นายรักษ์ศักดิ์ สุริยหาร รองผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ เปิดเผยว่า กรมชลประทาน และ กปน. ได้ร่วมดำเนินการทดลองกระแทกลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยวิธี Water Hammer of Chao Phraya River Flow Operation เมื่อวันที่ 25-26 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา โดย กปน. หยุดการสูบน้ำดิบเข้าคลองประปาในช่วงเวลาที่น้ำเริ่มลง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขณะที่กรมชลประทานปรับแผนการระบายน้ำจากเขื่อนพระรามหก จาก 5 เป็น 15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งเปิดประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ในช่วงน้ำลงเพื่อเร่งการเคลื่อนตัวลงของน้ำให้เร็วขึ้น และปิดในช่วงเวลาน้ำขึ้น เพื่อชะลอการหนุนของน้ำให้ช้าลง ซึ่งผลการปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างดี มวลน้ำที่ระบายออกมาสามารถผลักดันลิ่มความเค็มจากน้ำทะเลหนุนสูง ให้ไกลจากสถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำดิบของ กปน. ถึง 5-6 กิโลเมตร
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ พบว่า วันที่ 13-14 มกราคมนี้ จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด ทางกรมชลประทาน และ กปน. จะเริ่มปฏิบัติการ Water Hammer อีกครั้ง เพื่อเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบในช่วงเวลาดังกล่าว และคาดว่าภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะเกิดอีกครั้ง ราววันที่ 26-27 มกราคม โดยทั้งสองหน่วยงานจะติดตามข้อมูลความเค็มอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันหาแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ พบว่า วันที่ 13-14 มกราคมนี้ จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุด ทางกรมชลประทาน และ กปน. จะเริ่มปฏิบัติการ Water Hammer อีกครั้ง เพื่อเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบในช่วงเวลาดังกล่าว และคาดว่าภาวะน้ำทะเลหนุนสูงสุดจะเกิดอีกครั้ง ราววันที่ 26-27 มกราคม โดยทั้งสองหน่วยงานจะติดตามข้อมูลความเค็มอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันหาแนวทางบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด