สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน ปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปสู่อนาคต ที่เราทุกคนอยากเห็นคือ การเพิ่มศักยภาพของคนในประเทศ ทั้งการปฏิรูปการศึกษา ให้เยาวชนมีความรู้ สามารถเพิ่มศักยภาพของตน ไปพร้อมกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นคนดีของสังคม เป็นพลเมืองดีของประเทศ ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ได้น้อมนำพระราชโอวาทของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ความว่า
เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำงาน และทำความดีด้วย เพราะการทำงาน จะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยัน อดทน พึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้น จะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ ซึ่งในปัจจุบันนี้รัฐบาลได้เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาให้เป็นรูปธรรมอย่างครบวงจรต่อไป อีกทั้งได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงให้ความสำคัญด้านการศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมพื้นฐานของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นผมขอนำมากล่าวซ้ำ และขยายความเพิ่มเติม ดังนี้ 1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองคือ มีความรู้ ความเข้าใจ ในความเป็นชาติ ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
2.มีอุปนิสัยที่มั่นคง เข้มแข็ง มีคุณธรรม โดยรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ ดีงามปฏิเสธสิ่งที่ผิด ที่ชั่ว และช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
3.มีอาชีพ มีงานทำ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ โดยต้องฝึกฝนอบรมให้รักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ ทั้งนี้สถาน ศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและเยาวชน ได้รับการฝึกฝนอบรม ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนทำงานเป็น และใช้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
และ 4. เป็นพลเมืองดีอันเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยครอบครัว สถานศึกษา และที่ทำงานต้องส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี มีจิตอาสา มีน้ำใจและความเอื้ออาทร พร้อมทำเพื่อบ้านเมือง เช่น อาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศล เป็นต้น ก็ขอให้ร่วมมือกัน บ้าน วัด โรงเรียนด้วย
ในการนี้รัฐบาลได้ประยุกต์พระราชโอวาท และพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาดังกล่าว สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในภาพรวม และในการวางยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคน เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ และแรงงานที่มีคุณภาพ ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต อาทิ ส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ด้วย อาทิ การผลิตและพัฒนากำลังคน ในระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ตรงกับความต้องการของทุกกิจกรรมใน EEC การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาร่วมพัฒนาประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทยอีกด้วย ที่สำคัญก็คือสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีขั้นตอนตามแผนแม่บทดังนี้
ขั้นแรก การสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของสังคม และประเทศชาติ โดยการสร้างให้ผู้เรียน มีความรอบรู้ มีทักษะรอบด้าน ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม มีภูมิคุ้มกัน
ขั้นที่ 2 มุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยปรับปรุงหลักสูตรให้รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้ง S-Curve และ New S-Curve ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อีกทั้งเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพิ่มการฝึกอบรมเฉพาะทาง เพื่อสร้างความชำนาญ โดยจัดให้มี ศูนย์ความเป็นเลิศ และ ศูนย์พัฒนาเฉพาะทาง ร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ ด้วย
ขั้นที่ 3 คือการพัฒนาศักยภาพกำลังคน และสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีแผนการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ ให้กับคนใน EEC ทุกวัย
ขั้นที่ 4 สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน โดยจูงใจให้นักเรียนเข้าเรียนด้านอาชีวศึกษามากขึ้น โดยส่งเสริมให้มีการทำงานควบคู่ ไปกับการเรียน เพื่อสร้างรายได้ และประกันการมีงานทำ มีการจัดระบบช่วยดูแลนักศึกษา และสนับสนุนเงินทุน การศึกษากับผู้ด้อยโอกาสอีกด้วย
ขั้นที่ 5 คือการสร้างความตระหนักรู้ ถึงการสร้างการเติบโตและยกระดับคุณภาพชีวิต ที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสร้างนิสัยในการใช้ทรัพยากร ความปลอดภัยในการทำงาน จรรยาบรรณอาชีพ และการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และขั้นสุดท้าย เป็นการขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อเป็นการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยดำเนินการในหลายกิจกรรมพร้อมๆ กัน อาทิ การเสริมสร้างศักยภาพของสถานศึกษาให้มีความพร้อม เพื่อเข้าสู่ ยุค 4.0 การสร้างฐานข้อมูลกำลังคน และประมาณการความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อจะสร้างความสมดุลและการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน สนับสนุนให้สถานศึกษาและสถานประกอบการได้หารือและทำงานร่วมกัน สำหรับสร้างคนที่ตรงกับความต้องการ และรองรับการปฏิบัติงานร่วมกันหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ EEC รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับสถานศึกษาต่างประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานไทยสู่สากลอีกด้วย
พี่น้องประชาชนที่รัก พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งเราถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ คำว่าประเสริฐหมายถึง การมีระดับจิตใจสูงสามารถเข้าถึงความดีงาม อาทิ ความรัก ความสามัคคี ในหมู่เพื่อนมนุษย์ สังคม และความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ต่อกันและกัน คนเรานั้นสามารถฝึกฝนและพัฒนาจิตใจได้ โดยปราศจากข้อจำกัดเรื่องชาติกำเนิด หรือฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกัน รู้จักแยกแยะความดี ความเลว นอกจากนี้ ในฐานะความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็น สัตว์สังคม ผมเห็นว่าหลักธรรม 3 ประการในพุทธศาสนา ที่เราทุกคนควรตระหนัก และยึดถือเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนไทย อย่างมีความสุข ได้แก่ 1. ปัญญา 2. เมตตากรุณา รักใคร่เกื้อกูลกัน และ 3.ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นอกจากนี้คำว่าสิทธิเสรีภาพบนพื้นฐานแห่งศีลธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงการมีเวที หรือช่องทางให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงก็คือมนุษยธรรม อีกด้วย
ทั้งนี้ หากสังคมใดคนในสังคมมีศักดิ์ศรี สังคมนั้นจะมีแต่ความสามัคคีและปรองดอง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่การมีเสรีภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับปล่อยให้เกิดการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือละเมิดกฎหมาย และไม่ใช่อยู่ที่การมี สิทธิ เพื่อครอบครองอำนาจ หรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ในทางที่ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ เหตุที่ 80 กว่าปี ประชาธิปไตยของไทย ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร จึงลุ่มๆ ดอนๆ โดยเฉพาะช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้น ผมเห็นว่าบ้านเมืองของเรานั้น ประสบกับภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณ หมายถึงจิตใจของคนไทยมีความบกพร่องหรือขาดภูมิคุ้มกันทางศีลธรรม เป็นเหตุให้สังคมมีปัญหา ผมไม่ได้โทษประชาชน เพียงแต่ว่าเราต้องเตือนกันต้องเข้าใจกัน จิตใจก็ต้องดูใจผมเหมือนกัน เปลี่ยนแปลง ควบคุมตัวเองให้ได้ ทุกคนต้องมาช่วยผมตรงนี้ ประเทศจะได้ไม่ไปประสบวิกฤตการทางการเมืองอีก อีกคำหนึ่งที่ผมนึกถึงคือคำว่า ธรรมาธิปไตย ที่สังคมไม่ค่อยพูดถึงกันนัก แต่กลับมีความสำคัญ กล่าวคือ การถือธรรมะเป็นใหญ่ เป็นการยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความเป็นจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมในการบริหารจัดการกับต่างๆ ถ้าเรามีประชาธิปไตย แต่ปราศจากธรรมาธิปไตย ความสงบสุขในสังคมก็จะไม่มีความยั่งยืน และที่สำคัญ ก็คือ จุดเริ่มต้นของการปรองดองคือ การทำให้สังคมมีธรรมาธิปไตย
วันนี้รัฐบาล และ คสช. พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะแก้ไขปัญหาของสังคมนานัปการที่กองสุมกันอยู่ทุกมิติ หากสังคมไม่ยอมช่วยกันแก้ปัญหา ต้องการการปฏิรูป แต่ไม่ยอมรับเปลี่ยนแปลงไปในที่ถูกที่ควร ตามครรลองของกฎหมาย และยังไม่เคารพกฎหมาย แล้วผลักภาระ หรือรอคอยให้นายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. มาตามแก้ไขปัญหาแต่เพียงฝ่ายเดียว ผิดหลักการ ขาดความรับผิดชอบร่วมกัน รอให้คนมาปัดกวาด ไม่ทันใจก็ต่อว่าขับไล่แบบนี้ เราจะแก้ปัญหาของเราอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผมอยากให้ทุกคนได้คิด มีสติ และทบทวน ว่าเราน่าจะใช้หลักธรรม หลักศาสนา และหลักการต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น มาช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองได้ด้วย
อีกตัวอย่างหนึ่ง ครูเชาว์ นายเชาวลิต สาดสมัย ซึ่งมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย ใช้ชีวิตวัยเด็กในสถานสงเคราะห์ฯ ปากเกร็ด บ้านราชาวดีชาย แต่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และเป็นผู้รักการเรียน เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์ เอกพลศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม เป็นครูอาสาสมัคร โดยอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่นและสังคม ได้ทำกิจกรรมมากมาย ในการดูแลเด็กและเยาวชน ในชุมชนแออัด เขตบางพลัด เช่น รับ-ส่งเด็กที่โรงเรียนที่โรงเรียน ช่วยสอนการบ้าน เยี่ยมบ้านให้คำแนะนำแก่ครอบครัว ขอรับบริจาคเงินสร้างสนามกีฬาให้เด็กในชุมชน รวมทั้งสิ่งของเพื่อมอบให้กับเด็กยากจน และจัดหาทุนการศึกษาให้กับเด็กในชุมชน เรียนถึงระดับปริญญาตรีไปจนถึงให้การช่วยเหลือเหตุเร่งด่วนที่เหยื่อถูกกระทำด้วยความรุนแรง เป็นต้น
ที่ผมนำเรื่องของครูเชาว์ ขึ้นมากล่าวเพื่อเป็นการยกย่องคุณความดี และอยากให้เป็นอุทาหรณ์ให้คนไทยได้หันมามองคนอื่น มองสังคม มองประเทศ ชาติบ้าง เสียสละกันบ้างว่าวันนี้ หรือแต่ละวัน เราทำเพื่อใครไปบ้าง นอกจากตัวเอง เราเรียกร้องมากมายจากประเทศชาติ แล้วเราได้ทำอะไรให้กับสังคม ชุมชน คนรอบข้าง คนด้อยโอกาสบ้างหรือไม่ ฝากผู้มีเงินทองต่างๆ ทั้งหลาย ช่วยกันเสียสละ อย่างน้อยก็ขอให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เป็นพลเมืองดี สร้างสรรค์สังคม และรักษาศีล 5 เป็นนิจ บ้านเมืองของเราก็จะมีแต่ ความสงบสุข สันติสุข และมีความปรองดองตลอดไป
พี่น้องประชาชนที่เคารพตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมานั้น ปัญหาสำคัญๆ ในอดีตที่รัฐบาลนี้พยายามจะแก้ไข แล้วก็ปรับให้เข้ามาสู่สิ่งที่ควรจะเป็น และเป็นสากล มี 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.การจัดระเบียบสังคม และการบังคับใช้กฎหมายปกติให้ได้ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่มีการปล่อยปละละเลย ในทุกกรณี ให้ปัญหาเดิม ปัญหาใหม่ ทับถม ยุ่งเหยิง บานปลาย อีกต่อไป
2.คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ให้มีความสมดุลและยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนเพื่ออนาคต ที่สอดรับและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
3.การวางรากฐานการปฏิรูป ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรก รัฐบาลนี้และ คสช.ได้ดำเนินการเตรียมการในทุกมิติทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทย ได้แก่ การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่น IUU ICAO ยาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชั่น บุกรุกป่า เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชน นายทุน ผู้ประกอบการ เป็นจำนวนมาก ที่ประกอบอาชีพ หรือดำเนินกิจกรรม ที่ขัดต่อกฎหมายเหล่านั้น คงไม่ใช่จะเป็นปัญหากับทุกคน เช่น การบุกรุกป่า การรุกล้ำเขตน่านน้ำ การประมงที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย การนำเข้าแรงงานต่างด้าวไม่ถูกต้อง นำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การค้าขายบนทางเท้า พื้นที่กีดขวางการจราจร การค้าปลีกสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เหล่านี้เป็นต้น
ทั้งที่ทุกคนก็รู้ว่าผิด หรืออาจจะไม่รู้ว่าผิด เพราะไม่รู้กฎหมายก็มี หรืออาจจะมีการรับจ้างให้ทำ โดยเจ้าตัวอาจจะไม่มีเจตนาละเมิดกฎหมายก็ทำทุกอย่างให้ได้เงิน ได้สตางค์มาเลี้ยงครอบครัว แต่พอรัฐบาลนี้มาเคร่งครัดเอาจริงเอาจัง เพื่อจะสร้างนิติรัฐ นิติธรรมในสังคมไทย อันเป็นพื้นฐานที่ดี เป็นสากล เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ต้องยอมรับว่า เป็นเหตุให้พี่น้องประชาชนเหล่านั้น มีรายได้ที่ลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายเงินในระบบเศรษฐกิจจากธุรกิจสีเทา คือที่ผิดกฎหมายลดลง เงินหมุนเวียนในระบบก็ลดลงตามไปด้วย ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจว่า เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งรัฐบาลได้พยายามที่จะช่วยเหลือสร้างงาน สร้างอาชีพ หรืออาชีพที่ถูกกฎหมายมารองรับ ทำให้สามารถมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ และมีความยั่งยืน พยายามอย่างเต็มที่ รัฐบาลนี้เข้าใจดีว่า แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่รายได้อาจจะยังไม่กระจายไปสู่ประชาชนได้มากนัก เพราะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ การกระทำข้อหนึ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้คือ สิ่งที่เกิดในวันนี้เป็นผลจากการกระทำในอดีต ถ้าทำมาดีแล้ว วันนี้คงไม่ลำบากมาตามแก้ปัญหาเช่นเดิม ส่วนสิ่งที่รัฐบาลนี้กำลังทำอยู่ย่อมส่งผลในวันข้างหน้าอย่างเป็นมักเป็นผล
อย่างไรก็ตาม จะไม่ส่งผลทางเศรษฐกิจในทันที แต่อาจจะส่งผลต่อด้านจิตวิทยา ความเชื่อมั่นในเบื้องต้น ได้มีการวาดภาพ วาดความฝันในอนาคตไว้ร่วมกัน วันนี้ลำบากก่อน เพราะว่าเราทำอะไรตามใจตัวเองกันมานานแล้ว
ผมขอฉายภาพอนาคตของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ทุกระบบของประเทศในภาพรวมว่า อีก 5 ปีข้างหน้า 2565 เราจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วเราจะได้ดูว่าเราจะได้อะไรจากตรงนี้ ซึ่งประชาชนคนไทยทั่วทุกภูมิภาค จะได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลง เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างไร รายละเอียดตามหน้าจอดังนี้
1.การขนส่งทางถนน เราจะมีทางหลวงขนาด 4 ช่องทางจราจรขึ้นไปเพิ่มขึ้นอีกราว 700 กิโลเมตร มีทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพิ่มขึ้น จากเดิมมีเพียง 146 กิโลเมตร เป็น 636 กิโลเมตร มีการพัฒนาทางหลวงชนบท เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตเมืองเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีการสร้างสะพานข้าม อุโมงค์ลอดรถไฟเพิ่มขึ้นกว่า 100 แห่ง และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่อีก 5 แห่ง เป็นต้น
2.การขนส่งทางราง เราจะมีรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นราว 15 เท่า จาก 250 เป็น 3,500 กว่ากิโลเมตร มีการพัฒนาราง 4 เส้นทาง กว่า 1,039 กิโลเมตร และมีรถไฟฟ้าเพิ่มเป็น 11 เส้นทาง ระยะทางรวม 439 กิโลเมตร สิ่งที่ได้จากการพัฒนาทั้งทางถนนและทางรางนี้ จะช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนน ปริมาณรถต่างๆ บรรเทาความคับคั่งลง เช่น การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางระหว่างเมืองจาก 59% เหลือ 40% และเพิ่มความเร็วเฉลี่ยให้กับการเดินทางโดยรถไฟจาก 60 เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้ง สามารถลดอุบัติเหตุ และลดความสิ้นเปลืองพลังงานลงได้ด้วย
3.การขนส่งทางน้ำ เราจะมีท่าเรือชายฝั่งทะเลเพิ่มขึ้น 5 แห่ง รวมเป็น 23 แห่ง และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับตู้สินค้าเพิ่มจาก 11ล้าน เป็น 18.8 ล้านทูอียูต่อปี ทั้งนี้ ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และลดต้นทุนลอจิสติกส์ลงมากกว่า 2% ต่อจีดีพี
และ 4.การขนส่งทางอากาศ เราจะมีท่าอากาศยานเบตงเพิ่มขึ้น และมีการยกระดับสนามบินอู่ตะเภา สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นราว 3 แสนเที่ยวบินต่อปี และรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 60ล้านคนต่อปี ที่สำคัญและน่าสนใจอีกประการคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่กล่าวมานั้น จะทำให้เกิดความต้องการทั้งบุคลากร และวัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนมากภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์ความต้องการบุคลากรในภาพรวม ราว 1.3 แสนอัตรา แยกเป็นช่างต่างๆ 5,280 อัตรา วิศวกร 5,213 อัตรา เป็นต้น
ส่วนความต้องการวัสดุในภาพรวม มีความต้องการวัสดุจำพวกหิน 117 ล้านลูกบาศก์เมตร ปูนซีเมนต์ 21 ล้านตัน เหล็ก 7 ล้านตัน เป็นต้น ซึ่งต้องมีการวางแผน เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวทั้งในด้านการผลิตและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สรรหาบุคลากร และแรงงาน เพื่อภาคเอกชนจะได้มีวางแผนเตรียมการผลิตได้ทันตามความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีการบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับประโยชน์ที่จะได้ถึงมือประชาชนนั้น เป็นในรูปแบบการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ความสะดวกและปลอดภัย มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตสามารถหาเลี้ยงชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องเสี่ยงโชคในเมืองเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าเราทำสำเร็จได้ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมโยง สร้างงาน สร้างอาชีพ มีทางเลือกและโอกาสมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระจายรายได้ถึงคนไทยทุกคน
พี่น้องประชาชนครับ ผมมีเรื่องที่อยากให้ลองคิดใหม่ช่วยกันพิจารณา
1.โครงการที่รัฐบาลอยากส่งเสริม หรืออื่นๆ ที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนให้กับประเทศชาติ และประชาชนสูงสุด โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน คงจะต้องอำนวยความสะดวก สร้างแรงจูงใจภายใต้กรอบของกฎหมายที่ทำได้ ไม่ใช่เป็นการเอื้อประโยชน์ เช่น 1.โรงไฟฟ้า โรงงานขยะ
2.โครงการบริหารจัดการน้ำ เช่น พื้นที่เก็บกักน้ำ ส่งน้ำ บริหารจัดการเท่าที่รัฐสามารถจะส่งน้ำใช้ได้ เก็บกักเองส่งเองไปสู่การบริหารจัดการในชุมชนให้ประชาชนได้รับประโยชน์
3.โรงเรียน สถานศึกษาที่เน้นวิชาชีพตรงกับความต้องการของประเทศ คือ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ไม่มีงานทำ ไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ และความต้องการแรงงานระดับสูงมีคุณวุฒิมีฝีมือ
4.การเสนอขอการลงทุน โดยช่วยดูแลชุมชนและประชาชนในพื้นที่เขตการลงทุน สถานศึกษาในพื้นที่ทุกระดับ
และ 5.โครงการที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ขัดขวาง พอใจ โดยไม่ไปขัดแย้งช่วงทำประชาพิจารณ์แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องช่วยกันพิจารณา รัฐ ประชาชน เอกชน มาช่วยเสริมกันได้อย่างไร ที่ผ่านมาทุกอย่างมักจะเป็นรัฐบาลคิดใช้งบประมาณอนุมัติแผนงานโครงการของส่วนราชการ แล้วรัฐหรือส่วนราชการก็ไปรับฟังความคิดเห็น อยากลองให้บรรดาผู้รู้ทั้งหลาย บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่รับปรึกษากับนักลงทุน นักกฎหมาย นักวิชาการ ลองเสนอโครงการมา หาผู้ลงทุนมาให้รัฐบาลพิจารณาว่าจะทำได้อย่างไร ที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และประเทศชาติ ผลประโยชน์ทางธุรกิจในลักษณะที่เป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย เพราะวันนี้หลายปัญหามันเกิดตั้งแต่ต้นทาง รัฐบาลลงทุนให้ทั้งหมดไม่ได้หรอก ไม่พอ เอกชนก็มาลงทุนในโครงการของรัฐก็ไม่ผ่านประชาพิจารณ์อีก ลองดูว่าจะเสนอโครงการที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ที่ทุกคนยอมรับได้ ทุกคนจะได้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รับผิดชอบร่วมกัน มันน่าจะเป็นวิธีการที่ทำให้ทุกอย่างเกิดได้เร็วขึ้นหรือไม่ เพื่อจะให้ทันเวลาที่ถมทับขึ้นทุกวัน น้ำท่วม น้ำแล้ง การศึกษา การเกษตร การแออัดในเมือง การเจรจา ขยะ การขาดที่ดินทำกิน การยกระดับรายได้ของประชาชน การลงทุนสาธารณูปโภค รถไฟ รถเมล์ โทลล์เวย์ ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน เหล่านี้เป็นต้น
หากโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เราจะเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปประเทศเราได้เร็วขึ้น ประชาชนจะมีรายได้มากขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รายได้ก็คงไม่ไปกระจุกอยู่ข้างบนหรอก เพราะเป็นโอกาส เป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมได้ ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ข้างหน้าก็ไม่มีช่องทางใหม่ ด้านกฎหมายก็คงต้องไปดูนะครับ ว่าเราจะทำอย่างไร ไม่อยากให้มองว่ารัฐบาลนี้จะเอื้อประโยชน์กับใคร ให้กับนายทุน ให้คนรวยนะครับ เพราะคนที่มีศักยภาพในวันนี้คือ ผู้ที่มีรายได้มากมีขีดความสามารถสูง รัฐบาลจะได้ลดบทบาทลงมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดทำกฎหมาย กฎกติกาให้เป็นธรรม เฉลี่ยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งรัฐ ประชาชน และเอกชน ไม่อยากให้ขัดแย้งต่อต้านกันจนทำอะไรไม่ได้ เสียเวลาเปล่า ประชาชนเดือดร้อน หากเปลี่ยนวิธีการทำโครงการในการลงทุนเป็นแบบนี้บ้างน่าจะดีกว่าไหม จาการประมูลแข่งกันด้วยราคากลาง มาเป็นแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์ให้รัฐกับประชาชนให้มากขึ้น ประเทศชาติจะได้อะไรจากตรงนี้
เพราะฉะนั้นลองไปคิดดูนะครับ ช่วยกัน แล้วก็สะท้อนกลับความคิดเห็นของท่านกลับมาให้รัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีทราบบ้าง จะได้นำไปแนวทางขับเคลื่อน หลายอย่างทำไม่ได้เกิดไม่ได้เลย
2.การเมืองกับความรู้สึก เราต้องหาทางรับมือความรู้สึกแต่ละรูปแบบ เพื่อโน้มน้าวไปสู่ความมีเหตุมีผล มีสติปัญญาในการแยกแยะถูก ผิด ชั่ว ดี เราต้องเริ่มคิดกันแต่บัดนี้ ก่อนที่จะยากหรือสายเกินไปกว่านี้ สิ่งที่ยากที่สุด สำหรับการปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงจารีต ประเพณี ค่านิยม และทัศนคติต่างๆ ของพลเมือง ไปในทางสร้างสรรค์มากกว่าที่จะมาทำลายซึ่งกันและกัน แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่ทันสมัยและเป็นสากล
การดำเนินนโยบายทางการเมือง มีส่วนสำคัญอย่างมาก สามารถที่จะทำทั้ง สร้าง แล้วทำลายได้ทุกอย่าง เช่น การเพิกเฉยการส่งเสริมให้ประชาชนของชาติยึดมั่นในสถาบันชาติศาสนา ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศ การไร้ความสามารถในการรักษาความสงบสันติของสังคมและประเทศชาติ การใช้นโยบายที่ปราศจากยุทธศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน แต่จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ แล้วก็ทิ้งปัญหาไว้ข้างหลังอีกต่อไป การแยกกลุ่มแบ่งฝ่ายประชาชน โดยยึดตามฐานเสียง แทนที่จะเป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ สร้างความแตกแยก ร้าวลึกในสังคม การใช้งบประมาณประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นเครื่องต่อรองกับการเมืองในท้องถิ่นกับประชาชน เพื่อเป็นการสร้างฐานอำนาจหาคะแนนความนิยม รวมทั้งการใช้งบประมาณที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และไม่เกิดการบูรณาการซึ่งกันและกัน ทำให้สิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่า และไร้ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การแก้ปัญหาเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยนั้น ไม่เป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ผ่านมาอาจจะเน้นประชานิยม ทำให้ปัญหายังคงวงเวียนอยู่ในสังคมทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะก่อความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ที่ดีงามของไทย เช่นความประนีประนอมของคนไทยหายไปจากใจคน สังคมไทย เป็นต้น
การที่รัฐบาลพยายามแถลงข่าวชี้แจงตอบข้อสงสัย โดยให้เหตุผล ใช้ความอดทนอดกลั้น และแสดงความจริงใจ บางครั้งก็ถูกกวนน้ำให้ขุ่น หรือ เล่นการเมืองบนความทุกข์ของพี่น้องประชาชน ทำให้สิ่งที่ผมพูด สิ่งที่รัฐบาลพยายามสื่อสารออกไปไม่เป็นผลอย่างน่าเสียดาย ความเพียรพยายามก็สูญเปล่า
ทั้งนี้ เจตนาของผู้ไม่หวังดี มักสร้างบรรยากาศให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล โดยแสวงประโยชน์ ขยายผลจากความน่าสงสาร ความยากจน และความเดือดร้อน ซึ่งทุกคนเข้าใจดี ว่าเป็นวิถีของการต่อสู้สาดสี เพื่อเอาชนะกัน แย่งพื้นที่ฐานเสียง อันเป็นการดำเนินนโยบายทางการเมือง หรือ วัฒนธรรม การเมืองยุคเก่าที่ไม่เป็นประชาธิปไตย บทเรียนในอดีตเหล่านี้ในวันนี้ เราต้องเร่งนำมาปรับปรุงเพื่อวันข้างหน้า โดยเฉพาะฝ่ายกฎหมาย ผู้ออกกฎหมาย ต้องหยิบยกมาปฏิรูป รวมทั้งปฏิรูปตัวเองบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ต่างคนต่างรู้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทย จนบานปลายเกิดความไม่เป็นธรรม 2 มาตรฐาน ทุกฝ่ายต้องกลับมามอง มาทบทวนที่ตนเองบ้าง ประชาชนเองก็ต้องมีหลักคิด มีความรู้เป็นภูมิคุ้มกัน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใครอีกต่อไป
นับจากนี้เราต้องร่วมมือกันพัฒนาบนพื้นฐานความแตกต่าง บนหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มากกว่าการยอมให้ใครมา จุดชนวนขยายความขัดแย้งในกลุ่มคน กลุ่มประชาชน ด้วยวาทกรรมที่ไม่สร้างสรรค์อีกต่อไป สิ่งที่เคยทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่ปลอดภัย มีผู้คนบาดเจ็บ สูญเสีย และงบประมาณก็สูญเปล่า ไร้ผลสัมฤทธิ์ ปัจจุบันสถานการณ์วันนี้สงบเรียบร้อย หลายคนอาจจะลืมภาพเหล่านั้นไปแล้ว กลับมีคนพยายามจะปลุกระดมให้เกิดความเคลื่อนไหว ขัดแย้ง หรือต่อสู้กันอีก ทั้งๆ ที่กระบวนการยุติธรรมได้ตัดสินกันไปแล้ว ลองคิดดู
พี่น้องประชาชนที่รักครับ กรณีการแสดงความคิดเห็นต่อคำถาม 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี ขอบคุณนะครับทุกคนที่ตอบคำถาม ซึ่งเป็นประโยชน์มากกับรัฐบาล และ คสช. ประชาชนด้วย เพื่อการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผมยินดีและดีใจ ที่ประชาชนส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ไม่ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความขัดแย้ง ความคิดเห็นดีๆ เช่นนี้ ทำให้ผมมองเห็นว่า เราน่าจะปฏิรูปประเทศได้ด้วยมือของพวกเราทุกคน ขณะนี้มีผู้มาตอบคำถามประมาณ 5 แสนคน อยากให้ส่งกันมาอีก เพราะนี่ก็เป็นกระบวนการประชาธิปไตยอีกอย่างหนึ่งก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเราจะต้องเตรียมพร้อมประชาชนที่จะเข้ามาเลือกตั้งให้มีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนตัดสินใจเพียงไม่กี่นาทีในคูหาเลือกตั้ง โดยคำตอบของประชาชนจนถึงปัจจุบัน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.สนับสนุนการได้มาซึ่งรัฐบาลที่มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ไม่ทุจริต
2.ยากได้นักการเมืองที่ดีและใหม่ๆ หรือนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนรุ่นใหม่ เข้ามาในระบบการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง นักการเมืองทางเลือกใหม่ให้กับประชาชน
3.การเข้ามาสู่การเลือกตั้ง ควรตรวจสอบให้เข้มข้น ให้ได้นักการเมืองที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
4.หากนักการเมืองผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะเข้ามา ขอให้ให้องค์กรอิสระ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ตรวจสอบอย่างรัดกุมก่อนการเลือกตั้ง
5.ควรมีกฎหมายที่ทำให้คดีไม่หมดอายุความ ผู้ที่หลบหนีคดี ทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำ หรืออื่นๆ ทุกคนจะต้องมีกฎหมายมาดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ ไม่งั้นก็จะเกิดแบบเดิมๆ ต่อไป
6.ไม่มั่นใจว่าจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล เรื่องนี้ทุกคนต้องช่วยกันครับ เรามั่นใจ หรือไม่มั่นใจไม่ได้ ถ้าเราช่วยกันเราก็มั่นใจได้ การเลือกตั้งใครเข้ามาควรจะเลือกจากผู้เสียสละทำเพื่อส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่เลือกผู้คุ้นเคย ผู้ที่เคยเลือกกันมา ผู้ช่วยเหลือประชาชนเฉพาะราย เฉพาะกลุ่ม อาจจะทำให้เกิดการแบ่งแยกประชาชนเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย บ้านเมืองไม่สงบวุ่นวาย เหมือนก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
7.หากบ้านเมืองไม่สงบขัดแย้ง จะต้องใช้การเลือกตั้งต่อๆ ไป จนกว่าจะได้รัฐบาลที่ดีมีธรรมาภิบาล เสียงบประมาณก็คงต้องยอม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเห็นประชาชนนะครับ
8.ให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง วันนี้เราก็ทำอยู่แล้วนะครับ
นอกจากนี้ ยังมีคำตอบจากประชาชน ที่นอกเหนือไปจากประเด็นคำถามของนายกรัฐมนตรีอีก ได้แก่
1.นักการเมืองที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควรเข้ามา เหตุใดนักการเมืองจึงยอมลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก เพื่อให้ได้เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งน่าจะไม่ใช่การเสียสละเข้ามาทำงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
มีการใช้เงินจำนวนมากในการเลือกตั้ง ได้ประโยชน์ส่วนตัว นอกจากสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้หรือไม่ ทำไมบางพรรคสามารถปั่นให้เห็นว่าการเลือกตั้งจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น คนระดับฐานรากเกิดปัญหาค่าครองชีพ ซึ่งประชาชนส่วนนี้อยากให้รัฐบาลหาธงฟ้า สินค้าบริโภคที่มีราคาระดับปานกลาง หรือดี จำหน่ายให้กับประชาชนในราคาถูก อย่างเท่าเทียม และเพียงพอทั่วประเทศ เช่น ข้าวสาร น้ำปลา น้ำมันพืช ปลากระป๋อง ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก
2.น่าจะมีกฎหมายป้องกันการกินรวบจากนายทุนใหญ่ เพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจาย คนไทยมี 67 ล้านคน แต่มีนายทุนใหญ่เพียง 1,000 ครอบครัว ที่เหลือเป็นคนจนจะอยู่กันอย่างไร ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมานั้น ผมจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติม รัฐบาลพยายามเร่งดำเนินการมาอยู่แล้ว และ จะทำให้มากขึ้น ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกันเป็นคน เป็นกลุ่ม เป็นฝ่ายอีกแล้ว คนรวย คนจน มันไม่ได้ เพราะคนไทยด้วยกัน
ในเรื่องแรกการจัดสินค้าน่าจะมี 2 ลักษณะด้วยกัน
1.รัฐบาลวันนี้ก็กระทรวงพาณิชย์ได้จัดไปร่วมกับหน่วยงานทุกพื้นที่อยู่แล้ว
2.ที่ผมอยากให้มันเกิดขึ้น อันนี้ก็หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลาดชุมชนเป็นตลาดที่ประชาชนในพื้นที่เอาของจำเป็น เช่น อาหาร ข้าว พืชผัก ขายเองไม่ต้องผ่านคนกลาง ในเรื่องของนักการเมืองที่ไม่ดีก็เช่นกัน เราต้องพยายามหาทาง หามาตรการทางกฎหมายมาแก้ไขปัญหา สร้างนักการเมืองที่ดีๆ ขึ้นมา สร้างจิตสำนึกขึ้นมา ให้มีการเปลี่ยนแปลงในเจตนารมณ์ของการเข้ามาบริหารบ้านเมือง แต่ถ้าหากประชาชนยังยึดติดกับการช่วยเหลือแบบเดิมๆ มายาวนาน เคยชินกับการแก้ปัญหาที่ปลายทาง ใช้งบประมาณถมลงไป แล้วไม่แก้ปลายทางมาเหมือนเดิม ที่เราต้องเริ่มจากผู้ผลิต เกษตรกรกลางทางพ่อค้าจนถึงปลายทางตลาด ในและนอกประเทศ แล้วไม่คำนึงถึงพันธสัญญาใดๆ เลย กฎหมายระหว่างประเทศเขาก็มี ถ้าทำแบบนั้นย่อมทำให้ประชาชนพึงพอใจแน่นอน วันนี้รัฐบาลนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ที่มันเป็นปัญหาอยู่ในอดีตที่ผ่านมา มันจะได้ไม่เกิดปัญหาระยะยาว และหากโครงการต่างๆ ที่ทำลงไปนั้น ไม่โปร่งใสรั่วไหล มันจะไม่เกิดปัญหาเช่นที่เกิดมาแล้ว ประชาชนที่ได้เงินส่วนหนึ่งจะได้เงินแต่เพียงส่วนน้อยจากงบประมาณดังกล่าว ถ้าทำไม่ดี ทำแล้วไม่โปร่งใส มันจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นมา ต้องโปร่งใสนะครับ ต้องไปดูว่า ระดับนโยบายว่าไง ระดับขับเคลื่อนว่าไง ระดับปฏิบัติว่าไง มันทุจริตอยู่ตรงไหน ไม่ใช่ว่าเหมาจ่ายกันทั้งหมดว่ามันทุจริตตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง มันมีกฎหมายทุกตัว ทุกระดับนั่นแหละ ระมัดระวังกันก็แล้วกัน
3.การที่มีนักการเมืองลงทุนเข้ามา ต้องตรวจสอบกันให้ดี บางคนอาจตั้งใจเสียสละ บางคนอาจต้องการผลประโยชน์ตอบแทน แต่ทั้งนี้ ผลทางการเมืองก็ต้องให้ประชาชนพึงพอใจด้วย ซึ่งก็คือปัญหาตรงนี้ครับ อย่าให้อ้างได้ว่าเข้ามาแล้ว จะทำให้ดีขึ้น มากขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมายหรือความโปร่งใส
ผมเชื่อมั่นว่านักการเมืองส่วนใหญ่อยากจะทำดี ผมขอบคุณนะครับ และขอโทษถ้าเกินเลยไปบ้าง แต่ระบบการเมืองไทยยังไม่เอื้ออำนวย ถ้าเราช่วยกันแก้ ถ้าไม่ใช้เงิน ก็ไม่ได้คะแนนเสียงอย่างนี้ไม่ได้ ทุกคนทุกพรรคอยากเป็นรัฐบาล ไม่อยากเป็นฝ่ายค้าน เพราะเหตุใด กิจกรรมหรือโครงการดีๆ คงต้องการความร่วมมือกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพราะว่าถ้าทำแล้วมันเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แก้ปัญหาโดยรวมที่ทับถมทุกวันนี้อย่างเต็มที่ ถ้าหากว่าฝ่ายรัฐกับฝ่ายค้าน ค้านกันตลอดเวลา เพราะถือว่าไม่ใช่นโยบายพรรคของตน ประชาชนก็ลำบาก เพราะฉะนั้น ต้องร่วมมือกัน ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ก็ต้องช่วยกัน ร่วมมือกันแก้ไขให้ประชาชนเข้าใจ อย่าไปเรียกร้องอะไรที่ผิดๆ กับเขา
ในเรื่องของนายทุน การเอื้อประโยชน์ เราต้องมาพิจารณาว่า ในระบบทุนนิยม ระบอบประชาธิปไตย มีคนอยู่ 3 กลุ่ม
1.รวยมาก อาจจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ รายได้มากทั้งในประเทศ และข้ามชาติ มีการลงทุนสูง
2.ปานกลาง อันนี้คือ ข้าราชการ ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กลง ทั้ง 2 ประเภท ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว และมีความเสี่ยงในการลงทุน ถ้าไม่ใช่ข้าราชการ
ที่เราต้องมาดูว่า กลุ่มที่ 3. คือที่พวกเราเดือดร้อนทุกวันนี้ คือ ผู้มีรายได้น้อย จำนวนมากหลายสิบล้านคน เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการอิสระอาชีพอิสระ ได้ส่วนแบ่งรายได้ ที่เหมาะสมเพียงพอหรือยัง ก็ต้องไปดูต้นทุนของเขาด้วย ถ้าต้นทุนเขาไม่มากเกินไป เวลาเขาขายได้มาสัดส่วนแบ่งปันตรงนี้มันก็น่าจะได้ แต่ถ้าต้นทุนมันสูงกำไรมันก็น้อย ก็ต้องไปดูตรงนั้นว่าเป็นธรรมหรือไม่ อย่างไรในระบบทุนเสรี
และอีกประการหนึ่ง ถ้าเขาทำถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ไม่ต้องกลัว ไม่ว่าจะซื้อขายที่ดิน เพราะมีคนขาย เสียภาษีตามกฎหมาย เขาก็ดำเนินการได้ ก็ต้องไปดูว่าทำไมถึงขาย เราคงโทษคนซื้อลำบาก เพราะกฎหมายให้ทำได้ คนที่ลำบากเขาถึงขาย ฉะนั้นอะไรทำให้เขาลำบาก ก็อาชีพไม่พอกิน ราคาผลิตผลตกต่ำ ต้องมาแก้ตรงนี้ให้เขาไม่ขายที่ดิน ไม่ใช่ไปบอกว่าเออ ไปยึดที่ดินคืนจากคนที่เขาซื้อไปแล้ว มันทำไม่ได้มั้งครับ มันมีกฎหมายนะ ฉะนั้นวันนี้ เราต้องการขาย เขาก็จะซื้อ ถ้าเขาพอใจ เราทำยังไง จะต้องไม่ขายไม่ขายที่ดิน แล้วก็บุกรุกต่อไป เมื่อขายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมาหาทางสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเองให้ได้ ขายไปแล้วก็ว่ากันอีกที ไม่ขายก็อย่าขาย ตอนนี้
รัฐบาลนี้พยายามแก้ปัญหาให้กลับมาอยู่ที่กลุ่มที่ 3 ให้มากที่สุด ทำให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ สนับสนุนการรวมกลุ่ม โดยรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมอย่างตรงประเด็น เป็นทางเลือก ไม่ต้องขายผลผลิตผ่านคนกลางอย่างเดียว ปัญหา คือ การรวมกลุ่ม หลายอาชีพ ยังทำไม่ได้มาก ยังรวมกันไม่ได้ มีผู้นำมากมายหลายสมาคม หลายผู้นำ หลายประธานเหลือเกิน ก็คงไม่ได้คิดร่วมกันเท่าไหร่ หวังเพียงกลุ่มตนดีขึ้น กลุ่มอื่นก็เป็นเรื่องของกลุ่มอื่น มันก็เลยเปะปะวุ่นวายไปหมด กลายเป็นประเด็นนโยบายทางการเมืองเข้าไปอีก เราเห็นเพียงการสนับสนุนเป็นกลุ่ม ๆ อาจจะโดยเฉพาะกลุ่มของตนเองนั้นมันทำให้เกิดปัญหา
เราต้องอย่าลืมว่า เศรษฐกิจของประเทศมีหลายระดับ ปัจจุบันคนเสียภาษี ก็คือผู้ประกอบการ รายใหญ่ กลาง เล็ก ข้าราชการ ที่ขึ้นทะเบียน ก็เป็นผู้ที่เสียภาษีตามภาษีบุคคล หรือนิติบุคคลก็ตาม ก็เสียมาตลอดนะ สิบกว่าล้านคน แต่บางคนก็ไม่ได้เสียภาษี ประชาชนที่เหลืออยู่ ข้าราชการ ผู้มีรายได้น้อยภาษีไม่ถึงเกณฑ์ไง มีการลดอะไรอีกเยอะแยะ มันก็ไม่ได้เสียภาษีส่วนนี้
สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยนะครับ หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษีก็ไม่ได้เสีย ไปเสียภาษีVat กันอย่างเดียว ภาษี Vat ซึ่งเราก็ไม่ได้ขึ้นมาหลายปีแล้ว ที่เราบอกว่ามีคนอยู่ 1,000 ครอบครัวรวย ที่เหลืออีก 40 ล้าน 50 ล้าน 60 ล้านไม่รวย แล้วผมถามว่าถ้าเราไม่เอาคน 1,000 ครอบครัวนั้นมาร่วมมือกันในการขับเคลื่อนประเทศมันจะไปได้ไหมครับ เราจะส่งเสริมคน 40 ล้าน ขึ้นมารวยเท่ากับคนข้างบนได้ไหม ไม่ได้ มันต้องเกลี่ยรายได้ลงมาให้ได้ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
กฎหมายก็มีอะไรก็มี อยู่ที่สิ่งที่พวกเราจะร่วมมือกันในการปฏิรูปประเทศ คนรวยจะช่วยดูแลคนจนอย่างไร มาช่วยรัฐบาลอย่าให้เขาชักจูงไปในทางที่เสียหายกัน หรือไปแสวงประโยชน์หรือไปเสียเงินเบี้ยใบ้รายทางไม่ได้ เอาเงินมาดูแลประชาชนดีกว่า ไอ้ที่คิดว่าต้องเอาเงินตรงนี้ไปอุดตรงโน้นไปให้ตรงนี้เอามาให้ประชาชนดีกว่า
เพราะฉะนั้นเราต้องมาดู ว่าศักยภาพของแต่ละคนแต่ละกลุ่มที่เราว่ามันมีแต่ละรายได้มันทำยังไง ถ้าเรารวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนไม่ได้เราก็โทษใครไม่ได้ ทุกอย่างเป็นการสะสมมาจนถึงทุกวันนี้ หลายสิบปีมาแล้ว ทุกอย่างก็โตขึ้นเรื่อยๆ คนรวยอยู่แล้วก็รวยมากขึ้น เพราะลงทุนมากขึ้นก็รวยมากขึ้น ส่วนคนจนก็ไม่มีโอกาสจะลงทุน ไม่มีขีดความสามารถก็ไม่ได้ลงทุน ก็จะอยู่ในวงจรของผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในห่วงโซ่เหล่านี้
เพราะฉะนั้นคนรวย หรือ ผู้ประกอบการ ผู้ถือหุ้น เขาต้องการกำไรมาก ลงทุนมากเสี่ยงมาก ล้มเมื่อไรก็ไม่รู้ ขณะเดียวกันคนจน หากไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่ของเขาก็อาจจะไม่ได้รับประโยชน์อะไร วันนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีจำนวนมาก เราพยายามจะขับเคลื่อนคนเหล่านี้ให้ไปเสียภาษีให้ได้ ไม่ต้องการรีดภาษีนะครับ ถ้าเข้าไปถึงเกณฑ์การเสียภาษี เช่น เกินปีละ 300,000 ขึ้นมา มันก็เพียงภาษีไม่มากมายนัก บางทีอาจจะไม่เสียด้วยซ้ำไป ลดโน้นลดนี่กันลงไป แต่เพียงแต่ว่าเขาดีขึ้นไหมล่ะ จากรายได้วันนี้ต่ำกว่า 100,000 ถ้าเป็นรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนจะดีกว่าไหม หรือ 30,000 ขึ้นเป็น 100,000 ไปก่อนแล้วไปเป็น 300,000 อย่าไปกลัวเรื่องเสียภาษี ถ้าเราตัดคนรวยคนลงทุนออกไปแล้วเราจะอยู่กันยังไงในเมื่อข้างล่างยังไม่พร้อมยังไม่แข็งแรง
ฉะนั้นวันนี้เราต้องให้คนรวย คนมีสตางค์ เอาภาษีอะไรต่างๆ มาช่วยดูแล สร้างงานสร้างอาชีพ ลงทุน คนจนเราก็ต้องพัฒนาตัวเอาเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่ให้ได้ พัฒนาตัวเองไปสู่ผู้ประกอบการ เริ่มจากสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลาดประชารัฐ ถ้าเราโตขึ้น เราแข็งแรงขึ้น เราจะไม่โทษกันไปกันมาแล้วตอนนี้ เขาก็ต้องมาสู้กับเราด้วย เพราะเราเข้มแข็งพอในเรื่องของต้นทาง รวมพลังกันให้ได้ เขาต้องมาซื้อที่เราอยู่ดี
ถ้าหากทุกคนพอใจ ร่วมกันตรงนี้ได้คำว่าเอื้อประโยชน์ ทุนนิยม มันก็ไม่สามารถทำอะไรได้กับประชาชน ทุกบริษัทก็มีผู้ประกอบการ ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง อยู่จำนวนหนึ่งที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ที่เรียกว่าพันธสัญญา แต่ที่เหลืออยู่เหล่านั้นที่ยังคงแตกกระจายไปมา ไม่รวมกัน ไม่มีการสร้างความเข้มแข็ง มันก็เหลืออยู่ทางเลือกเดียวก็คือต้องเข้าไปสู่วงจรของเขาแต่เพียงอย่างเดียว กำหนดราคาได้เราก็ลำบาก
ทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทใหญ่ก็มีคู่สัญญาของเขามีเกษตรกรอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เป็นโครงสร้างของเขาเดิม ถ้าเราไม่อยากที่จะเข้าไปอยู่ตรงนั้นเราก็ต้องมาทำให้ของตัวเองแข็งแรง มาทำมาค้าขายอิสระ วันนี้เราทำกันอยู่แล้ว แต่มันไม่มีแรงขับเคลื่อน ไม่มีทุนไม่มีใครมาซื้อ คืออยู่นอกวงจรของเขา เราก็ต้องมาสร้างวงจรขึ้นมาใหม่
ที่ผ่านมานี่ผมไม่เคยโทษเกษตรกรหรือผู้มีรายได้น้อยเลย ไม่อยากใช้คนว่าคนจนใช้คำว่าผู้มีรายได้น้อยดีกว่า ผมอยากให้เข้าใจและร่วมมือกันระดับท้องถิ่น พื้นที่กิจการ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้จะสนับสนุนได้ตรงความต้องการ ปีนี้รัฐบาลจะลงไปดูแลในเรื่องข้างล่างนี้ จะดูแลได้อย่างไร ทั้งเกษตรกรที่ไม่ได้อยู่ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ หรือ การปรับโครงสร้าง
จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ เกษตรกรเหล่านี้ซึ่งเข้าไม่ได้ บางทีก็กู้เงินไม่ได้อะไรทำนองนี้ หลายๆส่วนทั้ง SMEs ทั้งภาคประชาชน กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ อะไรต่างๆ เราก็ต้องมาดูซิว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ที่ผ่านมาเราเริ่มทำโครงสร้างไปบ้างแล้ว กฎหมายก็ออกมาบ้างแล้ว แต่มันยังไม่ครบ ยังไม่เกิดผลประโยชน์ นี้คือสิ่งที่ผมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เรายังทำไม่ได้ แต่ถ้าทำได้ง่ายๆแบบเดิม เอาเงินถมลงไปๆ แล้วก็พอใจได้เงิน ชอบผม รักรัฐบาล แต่เป็นการทำร้ายประชาชนทางอ้อม มีความสุขวันนี้แต่วันหน้าประเทศล้มละลายทำยังไง ต้องคิดตรงนี้ช่วยผมด้วย ว่าวันนี้ต้องรวมกลุ่มให้ได้ ทำโครงสร้างทุกกลุ่มกิจการ ที่เป็นอาชีพอิสระด้วย ต้องรวมกลุ่มกันให้ได้รัฐบาลจะได้สนับสนุนให้ได้ถูกต้อง ไม่อยากให้รัฐบาลใหม่เข้ามาก็ต้องทำแบบเดิม ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้อีก ต่อต้านชุมนุมกันตลอดเวลา เพราะว่าไม่ได้ดูแลคนเหล่านี้ได้อย่างที่เขาพอใจ เพราะเดิมๆมันก็เป็นเรื่องแบบนี้นะ ก็เป็นกลุ่มเป็นฝ่าย ไม่อยากให้ทุกอย่างกลับไปที่เดิม
ช่วงนี้เราจะต้องช่วยกัน ผมพยายามทำเต็มที่ก่อนที่จะไปสู่การเลือกตั้ง แล้วก็ให้รัฐบาลใหม่ทำต่อไป ขอร้องว่า ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านต้องร่วมมือกันด้วย นโยบายที่ผมได้เริ่มไว้แล้วหลายอย่างมันเป็นความจำเป็น ขอบคุณทุกคนนะครับที่ตอบมาและอาจจะยังไม่ได้ตอบมา สิ่งที่พูดมาไม่ได้เพียงกลั่นกรองมาให้รัฐบาลพอใจ ผมพอใจ ไม่ใช่เลย เป็นความคิดเห็นประชาชน 500,000 คน ผมคิดว่ายังมีประชาชนที่สนใจอยากมีส่วนร่วมอีกเยอะ ส่งมาให้เยอะๆกว่านี้ อยากเขียนอะไรเพิ่มเติมนอกจากคำถามก็ได้ ผมพร้อมจะรับฟังความคิดเห็น บางทีก็อาจจะมาแต่ไม่รู้จะตอบอย่างไร บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจ ผมต้องการอะไร ท่านก็เขียนมาเลย เขียนเพิ่มเติมมาได้ ผมพร้อมที่จะรับฟังและปฏิบัติตามกลไกของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง มั่งตั่งและยั่งยืน
วันนี้ก็ได้หารือไปยังกระทรวงมหาดไทย หากวันนี้ยังไม่สะดวก คนอยากจะมาแต่มาไม่สะดวก ลองไปดูที่ศูนย์ดำรงธรรมไม่รู้ว่าตอนนี้รวบรวมได้หรือยัง ทุกพื้นที่เพิ่มเติมมาได้ไหม หรือ จะให้หน่วยทหารรวบรวมไปที่กระทรวงมหาดไทยให้ก็ได้ อันนี้ก็ฝากกระทรวงมหาดไทยช่วยพิจารณาด้วย ประชาชนจะได้มาลงความคิดเห็นกันได้มากขึ้น
ไม่ใช่โพลล์ชอบผมไม่ชอบผมไม่ใช่ เป็นการแสดงความคิดเห็น ก็ขอให้ช่วยกันหารือ คสช.กระทรวงมหาดไทย ทุกหน่วยงานจัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนได้มาร่วมกันมากขึ้น ผมต้องการความคิดเห็นทั้งข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. ที่ผ่านมาผมเห็นมีแต่ประชาชน แล้วคนอื่นไม่ใช่ประชาชนหรือ ทุกคนที่เป็นคนไทย คือ ประชาชนทั้งสิ้น เสนอมาผมจะได้เห็นว่าส่วนใหญ่เป็นอย่างไร วันนี้ได้มาแค่ 500,000 คน
สิ่งที่น่าห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือ ภาพที่มีคนไทยหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ มีความเคลื่อนไหวในการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ประเทศไทย สถาบัน หลายคนมีการโอนสัญชาติไปแล้ว แล้วก็มีเหตุผลที่อ้างคือ การถูกปฏิวัติรัฐประหาร ไม่เป็นธรรม ผมว่า เราต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจ ทุกคนที่ทำแบบนี้ ทำผิดกฎหมายในประเทศของเราหรือเปล่า ถ้าผิดมันก็คือผิด กระบวนการตรวจสอบวันนี้ก็ไม่ใช่ คสช. ที่ผ่านมาครั้งที่แล้วก็ คตส. ก็ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสินว่าผิดหรือถูก คือทั้งหมดเป็นแต่เพียงนำทุกคน ทุกคดีเข้าไปสู่การดำเนินคดี ด้วยกฎหมายปกติ ด้วยศาลปกติ ศาลการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คดีอาญาการเมืองก็เป็นเรื่องของศาลปกติ เพียงแต่เอาเข้าไป ไม่อย่างนั้นก็ไม่ได้เข้าก็แค่นั้นเอง ผิดถูกก็ไปพิสูจน์กันเอง ผิดหรือไม่ผิด มีหลักฐานหรือไม่ ถ้าไม่ผิด ไม่มีคดี ใครจะดำเนินการท่านได้ครับ
กฎหมายรัฐมีขื่อมีแป เพราะฉะนั้นเป็นการใช้กฎหมายปกติ เป็นการทำงานขององค์กรอิสระทั้งสิ้นในการตรวจสอบ หน้าที่ของรัฐบาลมีหน้าที่ในการนำเข้าทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ คนเหล่านั้นที่หนีไป ผมสงสัยว่าเขาสามารถอยู่อาศัยในต่างประเทศได้อย่างไร เอาเงินจากที่ไหนมาใช้ มีอาชีพ มีรายได้จากที่ไหน ช่วยกันตรวจสอบด้วย
รัฐบาล และ คสช. พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกคดี ทุกคน ขอให้กลับเข้ามาสู่กระบวนการต่อสู่คดี ผมไปบังคับศาลไม่ได้ครับ ไม่ต้องกลัว ศาลก็คือศาล กระบวนการยุติธรรมคือกระบวนการยุติธรรม ผมมีหน้าที่ในการนำเข้าเท่านั้นเอง
สุดท้ายนี้ วันวานเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ ผมได้ไปร่วมงานในงานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้ ณ ห้อง World Ballroom โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ก็มีความประทับใจ และเห็นว่าเป็นประโยชน์มากโดยการวิจัยและนวัตกรรมนั้น จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและยกระดับการแข่งขัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ
โดยเฉพาะเพื่อให้ประชาชนได้มีมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้เห็นถึงพลังการประสานงาน ความร่วมมือในการดำเนินงานขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมแบบบูรณาการ ของทุกภาคส่วน ซึ่งภายในงานมีการนำเสนอผลงานในลักษณะของคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ที่สำคัญของประเทศ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ กลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัล และกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทั้งนี้เป้าหมายของการวิจัยและพัฒนา ไม่เพียงแต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันในด้านต่างๆ เท่านั้น หากแต่จำเป็นต้องมุ่งสร้างให้คุณภาพชีวิตทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ในการ…… (***สียงหาย***)…..ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เผื่อแผ่แบ่งปันกัน ระมัดระวังการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัยนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำงาน และทำความดีด้วย เพราะการทำงาน จะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยัน อดทน พึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้น จะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ ซึ่งในปัจจุบันนี้รัฐบาลได้เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาให้เป็นรูปธรรมอย่างครบวงจรต่อไป อีกทั้งได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงให้ความสำคัญด้านการศึกษา ที่จะช่วยส่งเสริมพื้นฐานของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นผมขอนำมากล่าวซ้ำ และขยายความเพิ่มเติม ดังนี้ 1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองคือ มีความรู้ ความเข้าใจ ในความเป็นชาติ ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน
2.มีอุปนิสัยที่มั่นคง เข้มแข็ง มีคุณธรรม โดยรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี ปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบ ดีงามปฏิเสธสิ่งที่ผิด ที่ชั่ว และช่วยกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง
3.มีอาชีพ มีงานทำ สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ โดยต้องฝึกฝนอบรมให้รักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ ทั้งนี้สถาน ศึกษาต้องมุ่งให้เด็กและเยาวชน ได้รับการฝึกฝนอบรม ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนทำงานเป็น และใช้ความสามารถในการประกอบสัมมาชีพ เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้
และ 4. เป็นพลเมืองดีอันเป็นหน้าที่ของทุกคน โดยครอบครัว สถานศึกษา และที่ทำงานต้องส่งเสริมให้คนไทยมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี มีจิตอาสา มีน้ำใจและความเอื้ออาทร พร้อมทำเพื่อบ้านเมือง เช่น อาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ งานสาธารณกุศล เป็นต้น ก็ขอให้ร่วมมือกัน บ้าน วัด โรงเรียนด้วย
ในการนี้รัฐบาลได้ประยุกต์พระราชโอวาท และพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาดังกล่าว สำหรับการปฏิรูปการศึกษาของประเทศในภาพรวม และในการวางยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคน เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้ทรัพยากรมนุษย์ และแรงงานที่มีคุณภาพ ช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต อาทิ ส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ด้วย อาทิ การผลิตและพัฒนากำลังคน ในระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้ตรงกับความต้องการของทุกกิจกรรมใน EEC การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาร่วมพัฒนาประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานไทยอีกด้วย ที่สำคัญก็คือสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีขั้นตอนตามแผนแม่บทดังนี้
ขั้นแรก การสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของสังคม และประเทศชาติ โดยการสร้างให้ผู้เรียน มีความรอบรู้ มีทักษะรอบด้าน ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม มีภูมิคุ้มกัน
ขั้นที่ 2 มุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยปรับปรุงหลักสูตรให้รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้ง S-Curve และ New S-Curve ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อีกทั้งเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เพิ่มการฝึกอบรมเฉพาะทาง เพื่อสร้างความชำนาญ โดยจัดให้มี ศูนย์ความเป็นเลิศ และ ศูนย์พัฒนาเฉพาะทาง ร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ ด้วย
ขั้นที่ 3 คือการพัฒนาศักยภาพกำลังคน และสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ โดยมีแผนการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ ให้กับคนใน EEC ทุกวัย
ขั้นที่ 4 สร้างความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน โดยจูงใจให้นักเรียนเข้าเรียนด้านอาชีวศึกษามากขึ้น โดยส่งเสริมให้มีการทำงานควบคู่ ไปกับการเรียน เพื่อสร้างรายได้ และประกันการมีงานทำ มีการจัดระบบช่วยดูแลนักศึกษา และสนับสนุนเงินทุน การศึกษากับผู้ด้อยโอกาสอีกด้วย
ขั้นที่ 5 คือการสร้างความตระหนักรู้ ถึงการสร้างการเติบโตและยกระดับคุณภาพชีวิต ที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสร้างนิสัยในการใช้ทรัพยากร ความปลอดภัยในการทำงาน จรรยาบรรณอาชีพ และการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และขั้นสุดท้าย เป็นการขับเคลื่อนงานวิจัย เพื่อเป็นการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ โดยดำเนินการในหลายกิจกรรมพร้อมๆ กัน อาทิ การเสริมสร้างศักยภาพของสถานศึกษาให้มีความพร้อม เพื่อเข้าสู่ ยุค 4.0 การสร้างฐานข้อมูลกำลังคน และประมาณการความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อจะสร้างความสมดุลและการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน สนับสนุนให้สถานศึกษาและสถานประกอบการได้หารือและทำงานร่วมกัน สำหรับสร้างคนที่ตรงกับความต้องการ และรองรับการปฏิบัติงานร่วมกันหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ EEC รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับสถานศึกษาต่างประเทศ เพื่อยกระดับมาตรฐานไทยสู่สากลอีกด้วย
พี่น้องประชาชนที่รัก พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ซึ่งเราถือว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ คำว่าประเสริฐหมายถึง การมีระดับจิตใจสูงสามารถเข้าถึงความดีงาม อาทิ ความรัก ความสามัคคี ในหมู่เพื่อนมนุษย์ สังคม และความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ต่อกันและกัน คนเรานั้นสามารถฝึกฝนและพัฒนาจิตใจได้ โดยปราศจากข้อจำกัดเรื่องชาติกำเนิด หรือฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกัน รู้จักแยกแยะความดี ความเลว นอกจากนี้ ในฐานะความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็น สัตว์สังคม ผมเห็นว่าหลักธรรม 3 ประการในพุทธศาสนา ที่เราทุกคนควรตระหนัก และยึดถือเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนไทย อย่างมีความสุข ได้แก่ 1. ปัญญา 2. เมตตากรุณา รักใคร่เกื้อกูลกัน และ 3.ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นอกจากนี้คำว่าสิทธิเสรีภาพบนพื้นฐานแห่งศีลธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงการมีเวที หรือช่องทางให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงก็คือมนุษยธรรม อีกด้วย
ทั้งนี้ หากสังคมใดคนในสังคมมีศักดิ์ศรี สังคมนั้นจะมีแต่ความสามัคคีและปรองดอง ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่การมีเสรีภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับปล่อยให้เกิดการละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น หรือละเมิดกฎหมาย และไม่ใช่อยู่ที่การมี สิทธิ เพื่อครอบครองอำนาจ หรือมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น ในทางที่ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ เหตุที่ 80 กว่าปี ประชาธิปไตยของไทย ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร จึงลุ่มๆ ดอนๆ โดยเฉพาะช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้น ผมเห็นว่าบ้านเมืองของเรานั้น ประสบกับภาวะบกพร่องทางจิตวิญญาณ หมายถึงจิตใจของคนไทยมีความบกพร่องหรือขาดภูมิคุ้มกันทางศีลธรรม เป็นเหตุให้สังคมมีปัญหา ผมไม่ได้โทษประชาชน เพียงแต่ว่าเราต้องเตือนกันต้องเข้าใจกัน จิตใจก็ต้องดูใจผมเหมือนกัน เปลี่ยนแปลง ควบคุมตัวเองให้ได้ ทุกคนต้องมาช่วยผมตรงนี้ ประเทศจะได้ไม่ไปประสบวิกฤตการทางการเมืองอีก อีกคำหนึ่งที่ผมนึกถึงคือคำว่า ธรรมาธิปไตย ที่สังคมไม่ค่อยพูดถึงกันนัก แต่กลับมีความสำคัญ กล่าวคือ การถือธรรมะเป็นใหญ่ เป็นการยึดถือหลักการ หลักเหตุผล หลักความเป็นจริง ความถูกต้อง ความเป็นธรรมในการบริหารจัดการกับต่างๆ ถ้าเรามีประชาธิปไตย แต่ปราศจากธรรมาธิปไตย ความสงบสุขในสังคมก็จะไม่มีความยั่งยืน และที่สำคัญ ก็คือ จุดเริ่มต้นของการปรองดองคือ การทำให้สังคมมีธรรมาธิปไตย
วันนี้รัฐบาล และ คสช. พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะแก้ไขปัญหาของสังคมนานัปการที่กองสุมกันอยู่ทุกมิติ หากสังคมไม่ยอมช่วยกันแก้ปัญหา ต้องการการปฏิรูป แต่ไม่ยอมรับเปลี่ยนแปลงไปในที่ถูกที่ควร ตามครรลองของกฎหมาย และยังไม่เคารพกฎหมาย แล้วผลักภาระ หรือรอคอยให้นายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. มาตามแก้ไขปัญหาแต่เพียงฝ่ายเดียว ผิดหลักการ ขาดความรับผิดชอบร่วมกัน รอให้คนมาปัดกวาด ไม่ทันใจก็ต่อว่าขับไล่แบบนี้ เราจะแก้ปัญหาของเราอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ผมอยากให้ทุกคนได้คิด มีสติ และทบทวน ว่าเราน่าจะใช้หลักธรรม หลักศาสนา และหลักการต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น มาช่วยแก้ปัญหาทางการเมืองได้ด้วย
อีกตัวอย่างหนึ่ง ครูเชาว์ นายเชาวลิต สาดสมัย ซึ่งมีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย ใช้ชีวิตวัยเด็กในสถานสงเคราะห์ฯ ปากเกร็ด บ้านราชาวดีชาย แต่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา และเป็นผู้รักการเรียน เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์ เอกพลศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม เป็นครูอาสาสมัคร โดยอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่นและสังคม ได้ทำกิจกรรมมากมาย ในการดูแลเด็กและเยาวชน ในชุมชนแออัด เขตบางพลัด เช่น รับ-ส่งเด็กที่โรงเรียนที่โรงเรียน ช่วยสอนการบ้าน เยี่ยมบ้านให้คำแนะนำแก่ครอบครัว ขอรับบริจาคเงินสร้างสนามกีฬาให้เด็กในชุมชน รวมทั้งสิ่งของเพื่อมอบให้กับเด็กยากจน และจัดหาทุนการศึกษาให้กับเด็กในชุมชน เรียนถึงระดับปริญญาตรีไปจนถึงให้การช่วยเหลือเหตุเร่งด่วนที่เหยื่อถูกกระทำด้วยความรุนแรง เป็นต้น
ที่ผมนำเรื่องของครูเชาว์ ขึ้นมากล่าวเพื่อเป็นการยกย่องคุณความดี และอยากให้เป็นอุทาหรณ์ให้คนไทยได้หันมามองคนอื่น มองสังคม มองประเทศ ชาติบ้าง เสียสละกันบ้างว่าวันนี้ หรือแต่ละวัน เราทำเพื่อใครไปบ้าง นอกจากตัวเอง เราเรียกร้องมากมายจากประเทศชาติ แล้วเราได้ทำอะไรให้กับสังคม ชุมชน คนรอบข้าง คนด้อยโอกาสบ้างหรือไม่ ฝากผู้มีเงินทองต่างๆ ทั้งหลาย ช่วยกันเสียสละ อย่างน้อยก็ขอให้ทุกคนได้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เป็นพลเมืองดี สร้างสรรค์สังคม และรักษาศีล 5 เป็นนิจ บ้านเมืองของเราก็จะมีแต่ ความสงบสุข สันติสุข และมีความปรองดองตลอดไป
พี่น้องประชาชนที่เคารพตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมานั้น ปัญหาสำคัญๆ ในอดีตที่รัฐบาลนี้พยายามจะแก้ไข แล้วก็ปรับให้เข้ามาสู่สิ่งที่ควรจะเป็น และเป็นสากล มี 3 เรื่องหลักๆ คือ 1.การจัดระเบียบสังคม และการบังคับใช้กฎหมายปกติให้ได้ ให้มีประสิทธิภาพ ไม่มีการปล่อยปละละเลย ในทุกกรณี ให้ปัญหาเดิม ปัญหาใหม่ ทับถม ยุ่งเหยิง บานปลาย อีกต่อไป
2.คือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ ให้มีความสมดุลและยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ประกอบการ ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนเพื่ออนาคต ที่สอดรับและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
3.การวางรากฐานการปฏิรูป ซึ่งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรก รัฐบาลนี้และ คสช.ได้ดำเนินการเตรียมการในทุกมิติทั้งความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทย ได้แก่ การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่น IUU ICAO ยาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชั่น บุกรุกป่า เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชน นายทุน ผู้ประกอบการ เป็นจำนวนมาก ที่ประกอบอาชีพ หรือดำเนินกิจกรรม ที่ขัดต่อกฎหมายเหล่านั้น คงไม่ใช่จะเป็นปัญหากับทุกคน เช่น การบุกรุกป่า การรุกล้ำเขตน่านน้ำ การประมงที่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย การนำเข้าแรงงานต่างด้าวไม่ถูกต้อง นำไปสู่ปัญหาการค้ามนุษย์ แรงงานทาส การค้าขายบนทางเท้า พื้นที่กีดขวางการจราจร การค้าปลีกสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เหล่านี้เป็นต้น
ทั้งที่ทุกคนก็รู้ว่าผิด หรืออาจจะไม่รู้ว่าผิด เพราะไม่รู้กฎหมายก็มี หรืออาจจะมีการรับจ้างให้ทำ โดยเจ้าตัวอาจจะไม่มีเจตนาละเมิดกฎหมายก็ทำทุกอย่างให้ได้เงิน ได้สตางค์มาเลี้ยงครอบครัว แต่พอรัฐบาลนี้มาเคร่งครัดเอาจริงเอาจัง เพื่อจะสร้างนิติรัฐ นิติธรรมในสังคมไทย อันเป็นพื้นฐานที่ดี เป็นสากล เพื่อจะลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ต้องยอมรับว่า เป็นเหตุให้พี่น้องประชาชนเหล่านั้น มีรายได้ที่ลดลง ส่งผลให้การใช้จ่ายเงินในระบบเศรษฐกิจจากธุรกิจสีเทา คือที่ผิดกฎหมายลดลง เงินหมุนเวียนในระบบก็ลดลงตามไปด้วย ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจว่า เราต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งรัฐบาลได้พยายามที่จะช่วยเหลือสร้างงาน สร้างอาชีพ หรืออาชีพที่ถูกกฎหมายมารองรับ ทำให้สามารถมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ และมีความยั่งยืน พยายามอย่างเต็มที่ รัฐบาลนี้เข้าใจดีว่า แม้ตัวเลขเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่รายได้อาจจะยังไม่กระจายไปสู่ประชาชนได้มากนัก เพราะโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ การกระทำข้อหนึ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้คือ สิ่งที่เกิดในวันนี้เป็นผลจากการกระทำในอดีต ถ้าทำมาดีแล้ว วันนี้คงไม่ลำบากมาตามแก้ปัญหาเช่นเดิม ส่วนสิ่งที่รัฐบาลนี้กำลังทำอยู่ย่อมส่งผลในวันข้างหน้าอย่างเป็นมักเป็นผล
อย่างไรก็ตาม จะไม่ส่งผลทางเศรษฐกิจในทันที แต่อาจจะส่งผลต่อด้านจิตวิทยา ความเชื่อมั่นในเบื้องต้น ได้มีการวาดภาพ วาดความฝันในอนาคตไว้ร่วมกัน วันนี้ลำบากก่อน เพราะว่าเราทำอะไรตามใจตัวเองกันมานานแล้ว
ผมขอฉายภาพอนาคตของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ทุกระบบของประเทศในภาพรวมว่า อีก 5 ปีข้างหน้า 2565 เราจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วเราจะได้ดูว่าเราจะได้อะไรจากตรงนี้ ซึ่งประชาชนคนไทยทั่วทุกภูมิภาค จะได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลง เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตอย่างไร รายละเอียดตามหน้าจอดังนี้
1.การขนส่งทางถนน เราจะมีทางหลวงขนาด 4 ช่องทางจราจรขึ้นไปเพิ่มขึ้นอีกราว 700 กิโลเมตร มีทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพิ่มขึ้น จากเดิมมีเพียง 146 กิโลเมตร เป็น 636 กิโลเมตร มีการพัฒนาทางหลวงชนบท เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตเมืองเพิ่มขึ้น 2 เท่า มีการสร้างสะพานข้าม อุโมงค์ลอดรถไฟเพิ่มขึ้นกว่า 100 แห่ง และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำขนาดใหญ่อีก 5 แห่ง เป็นต้น
2.การขนส่งทางราง เราจะมีรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นราว 15 เท่า จาก 250 เป็น 3,500 กว่ากิโลเมตร มีการพัฒนาราง 4 เส้นทาง กว่า 1,039 กิโลเมตร และมีรถไฟฟ้าเพิ่มเป็น 11 เส้นทาง ระยะทางรวม 439 กิโลเมตร สิ่งที่ได้จากการพัฒนาทั้งทางถนนและทางรางนี้ จะช่วยลดปริมาณการจราจรบนถนน ปริมาณรถต่างๆ บรรเทาความคับคั่งลง เช่น การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางระหว่างเมืองจาก 59% เหลือ 40% และเพิ่มความเร็วเฉลี่ยให้กับการเดินทางโดยรถไฟจาก 60 เป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้ง สามารถลดอุบัติเหตุ และลดความสิ้นเปลืองพลังงานลงได้ด้วย
3.การขนส่งทางน้ำ เราจะมีท่าเรือชายฝั่งทะเลเพิ่มขึ้น 5 แห่ง รวมเป็น 23 แห่ง และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้สามารถรองรับตู้สินค้าเพิ่มจาก 11ล้าน เป็น 18.8 ล้านทูอียูต่อปี ทั้งนี้ ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี และลดต้นทุนลอจิสติกส์ลงมากกว่า 2% ต่อจีดีพี
และ 4.การขนส่งทางอากาศ เราจะมีท่าอากาศยานเบตงเพิ่มขึ้น และมีการยกระดับสนามบินอู่ตะเภา สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นราว 3 แสนเที่ยวบินต่อปี และรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 60ล้านคนต่อปี ที่สำคัญและน่าสนใจอีกประการคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่กล่าวมานั้น จะทำให้เกิดความต้องการทั้งบุคลากร และวัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนมากภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์ความต้องการบุคลากรในภาพรวม ราว 1.3 แสนอัตรา แยกเป็นช่างต่างๆ 5,280 อัตรา วิศวกร 5,213 อัตรา เป็นต้น
ส่วนความต้องการวัสดุในภาพรวม มีความต้องการวัสดุจำพวกหิน 117 ล้านลูกบาศก์เมตร ปูนซีเมนต์ 21 ล้านตัน เหล็ก 7 ล้านตัน เป็นต้น ซึ่งต้องมีการวางแผน เพื่อรองรับความต้องการดังกล่าวทั้งในด้านการผลิตและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สรรหาบุคลากร และแรงงาน เพื่อภาคเอกชนจะได้มีวางแผนเตรียมการผลิตได้ทันตามความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีการบริหารจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
สำหรับประโยชน์ที่จะได้ถึงมือประชาชนนั้น เป็นในรูปแบบการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ความสะดวกและปลอดภัย มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตสามารถหาเลี้ยงชีพในถิ่นเกิด โดยไม่ต้องเสี่ยงโชคในเมืองเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถ้าเราทำสำเร็จได้ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมโยง สร้างงาน สร้างอาชีพ มีทางเลือกและโอกาสมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการกระจายรายได้ถึงคนไทยทุกคน
พี่น้องประชาชนครับ ผมมีเรื่องที่อยากให้ลองคิดใหม่ช่วยกันพิจารณา
1.โครงการที่รัฐบาลอยากส่งเสริม หรืออื่นๆ ที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนให้กับประเทศชาติ และประชาชนสูงสุด โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน คงจะต้องอำนวยความสะดวก สร้างแรงจูงใจภายใต้กรอบของกฎหมายที่ทำได้ ไม่ใช่เป็นการเอื้อประโยชน์ เช่น 1.โรงไฟฟ้า โรงงานขยะ
2.โครงการบริหารจัดการน้ำ เช่น พื้นที่เก็บกักน้ำ ส่งน้ำ บริหารจัดการเท่าที่รัฐสามารถจะส่งน้ำใช้ได้ เก็บกักเองส่งเองไปสู่การบริหารจัดการในชุมชนให้ประชาชนได้รับประโยชน์
3.โรงเรียน สถานศึกษาที่เน้นวิชาชีพตรงกับความต้องการของประเทศ คือ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ไม่มีงานทำ ไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ และความต้องการแรงงานระดับสูงมีคุณวุฒิมีฝีมือ
4.การเสนอขอการลงทุน โดยช่วยดูแลชุมชนและประชาชนในพื้นที่เขตการลงทุน สถานศึกษาในพื้นที่ทุกระดับ
และ 5.โครงการที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ขัดขวาง พอใจ โดยไม่ไปขัดแย้งช่วงทำประชาพิจารณ์แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องช่วยกันพิจารณา รัฐ ประชาชน เอกชน มาช่วยเสริมกันได้อย่างไร ที่ผ่านมาทุกอย่างมักจะเป็นรัฐบาลคิดใช้งบประมาณอนุมัติแผนงานโครงการของส่วนราชการ แล้วรัฐหรือส่วนราชการก็ไปรับฟังความคิดเห็น อยากลองให้บรรดาผู้รู้ทั้งหลาย บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่รับปรึกษากับนักลงทุน นักกฎหมาย นักวิชาการ ลองเสนอโครงการมา หาผู้ลงทุนมาให้รัฐบาลพิจารณาว่าจะทำได้อย่างไร ที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน และประเทศชาติ ผลประโยชน์ทางธุรกิจในลักษณะที่เป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย เพราะวันนี้หลายปัญหามันเกิดตั้งแต่ต้นทาง รัฐบาลลงทุนให้ทั้งหมดไม่ได้หรอก ไม่พอ เอกชนก็มาลงทุนในโครงการของรัฐก็ไม่ผ่านประชาพิจารณ์อีก ลองดูว่าจะเสนอโครงการที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ที่ทุกคนยอมรับได้ ทุกคนจะได้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ รับผิดชอบร่วมกัน มันน่าจะเป็นวิธีการที่ทำให้ทุกอย่างเกิดได้เร็วขึ้นหรือไม่ เพื่อจะให้ทันเวลาที่ถมทับขึ้นทุกวัน น้ำท่วม น้ำแล้ง การศึกษา การเกษตร การแออัดในเมือง การเจรจา ขยะ การขาดที่ดินทำกิน การยกระดับรายได้ของประชาชน การลงทุนสาธารณูปโภค รถไฟ รถเมล์ โทลล์เวย์ ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน เหล่านี้เป็นต้น
หากโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เราจะเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปประเทศเราได้เร็วขึ้น ประชาชนจะมีรายได้มากขึ้นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รายได้ก็คงไม่ไปกระจุกอยู่ข้างบนหรอก เพราะเป็นโอกาส เป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมได้ ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ข้างหน้าก็ไม่มีช่องทางใหม่ ด้านกฎหมายก็คงต้องไปดูนะครับ ว่าเราจะทำอย่างไร ไม่อยากให้มองว่ารัฐบาลนี้จะเอื้อประโยชน์กับใคร ให้กับนายทุน ให้คนรวยนะครับ เพราะคนที่มีศักยภาพในวันนี้คือ ผู้ที่มีรายได้มากมีขีดความสามารถสูง รัฐบาลจะได้ลดบทบาทลงมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดทำกฎหมาย กฎกติกาให้เป็นธรรม เฉลี่ยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นทั้งรัฐ ประชาชน และเอกชน ไม่อยากให้ขัดแย้งต่อต้านกันจนทำอะไรไม่ได้ เสียเวลาเปล่า ประชาชนเดือดร้อน หากเปลี่ยนวิธีการทำโครงการในการลงทุนเป็นแบบนี้บ้างน่าจะดีกว่าไหม จาการประมูลแข่งกันด้วยราคากลาง มาเป็นแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์ให้รัฐกับประชาชนให้มากขึ้น ประเทศชาติจะได้อะไรจากตรงนี้
เพราะฉะนั้นลองไปคิดดูนะครับ ช่วยกัน แล้วก็สะท้อนกลับความคิดเห็นของท่านกลับมาให้รัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีทราบบ้าง จะได้นำไปแนวทางขับเคลื่อน หลายอย่างทำไม่ได้เกิดไม่ได้เลย
2.การเมืองกับความรู้สึก เราต้องหาทางรับมือความรู้สึกแต่ละรูปแบบ เพื่อโน้มน้าวไปสู่ความมีเหตุมีผล มีสติปัญญาในการแยกแยะถูก ผิด ชั่ว ดี เราต้องเริ่มคิดกันแต่บัดนี้ ก่อนที่จะยากหรือสายเกินไปกว่านี้ สิ่งที่ยากที่สุด สำหรับการปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงจารีต ประเพณี ค่านิยม และทัศนคติต่างๆ ของพลเมือง ไปในทางสร้างสรรค์มากกว่าที่จะมาทำลายซึ่งกันและกัน แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่ทันสมัยและเป็นสากล
การดำเนินนโยบายทางการเมือง มีส่วนสำคัญอย่างมาก สามารถที่จะทำทั้ง สร้าง แล้วทำลายได้ทุกอย่าง เช่น การเพิกเฉยการส่งเสริมให้ประชาชนของชาติยึดมั่นในสถาบันชาติศาสนา ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศ การไร้ความสามารถในการรักษาความสงบสันติของสังคมและประเทศชาติ การใช้นโยบายที่ปราศจากยุทธศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน แต่จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ แล้วก็ทิ้งปัญหาไว้ข้างหลังอีกต่อไป การแยกกลุ่มแบ่งฝ่ายประชาชน โดยยึดตามฐานเสียง แทนที่จะเป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ สร้างความแตกแยก ร้าวลึกในสังคม การใช้งบประมาณประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นเครื่องต่อรองกับการเมืองในท้องถิ่นกับประชาชน เพื่อเป็นการสร้างฐานอำนาจหาคะแนนความนิยม รวมทั้งการใช้งบประมาณที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และไม่เกิดการบูรณาการซึ่งกันและกัน ทำให้สิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่า และไร้ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การแก้ปัญหาเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยนั้น ไม่เป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ผ่านมาอาจจะเน้นประชานิยม ทำให้ปัญหายังคงวงเวียนอยู่ในสังคมทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะก่อความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ที่ดีงามของไทย เช่นความประนีประนอมของคนไทยหายไปจากใจคน สังคมไทย เป็นต้น
การที่รัฐบาลพยายามแถลงข่าวชี้แจงตอบข้อสงสัย โดยให้เหตุผล ใช้ความอดทนอดกลั้น และแสดงความจริงใจ บางครั้งก็ถูกกวนน้ำให้ขุ่น หรือ เล่นการเมืองบนความทุกข์ของพี่น้องประชาชน ทำให้สิ่งที่ผมพูด สิ่งที่รัฐบาลพยายามสื่อสารออกไปไม่เป็นผลอย่างน่าเสียดาย ความเพียรพยายามก็สูญเปล่า
ทั้งนี้ เจตนาของผู้ไม่หวังดี มักสร้างบรรยากาศให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล โดยแสวงประโยชน์ ขยายผลจากความน่าสงสาร ความยากจน และความเดือดร้อน ซึ่งทุกคนเข้าใจดี ว่าเป็นวิถีของการต่อสู้สาดสี เพื่อเอาชนะกัน แย่งพื้นที่ฐานเสียง อันเป็นการดำเนินนโยบายทางการเมือง หรือ วัฒนธรรม การเมืองยุคเก่าที่ไม่เป็นประชาธิปไตย บทเรียนในอดีตเหล่านี้ในวันนี้ เราต้องเร่งนำมาปรับปรุงเพื่อวันข้างหน้า โดยเฉพาะฝ่ายกฎหมาย ผู้ออกกฎหมาย ต้องหยิบยกมาปฏิรูป รวมทั้งปฏิรูปตัวเองบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ต่างคนต่างรู้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาการเมืองไทย จนบานปลายเกิดความไม่เป็นธรรม 2 มาตรฐาน ทุกฝ่ายต้องกลับมามอง มาทบทวนที่ตนเองบ้าง ประชาชนเองก็ต้องมีหลักคิด มีความรู้เป็นภูมิคุ้มกัน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของใครอีกต่อไป
นับจากนี้เราต้องร่วมมือกันพัฒนาบนพื้นฐานความแตกต่าง บนหลักการประชาธิปไตยที่แท้จริง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มากกว่าการยอมให้ใครมา จุดชนวนขยายความขัดแย้งในกลุ่มคน กลุ่มประชาชน ด้วยวาทกรรมที่ไม่สร้างสรรค์อีกต่อไป สิ่งที่เคยทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย ไม่ปลอดภัย มีผู้คนบาดเจ็บ สูญเสีย และงบประมาณก็สูญเปล่า ไร้ผลสัมฤทธิ์ ปัจจุบันสถานการณ์วันนี้สงบเรียบร้อย หลายคนอาจจะลืมภาพเหล่านั้นไปแล้ว กลับมีคนพยายามจะปลุกระดมให้เกิดความเคลื่อนไหว ขัดแย้ง หรือต่อสู้กันอีก ทั้งๆ ที่กระบวนการยุติธรรมได้ตัดสินกันไปแล้ว ลองคิดดู
พี่น้องประชาชนที่รักครับ กรณีการแสดงความคิดเห็นต่อคำถาม 4 ข้อของนายกรัฐมนตรี ขอบคุณนะครับทุกคนที่ตอบคำถาม ซึ่งเป็นประโยชน์มากกับรัฐบาล และ คสช. ประชาชนด้วย เพื่อการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ผมยินดีและดีใจ ที่ประชาชนส่วนหนึ่งมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ไม่ได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความขัดแย้ง ความคิดเห็นดีๆ เช่นนี้ ทำให้ผมมองเห็นว่า เราน่าจะปฏิรูปประเทศได้ด้วยมือของพวกเราทุกคน ขณะนี้มีผู้มาตอบคำถามประมาณ 5 แสนคน อยากให้ส่งกันมาอีก เพราะนี่ก็เป็นกระบวนการประชาธิปไตยอีกอย่างหนึ่งก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเราจะต้องเตรียมพร้อมประชาชนที่จะเข้ามาเลือกตั้งให้มีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนตัดสินใจเพียงไม่กี่นาทีในคูหาเลือกตั้ง โดยคำตอบของประชาชนจนถึงปัจจุบัน สามารถสรุปผลได้ดังนี้
1.สนับสนุนการได้มาซึ่งรัฐบาลที่มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ไม่ทุจริต
2.ยากได้นักการเมืองที่ดีและใหม่ๆ หรือนายกรัฐมนตรีที่เป็นคนรุ่นใหม่ เข้ามาในระบบการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง นักการเมืองทางเลือกใหม่ให้กับประชาชน
3.การเข้ามาสู่การเลือกตั้ง ควรตรวจสอบให้เข้มข้น ให้ได้นักการเมืองที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
4.หากนักการเมืองผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมจะเข้ามา ขอให้ให้องค์กรอิสระ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ตรวจสอบอย่างรัดกุมก่อนการเลือกตั้ง
5.ควรมีกฎหมายที่ทำให้คดีไม่หมดอายุความ ผู้ที่หลบหนีคดี ทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำ หรืออื่นๆ ทุกคนจะต้องมีกฎหมายมาดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ ไม่งั้นก็จะเกิดแบบเดิมๆ ต่อไป
6.ไม่มั่นใจว่าจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล เรื่องนี้ทุกคนต้องช่วยกันครับ เรามั่นใจ หรือไม่มั่นใจไม่ได้ ถ้าเราช่วยกันเราก็มั่นใจได้ การเลือกตั้งใครเข้ามาควรจะเลือกจากผู้เสียสละทำเพื่อส่วนรวมจริงๆ ไม่ใช่เลือกผู้คุ้นเคย ผู้ที่เคยเลือกกันมา ผู้ช่วยเหลือประชาชนเฉพาะราย เฉพาะกลุ่ม อาจจะทำให้เกิดการแบ่งแยกประชาชนเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย บ้านเมืองไม่สงบวุ่นวาย เหมือนก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
7.หากบ้านเมืองไม่สงบขัดแย้ง จะต้องใช้การเลือกตั้งต่อๆ ไป จนกว่าจะได้รัฐบาลที่ดีมีธรรมาภิบาล เสียงบประมาณก็คงต้องยอม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเห็นประชาชนนะครับ
8.ให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง วันนี้เราก็ทำอยู่แล้วนะครับ
นอกจากนี้ ยังมีคำตอบจากประชาชน ที่นอกเหนือไปจากประเด็นคำถามของนายกรัฐมนตรีอีก ได้แก่
1.นักการเมืองที่ไม่เหมาะสม ไม่สมควรเข้ามา เหตุใดนักการเมืองจึงยอมลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก เพื่อให้ได้เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งน่าจะไม่ใช่การเสียสละเข้ามาทำงาน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
มีการใช้เงินจำนวนมากในการเลือกตั้ง ได้ประโยชน์ส่วนตัว นอกจากสิทธิประโยชน์ที่พึงมีพึงได้หรือไม่ ทำไมบางพรรคสามารถปั่นให้เห็นว่าการเลือกตั้งจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น คนระดับฐานรากเกิดปัญหาค่าครองชีพ ซึ่งประชาชนส่วนนี้อยากให้รัฐบาลหาธงฟ้า สินค้าบริโภคที่มีราคาระดับปานกลาง หรือดี จำหน่ายให้กับประชาชนในราคาถูก อย่างเท่าเทียม และเพียงพอทั่วประเทศ เช่น ข้าวสาร น้ำปลา น้ำมันพืช ปลากระป๋อง ยาสีฟัน แปรงสีฟัน สบู่ ผงซักฟอก
2.น่าจะมีกฎหมายป้องกันการกินรวบจากนายทุนใหญ่ เพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำ รวยกระจุกจนกระจาย คนไทยมี 67 ล้านคน แต่มีนายทุนใหญ่เพียง 1,000 ครอบครัว ที่เหลือเป็นคนจนจะอยู่กันอย่างไร ทั้ง 2 เรื่องที่กล่าวมานั้น ผมจำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติม รัฐบาลพยายามเร่งดำเนินการมาอยู่แล้ว และ จะทำให้มากขึ้น ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกันเป็นคน เป็นกลุ่ม เป็นฝ่ายอีกแล้ว คนรวย คนจน มันไม่ได้ เพราะคนไทยด้วยกัน
ในเรื่องแรกการจัดสินค้าน่าจะมี 2 ลักษณะด้วยกัน
1.รัฐบาลวันนี้ก็กระทรวงพาณิชย์ได้จัดไปร่วมกับหน่วยงานทุกพื้นที่อยู่แล้ว
2.ที่ผมอยากให้มันเกิดขึ้น อันนี้ก็หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลาดชุมชนเป็นตลาดที่ประชาชนในพื้นที่เอาของจำเป็น เช่น อาหาร ข้าว พืชผัก ขายเองไม่ต้องผ่านคนกลาง ในเรื่องของนักการเมืองที่ไม่ดีก็เช่นกัน เราต้องพยายามหาทาง หามาตรการทางกฎหมายมาแก้ไขปัญหา สร้างนักการเมืองที่ดีๆ ขึ้นมา สร้างจิตสำนึกขึ้นมา ให้มีการเปลี่ยนแปลงในเจตนารมณ์ของการเข้ามาบริหารบ้านเมือง แต่ถ้าหากประชาชนยังยึดติดกับการช่วยเหลือแบบเดิมๆ มายาวนาน เคยชินกับการแก้ปัญหาที่ปลายทาง ใช้งบประมาณถมลงไป แล้วไม่แก้ปลายทางมาเหมือนเดิม ที่เราต้องเริ่มจากผู้ผลิต เกษตรกรกลางทางพ่อค้าจนถึงปลายทางตลาด ในและนอกประเทศ แล้วไม่คำนึงถึงพันธสัญญาใดๆ เลย กฎหมายระหว่างประเทศเขาก็มี ถ้าทำแบบนั้นย่อมทำให้ประชาชนพึงพอใจแน่นอน วันนี้รัฐบาลนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ที่มันเป็นปัญหาอยู่ในอดีตที่ผ่านมา มันจะได้ไม่เกิดปัญหาระยะยาว และหากโครงการต่างๆ ที่ทำลงไปนั้น ไม่โปร่งใสรั่วไหล มันจะไม่เกิดปัญหาเช่นที่เกิดมาแล้ว ประชาชนที่ได้เงินส่วนหนึ่งจะได้เงินแต่เพียงส่วนน้อยจากงบประมาณดังกล่าว ถ้าทำไม่ดี ทำแล้วไม่โปร่งใส มันจะเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นเกิดขึ้นมา ต้องโปร่งใสนะครับ ต้องไปดูว่า ระดับนโยบายว่าไง ระดับขับเคลื่อนว่าไง ระดับปฏิบัติว่าไง มันทุจริตอยู่ตรงไหน ไม่ใช่ว่าเหมาจ่ายกันทั้งหมดว่ามันทุจริตตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง มันมีกฎหมายทุกตัว ทุกระดับนั่นแหละ ระมัดระวังกันก็แล้วกัน
3.การที่มีนักการเมืองลงทุนเข้ามา ต้องตรวจสอบกันให้ดี บางคนอาจตั้งใจเสียสละ บางคนอาจต้องการผลประโยชน์ตอบแทน แต่ทั้งนี้ ผลทางการเมืองก็ต้องให้ประชาชนพึงพอใจด้วย ซึ่งก็คือปัญหาตรงนี้ครับ อย่าให้อ้างได้ว่าเข้ามาแล้ว จะทำให้ดีขึ้น มากขึ้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมายหรือความโปร่งใส
ผมเชื่อมั่นว่านักการเมืองส่วนใหญ่อยากจะทำดี ผมขอบคุณนะครับ และขอโทษถ้าเกินเลยไปบ้าง แต่ระบบการเมืองไทยยังไม่เอื้ออำนวย ถ้าเราช่วยกันแก้ ถ้าไม่ใช้เงิน ก็ไม่ได้คะแนนเสียงอย่างนี้ไม่ได้ ทุกคนทุกพรรคอยากเป็นรัฐบาล ไม่อยากเป็นฝ่ายค้าน เพราะเหตุใด กิจกรรมหรือโครงการดีๆ คงต้องการความร่วมมือกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพราะว่าถ้าทำแล้วมันเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แก้ปัญหาโดยรวมที่ทับถมทุกวันนี้อย่างเต็มที่ ถ้าหากว่าฝ่ายรัฐกับฝ่ายค้าน ค้านกันตลอดเวลา เพราะถือว่าไม่ใช่นโยบายพรรคของตน ประชาชนก็ลำบาก เพราะฉะนั้น ต้องร่วมมือกัน ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ก็ต้องช่วยกัน ร่วมมือกันแก้ไขให้ประชาชนเข้าใจ อย่าไปเรียกร้องอะไรที่ผิดๆ กับเขา
ในเรื่องของนายทุน การเอื้อประโยชน์ เราต้องมาพิจารณาว่า ในระบบทุนนิยม ระบอบประชาธิปไตย มีคนอยู่ 3 กลุ่ม
1.รวยมาก อาจจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ รายได้มากทั้งในประเทศ และข้ามชาติ มีการลงทุนสูง
2.ปานกลาง อันนี้คือ ข้าราชการ ผู้ประกอบการอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กลง ทั้ง 2 ประเภท ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว และมีความเสี่ยงในการลงทุน ถ้าไม่ใช่ข้าราชการ
ที่เราต้องมาดูว่า กลุ่มที่ 3. คือที่พวกเราเดือดร้อนทุกวันนี้ คือ ผู้มีรายได้น้อย จำนวนมากหลายสิบล้านคน เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการอิสระอาชีพอิสระ ได้ส่วนแบ่งรายได้ ที่เหมาะสมเพียงพอหรือยัง ก็ต้องไปดูต้นทุนของเขาด้วย ถ้าต้นทุนเขาไม่มากเกินไป เวลาเขาขายได้มาสัดส่วนแบ่งปันตรงนี้มันก็น่าจะได้ แต่ถ้าต้นทุนมันสูงกำไรมันก็น้อย ก็ต้องไปดูตรงนั้นว่าเป็นธรรมหรือไม่ อย่างไรในระบบทุนเสรี
และอีกประการหนึ่ง ถ้าเขาทำถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ไม่ต้องกลัว ไม่ว่าจะซื้อขายที่ดิน เพราะมีคนขาย เสียภาษีตามกฎหมาย เขาก็ดำเนินการได้ ก็ต้องไปดูว่าทำไมถึงขาย เราคงโทษคนซื้อลำบาก เพราะกฎหมายให้ทำได้ คนที่ลำบากเขาถึงขาย ฉะนั้นอะไรทำให้เขาลำบาก ก็อาชีพไม่พอกิน ราคาผลิตผลตกต่ำ ต้องมาแก้ตรงนี้ให้เขาไม่ขายที่ดิน ไม่ใช่ไปบอกว่าเออ ไปยึดที่ดินคืนจากคนที่เขาซื้อไปแล้ว มันทำไม่ได้มั้งครับ มันมีกฎหมายนะ ฉะนั้นวันนี้ เราต้องการขาย เขาก็จะซื้อ ถ้าเขาพอใจ เราทำยังไง จะต้องไม่ขายไม่ขายที่ดิน แล้วก็บุกรุกต่อไป เมื่อขายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องมาหาทางสร้างความเข้มแข็งด้วยตนเองให้ได้ ขายไปแล้วก็ว่ากันอีกที ไม่ขายก็อย่าขาย ตอนนี้
รัฐบาลนี้พยายามแก้ปัญหาให้กลับมาอยู่ที่กลุ่มที่ 3 ให้มากที่สุด ทำให้เข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถ สนับสนุนการรวมกลุ่ม โดยรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมอย่างตรงประเด็น เป็นทางเลือก ไม่ต้องขายผลผลิตผ่านคนกลางอย่างเดียว ปัญหา คือ การรวมกลุ่ม หลายอาชีพ ยังทำไม่ได้มาก ยังรวมกันไม่ได้ มีผู้นำมากมายหลายสมาคม หลายผู้นำ หลายประธานเหลือเกิน ก็คงไม่ได้คิดร่วมกันเท่าไหร่ หวังเพียงกลุ่มตนดีขึ้น กลุ่มอื่นก็เป็นเรื่องของกลุ่มอื่น มันก็เลยเปะปะวุ่นวายไปหมด กลายเป็นประเด็นนโยบายทางการเมืองเข้าไปอีก เราเห็นเพียงการสนับสนุนเป็นกลุ่ม ๆ อาจจะโดยเฉพาะกลุ่มของตนเองนั้นมันทำให้เกิดปัญหา
เราต้องอย่าลืมว่า เศรษฐกิจของประเทศมีหลายระดับ ปัจจุบันคนเสียภาษี ก็คือผู้ประกอบการ รายใหญ่ กลาง เล็ก ข้าราชการ ที่ขึ้นทะเบียน ก็เป็นผู้ที่เสียภาษีตามภาษีบุคคล หรือนิติบุคคลก็ตาม ก็เสียมาตลอดนะ สิบกว่าล้านคน แต่บางคนก็ไม่ได้เสียภาษี ประชาชนที่เหลืออยู่ ข้าราชการ ผู้มีรายได้น้อยภาษีไม่ถึงเกณฑ์ไง มีการลดอะไรอีกเยอะแยะ มันก็ไม่ได้เสียภาษีส่วนนี้
สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยนะครับ หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์การเสียภาษีก็ไม่ได้เสีย ไปเสียภาษีVat กันอย่างเดียว ภาษี Vat ซึ่งเราก็ไม่ได้ขึ้นมาหลายปีแล้ว ที่เราบอกว่ามีคนอยู่ 1,000 ครอบครัวรวย ที่เหลืออีก 40 ล้าน 50 ล้าน 60 ล้านไม่รวย แล้วผมถามว่าถ้าเราไม่เอาคน 1,000 ครอบครัวนั้นมาร่วมมือกันในการขับเคลื่อนประเทศมันจะไปได้ไหมครับ เราจะส่งเสริมคน 40 ล้าน ขึ้นมารวยเท่ากับคนข้างบนได้ไหม ไม่ได้ มันต้องเกลี่ยรายได้ลงมาให้ได้ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
กฎหมายก็มีอะไรก็มี อยู่ที่สิ่งที่พวกเราจะร่วมมือกันในการปฏิรูปประเทศ คนรวยจะช่วยดูแลคนจนอย่างไร มาช่วยรัฐบาลอย่าให้เขาชักจูงไปในทางที่เสียหายกัน หรือไปแสวงประโยชน์หรือไปเสียเงินเบี้ยใบ้รายทางไม่ได้ เอาเงินมาดูแลประชาชนดีกว่า ไอ้ที่คิดว่าต้องเอาเงินตรงนี้ไปอุดตรงโน้นไปให้ตรงนี้เอามาให้ประชาชนดีกว่า
เพราะฉะนั้นเราต้องมาดู ว่าศักยภาพของแต่ละคนแต่ละกลุ่มที่เราว่ามันมีแต่ละรายได้มันทำยังไง ถ้าเรารวมกลุ่มสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนไม่ได้เราก็โทษใครไม่ได้ ทุกอย่างเป็นการสะสมมาจนถึงทุกวันนี้ หลายสิบปีมาแล้ว ทุกอย่างก็โตขึ้นเรื่อยๆ คนรวยอยู่แล้วก็รวยมากขึ้น เพราะลงทุนมากขึ้นก็รวยมากขึ้น ส่วนคนจนก็ไม่มีโอกาสจะลงทุน ไม่มีขีดความสามารถก็ไม่ได้ลงทุน ก็จะอยู่ในวงจรของผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในห่วงโซ่เหล่านี้
เพราะฉะนั้นคนรวย หรือ ผู้ประกอบการ ผู้ถือหุ้น เขาต้องการกำไรมาก ลงทุนมากเสี่ยงมาก ล้มเมื่อไรก็ไม่รู้ ขณะเดียวกันคนจน หากไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่ของเขาก็อาจจะไม่ได้รับประโยชน์อะไร วันนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีจำนวนมาก เราพยายามจะขับเคลื่อนคนเหล่านี้ให้ไปเสียภาษีให้ได้ ไม่ต้องการรีดภาษีนะครับ ถ้าเข้าไปถึงเกณฑ์การเสียภาษี เช่น เกินปีละ 300,000 ขึ้นมา มันก็เพียงภาษีไม่มากมายนัก บางทีอาจจะไม่เสียด้วยซ้ำไป ลดโน้นลดนี่กันลงไป แต่เพียงแต่ว่าเขาดีขึ้นไหมล่ะ จากรายได้วันนี้ต่ำกว่า 100,000 ถ้าเป็นรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนจะดีกว่าไหม หรือ 30,000 ขึ้นเป็น 100,000 ไปก่อนแล้วไปเป็น 300,000 อย่าไปกลัวเรื่องเสียภาษี ถ้าเราตัดคนรวยคนลงทุนออกไปแล้วเราจะอยู่กันยังไงในเมื่อข้างล่างยังไม่พร้อมยังไม่แข็งแรง
ฉะนั้นวันนี้เราต้องให้คนรวย คนมีสตางค์ เอาภาษีอะไรต่างๆ มาช่วยดูแล สร้างงานสร้างอาชีพ ลงทุน คนจนเราก็ต้องพัฒนาตัวเอาเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่ให้ได้ พัฒนาตัวเองไปสู่ผู้ประกอบการ เริ่มจากสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน ตลาดประชารัฐ ถ้าเราโตขึ้น เราแข็งแรงขึ้น เราจะไม่โทษกันไปกันมาแล้วตอนนี้ เขาก็ต้องมาสู้กับเราด้วย เพราะเราเข้มแข็งพอในเรื่องของต้นทาง รวมพลังกันให้ได้ เขาต้องมาซื้อที่เราอยู่ดี
ถ้าหากทุกคนพอใจ ร่วมกันตรงนี้ได้คำว่าเอื้อประโยชน์ ทุนนิยม มันก็ไม่สามารถทำอะไรได้กับประชาชน ทุกบริษัทก็มีผู้ประกอบการ ทั้งต้นทาง กลางทาง ปลายทาง อยู่จำนวนหนึ่งที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ที่เรียกว่าพันธสัญญา แต่ที่เหลืออยู่เหล่านั้นที่ยังคงแตกกระจายไปมา ไม่รวมกัน ไม่มีการสร้างความเข้มแข็ง มันก็เหลืออยู่ทางเลือกเดียวก็คือต้องเข้าไปสู่วงจรของเขาแต่เพียงอย่างเดียว กำหนดราคาได้เราก็ลำบาก
ทั้งหมดนี้ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทใหญ่ก็มีคู่สัญญาของเขามีเกษตรกรอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เป็นโครงสร้างของเขาเดิม ถ้าเราไม่อยากที่จะเข้าไปอยู่ตรงนั้นเราก็ต้องมาทำให้ของตัวเองแข็งแรง มาทำมาค้าขายอิสระ วันนี้เราทำกันอยู่แล้ว แต่มันไม่มีแรงขับเคลื่อน ไม่มีทุนไม่มีใครมาซื้อ คืออยู่นอกวงจรของเขา เราก็ต้องมาสร้างวงจรขึ้นมาใหม่
ที่ผ่านมานี่ผมไม่เคยโทษเกษตรกรหรือผู้มีรายได้น้อยเลย ไม่อยากใช้คนว่าคนจนใช้คำว่าผู้มีรายได้น้อยดีกว่า ผมอยากให้เข้าใจและร่วมมือกันระดับท้องถิ่น พื้นที่กิจการ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้จะสนับสนุนได้ตรงความต้องการ ปีนี้รัฐบาลจะลงไปดูแลในเรื่องข้างล่างนี้ จะดูแลได้อย่างไร ทั้งเกษตรกรที่ไม่ได้อยู่ในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ หรือ การปรับโครงสร้าง
จะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ เกษตรกรเหล่านี้ซึ่งเข้าไม่ได้ บางทีก็กู้เงินไม่ได้อะไรทำนองนี้ หลายๆส่วนทั้ง SMEs ทั้งภาคประชาชน กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ อะไรต่างๆ เราก็ต้องมาดูซิว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไร ที่ผ่านมาเราเริ่มทำโครงสร้างไปบ้างแล้ว กฎหมายก็ออกมาบ้างแล้ว แต่มันยังไม่ครบ ยังไม่เกิดผลประโยชน์ นี้คือสิ่งที่ผมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เรายังทำไม่ได้ แต่ถ้าทำได้ง่ายๆแบบเดิม เอาเงินถมลงไปๆ แล้วก็พอใจได้เงิน ชอบผม รักรัฐบาล แต่เป็นการทำร้ายประชาชนทางอ้อม มีความสุขวันนี้แต่วันหน้าประเทศล้มละลายทำยังไง ต้องคิดตรงนี้ช่วยผมด้วย ว่าวันนี้ต้องรวมกลุ่มให้ได้ ทำโครงสร้างทุกกลุ่มกิจการ ที่เป็นอาชีพอิสระด้วย ต้องรวมกลุ่มกันให้ได้รัฐบาลจะได้สนับสนุนให้ได้ถูกต้อง ไม่อยากให้รัฐบาลใหม่เข้ามาก็ต้องทำแบบเดิม ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้อีก ต่อต้านชุมนุมกันตลอดเวลา เพราะว่าไม่ได้ดูแลคนเหล่านี้ได้อย่างที่เขาพอใจ เพราะเดิมๆมันก็เป็นเรื่องแบบนี้นะ ก็เป็นกลุ่มเป็นฝ่าย ไม่อยากให้ทุกอย่างกลับไปที่เดิม
ช่วงนี้เราจะต้องช่วยกัน ผมพยายามทำเต็มที่ก่อนที่จะไปสู่การเลือกตั้ง แล้วก็ให้รัฐบาลใหม่ทำต่อไป ขอร้องว่า ฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านต้องร่วมมือกันด้วย นโยบายที่ผมได้เริ่มไว้แล้วหลายอย่างมันเป็นความจำเป็น ขอบคุณทุกคนนะครับที่ตอบมาและอาจจะยังไม่ได้ตอบมา สิ่งที่พูดมาไม่ได้เพียงกลั่นกรองมาให้รัฐบาลพอใจ ผมพอใจ ไม่ใช่เลย เป็นความคิดเห็นประชาชน 500,000 คน ผมคิดว่ายังมีประชาชนที่สนใจอยากมีส่วนร่วมอีกเยอะ ส่งมาให้เยอะๆกว่านี้ อยากเขียนอะไรเพิ่มเติมนอกจากคำถามก็ได้ ผมพร้อมจะรับฟังความคิดเห็น บางทีก็อาจจะมาแต่ไม่รู้จะตอบอย่างไร บางทีก็อาจจะไม่เข้าใจ ผมต้องการอะไร ท่านก็เขียนมาเลย เขียนเพิ่มเติมมาได้ ผมพร้อมที่จะรับฟังและปฏิบัติตามกลไกของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ประเทศชาติมั่นคง มั่งตั่งและยั่งยืน
วันนี้ก็ได้หารือไปยังกระทรวงมหาดไทย หากวันนี้ยังไม่สะดวก คนอยากจะมาแต่มาไม่สะดวก ลองไปดูที่ศูนย์ดำรงธรรมไม่รู้ว่าตอนนี้รวบรวมได้หรือยัง ทุกพื้นที่เพิ่มเติมมาได้ไหม หรือ จะให้หน่วยทหารรวบรวมไปที่กระทรวงมหาดไทยให้ก็ได้ อันนี้ก็ฝากกระทรวงมหาดไทยช่วยพิจารณาด้วย ประชาชนจะได้มาลงความคิดเห็นกันได้มากขึ้น
ไม่ใช่โพลล์ชอบผมไม่ชอบผมไม่ใช่ เป็นการแสดงความคิดเห็น ก็ขอให้ช่วยกันหารือ คสช.กระทรวงมหาดไทย ทุกหน่วยงานจัดสรรพื้นที่ให้ประชาชนได้มาร่วมกันมากขึ้น ผมต้องการความคิดเห็นทั้งข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. ที่ผ่านมาผมเห็นมีแต่ประชาชน แล้วคนอื่นไม่ใช่ประชาชนหรือ ทุกคนที่เป็นคนไทย คือ ประชาชนทั้งสิ้น เสนอมาผมจะได้เห็นว่าส่วนใหญ่เป็นอย่างไร วันนี้ได้มาแค่ 500,000 คน
สิ่งที่น่าห่วงอีกเรื่องหนึ่งคือ ภาพที่มีคนไทยหนีคดีไปอยู่ต่างประเทศ มีความเคลื่อนไหวในการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ประเทศไทย สถาบัน หลายคนมีการโอนสัญชาติไปแล้ว แล้วก็มีเหตุผลที่อ้างคือ การถูกปฏิวัติรัฐประหาร ไม่เป็นธรรม ผมว่า เราต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจ ทุกคนที่ทำแบบนี้ ทำผิดกฎหมายในประเทศของเราหรือเปล่า ถ้าผิดมันก็คือผิด กระบวนการตรวจสอบวันนี้ก็ไม่ใช่ คสช. ที่ผ่านมาครั้งที่แล้วก็ คตส. ก็ไม่ใช่เป็นผู้ตัดสินว่าผิดหรือถูก คือทั้งหมดเป็นแต่เพียงนำทุกคน ทุกคดีเข้าไปสู่การดำเนินคดี ด้วยกฎหมายปกติ ด้วยศาลปกติ ศาลการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คดีอาญาการเมืองก็เป็นเรื่องของศาลปกติ เพียงแต่เอาเข้าไป ไม่อย่างนั้นก็ไม่ได้เข้าก็แค่นั้นเอง ผิดถูกก็ไปพิสูจน์กันเอง ผิดหรือไม่ผิด มีหลักฐานหรือไม่ ถ้าไม่ผิด ไม่มีคดี ใครจะดำเนินการท่านได้ครับ
กฎหมายรัฐมีขื่อมีแป เพราะฉะนั้นเป็นการใช้กฎหมายปกติ เป็นการทำงานขององค์กรอิสระทั้งสิ้นในการตรวจสอบ หน้าที่ของรัฐบาลมีหน้าที่ในการนำเข้าทุกรัฐบาลต้องทำแบบนี้ สิ่งที่น่าสงสัยก็คือ คนเหล่านั้นที่หนีไป ผมสงสัยว่าเขาสามารถอยู่อาศัยในต่างประเทศได้อย่างไร เอาเงินจากที่ไหนมาใช้ มีอาชีพ มีรายได้จากที่ไหน ช่วยกันตรวจสอบด้วย
รัฐบาล และ คสช. พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกคดี ทุกคน ขอให้กลับเข้ามาสู่กระบวนการต่อสู่คดี ผมไปบังคับศาลไม่ได้ครับ ไม่ต้องกลัว ศาลก็คือศาล กระบวนการยุติธรรมคือกระบวนการยุติธรรม ผมมีหน้าที่ในการนำเข้าเท่านั้นเอง
สุดท้ายนี้ วันวานเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ ผมได้ไปร่วมงานในงานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัย และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพบผู้ใช้ ณ ห้อง World Ballroom โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ก็มีความประทับใจ และเห็นว่าเป็นประโยชน์มากโดยการวิจัยและนวัตกรรมนั้น จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและยกระดับการแข่งขัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ
โดยเฉพาะเพื่อให้ประชาชนได้มีมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้เห็นถึงพลังการประสานงาน ความร่วมมือในการดำเนินงานขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมแบบบูรณาการ ของทุกภาคส่วน ซึ่งภายในงานมีการนำเสนอผลงานในลักษณะของคลัสเตอร์ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ที่สำคัญของประเทศ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ กลุ่มเศรษฐกิจดิจิทัล และกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ทั้งนี้เป้าหมายของการวิจัยและพัฒนา ไม่เพียงแต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อการแข่งขันในด้านต่างๆ เท่านั้น หากแต่จำเป็นต้องมุ่งสร้างให้คุณภาพชีวิตทั้งในเชิงเศรษฐกิจ ในการ…… (***สียงหาย***)…..ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เผื่อแผ่แบ่งปันกัน ระมัดระวังการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัยนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ