นายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวถึงภาพรวมการแก้ไขพื้นที่ทับซ้อนในพื้นที่ป่า จ.แม่ฮ่องสอน ว่า จ.แม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ทำกินของประชาชนในพื้นที่ป่าทั้งส่วนเขตอนุรักษ์ และป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาโดยแบ่งพื้นที่ทับซ้อนเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นลุ่มน้ำชั้น 1 ชั้น 2 ที่มีความสูงชัน และส่วนที่สอง เป็นลุ่มน้ำที่ลาดชันน้อยเป็นลุ่มน้ำ 3 4 5 ที่รัฐบาลกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ในที่ดินทับซ้อนพื้นที่ให้เหมาะสมแก่ประชาชน โดยพื้นที่ที่อยู่ในลุ่มน้ำ 3 4 5 มีการจัดหาที่ดินทำกินให้กับประชาชนที่ใช้พื้นที่ทำกินมาก่อนปี 2545 จะได้รับการจัดสรรที่ดินในลักษณะแปลงรวม
สำหรับประชาชนที่ใช้พื้นที่ทำกินหลังปี 2545 กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กำหนดมาตรการให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้เงื่อนไขที่หากเป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ จะไม่ให้ขยายพื้นที่ทำกินเพิ่ม หากเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จะอนุโลมให้ใช้พื้นที่ทำกินได้แบบผสมผสาน
ทั้งนี้ จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายให้ต้องมีพื้นป่าทั่วประเทศอย่างน้อยร้อยละ 40 โดยต้องเป็นป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และอีกร้อยละ 15 เป็นป่าเศรษฐกิจ ซึ่งต้องส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่าที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้
สำหรับประชาชนที่ใช้พื้นที่ทำกินหลังปี 2545 กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กำหนดมาตรการให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้เงื่อนไขที่หากเป็นพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ จะไม่ให้ขยายพื้นที่ทำกินเพิ่ม หากเป็นพื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จะอนุโลมให้ใช้พื้นที่ทำกินได้แบบผสมผสาน
ทั้งนี้ จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายให้ต้องมีพื้นป่าทั่วประเทศอย่างน้อยร้อยละ 40 โดยต้องเป็นป่าอนุรักษ์ ร้อยละ 25 และอีกร้อยละ 15 เป็นป่าเศรษฐกิจ ซึ่งต้องส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่าที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้