สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 1,164 คน จากทุกภูมิภาคของประเทศ เรื่อง "รัฐธรรมนูญไทย" ในสายตาประชาชน สืบเนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็น "วันรัฐธรรมนูญ" ซึ่งปัจจุบันมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 นับเป็นฉบับที่ 20 ของประเทศไทย โดยรัฐบาล คสช. ได้พยายามชูจุดแข็งว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง เน้นการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย
จากผลการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 65.12 ที่รับรู้ว่ามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 แล้ว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 เพราะสนใจติดตามข่าวเป็นประจำ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ และมีข่าวความคืบหน้าออกมาเป็นระยะๆ ฯลฯ ขณะที่ร้อยละ 34.88 ไม่รู้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ไม่ได้ติดตามข่าว ไม่สนใจ ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ
สำหรับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 พบว่า ประชาชนร้อยละ 36.29 มองว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง เน้นการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมา ร้อยละ 26.41 อยากให้เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรม ให้ความสำคัญกับประชาชน พัฒนาบ้านเมือง ร้อยละ 26.24 ระบุว่า ควรใช้ได้จริง ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ร้อยละ 23.34 เห็นว่ามีหลายมาตราที่เป็นข้อถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กัน และร้อยละ 13.97 ระบุว่า ยังไม่เห็นผลจากการนำมาใช้ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
ขณะที่จุดแข็งของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ประชาชนร้อยละ 37.07 ระบุว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เน้นการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 25.45 ระบุ เน้นการปฏิรูป พัฒนาคนและประเทศชาติ ร้อยละ 16.63 ระบุ มีบทลงโทษพรรคการเมืองที่รุนแรง ร้อยละ 14.23 ระบุ แก้ไขยาก ทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย และร้อยละ 10.02 ระบุ เปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกฯ ได้
ส่วนจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ประชาชนร้อยละ 26.92 ระบุ ถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ คสช. ร้อยละ 23.46 ระบุ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย ร้อยละ 21.92 ระบุ เน้นเรื่องการเมืองมากกว่าเรื่องประชาชน ร้อยละ 16.54 ระบุ มาจากรัฐบาลทหาร ไม่เป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 13.65 ระบุ เข้าใจยาก มีเนื้อหามาก
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกรณีที่มีนักวิชาการและนักการเมืองออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม พรรคที่ได้ ส.ส.มากที่สุดอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล อาจทำให้ได้รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง เพราะมีกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น เป็นรัฐธรรมนูญฉบับขุนนาง เพราะทำให้รัฐมีอำนาจ เป็นใหญ่ ไม่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ยาก เพราะต้องอาศัยทั้งเสียงจาก ส.ว.และ ส.ส. รวมถึงประเด็นที่ระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องทำให้เกิดการสืบทอดอำนาจของ คสช. และเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องทำให้เกิด "นายกฯ คนนอก"
จากผลการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 65.12 ที่รับรู้ว่ามีการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 20 แล้ว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 เพราะสนใจติดตามข่าวเป็นประจำ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือพิมพ์ และมีข่าวความคืบหน้าออกมาเป็นระยะๆ ฯลฯ ขณะที่ร้อยละ 34.88 ไม่รู้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ไม่ได้ติดตามข่าว ไม่สนใจ ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ฯลฯ
สำหรับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 พบว่า ประชาชนร้อยละ 36.29 มองว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง เน้นการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน รองลงมา ร้อยละ 26.41 อยากให้เป็นกฎหมายที่มีความยุติธรรม ให้ความสำคัญกับประชาชน พัฒนาบ้านเมือง ร้อยละ 26.24 ระบุว่า ควรใช้ได้จริง ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ร้อยละ 23.34 เห็นว่ามีหลายมาตราที่เป็นข้อถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์กัน และร้อยละ 13.97 ระบุว่า ยังไม่เห็นผลจากการนำมาใช้ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
ขณะที่จุดแข็งของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ประชาชนร้อยละ 37.07 ระบุว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่เน้นการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 25.45 ระบุ เน้นการปฏิรูป พัฒนาคนและประเทศชาติ ร้อยละ 16.63 ระบุ มีบทลงโทษพรรคการเมืองที่รุนแรง ร้อยละ 14.23 ระบุ แก้ไขยาก ทำให้ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย และร้อยละ 10.02 ระบุ เปิดโอกาสให้คนนอกมาเป็นนายกฯ ได้
ส่วนจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ประชาชนร้อยละ 26.92 ระบุ ถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ คสช. ร้อยละ 23.46 ระบุ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย ร้อยละ 21.92 ระบุ เน้นเรื่องการเมืองมากกว่าเรื่องประชาชน ร้อยละ 16.54 ระบุ มาจากรัฐบาลทหาร ไม่เป็นประชาธิปไตย และร้อยละ 13.65 ระบุ เข้าใจยาก มีเนื้อหามาก
ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกรณีที่มีนักวิชาการและนักการเมืองออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม พรรคที่ได้ ส.ส.มากที่สุดอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล อาจทำให้ได้รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง เพราะมีกลไกในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น เป็นรัฐธรรมนูญฉบับขุนนาง เพราะทำให้รัฐมีอำนาจ เป็นใหญ่ ไม่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ยาก เพราะต้องอาศัยทั้งเสียงจาก ส.ว.และ ส.ส. รวมถึงประเด็นที่ระบุว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องทำให้เกิดการสืบทอดอำนาจของ คสช. และเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดช่องทำให้เกิด "นายกฯ คนนอก"