่งเมลานินที่ถูกผลิตขึ้นมานี้ มี 2 ชนิด ได้แก่ ยูเมลานิน (Umelnin) ซึ่งมีสีดำ น้ำตาลเข้ม และฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) ซึ่งมีสีแดง เหลือง
ทั้งนี้ เมลานินทั้งสองชนิดนี้ มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล สัดส่วนที่แตกต่างกันไปของเมลานินที่ผลิตออกมาทำให้สีผิวของเราแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ชาวแอฟริกัน หรืออเมริกาใต้ หรือผู้ที่มีผิวคล้ำจะมีสัดส่วนของยูเมลานินมากกว่า ขณะที่คนผิวขาว เอเซีย จีน หรือยุโรป จะมีสัดส่วนของฟีโอเมลานินมากกว่า ดังนั้น การที่คนเราจะมีผิวขาวเหลือง หรือขาวอมชมพู จึงขึ้นกับสัดส่วนของเมลานินในชั้นผิวหนัง
ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์