ตามที่มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้น้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบรรเทาทุกข์ เรื่องปัญหาในเรื่องมลพิษทางอากาศ อันเนื่องมาจากฝุ่นที่มีขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง โดยได้ดำเนินการจัดสร้างเครื่องบำบัดอากาศท่ีมีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ จำนวน 4 เครื่อง และได้ตรวจสอบการสาธิตการทดสอบเครื่องบำบัดอากาศท่ีมีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ณ บริเวณหน้าอาคารสานักงาน มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ โดยมี นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ในฐานะนายกมูลนิธิ ราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิฯ พันเอก ประเสริฐ โชติช่วง ผู้ควบคุมการสาธิต และมีคณะกรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ เป็นคณะร่วมปฏิบัติการคร้ังนี้
ล่าสุดค่ำวานนี้ 22 ม.ค.62 เวลา 21.00 น. น.อ.สมศักดิ์ คงโชติ รองผู้อำนวยการกรมอู่ทหารเรือ (อธบ.อร) นำเจ้าหน้าที่จาก อธบ.อร. จำนวน 35 นาย ร่วมกับกรมขนส่งทหารเรือ (ขส.ทร.) และกรมสารวัตรทหารเรือ (กรม สห.ทร.) ดำเนินการเคลื่อนย้ายเครื่องบำบัดฝุ่น PM2.5 จำนวน 4 เครื่อง จากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มาติดตั้งที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมี นางสาวรุจิรา อารินทร์ ผู้อำนวยการเขตราชเทวี พร้อมเจ้าหน้าที่จาก กทม.ให้การต้อนรับ และอำนวยความสะดวก
โดยเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 ต้นแบบ เป็นระบบบำบัดอากาศแบบเปียก อากาศ จะถูกดูดเข้ามาในเครื่องบำบัดด้วยพัดลมดูดอากาศ ผ่านเข้ามาจะถูกทำให้เกิดการอัดตัวโดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เวนทูรีสครับเบอร์” โดยใช้นำ้เป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ติดมากับมวลอากาศ ซึ่งรูปแบบการใช้นั้นออกแบบไว้ 2 รูปแบบ คือ 1.แบบเป็นฟิล์มไหลเคลือบผิวท่อเวนทูรี ซึ่งน้าส่วนนี้จะถูกอากาศที่อัดเข้ามาด้วย ความเร็วและแรงดันสูงทำให้ฟิล์มนั้นกลายเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก และ 2.แบบพ่นเป็นละอองฝอย ละอองฝอยนำ้ทั้งหมดจะทำหน้าท่ีดักจับโดยการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ที่ปนเปื้อนอยู่ในเน้ืออากาศให้เข้ามาอยู่ในเนื้อละอองน้ำแทน
กระบวนการนี้เรียกว่า “การสครับ”จากนั้นทั้งอากาศและละอองนำ้จะถูกบังคับให้ไหลลงไปด้านล่างยังถังนำ้หมุนวน ที่ 1 ซึ่งละอองนำ้ส่วนใหญ่จะเกิดการควบแน่น และถูกจัดเก็บอยู่ในถังนำ้มวลอากาศทั้งหมดและละอองน้ำบางส่วน ที่ยังไม่ควบแน่นจะไหลต่อไปยังถังดักจับละอองนำ้โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “demist vane” ซึ่งละอองนำ้จะควบแน่นและ ไหลไปรวมตัวกันที่ในถังในส่วนที่เรียกว่า“ถังนำ้หมุนวนที่2 อากาศที่ผ่านการบาบัดแล้วทั้งหมดจะไหลออกกลับคืน สู่ด้านนอกทางปล่องปล่อยออก โดยออกแบบเป็นรูปตัวที (T) ที่มีฝาปิด-เปิดเพื่อให้สามารถเลือกรูปแบบการปล่อย ออกแบบทิศทางเดียว หรือสองทิศทางได้ และฝาปิด-เปิดสามารถปรับระดับองศาการปิด-เปิดได้ เพื่อให้สามารถกำหนดมุมองศาการปล่อยอากาศที่บำบัดแล้ว ออกไปยังจุดพื้นที่และระดับความสูงที่ต้องการได้
เครื่องที่จัดสร้างขึ้นมีขีดความสามารถบำบัด อากาศที่ระดับชั้น 3 เมตรได้ เท่ากับ 0.086 ตารางกิโลเมตร ต่อ 12 ชั่วโมง ถ้าอากาศที่จะบำบัดมีค่าความ เข้มข้น PM 2.5 เท่ากับ 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุก ๆ 1 วินาที เครื่องจะปล่อยอากาศที่บาบัดแล้ว ได้ 2 ลูกบาศก์เมตร ที่ค่าความเข้มข้น PM 2.5 เท่ากับ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (คิดประสิทธิภาพการ บาบัดที่ 85%) ซึ่งต่ากว่าค่ามาตรฐานอนามัยโลกที่กาหนดระดับดีมากไว้ที่ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ เมื่อนาอากาศที่บาบัดแล้วนี้ปล่อยไปยังอากาศที่ยังไม่ได้บำบัด จะได้ว่าอากาศที่ยังไม่ได้บาบัดจะถูก อากาศที่บาบัดแล้วไปเจือจางความเข้มข้นของอากาศที่ยังไม่ได้บาบัดลดลงจาก 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เหลืออยู่ที่ 57.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้น ในการดูดอากาศเข้าบาบัดหนึ่งครั้ง อากาศจะได้รับการ บำบัดสองส่วน คืออากาศที่ได้รับการบำบัดจากเครื่อง และอากาศที่ได้รับการบำบัดจากการเจือจาง ทำให้ทุกวินาที อากาศได้รับการบำบัดเป็น 4 ลูกบาศก์เมตร
สำหรับพื้นที่เปิดขนาดใหญ่ โมเดลได้กำหนดรูปแบบการบำบัด อากาศโดยตีเส้นกริดโซน หนึ่งหน่วยกริดโซนจะใช้เครื่องบำบัด 4 เครื่อง ตั้งจุดบำบัดที่มุมทั้งสี่ของตารางกริด ขนาดหน่วยตารางกริดสามารถกำหนดได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น 1 ตารางกิโลเมตรต่อหนึ่งตารางกริด 4 เครื่อง จะบำบัดอากาศได้ 0.7ตารางกิโลเมตร ในเวลาปฏิบัติงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน
ทั้งนี้ โมเดลการบำบัดที่คิดขึ้นได้ พัฒนารูปแบบทิศทาง และจุดของการดูดอากาศที่จะบำบัดและการปล่อยอากาศที่บำบัดแล้วให้เหมาะสมกับ สภาวะเงื่อนไขทางกายภาพของพื้นที่ที่จะบำบัด เช่น พื้นที่ในเมือง เขตโรงพยาบาล โรงเรียน สนามบิน พื้นที่ แอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบ เป็นต้น การเลือกกำหนดรูปแบบการดูดและปล่อยออกนี้สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการบำบัดได้อย่างมาก เครื่องขนาดเล็กแต่เมื่อนำหลักการของโมเดลไปประยุกต์ใช้จะทำให้ สามารถบำบัดอากาศได้ในพื้นที่เปิดที่มีเงื่อนไขทางภาพที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี