ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศ ปรับปรุงเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปที่ 1.25% นั้น มีผลต่อจังหวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่เริ่มขยับอ่อนค่าเล็กน้อย
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อาจต้องใช้เวลาอีกระยะในการติดตามผล เนื่องจากสถานการณ์ในระยะข้างหน้า ยังขึ้นอยู่กับการปรับตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผูกโยงกับบทสรุปของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ธปท.ยังคงมีเครื่องมือและมาตรการที่จะเข้าไปดูแลเสถียรภาพของเงินบาทได้เพิ่มเติมหากมีความจำเป็น ซึ่งเมื่อประกอบกับมุมมองในเชิงบวกที่เพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้เชื่อว่าเงินบาทน่าจะมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า อาจต้องใช้เวลาอีกระยะในการติดตามผล เนื่องจากสถานการณ์ในระยะข้างหน้า ยังขึ้นอยู่กับการปรับตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งผูกโยงกับบทสรุปของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน
อย่างไรก็ตาม คาดว่า ธปท.ยังคงมีเครื่องมือและมาตรการที่จะเข้าไปดูแลเสถียรภาพของเงินบาทได้เพิ่มเติมหากมีความจำเป็น ซึ่งเมื่อประกอบกับมุมมองในเชิงบวกที่เพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้เชื่อว่าเงินบาทน่าจะมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต