บรรยากาศการไว้อาลัยและกราบสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง วันนี้ (30 ก.ค.) ซึ่งดำเนินมาเป็นวันที่ 270 ตลอดทั้งวันยังคงมีประชาชนจากทั่วสารทิศทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เดินทางมากราบสักการะพระบรมศพอย่างต่อเนื่องด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
นางสาววราภรณ์ สารสุภาพ สาวโรงงานเย็บผ้าย่านสำโรง วัย 41 ปี เดินทางมาจากบ้านพักย่าน จ.สมุทรปราการ พร้อมกับเพื่อนร่วมงาน นางราตรี จันทร์โต อายุ 49 ปี และนางสาวสายสุดา จันทร์โต ลูกสาววัย 23 ปี กล่าวว่า ตัวเองเดินทางมากราบพระบรมศพเป็นครั้งที่ 8 แล้ว โดยออกจากบ้านพักตั้งแต่เช้าตรู่ มาถึงสนามหลวงประมาณ 06.00น.แม้ว่าวันนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาแต่ก็ไม่ย่อท้อ เพราะเป็นความตั้งใจที่จะมากราบสักการะในหลวง ร.9
"ตัวเองเป็นคนเพชรบูรณ์ จำได้ว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ เรียนอยู่ราวชั้น ป.4-ป.5 แม่เคยพาไปรับเสด็จในหลวง ร.9 แต่ตอนนั้นยังเด็กมากยังจำอะไรไม่ค่อยได้ พอโตมาก็เห็นข่าวพระองค์ท่านจากทางทีวีเสมอ พระองค์ท่านทรงงานหนักและเหนื่อยกว่าพวกเรามาก อีกทั้งพระองค์ท่านยังทรงเป็นแบบอย่างแก่คนไทยในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความพอเพียง และการใช้จ่ายอย่างประหยัด ที่ตัวเองได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้" นางสาววราภรณ์ กล่าว
นางเสาวลักษณ์ เครือนาค อายุ 44 ปี เดินทางมาจาก อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับเพื่อนบ้านอีก 3 คน ได้แก่ นางสาวอังชัน แจ้งอินทร์ อายุ 42 ปี นางนพภา มงคลประเสริฐ อายุ 56 ปี และนายชลอ ปู่แก้ว อายุ 46 ปี โดยใช้เวลาต่อแถวรอนานกว่า 3 ชั่วโมง จึงได้ขึ้นไปกราบสักการะพระบรมศพในหลวง ร.9 ตามที่ตั้งใจไว้ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานให้พระองค์ท่านไปสู่สุขคติ ไปสู่ภพภูมิที่ดี
"เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ เคยมีโอกาสรับเสด็จในหลวง ร.9 เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง ครั้งนั้นดีใจมากเพราะมีโอกาสได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด เมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตรู้สึกเสียใจมาก แต่ก็ได้นำสิ่งที่พระองค์ท่านสอนมาใช้ในชีวิตหลายอย่าง ที่เห็นชัด ๆ คือเรื่องความพอเพียง ทั้งการใช้จ่ายและการใช้ชีวิต อย่างที่บ้านจะปลูกผักหลายอย่างไว้กินเอง มีทั้งถั่วฝักยาว มะเขือ พริก ฯลฯ ส่วนข้างบ้านมีคลอง เราก็เอาตาข่ายไปวางเพื่อดักปลา ได้ปลามาก็เอามาประกอบอาหารกินในครอบครัว ถ้าเหลือก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรือขายในราคาถูกเพื่อเป็นรายได้บ้าง ตามอย่างที่พระองค์ทรงสอนไว้" นางเสาวลักษณ์ กล่าว
นางสาววราภรณ์ สารสุภาพ สาวโรงงานเย็บผ้าย่านสำโรง วัย 41 ปี เดินทางมาจากบ้านพักย่าน จ.สมุทรปราการ พร้อมกับเพื่อนร่วมงาน นางราตรี จันทร์โต อายุ 49 ปี และนางสาวสายสุดา จันทร์โต ลูกสาววัย 23 ปี กล่าวว่า ตัวเองเดินทางมากราบพระบรมศพเป็นครั้งที่ 8 แล้ว โดยออกจากบ้านพักตั้งแต่เช้าตรู่ มาถึงสนามหลวงประมาณ 06.00น.แม้ว่าวันนี้ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาแต่ก็ไม่ย่อท้อ เพราะเป็นความตั้งใจที่จะมากราบสักการะในหลวง ร.9
"ตัวเองเป็นคนเพชรบูรณ์ จำได้ว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ เรียนอยู่ราวชั้น ป.4-ป.5 แม่เคยพาไปรับเสด็จในหลวง ร.9 แต่ตอนนั้นยังเด็กมากยังจำอะไรไม่ค่อยได้ พอโตมาก็เห็นข่าวพระองค์ท่านจากทางทีวีเสมอ พระองค์ท่านทรงงานหนักและเหนื่อยกว่าพวกเรามาก อีกทั้งพระองค์ท่านยังทรงเป็นแบบอย่างแก่คนไทยในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความพอเพียง และการใช้จ่ายอย่างประหยัด ที่ตัวเองได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจนถึงทุกวันนี้" นางสาววราภรณ์ กล่าว
นางเสาวลักษณ์ เครือนาค อายุ 44 ปี เดินทางมาจาก อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับเพื่อนบ้านอีก 3 คน ได้แก่ นางสาวอังชัน แจ้งอินทร์ อายุ 42 ปี นางนพภา มงคลประเสริฐ อายุ 56 ปี และนายชลอ ปู่แก้ว อายุ 46 ปี โดยใช้เวลาต่อแถวรอนานกว่า 3 ชั่วโมง จึงได้ขึ้นไปกราบสักการะพระบรมศพในหลวง ร.9 ตามที่ตั้งใจไว้ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานให้พระองค์ท่านไปสู่สุขคติ ไปสู่ภพภูมิที่ดี
"เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ เคยมีโอกาสรับเสด็จในหลวง ร.9 เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปเกี่ยวข้าวที่ทุ่งมะขามหย่อง ครั้งนั้นดีใจมากเพราะมีโอกาสได้ชื่นชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด เมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตรู้สึกเสียใจมาก แต่ก็ได้นำสิ่งที่พระองค์ท่านสอนมาใช้ในชีวิตหลายอย่าง ที่เห็นชัด ๆ คือเรื่องความพอเพียง ทั้งการใช้จ่ายและการใช้ชีวิต อย่างที่บ้านจะปลูกผักหลายอย่างไว้กินเอง มีทั้งถั่วฝักยาว มะเขือ พริก ฯลฯ ส่วนข้างบ้านมีคลอง เราก็เอาตาข่ายไปวางเพื่อดักปลา ได้ปลามาก็เอามาประกอบอาหารกินในครอบครัว ถ้าเหลือก็แบ่งปันเพื่อนบ้าน หรือขายในราคาถูกเพื่อเป็นรายได้บ้าง ตามอย่างที่พระองค์ทรงสอนไว้" นางเสาวลักษณ์ กล่าว