นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการเดินทางไปสำรวจการก่อสร้างเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงกลางดง – ปางอโศก โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กระทรวงคมนาคมจะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ - หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ - นครราขสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงินกว่า 179,413 ล้านบาท
สำหรับงานก่อสร้างช่วงที่ 1 มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางดง - ปางอโศก เสาโทรเลข (สทล.) ที่ 161 หลัก 3 - 4 โดยใช้พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟด้านละ 40 เมตร จึงมีความจำเป็นต้องปรับแนวเส้นทางเวนคืนที่ดินเพิ่ม ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงจากสถานีกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จำนวน 6 สถานี ส่วนสัญญาที่ 2.2 งานควบคุมงานโยธา จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในสิ้นเดือนสิหาคมนี้ จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจาณาสัญญาที่เหลือ พร้อมกันนี้ จะเตรียมคณะทำงานทีมที่ 2 สำรวจเส้นทางนครราชสีมา – หนองคาย ซึ่งมีจำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย นครราชสีมา ชุมทางบ้านไผ่เชื่อมทางคู่เส้นใหม่ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ซึ่งเป้าหมายจะแล้วเสร็จในปี 2565
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากคุนหมิง ประเทศจีน มายังประเทศไทย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้เดินทางไปยังสถานีบ้านกระโดน ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น โดยจะใช้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในบริเวณใกล้เคียง เช่น บัวใหญ่ – ท่าพระ เพื่อขนสินค้าจากหนองคาย นครพนม ลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง และเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงที่สถานีจิระ โดยจะมอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท พิจารณาการเชื่อมโยงเครือข่ายทางถนนเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง
สำหรับงานก่อสร้างช่วงที่ 1 มีจุดเริ่มต้นที่สถานีกลางดง - ปางอโศก เสาโทรเลข (สทล.) ที่ 161 หลัก 3 - 4 โดยใช้พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟด้านละ 40 เมตร จึงมีความจำเป็นต้องปรับแนวเส้นทางเวนคืนที่ดินเพิ่ม ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงจากสถานีกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จำนวน 6 สถานี ส่วนสัญญาที่ 2.2 งานควบคุมงานโยธา จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในสิ้นเดือนสิหาคมนี้ จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจาณาสัญญาที่เหลือ พร้อมกันนี้ จะเตรียมคณะทำงานทีมที่ 2 สำรวจเส้นทางนครราชสีมา – หนองคาย ซึ่งมีจำนวน 5 สถานี ประกอบด้วย นครราชสีมา ชุมทางบ้านไผ่เชื่อมทางคู่เส้นใหม่ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ซึ่งเป้าหมายจะแล้วเสร็จในปี 2565
สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจากคุนหมิง ประเทศจีน มายังประเทศไทย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้เดินทางไปยังสถานีบ้านกระโดน ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และย่านกองเก็บและขนถ่ายตู้สินค้า ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น โดยจะใช้เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในบริเวณใกล้เคียง เช่น บัวใหญ่ – ท่าพระ เพื่อขนสินค้าจากหนองคาย นครพนม ลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง และเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงที่สถานีจิระ โดยจะมอบหมายให้กรมทางหลวงชนบท พิจารณาการเชื่อมโยงเครือข่ายทางถนนเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทาง