พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครั้งที่ 1 /2563 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ทุกอำเภอในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยกเว้นอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอสุคิริน และอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2563 และสิ้นสุดในวันที่ 19 มิถุนายน 2563
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการป้องกันและระงับยับยั้งเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทพย์สินของประชาชน ควบคู่กับการส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม อาทิ 1.การกำหนดแนวทางการลงทะเบียนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้มีความเหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ การพัฒนาระบบข้อมูลด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่ และการเร่งรัดบรรจุพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ในการป้องกันและระงับยับยั้งเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทพย์สินของประชาชน ควบคู่กับการส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไป
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มเติม อาทิ 1.การกำหนดแนวทางการลงทะเบียนการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้มีความเหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ การพัฒนาระบบข้อมูลด้านการสืบสวนสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่ และการเร่งรัดบรรจุพนักงานสอบสวนคดีความมั่นคงในพื้นที่ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น