นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผย ว่า กรมชลประทานเตรียมเสนอแผนจัดการน้ำช่วยแก้ไขการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งระบบ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ (ครม. สัญจร) ที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 22 สิงหาคมนี้ ซึ่งรวมไปถึงการแก้ปัญหาน้ำใน จ.นครราชสีมา ที่มีทั้งปัญหาขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม โดยโครงการจะแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยและขาดแคลนน้ำมีหลายรูปแบบ อาทิ การก่อสร้างประตูระบายน้ำ แก้มลิง และพิจารณาสร้างทางระบายน้ำเพิ่มเติมช่วงลำเชียงไกรตอนล่างและลำสะแทด
ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานตามยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณา ตามแผนบูรณาการหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืน และ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมชลประทานลงพื้นที่สำรวจพนังกั้นน้ำชีที่ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม และบินสำรวจสภาพโครงข่ายลำน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อดูถึงสถานการณ์ล่าสุด และเตรียมเสนอข้อมูลต่อ ครม.สัญจรด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่การเกษตรกว่า 63 ล้านไร่ มากที่สุดของประเทศ แต่ยังขาดความมั่นคงในเรื่องน้ำ เนื่องจากความไม่สมดุลของการกระจายตัวของฝน และลักษณะภูมิประเทศมีส่วนสำคัญที่ทำให้พื้นที่ภาคอีสานแห้งแล้ง ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และเกษตรกร นอกจากนั้นในฤดูฝนก็ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ริมขอบแม่น้ำโขง และสองฝั่งลำน้ำชี-มูล อย่างเช่นที่เกิดในหลายพื้นที่ขณะนี้
ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้พัฒนาแหล่งน้ำตามนโยบายรัฐบาล ผลงานตั้งแต่ปี 2557-2560 พัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,276 แห่ง มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 487 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้พื้นที่ชลประทาน 782,973 ไร่ ประมาณร้อยละ 50 ของทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มความจุแหล่งเก็บน้ำเดิมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ท้องถิ่นต้องการและใช้เวลาสำรวจออกแบบไม่นานนัก เช่น แก้มลิง ฝาย และประตูระบายน้ำ เพื่อนำน้ำก่อนไหลลงแม่น้ำโขงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และระบบชลประทาน ที่ทำได้โดยไม่กระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จากแผนงานเดิมมและกระจายทั่วไปทั้งภาคอีสาน
รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ริมลุ่มน้ำชี-มูล และริมชายขอบแม่น้ำโขง ได้มีการปรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหา ด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อสร้างประตูระบายน้ำ เช่น ประตูระบายน้ำน้ำพุง-น้ำก่ำ ควบคู่กับทางผันน้ำร่องข้างเผือก วางแผนพัฒนาหนองหารจังหวัดสกลนคร ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเดิมให้มีประสิทธิภาพเก็บกักน้ำและมีความมั่นคงมากขึ้น พร้อมศึกษาความเหมาะสมโครงการบรรเทาอุทกภัยอุบลราชธานี ศึกษาโครงการผันน้ำป่าสัก-ลำตะคอง ศึกษาฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำเดิมที่มีอยู่และเพื่อสร้างความมั่นคงน้ำในระยะยาวพิจารณาวางโครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล เป็นต้น
ทั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานตามยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณา ตามแผนบูรณาการหาแนวทางแก้ไขอย่างยั่งยืน และ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมชลประทานลงพื้นที่สำรวจพนังกั้นน้ำชีที่ จ.ร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม และบินสำรวจสภาพโครงข่ายลำน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เมื่อ 19 สิงหาคม ที่ผ่านมา เพื่อดูถึงสถานการณ์ล่าสุด และเตรียมเสนอข้อมูลต่อ ครม.สัญจรด้วย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่การเกษตรกว่า 63 ล้านไร่ มากที่สุดของประเทศ แต่ยังขาดความมั่นคงในเรื่องน้ำ เนื่องจากความไม่สมดุลของการกระจายตัวของฝน และลักษณะภูมิประเทศมีส่วนสำคัญที่ทำให้พื้นที่ภาคอีสานแห้งแล้ง ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และเกษตรกร นอกจากนั้นในฤดูฝนก็ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ริมขอบแม่น้ำโขง และสองฝั่งลำน้ำชี-มูล อย่างเช่นที่เกิดในหลายพื้นที่ขณะนี้
ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้พัฒนาแหล่งน้ำตามนโยบายรัฐบาล ผลงานตั้งแต่ปี 2557-2560 พัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,276 แห่ง มีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 487 ล้านลูกบาศก์เมตร ได้พื้นที่ชลประทาน 782,973 ไร่ ประมาณร้อยละ 50 ของทั้งประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มความจุแหล่งเก็บน้ำเดิมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กที่ท้องถิ่นต้องการและใช้เวลาสำรวจออกแบบไม่นานนัก เช่น แก้มลิง ฝาย และประตูระบายน้ำ เพื่อนำน้ำก่อนไหลลงแม่น้ำโขงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และระบบชลประทาน ที่ทำได้โดยไม่กระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า จากแผนงานเดิมมและกระจายทั่วไปทั้งภาคอีสาน
รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากการที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ริมลุ่มน้ำชี-มูล และริมชายขอบแม่น้ำโขง ได้มีการปรับแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหา ด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ก่อสร้างประตูระบายน้ำ เช่น ประตูระบายน้ำน้ำพุง-น้ำก่ำ ควบคู่กับทางผันน้ำร่องข้างเผือก วางแผนพัฒนาหนองหารจังหวัดสกลนคร ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำเดิมให้มีประสิทธิภาพเก็บกักน้ำและมีความมั่นคงมากขึ้น พร้อมศึกษาความเหมาะสมโครงการบรรเทาอุทกภัยอุบลราชธานี ศึกษาโครงการผันน้ำป่าสัก-ลำตะคอง ศึกษาฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำเดิมที่มีอยู่และเพื่อสร้างความมั่นคงน้ำในระยะยาวพิจารณาวางโครงการบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล เป็นต้น