นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้จากรัฐวิสาหกิจในเดือนธันวาคม 2560 สคร. จัดเก็บรายได้แผ่นดินจำนวน 4,413 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายการจัดเก็บรายได้แผ่นดินจำนวน 2,463 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.- ธ.ค. 60) จัดเก็บรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้นจำนวน 43,313 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายสะสมจำนวน 9,557 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ
ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ผลประกอบการที่ดียิ่งขึ้น และสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายการจัดเก็บตามเอกสารงบประมาณ 2561 ที่กำหนดไว้จำนวน 137,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศด้วย
ขณะที่นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุหลักที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดินสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจดีขึ้น
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2561 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 13,384 ล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 8,483 ล้านบาท ธนาคารออมสิน จำนวน 6,525 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 5,693 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 2,510 ล้านบาท
ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 มีนโยบายสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ผลประกอบการที่ดียิ่งขึ้น และสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายการจัดเก็บตามเอกสารงบประมาณ 2561 ที่กำหนดไว้จำนวน 137,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศด้วย
ขณะที่นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุหลักที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดินสูงกว่าเป้าหมาย เนื่องจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจดีขึ้น
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2561 สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 13,384 ล้านบาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 8,483 ล้านบาท ธนาคารออมสิน จำนวน 6,525 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 5,693 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 2,510 ล้านบาท